เอ๊ะ…ของนายพล
วันนี้พวกเราได้เข้าร่วมการสรุปบทเรียนการทำนาโดยใช้ปุ๋ยน้ำหมักของพี่น้องชาวไทบรูดงหลวง ทั้งนี้เป็นการพยายามแก้ปัญหาข้าวไม่พอกิน และการพยายามลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร อันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างองค์ประกอบการพึ่งตนเอง…
มันเกี่ยวอะไรกับชื่อบันทึก…หา. พลเป็นชื่อเกษตรกรไทบรู เป็นผู้ชายก็ใส่นายเข้าไป ก็เป็น นายพล ส่วน เอ๊ะนั้นคือเอ๊ะศาสตร์ ขอใช้ชื่อนี้ ก็คือการฉุกคิด การตั้งคำถาม การตั้งข้อสังเกต แล้วหาคำตอบต่อเรื่องนั้นๆ..
ในเวทีสรุปบทเรียนวันนี้(จะบันทึกทีหลัง) นายพลคนนี้เฝ้าเข้ามาใกล้ชิดผมแล้วในที่สุดก็มาเอ่ยปากว่า เมื่อเสร็จที่นี่แล้วอาจารย์ไปเยี่ยมผมที่บ้านสวนหน่อย อยู่ไม่ไกลจากที่นี่ ผมคิดว่าคนทำงานพัฒนานั้นต้องตอบรับเพราะนั่นหมายความว่าชาวบ้านเขามีอะไรสักอย่างจะคุยกับเรา จึงออกปากมาอย่างนั้น..
เมื่อเวทีสรุปบทเรียนเสร็จสิ้น เราก็เดินทางไปบ้านสวนของนายพล.. เมื่อเลี้ยวรถเข้าบ้านสวนทุกคนก็ร้อง จ๊ากกสสส์ เพราะเห็นหัวมันสำปะหลังที่วางอยู่บนรถสาลี่นั่นมันใหญ่โตอะไรปานนั้น..?? เราเข้าใจทันทีเลยว่านายพลชวนเรามาทำไม ทีมงานยิงคำถามจนนายพลตอบแทบไม่ทันว่าทำอย่างไรหัวมันถึงใหญ่เช่นนี้ พันธุ์อะไร อายุหัวมันเท่าไหร่ ทำกี่ไร่ ใส่ปุ๋ยอะไร….
นายพลบอกว่า ผมใช่ปุ๋ยชีวภาพครับ… หาาาาา ปุ๋ยชีวภาพ.. ความจริงเรามีความรู้มาก่อนแล้วว่าการใช้ปุ๋ยชีวภาพนั้นสามารถเพิ่มน้ำหนักและปริมาณหัวมันสำปะหลังได้มากถึงสองหรือสามเท่าจากปกติทั่วไป…
แล้วกระบวนการซักถามเป็นระบบก็ไหลหลั่งมาสรุปได้ว่า
· นายพลมีอาชีพเหมือนกับชาวบ้านทั่วไปคือปลูกข้าวเอาไว้กินแล้วก็ปลูกมันเอาไว้ขาย ภรรยาเป็นคนอำนาจเจริญ มีลูกสี่คน ที่นายังไม่ได้รับการแบ่งแยกมาจากพ่อแม่ แม้ว่านายพลจะมีอายุถึง 53 ปีแล้วก็ตาม
· วันหนึ่งไปกู้มัน(กู้มันคือเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง) สังเกตเห็นว่ามันต้นไหนที่มีลักษณะใหญ่โต หัวใหญ่โต เมื่อขุดดินลงไปจะพบร่องรอยของการเน่า สลายของหัวมันเดิมที่ตกค้างอยู่ นายพลคิดว่าน่าจะเป็นเพราะหัวมันเน่าสลายนี้เองที่กลายเป็นปุ๋ยชั้นดีให้หัวมันใหม่เจริญเติบโตดีมากกว่าต้นมันอื่นๆที่ไม่มี
· จากข้อสังเกตนั้นจึงลองเอามันสำปะหลังที่เหลือๆอยู่หลังจากการเก็บขายเอามาหมักกับกากน้ำตาล โดยหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ หมักไว้ 1-3 เดือนก็คั้นเอาน้ำไปเก็บไว้..ในภาชนะใหม่เช่นถัง (ซึ่งไม่ขอลงรายละเอียดทั้งหมด)
· แล้วเอาไปผสมกับน้ำเอาไปราดลงโคนต้นมันสำปะหลัง และพ่นลงทางใบมันสำปะหลัง ทำจนมันสำปะหลัวมีอายุประมาณ 4 เดือน
· เมื่อได้อายุ 10-12 เดือน เก็บก็จะได้มันที่มีราก หรือหัวที่ใหญ่โตเช่นนั้น เฉลี่ยที่ใหญ่ที่สุดประมาณ ต้นละ 16 กิโลกรัม ทำให้ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 8-10 ตัน
· ทำมาสองปีแล้วแบบเงียบๆ เพื่อทดลองดู เมื่อได้ผลก็อยากเผยแพร่ให้เพื่อนเกษตรกรเอาไปใช้ แต่ยังไม่มีใครมาสอบถาม
· เมื่อปีที่แล้วนายพลลองเอาน้ำหมักชีวภาพนี้ไปใส่นาปี พบว่าได้ผลดีมาก ต้นข้าวใหญ่ ออกรวงดี ข้าวมีน้ำหนักและได้ปริมาณมากขึ้น…
· วันนี้นายพลสรุปแล้วว่า เขามั่นใจคุณภาพน้ำหมักชีวภาพสูตรของเขาว่าใช้ได้ผลจริง จึงต้องการขยายการผลิตน้ำหมัก และต้องการเอาไปใช้กับนาข้าวเป็นหลัก เพราะต้องการเลิกใช้ปุ๋ยเคมี และต้องการเพิ่มผลผลิตข้าว และลดต้นทุนการผลิต…
· การใช้ปุ๋ยของนายพลมิใช่เฉพาะน้ำหมักชีวภาพเท่านั้น เขามีวัว 5 ตัว ก็ได้ใช้มูลวัวทำปุ๋ย และที่ช่วยได้มากอีกคือ ปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ที่มีในสวนนี้ เก็บรวบรวมมาใส่ในหลุมดังภาพเมื่อมากพอก็เอามูลวัวใส่ เอากากน้ำตาลใส่ลงไปคลุกให้เข้ากันดี รดน้ำให้เปียกแล้วเอาเศษผ้ามาคลุมปิดให้มิดชิด…. ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนขึ้นไปก็เอาไปใช้รองพื้นก่อนปลูกมันสำปะหลัง และช่วงทำนาก็เอาไปใส่นาด้วย
· ผลที่ได้ ดินดีขึ้น ผลผลิตดีขึ้นจึงพอใจมากและจะเพิ่มการผลิตปุ๋ยหมักให้มากขึ้น
แม้ทั้งโลกนี้จะยอมรับกันว่าก้าวหน้าจากยุคดิจิตอลเข้าสู่ยุคนาโน แต่ก็เป็นโลกทุนที่ก้าวไปอย่างสุ่มเสี่ยง
แล้ววันหนึ่งเกษตรกรก็หันหลังให้กับปุ๋ยเคมีและสารเคมี มาใช้ความรู้พื้นฐานเดิมๆที่พัฒนาขึ้นมาในสภาพใหม่คือปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยหมัก นายพล วงษ์กะโซ่ คืออีกตัวอย่างที่ชาวบ้านต่อสู่กับการอยู่รอดในสังคมด้วยการพึ่งตนเอง ยึดความพอเพียง และความเป็นคนที่มีเอ๊ะศาสตร์ ช่างสังเกต ทดลองทำ และดัดแปลงตามสภาพบนฐานเงื่อนไขของตนเอง
แล้วนายพลก็มีกำลังใจเพิ่มทวีคูณเมื่อ สิ่งที่เขาใช้วันเวลาเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นนั้นปรากฏเป็นจริงขึ้นมา…
นายพล..คนดงหลวง
« « Prev : วัฒนธรรมการบริโภค กับการผลิตพืชเศรษฐกิจ (2)
Next : บทที่ 11 การแสดงความเห็น » »
16 ความคิดเห็น
นายพล แน่มากครับ
กากน้ำตาลหาจากไหนครับ มีอะไรที่หาได้จากไร่ของเขามาทดแทนได้ไหมครับ
น่าจะมีการออกแบบทดลองง่ายๆว่าการที่ได้ผลผลิตแบบนั้นเกิดจากน้ำหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยหมัก หรือทั้งสองอย่างร่วมกันครับ
ว่าแต่ว่าใครจะทำล่ะครับ ? อิอิ
รอกอดครับ เป็นประเด็นใหญ่มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
กากน้ำตาลมาจากไหน
เฮียตึ๋ง…
น่าจะมีการออกแบบทดลองง่ายๆว่าการที่ได้ผลผลิตแบบนั้นเกิดจากน้ำหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยหมัก หรือทั้งสองอย่างร่วมกันครับ
ว่าแต่ว่าใครจะทำล่ะครับ ? อิอิ
———————–
เป็นปลื้มกับพี่น้องไทบรูดงหลวงครับ
นี่แหละครับวิถีชาวโส้
คนพูดไม่ต้องทำ
คนทำแอบทดสอบจนแน่ใจแล้วค่อยนำมาเผยแพร่
ความจริงประเด็นนี้ นายเสรินบ้านหนองขอนแก่นที่มีสวนใกล้ๆกับพ่อพุ ได้จุดประเด็นไว้สามสี่ปีก่อนแล้ว ดีใจที่มีคนทำตามแล้วได้ผล
เปลี่ยน วันนั้นเราเชิญเกษตรอำเภอ คนใหม่มาร่วมด้วย เกษตรอำเภอท่านนี้เคยอยู่ดงหลวงเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว ตะลอนไปอุดรธานีแล้วกลับมาเป็นเกษตรอำเภอดงหลวง เป็นคนมุกดาหาร เข้ากันได้ดี
เกษตรจังหวัด จบ มช.ระหัส 13 รู้จักกันแล้ว
ปลัดอาวุโส ดงหลวง จบ มช. (ย้ายมาจากปกครองที่ศาลากลางจังหวัด)บอกให้แวะไปเยี่ยมกันหน่อย
นายอำเภอดงหลวงเป็นบัณฑิตอาสาเก่าธรรมศาสตร์ ลุยดี และติดดิน ใช้ได้..
เรื่องนี้เกษตรอำเภอคงสานต่อเพราะบอกว่าจะพัฒนาให้เป็นปราชญ์..!!??
โครงการเราตอนนี้สวิงกลับมาให้ ปทจ. และทนา เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ทนาก็สนใจจะไปปักป้ายแล้ว..อิอิ
เพิ่งทำแผนเสร็จ เดี๋ยว แหม่มจะส่ง email มาให้ แผนนี้จะให้ เบอร์หนึ่งดูแล้วคงแก้ไขตามวิสัยทัศน์ของท่าน ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับที่เราดำเนินการมา วันจันทร์ 16 นี้จะประชุมเรื่องนี้ที่ขอนแก่น Mr.ODA จะลงมาประชุมด้วย
พี่จะส่งข่าวผ่าน ลานฅนฟื้นฟูก็แล้วกันนะเปลี่ยน…
คุ้นๆว่ามีคนลองใช้น้ำตาลจากกล้วยค่ะพี่บู๊ท เพราะกากน้ำตาลแพงขึ้นเรื่อยๆ ไว้จะค้นให้นะคะ จำได้ว่าส่งให้เม้ง พ่อครู กับเก็บไว้เล่มหนึ่งค่ะ
แม่ลองใช้กะปิถูกๆละลายน้ำ รดต้นไม้และพ่นใบ พบว่าต้นแก้ว กับ พุดสามสีแตกยอดและออกดอกหน้าหนาวด้วยค่ะ วิเคราะห์กันว่ากะปิมีไคโตซานจากเปลือกเคย ซึ่งน่าจะมีส่วนช่วยให้พืชเจริญได้ดี ถ้าเป็นจริงไม่เห็นต้องซื้อปุ๋ยที่โฆษณาโครมๆว่ามีไคโตซานช่วยในการเจริญเติบโตของพืชเลยเนาะคะ อิอิอิ หนับหนุนการทดลองด้วยวิถีชาวบ้านค่ะ ^ ^
เรื่องน้ำตาลจากกล้วยน่าสนใจ เพราะกล้วยปลูกได้เอง ง่าย กินได้ (ชอบต้องมีติดบ้านทุกวัน คนมั่งน้องหมามั่ง เจ้าคุ้กกี้ชอบกินกล้วย อิอิ)
เรื่องกะปิละลายน้ำพ่นใบ ก็น่าที่จะเป็นเหตุเป็นผลดังกล่าวครับ เคยได้ยินอยู่เหมือนกันแต่ไม่ได้ทดลองสักที กะปิที่บ้านมันแพง อิอิ
แต่แพงอย่างไรก็จะลองครับ เพราะนานๆๆๆๆ จะเอากะปิมาประกอบอาหารสักที อิอิ..
ขอบคุณครับ
การหมักกล้วยให้เป็นน้ำหมักจะให้น้ำส้มสายชูด้วยนะค่ะพี่บางทราย ปรับดีๆอาจจะได้สองเด้งนะพี่
ไม่ใช้กะปิก็ใช้เปลือกแข็งของสัตว์ทั้งหายนี่แหละค่ะพี่ใช้ได้ เปลือกหอย เปลือกปู ก้างปลาทั้งหลาย กระดองหมึกที่ไม่กินอ่ะน่ะ เอามาป่นจนเป็นแป้ง ได้ไคโตซานทั้งน๊านเลยพี่ ไม่ต้องเปลืองกะปิด้วย เคยนะมันแพงนะพี่ กิโลหลายร้อย ยกเว้นเคยเน่าๆเหม็นๆ โล๊ะซะก็ดี…อิอิ
ขอบคุณครับ ได้ความรู้มากครับ ล้วนมีประโยชน์ครับ จะเอาไปแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านและหาทางทดลองทำใช้กันต่อไป
วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพอย่างง่ายที่สุดโดยไม่ใช้กากน้ำตาลค่ะ
ส่วนผสม
- เศษอาหาร(แต่ละวันอย่างทิ้งไว้จนเน่า) 60 %
- ฝักก้ามปู (หรือฉำฉา/จามจุรี) 20 %
- ผลไม้ที่มีรสหวานหรือเปลือกสับปะรด 10 %
- รำละเอียด 5 %
หัวเชื้ออย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่างคือ
1. น้ำจุลินทรีย์ที่หมักไว้แล้ว
2. พด.2 จากกรมพัฒนาที่ดิน
3. ปุ๋ยดินระเบิด (การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ด้วยดินจากธรรมชาติ)
* ทั้ง 3 อย่างนี้ถ้ามีจะดีมาก ถ้าไม่มีไม่ต้องใช้ก็ได้ค่ะ)
วิธีทำ นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมรวมกัน หมักด้วยน้ำสะอาด ใช้น้ำประมาณ 2 เท่าของส่วนผสมทั้งหมด หรือใส่น้ำพอท่วมหมักทิ้งไว้ในร่มประมาณ 3 เดือน จึงกรองน้ำมาใช้กับต้นไม้
วิธีใช้ นำน้ำหมักที่ได้ กรองมาใช้โดยผสมน้ำ 3-5 ช้อนชา/น้ำ 1ปี๊บ ฉีดพ่นที่ใบหรือที่โคนต้น 2-3 วัน/ครั้ง ต้นไม้จะงามดีค่ะ
(สูตรของชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน โดยสมณะเสียงศีล ชาตวโร)
เยี่ยมมากน้องเบิร์ด พี่จะเอาไปให้ชาวบ้านทดลองทำดูครับ
ขอบคุณมากครับ
<p><strong>กำลังคิดจะทดลองทำน้ำหมักจากมันสำปะหลังพอดีครับ ขอความอนุเคราะห์วิธีการและขั้นตอนการทำหน่อยครับ จะได้นำมาทดลองทำ ถ้าได้ผลจะได้นำไปส่งเสริมเกษตรกรต่อไปครับ รบกวนด้วยครับ ส่งมาทางเมลก้อได้ครับ <a href=\”mailto:mysangsawat@hotmail.com\”>mysangsawat@hotmail.com</a> ขอบคุณล่วงหน้าครับ</strong></p>
คุณ aggie 35 รอเดี๋ยวนะครับ ผมจะกลับไปมุกดาหารแล้วจัดการให้ ครับ อยากรู้จักคุณ aggie มากกว่านี้สักนิดครับ
ผมเปงนักวิชาการเกษตรประจำตำบลมาบกราด จังหวัดนครราชสีมา ครับพอดีแถวตำบลที่ผมทำงานมีพื้นที่ปลูกมันเยอะครับอยากช่วยเกษตรกรในการลดต้นทุนในการผลิตเบอร์โทรติดต่อผมครับ 0896244963
ด้วยความยินดีครับ คอยเดี๋ยวนะครับ เพราะมีงานเข้า…