๑๔. การวิเคราะห์ความขัดแย้ง ๒

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 14 กรกฏาคม 2008 เวลา 13:09 ในหมวดหมู่ เสริมสร้างสังคมสันติสุข #
อ่าน: 8133

วันนี้ขอต่อเรื่องราวที่รศ.ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ บรรยายให้จบนะครับ ในส่วนของกรอบการวิเคราะห์ความขัดแย้ง Conflict Mapping or Conflict Analysis Framework ทำไมต้องมาวิเคราะห์ความขัดแย้ง ก็เพราะ เมื่อเกิดความขัดแย้ง ปัญหาก็คือจะมีความสับสน ความสัมพันธ์ของฝ่ายต่างๆเปลี่ยนแปลงไป  บางทีเฉียบพลันรุนแรง ผลที่ตามมาอาจจะเกิดความรุนแรง จึงต้องมีการวิเคราะห์ความขัดแย้ง โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Conflict mapping(อเมริกัน) หรือ Conflict Assessment Framework (แคนาดา) มีคำถามว่าใครจะเป็นคนใช้กรอบวิเคราะห์ความขัดแย้ง และใช้เพื่ออะไร ถ้า เราเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง ใช้เพื่อทำความเข้าใจความขัดแย้งในมุมมองของตัวเอง หรือคู่กรณีใช้ร่วมกันเพื่อเข้าใจว่าคู่กรณีอีกฝ่ายมีความคิดอย่างไร ถ้าเราเป็นคนกลางก็ใช้เพื่อทำความเข้าใจความขัดแย้งและเป็นเครื่องมือในการ หาทางออกร่วมกัน

อาจารย์บอกว่า เวลาที่จะดูหรือวิเคราะห์ความขัดแย้ง ให้ดู

-สภาพของความขัดแย้ง

-ใครเกี่ยวข้องบ้าง

-สาเหตุ มาจากอะไร

-ความเชื่อที่แตกต่างกัน

-เป้าหมาย ผลประโยชน์

-พลวัตของความขัดแย้ง

-บทบาทแนวโน้ม (เป็นของนักวิชาการท่านหนึ่ง ผมจดไม่ทัน พอล เวียร์ หรืออะไรซักอย่างนี่แหละครับ ใครรู้ช่วยบอกกันด้วยครับ)

นักวิชาการอีกคนหนึ่งโปรเฟสเซอร์ เดนิส ซันโดเล่

บอกว่าให้ดู ๓ ส่วนหลัก

๑.ใครเกี่ยวข้อง ประเด็นปัญหามีอย่างไร วัตถุประสงค์คืออะไร

๒.ในระดับตัวบุคคล ระดับสังคม ระดับนานาชาติ อำนาจในการตัดสินใจแก้ปัญหา เป็นอย่างไร

๓.มีวิธีคิดและจะจัดการอย่างไรบ้าง

อาจารย์บอกให้ศึกษาเพิ่มเติมในเอกสารที่แจก กลุ่มผู้ไกล่เกลี่ยจากแคนาดาเขาทำและเอาไปใช้ได้ผล และอาจารย์ได้นำมาทดลองใช้ในบ้านเราบางอย่างก็ใช้ได้ผลดี

เวลาเราวิเคราะห์ให้ดูว่า ๑. ประเด็นปัญหาคืออะไร ๒.แต่ละปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไร ๓.ศึกษาความเป็นมา ๔.แนวทางที่เคยจัดการมาแล้ว เช่น ในอดีตเคยใช้วิธีการใดแก้ปัญหามาบ้าง อาจเคยมีการจัดเวทีสาธารณะหรือเจรจากันมาก่อน ประสบการณ์เก่าอาจมีผลต่อความรู้สึกของฝ่ายต่างๆ ต่อวิธีการแก้ปัญหา เช่น ไม่จริงใจในการแก้ปัญหา รับปากให้พอผ่านไปแล้วไม่ทำอะไร การแก้ปัญหาก็จะยิ่งยากไปเรื่อยๆ   ๕.เป็นความขัดแย้งแบบไหน (๑.ความขัดแย้งที่มาจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่ม    ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร

สาธารณชนหรือสื่อมวลชนมีความเห็นอย่างไร

ความไม่มั่นคงทางการเมืองก็มีส่วนในการแก้ปัญหาความขัดแย้งเพื่อหาเสียง

๒. ความขัดแย้งที่มาจากผลประโยชน์แต่เขาจะรวมถึงความกลัว ความกังวล ความห่วงใย ความต้องการ ๓.ความข้ดแย้งเรื่องข้อมูล (ความน่าเชื่อถือของข้อมูล การตีความหมายที่แตกต่างกัน) ๔.ความขัดแย้งจากค่านิยม (เช่น.-ความเชื่อ,ศาสนา) ๕.ความขัดแย้งเรื่องโครงสร้าง(ชนชั้นทางสังคม กฎหมาย สิทธิ พลัง)  เรื่องนี้ ศจ.นพ.วันชัย ได้พูดแล้วลองไปทบทวนของท่านดูนะครับ)

เราต้องดูต่อไปอีกว่าใครเกี่ยวข้องบ้าง มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร หาผู้เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุดและดึงเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุดมากกว่า ที่จะกีดกันเขาออกไป(ถ้าจำนวนกลุ่มเขามีมากก็ต้องให้เขาแต่งตั้งตัวแทนแต่ ต้องตรวจสอบตัวแทนด้วยว่าเป็นตัวแทนจริงๆหรือเปล่า มีกี่กลุ่ม ครบทุกกลุ่มหรือไม่) เรามาดูลงลึกไปอีกนิดนะครับ อาจารย์บอกว่าเมื่อวิเคราะห์ปะะเด็นปัญหาได้แล้ว ก็ต้องดูต่อว่า

๑.ใครเกี่ยวข้องบ้าง

-ใครเกี่ยวข้องบ้าง

-ผู้เกี่ยวข้อง เกี่ยวข้องในฐานะส่วนบุคคลหรือในนามกลุ่ม

-ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนได้-เสียอย่างไร

โดยทั่วไป จะมีกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ และ NGO เพื่อมาคอยช่วยเหลือ  และเมื่อรู้ว่าใครแล้วก็ต้อง

๒.ดึงเข้าร่วม

-หาผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุด

-ให้กลุ่มคัดเลือกตัวแทนกันเอง

-เปิดทางให้สาธารณชนมีส่วนร่วมและตรวจสอบได้

-ถ้ารู้ผลประโยชน์ของแต่ละกลุ่มได้ ผลประโยชน์ (ความต้องการ ความหวัง ความรัก ความกลัว ความกังวล,สิทธิ,ความรับผิดชอบความผูกพัน) ของผู้เกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายคืออะไร

มีผลประโยชน์ร่วมกันในประเด็นปัญหาสำคัญบ้างหรือไม่

เช่น หวยออนไลน์ กับคนพิการ ต้องให้เขาพูดว่าความกังวลของเขาคืออะไร

๓.นโยบายรัฐบาล

ประเด็นปัญหาต่างๆมีข้อเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ นโยบายของรัฐอย่างไร

หน่วยงานไหนมีอำนาจตัดสินใจ

การตัดสินใจกระทำที่ระดับใด บางเรื่องตัดสินที่ ครม.หรือที่ รมต.หรืออธิบดี  อาจารย์ บอกให้ดูในชีต (ซึ่งลองอ่านดูแล้วน่าสนใจมากเพราะเหมือนจะเป็นกรณีตัวอย่างว่าถ้าขัดแย้งใน ระดับนี้ควรทำอย่างไร ควรระวังในเรื่องอะไรบ้าง ก็คงต้องเอามาปรับใช้เป็นกรณีๆไป เพราะเป็นกรณีศึกษาของต่างประเทศ สิ่งสำคัญคือการนำมาใช้ต้องปรับให้เข้ากับบริบทของเรื่องราวนั้นๆ รวมทั้งพื้นที่ และวัฒนธรรม นี่ผมว่าของผมเองนะ ถูกผิดยังไงไม่ทราบแต่เราร่วมกันแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ในบันทึกนี้ครับ ท่านจะเป็นนักศึกษาหลักสูตรนี้หรือไม่ก็ตาม แต่นี่คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ถ้าเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากๆ นี่คือทิศทางไปสู่ความสำเร็จจุดเล็กๆจุดหนึ่งที่จะเริ่มจากตรงนี้ครับ)

เรื่องนี้จบไม่ลงที่สองภาคแล้วครับ ผมขอเป็นสามภาคก็แล้วกันนะครับ แต่วันนี้ผมจะลงให้จบทุกภาคเพียงแต่ว่ากันทีละตอนนะครับ บ่ายนี้สัก๑ ตอน เพื่อให้ท่านได้อ่านแล้วคิด  และแสดงความคิดเห็น แล้วดึกๆอีกสักตอน เพราะเขียนยาวไปท่านจะเบื่อ ผมจะสนุกอยู่คนเดียวมันผิดหลักการ อิอิ แต่ที่เขียนยาวเพราะเดือนนี้เราว่างทั้งเดือน ก็จะมีเวลาในการอ่านทบทวนบทเรียน แล้วนำวิชาการมาวิเคราะห์ปัญหาของบ้านเมืองเรา ท่านใดที่เกี่ยวข้อกับความขัดแย้ง ณ จุดใดของประเทศ จะเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นก็ได้นะครับ เพราะพวกเราอยากได้ข้อมูล เดือนหน้าเราจะไปศึกษาความขัดแย้งที่จังหวัดระยองเกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรม กลุ่มของผมรับผิดชอบเรื่องเมืองอุตสาหกรรมแบบยั่งยืน อยากรู้ว่าภายในเมืองอุตสหกรรมมีความพร้อมทุกอย่างมีระบบสาธรณูปโภค แต่รอบเมืองอุตสาหกรรมไม่มีความพร้อมจะเกิดอะไรขึ้น ใครมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อัดเข้ามาได้เลยครับ…อิอิ

« « Prev : ๑๓. การวิเคราะห์ความขัดแย้ง ๑

Next : ๑๕. การวิเคราะห์ความขัดแย้ง ๓ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

927 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 2.2841138839722 sec
Sidebar: 0.071844100952148 sec