๑๓. การวิเคราะห์ความขัดแย้ง ๑

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 12 กรกฏาคม 2008 เวลา 7:23 ในหมวดหมู่ เสริมสร้างสังคมสันติสุข #
อ่าน: 8762

รศ. ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ วิทยากรของเราวันนี้ท่านเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม ท่านบอกว่าเรื่องที่บรรยายเป็นความคิดเห็นส่วนตัวและประสบการณ์จากการแก้ไข ปัญหาความขัดแย้ง อาจารย์เล่าให้ฟังว่าเรื่องของการตั้งหน่วยงาน ในเบื้องต้นศึกษา public policy conflict ความขัดแย้งในนโยบายภาครัฐ ซึ่งจะเป็นโครงการที่กระทบต่อประชาชน เช่น โครงการสร้างโรงไฟฟ้า  เป็นต้น เมื่อเรามาลองศึกษาโครงการของรัฐที่กระทบต่อประชาชน แล้วจะเห็นว่า

การตัดสินใจของรัฐในการทำโครงการที่กระทบต่อประชาชนเป็นแบบ

กำหนดนโยบายจากส่วนกลาง (โดยไม่ฟังเสียงความต้องการของประชาชน)

ประกาศโครงการ (ที่ต้องการจะทำ)

ปกป้องเพื่อให้ดำเนินการได้ (เมื่อเกิดปัญหารัฐก็จะปกป้องตัวเอง  โดยประชาสัมพันธ์ชวนเชื่อให้เห็นแต่ข้อดีของโครงการ ใครไม่เห็นด้วยก็จะกลายเป็นผู้ร้ายไป)

เราพยายามพัฒนาประเทศให้มีความมั่งคั่งและเรามองกันว่าประเทศเกษตรกรรมไม่สามารถรวยได้ เราอยากจะเป็น NIC แต่บางคนบอกว่า Narok Is Coming อิอิ

การพัฒนาจากระบบเกษตรสู่ยุคอุตสาหกรรม จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง เช่น

ปัญหาเรื่องการใช้ที่ดิน ภาคอุตสาหกรรมกับภาคเกษตร

มลภาวะ อากาศ น้ำ

กากของเสียอันตราย ไปสร้างที่ไหน ชุมชนก็ไม่อยากให้มี

ปัจจัยที่ทำให้ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น

การเจริญเติบโตหรือถดถอยทางเศรษฐกิจ

มีชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น/ผู้ด้อยโอกาสได้รับผลกระทบมากขึ้น จึงเรียกร้องสิทธิมากขึ้น

การสื่อสารมวลชน  เกิดเหตุที่ไหนรู้ไปทั่วโลก

ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม

อิทธิพลจากต่างประเทศ

ในส่วนภาครัฐจะต้องเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับสาธารณชน เพราะรัฐจะมองว่าประชาชน

-ไม่มีการศึกษา

-ไม่สามารถเข้าใจในโครงการต่างๆได้

-หากไม่เห็นด้วย คือผู้ขัดขวางการพัฒนา

-การเคลื่อนไหวใดๆจะถูกมองว่ามีผู้อยู่เบื้องหลัง (การตอบสนองให้ความสนใจกับปัญหาของเขา กับการที่ไม่ให้ความสนใจ จะเกิดผลที่ต่างกัน)

-เป็นม๊อบรับจ้าง (เรื่องบำรุง คะโยธา ทำไมมีการประท้วงที่ไหนจึงเห็นแต่หน้าบำรุง เขาบอกว่าชาวบ้านเดือดร้อน เขาต้องการผู้นำ และคนที่เดือดร้อนจะวิ่งมาหาประจำ)

รูปแบบการแก้ปัญหาทั่วไปจากอดีตถึงปัจจุบัน เมื่อมีปัญหาก็จะ

๑.แต่งตั้งคณะกรรมการ

๒.จัดทำโครงการแก้ปัญหา

ปัญหา ๑             ปัญหา ๒                     ปัญหา ๓

กรรมการ ๑          กรรมการ๒                   กรรมการ ๓

โครงการ ๑          โครงการ ๒                  โครงการ ๓

(ซึ่งความจริง การเกิดปัญหามันอาจเชื่อมโยงกัน จะมาตั้งกรรมการแต่ละชุดทำโครงการทีละโครงการ แก้ทีละปัญหาไม่ได้ ต้องคิดในเชิงระบบ)

ข้อขัดแย้งมีอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในสังคมไทย เราสังเกตไหมว่าเมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย การเมืองไทยทำอย่างไร อาจารย์ชี้ให้เรามองเห็นว่า

การแก้ปัญหาข้อขัดแย้งในเมืองไทย

แก้ปัญหาในวงราชการด้วยการกลั่นแกล้งข้าราชการ

แก้ปัญหาความน่าเชื่อถือของนักการเมืองโดยการโกหก

แก้ปัญหาคนจนด้วยการดูถูกคนจน (รมต.มหาดไทย พูดว่าคนจนควรซื้อซี่โครงไก่มาต้นจะได้คุณค่าทางอาหารและรสชาติดี)

แก้ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกินโดยจะให้บรรทุกมากขึ้น

แก้ปัญหาสถานเริงรมย์เปิดเกินเวลา ด้วยการขยายเวลา

แก้ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงด้วยการให้สัมภาษณ์ไปวันๆ

วิธีควบคุมฝูงชนแบบใหม่ เป็นภาพสุนัขตำรวจงับประชาชน

ปิดหูปิดตาปิดปาก (คิดใหม่ ทำใหม่) / ตาบอดคลำช้าง เป็นภาพ อ.วันนอร์จับหางช้าง แล้วพูดว่า ปัญหาทางใต้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่

อ. เล่าให้ฟังที่นิวซีแลนด์ ทำเนียบเอกอัครราชฑูตจะเปลี่ยนเป็นสถานฑูต ไม่ใช่จะทำได้ง่ายๆต้องสำรวจความคิดเห็นและให้คนเห็นชอบจึงจะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะมันเกิดผลกระทบ มีงานเยงที่สถานฑูต ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องรถที่จะเข้ามาในซอย ต้องใช้เวลาประมาณ ๒ ปี จึงสำเร็จ

ถึงตอนนี้ อาจารย์ก็ให้แสดงความคิดเห็น การแก้ปัญหาข้อขัดแย้งที่ใช้ในรัฐบาลปัจจุบัน

คุณสุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การมีม๊อบปัจจุบันไม่มีการรับฟังความคิดเห็น ไม่มีการเจรจาจึงแก้ปัญหาไม่ได้

คุณเตือนใจ ดีเทศน์ พูดถึงอำนาจ ๓ ฝ่าย รัฐสภา (ยังทำอะไรไม่ได้ ตั้งกรรมาธิการก็ตั้งไม่ได้) โรงถลุงเหล็กของสหวิริยา มีความขัดแย้งก็ยังแก้ไขไม่ได้  ในส่วนของรัฐบาล(ฝ่ายบริหาร) ความทุกข์ของประชาชน ไม่ได้รับการแก้ไข จึงเกิดการประท้วง แต่ถ้าเข้าใจก็ไม่น่าจะเกิดปัญหา

เอากันแค่พอหอมปากหอมคอ  อาจารย์ก็บรรยายต่อ

ทำไมสาธารณชนมีส่วนร่วมในปัญหาความขัดแย้ง

สนับสนุนการตัดสินใจ support dicision/commitment

หาทางออกที่ดีกว่า better solution

เพื่อความยุติธรรม Fairness

Go slow to fast ช้าๆได้พร้าเล่มงาม (เล่มเดียวกันกับของ ศจ.นพ.วันชัย นั่นแหละ อิอิ)ตอน เริ่มต้นยอมเสียเวลาประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนก่อน เมื่อเขาเข้าใจก็จะไม่คัดค้าน หากสร้างไปก่อนเหมือนกับเขื่อนปากมูลก็จะมีปัญหา

รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ม.๕๖  “ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ

ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้ทุกฝ่ายพอใจ

คนไทยไม่ชอบการเผชิญหน้า แต่ชอบนินทาลับหลัง

สังคมไทยไม่มีวิธีแก้ไขความขัดแย้ง (ขณะนี้เอาพลังมวลชนมาสู้กัน)

กระบวนการแก้ไขปัญหาแบบตะวันตกใช้ไม่ได้กับสังคมไทย

จึงพอจะเห็นได้ว่า ยากที่จะทำให้ทุกคนพอใจ

ความขัดแย้งจัดการได้ถ้า..

ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันและร่วมหาทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

ให้เวลาเจรจาแบบมีหลักการ

ประสานความร่วมมือ

ลดความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน

ความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากประชากรเพิ่ม ทรัพยากรน้อย

ปัญหาการถือครองที่ดิน

ปัญหา GMO เพือ่นบ้านเราปลูกกันเต็มไปหมดแล้ว

ปัญหาเขื่อน

ปัญหาป่าไม้

ดร. อิศรา ศานติศาสน์ พูดถึงว่า ที่อาจารย์ว่า ประชากรเพิ่ม ทรัพยากรน้อย นั้นเห็นด้วยว่าประชากรเพิ่ม แต่ทรัพยากรน้อยนั้นไม่แน่ แต่ที่แน่ๆการแบ่งปันทรัพยากรไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจารย์ก็เห็นด้วย

วันนี้อาจารย์ท่านก็ไม่ค่อยมีลูกฮา ท่านปล่อยมุขทีหนึ่ง ท่านยิ้ม แต่พวกเราไม่ get (ศจ.นพ.วันชัย ท่านชอบถามว่า get ไหม) อาจารย์เลยยิ้มอยู่คนเดียว อิอิ

« « Prev : ๑๒. วันปฐมนิเทศ ศ.ดร.บวรศักดิ์

Next : ๑๔. การวิเคราะห์ความขัดแย้ง ๒ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1160 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 3.1456410884857 sec
Sidebar: 0.072108030319214 sec