ไม่รู้-ไม่ชี้ ดี ไม่รู้แล้วชี้ทีหลังอย่าทำ

อ่าน: 2817

เมื่อวาน ๑ มิย. ๒๕๕๔ อาม่าได้หนังสีอ เิชิญประชุมและร่วมกิจกรรมของวุฒิอาสาฯ ในโครงการตามป้ายข้างล่าง ในวันที่ ๒ มิย. ๒๕๕๔ ณ วัดอาศรมธรรมทายาท(วัดหลวงตาแชร์) บ้านมอจะบก อ.สีคิ้ว ประธานฯ ได้เชิญเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้นำสื่อมาถ่ายวีดิทัศน์กิจกรรมของวุฒิฯ ในวันนี้พร้อมทั้งขอเงินสนับสนุนค่าใช้จ่าย เป็นค่ารถ ค่าเบี้ยเลี้ยงและ ค่าอาหาร ค่าประชุมในการทำกิจกรรม อาม่าเพิ่งทราบจากที่ประชุมในวันนี้เอง ..งงมากๆ

และได้เชิญหน่วยงานต่างๆ ตามป้ายข้างล่าง เพื่อให้มีคนมาเยอะๆ แต่ที่เห็นใจมากๆ คือ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เขต ๕ จ.นครราชสีมา ที่อาม่าคุ้นเคย  และโรงพยาบาลสีคิ้ว ที่มาในวันนี้ เพราะไม่ได้รับความสนใจจาก ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมในวันนี้ เพราะไม่มีชาวบ้าน และเกษตรกรในพื้นที่และหมู่บ้านใกล้เคียงมาเลย คงมีแต่แขกที่ได้รับเชิญมาตามป้าย หนักหน่อยก็ ว.เกษตรและเทคโนโลยีสีคิ้ว ที่รับจ้างปลูกข้าวในท่อซีเมนต์วันนี้ แล้วก็ทำโดยที่ไม่มีการศึกษาการปลูกข้าวไร้สารพิษต้นเดี่ยวในท่อซีเมนต์ ความชัดเจนเรื่องตรวจวิเคราะห์ดิน ทั้งวิธีการปลูกข้าวต้นเดี่ยวเต็มท่อซีเมนต์ การดูแลรักษาต่อไป

ปลูกข้าวไร้สารพิษในท่อซีเมนต์ด้วยเหตุผลเพราะสามารถดูแลให้ปลอดสารพิษได้สะดวก และสามารถปลูกได้แม้ไม่มีดินที่จะปลูก โดยอ้างว่าใช้วิธีปลูกในท่อซีเมนต์แบบอาม่า ที่วุฒิอาสาหลายท่านเคยมาดูที่บ้าน และเคยเข้ารับฝึกอบรมการปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่อาม่าจัดฝึกอบรมให้เกษตรกรบ้านใหม่อุดม อ.หนองบุญมาก และจัดฝึกอยรมอีกหลายหลักสูตรตามความต้องการของชุมชน เนื่องจากการทำงานของอาม่า คือการทำงานแบบจิตอาสา ทำแล้วมีความสุข โดยได้รับการสนับสนุนทางวิชาการ จากเทคโนธานี มาโดยตลอด อาม่าแค่จัดหาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่คุณค่าทางอาหารสูง มีดัชนีน้ำตาลต่ำเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และคนทั่วไป คือข้าวหอมมะลิแดง ที่อาม่าศึกษาค้นคว้ามานาน และเคยไปออกรายการไทยมุง ถ้าใครติดตามงานอาม่าก็คงรู้ว่า อาม่าสนใจเรื่องข้าวมานานแล้ว เมื่อวุฒิอาสาฯ จะทำโครงการฯ ที่วัดอาศรมธรรมทายาท และอยากได้พันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง ไปปลูกเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวไร้สารพิษในวงบ่อซีเมนต์ อาม่าก็ให้ไป พร้อมทั้งแนะนำวิธีการปลูกข้าวต้นเดี่ยว และการดูแล อย่างละเอียด แก่วุฒิฯ กลุ่มที่มารับพัันธุ์ข้าวและมาดูงานที่บ้านอาม่าแล้ว ไปเพาะกล้าเตรียมการเพื่อปลูกข้าวในท่อซีเมนต์ ที่ไปจ้างให้วิทยาลัยเกษตรฯ ไปดำเนินการ รวมค่าใช้จ่าย ค่าวัสดุปลูกข้าว และท่อซีเมนต์ เ็้ป็นเงิน หนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยห้าสิบบาท โดยขอเก็บจากวุฒิอาสาฯทุกคนที่มาวันนี้ บางคนไม่ทราบมาก่อนว่าต้องสมทบทุนในครั้งนี้สร้างความอึดอัดใจให้กับหลายๆ คนมาก หลายคนบ่นบอกอาม่าว่าที่มาวันนี้ ต้องการมาพบอาม่า เพราะอยากเจอ อยากเรียนรู้เรื่องปลูกข้าวต้นเดี่ยว อาม่าก็บอกว่าอยากเรียนรู้ก็มาได้เสมอ บ้านอาม่าเป็นบ้านซ่อนความรู้ไว้เยอะแยะมาค้นหาได้ตลอด เหมือนเกษตรกรจากทั่วสารทิศเขามาหา มาแรกเปลี่ยนเรียนรู้และได้ แหนแดง พันธุ์ข้าว สมุนไพร ผลไม้ติดไม้ติดมือกลับไปทุกคน และทุกครั้ง เพราะยิ่งให้ยิ่งมีมากค่ะ

ผู้รับผิดชอบในการสอนปลูกข้าว……ว.เกษตร ฯสีคิ้ว ท่านบอกว่าเป็นลูกชาวนาไม่เคยดำนา วันนี้จะมาสอนวิธีปลูกข้าวต้นเดี่ยว นำกล้าที่เพาะในแผงดึงออกมา แล้วบอกว่ากล้าต้องเพาะ ๒๐ วัน เมื่อเอาดินน้ำใส่ท่อ ที่เตรียมไว้แล้ว ให้้แยกต้นกล้าเป็นต้นเดี่ยว จับแล้วปักดำให้ลึกสองนิ้ว ปลูกเป็นรูปสามเหลี่ยมเรื่อยๆ ให้ห่างหนึ่งคืบจนเต็มท่อเป็นอันเสร็จ ดังภาพและมีการถ่ายทำวิดิทัศน์วิธีปลูกไว้เผยแพร่ต่อไป ประธานวุฒิฯ มอบหมายให้ ว.เกษตรฯ เป็นคนดูแล ได้ยินเสียงตามหลังมาว่าดูแลอย่างไร?….ไม่เสียงตอบจากเจ้าของโครงการ หลังจากนั้นภาคบ่ายมีการประชุมต่อ ทางสภาพัฒน์ ถามว่าทางวุฒิฯ มีการลงไปช่วยชาวบ้านอย่างไร ทำอย่างไร และสร้างเครือข่ายเศรษฐกิบพอเพียงอย่างไร คุณหมอเจ้าของโครงการก็ลุกขึ้นตอบ พูดเรื่องสุขภาพ ของตัวเองแล้วการดูสุขภาพตัวเองแล้วสอนให้กินข้าวกล้อง หมอเป็นมะเร็งตอนนี้ดูแลรักษาโรคมะเร็งด้วยข้าวกล้อง และพืชผักปลอดสารพิษปลูกเอง(สั่งให้คนปลูกในที่ห่างไกล) ถามอย่างตอบอย่าง คนฟังก็ต้องฟัง ในที่สุดก็จบลงปิดประชุม แล้วเดินทางกลับคุณถนอมศรี ประธานวุฒิฯ ถามว่างานวันนี้เป็นอย่างไร เมื่อถามอ่าม่าก็บอกความจริง เสียงสะท้อนที่แท้จริง และการอ้างอิงวิธีปลูกข้าวต้นเดี่ยว ที่ไม่เคยศึกษาค้นคว้า แถมอ้างอิงว่าเป็นวิธีกาแบบอาม่า อ้างผิดๆแบบนี้ อาม่าก็แย่ซิ ต่อไปใครเขาจะเชื่อถืออาม่า ถ้าประธานวุฒิอาสาฯ อยากรู้ว่าการปลูกข้าวในท่อซีเมนต์ เป็นอย่างไร เวลามาส่งอาม่าก็แวะดูข้าวต้นเดี่ยวที่บ้านก็ได้ (เพราะท่านไม่ถนัดอ่านเวปบล็อก หรือใช้เฟสบุค )สำหรับเครือข่ายอาม่ามีทั่วประเทศแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในโลกไซเบอร์ตลอดอยู่แล้ว ไม่รู้แล้วชี้ทีหลังอย่าทำ มันหมดสมัยแล้ว คนสูงวัยที่เขามีคุณภาพมีเยอะค่ะ แต่มักไม่ออกนอกหน้าชอบทำงานติดทองหลังพระ เด็กรุ่นใหม่ก็มีทั้งคุณภาพและมีจิตอาสามากมาย อาม่าไม่ห่วง กลุ่มจิตอาสาของอาม่ามีเยอะ มีทั้งปราชญ์ชาวบ้านเป็นเพื่อนเป็นพวกพ้องกันทำงานช่วยเหลือกันมาตลอด มีนักวิชาการจิตอาสาสูงอีกเยอะที่อาสามาช่วยงานอาม่า ถึงเวลาเมื่อไหร่ได้ช่วยแน่ค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 31(ปลูกข้าวเอง)

อ่าน: 2768

กระแสฉันจะเป็นชาวนา กำลังมาแรง ไม่เว้นแม้แต่อาม่ายังทำนาในบ้านเลย ปลูกต้นไม้มาก็นานโขที่เดียว สิ่งเดียวที่ยังไม่เคยปลูกอย่างจริงจังคือปลูกข้าว

น้ำท่วมครั้งรุนแรงที่สุดเมื่อตุลาคม ๒๕๕๓ สร้างความสูญเสียอย่างมหันต์ต่อชาวไร่ชาวนา อาม่าเลยทำโครงการความมั่นคงทางอาหาร โดยจัดหาซื้อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่มีคุณค่าทางอาหารสูงคือข้าวหอมมะลิแดง จากสุรินทร์ มาช่วยเหลือชาวนา โดยเริ่มส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจในการทำนาปลูกข้าวอินทรีย์ ด้วยการปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การบำรุงดินที่เหมาะสมกับสภาพดินและสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ ด้วยความรักและความเข้าใจในพื้นแผ่นดินของตนเอง โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีความรู้ความเข้าใจ ทั้ง น้ำ ดิน และมล็ดพันธุ์ข้าวที่พอเหมาะต่อภูมิสังคมของชุมชน ไม่ใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็น ต้องมีความอดทนอย่างมีเหตุมีเหตุผล อาม่าจึงขอการสนับสนุนช่วยเหลือด้านวิชาการผู้เชี่ยวชาญ จากฝ่ายปรับแปลงเทคโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มาฝึกอบรม มาฝึกอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ชาวนาเกษตรที่สนใจ ในการปลูกข้าวเพื่อขยายผลสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยให้มีพันธุ์ข้าวที่เพียงพอและยั่งยืน ที่จะใช้ปลูกให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคของแต่ละครัวเรือน หากมีกำลังพอ น้ำพอ ก็ปลูกเพิ่มเพื่อขายสร้างรายได้ค่อยเป็นค่อยไป อย่างมั่นคง  ข้าวเป็นอาหารหลักของชาวไทย ทุกครัวเรือนต้องกินอยู่แล้ว หากปลูกข้าวมีคุณภาพ ผลดีย่อมตามมาอย่างมากมาย ตั้งแต่ด้านสุขภาพ ไม่ต้องใช้สารเคมีที่อันตรายต่อสุข ลดค่าใช้จ่ายทั้งด้านอาหาร สารเคมี และค่าดูแลรักษาสุขภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ทั้งกายและใจ พร้อมจะปรับปรุงวิธีการปลูกและวิธีดูแลรักษานาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาม่าเป็นนักวิชาการอิสระ ที่เข้าใจชาวนาและเข้าใจนักวิชาการ จึงสามารถพูดคุยและทำความเข้าใจที่ตรงกันได้ อาม่าจึงจัดสรรค้ดหา ความรู้ให้ตรงกับความต้องการของชาวนา ย่อมทำให้ทุกฝ่ายพอใจ นักวิชาการได้นำผลงานวิจัยที่ประสบผลสำเร็จลงไปขยายผลลงไปใช้ในพื้นที่ อย่างจริงจังเป็นรูปธรรม ทุกฝ่ายมีความสุขนั่นคือความพอเพียงเกิดขึ้นแล้วค่ะ

มาดูดูการปลูกข้าวของอาม่า ในบ้านนะค่ะ

อาม่าเริ่มปลูกข้าวในท่อซีเมนต์เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ ผ่านมาเกือบสองเดือน ข้าวแตกกอเกือบเต็มท่อแล้ว ข้าวแข็งแรง เริ่มออกรวงแล้วค่ะ

แต่ใช่ว่ามันจะราบรื่นไปเสียทุกอย่าง นี่คือนาขนาดย่อจิ๋วที่สุด แต่ปัญหาก็เกิดเหมือนทำนาในแปลงจริงๆ ดินเป็นดินนา เมื่อนำมาใช้ปลูกข้าวก็มีสัตรูพืชติดมา หอยเชอรี่ และหอยอื่นๆ ใช้วิธีเก็บออกให้หมด นี่ถ้าแปลงนาใหญ่ก็คงต้องใช้เป็ดตัวโตลงไปเก็บให้แน่ๆเลย ต้นข้าวเพิ่งแตกอ ถูกหอยกัดกินไปหลายกอทีเดียว ปลูกได้ ๕ วันข้าวออกรวงแล้ว อาจเป็นการตกใจกลัวตายของต้นข้าว? มาดูกันนะคะว่าอาม่าปลูกอย่างไร

ปัญหาเกิดขึ้น เหมือนในนาจริงๆ แต่ขนาดถูกย่อลงมาเล็กจนจิ๋วนิดเดียว ทำให้เข้าใจ และรับรู้ถึง ความรู้สึก ความทุกข์ยากของชาวนาได้อย่างลึกซึ้ง ทำให้ต้องให้ความช่วยเหลือและช่วยหาผู้มีความรู้ความเข้าใจลงไปช่วยแก้ปัญหาให้ ชาวนาและเกษตรกร ตอนนี้อาม่าส่งทีมงานจิอาสากลุ่มทำสมุนไพรกำจัดสัตรูพืช ไปช่วยกำจัดเพลี๊ยะและแมลงที่ทำลายต้นมันสำปะหลัง โดยใช้น้ำสมุนไพรหมักสูตรที่ให้ตรงกับชนิดของเพลี๊ยะและแมลงระบาดในไร่มัน โดยฉีดทั่วแปลง ได้ผลอย่างน่าชื่นใจ ช่วยกู้ไร่มันสำปะหลังที่นักวิชาให้ไถทิ้งแล้วปลูกใหม่ หลังจากฉีดสมุนไรใบที่แมลงและเพลี๊ยะทำลายเหี่ยวเฉาพร้อมทั้งสัตรูมันก็สิ้นฤทธิ์ ล่วงหบ่นไป ใบใหม่ก็เกิดขึ้น เมื่อกำจัดสัตรูได้แล้วก็ให้อาหารคือปุ๋ย ต้นมันสัมปะหลังกลับมาแตกใบงามกว่าเดิมด้วยปุ๋ยสูตรผสมจากกากขี้หมูที่เป็นผลพลอยได้ หลังจากทำแกสชีวภาพ ผสมอินทรีย์ชีวภาพบางตัว ทำให้ไร่มันสำปะหลังฟื้นตัวได้เร็ว ทุกแปลงที่ลงไปช่วยกำจัดเพลี๊ยะและหนอนด้วนสมุนไพรหมักสูตรต่างๆ ได้ผลเป็นอย่างดี  มีการเก็บข้อมูลติดตามผลเป็นระยะๆ จนถึงเวลาเก็บเกี่ยวทุกแปลง แล้วอาม่าจะเอาผลมารายงานให้รับรู้ต่อไปค่ะ


ครอบครัวช่วงวันหยุด

อ่าน: 3153

ขอบคุณวันหยุด ลูกๆ กลับมาเยี่ยมพ่อแม่ และอาม่าที่ปักธงชัย

พอลูกๆ มาถึงบ้าน สิ่งแรกที่แม่ทุกคนมักจะปฏิบัติเหมือนๆกัน คือจะเตรียมทำอาหารที่ลูกชอบ ” วันนี้อยากกินอะไร? “ สำหรับที่บ้านวรารักษ์แล้วจะมีน้ำเก๊กฮวย(สามสหาย สายน้ำผึ้ง เตยหอม และเก็กฮวย) เตรียมไว้ในตู้เย็นอย่างพอเพียง ชื้อขนมจีนน้ำยาที่ลูกชอบไว้ เที่ยวนี้มีของโปรดที่ลูกๆ ชอบ ตั้งใจเคี่ยวน้ำปลาหวานไว้กินกับมะม่วงดิบ(งามเมืองย่ากำลังกิน) มื้อเย็นมีผัดดอกชมจันทร์กับกุ้ง ต้มจืดเกี๊ยมไฉ่ น้ำพริกปลาฉลาดกับผักต้ม ผัดเห็ดภูฐาน และปลาสลิดทอด เสร็จมื้อเย็น สักพักก็มะม่วงน้ำปลาหวาน นี่แหละความสุขที่กินได้

มืดค่ำทุกคนก็มีงานของตัวเอง จึงหามุมที่เหมาะทำงานกัน ลูกคนโตทำพาวเวอร์พอยท์ให้บริษัท ลูกคนเล็กซ่อมฮาร์ดดีส  ส่วนอาม่าไม่ได้ทำอะไรเลยนอนก่อน ตื่นเช้าตั้งใจจะชวนลูกๆ ไปตลาดในชุมชนไม่ไกลจากบ้านมากนัก ลูกคนกลางบอกว่าทั้งน้องและพี่ทำงานจนดึกมากคงอยากนอนมากกว่า

อาม่าจึงไปจ่ายตลาดกับลูกสาวคนกลาง ที่ตลาดโคกกรวด ได้ไข่เป็ดสดๆ มาต้ม(ไข่ต้มยางมะตูม) ได้ผักพื้นบ้านสดๆ พร้อมใช้สำหรับทำแกงไตปลาครบตามสูตรลับของบ้านวรารักษ์ที่ต้องใส่เห็ดเผาะด้วย แล้วก็ได้ปลาดุกอ้วนๆ มาแกงเหลืองกับยอดฟักทองอวบๆน่ากิน ได้มะม่วงกะล่อน (บางบ้านเรียกมะม่วงตอแหล)มะม่วงป่าที่หากินยากแล้วในตอนนี้ และได้มะม่วงน้ำดอกไม้สวยๆ เพิ่มอีก วันนี้มีวาสนาดีจริงๆ ได้กล้วยเล็บมือนางมาอย่างไม่คาดคิดจากตลาดเล็กๆ  สิ่งที่เลำ่ลือคือข้าวทอดที่แสนอร่อยของโคกกรวด ก็ได้มาอีกเช่นกัน ซื้อขนมถั่วแปป และข้าวเหนียวมูลมาด้วย  กลับมารีบลงมือทำอาหารมื้อกลางวัน  และอาหารที่จะเอากลับไปกินที่กรุงเทพ

ภาพสุดท้ายนี้ เป็นฝีมือลูกสาวคนกลาง ที่ถ่ายรูปดอกไม้ต้นไม้ ตอนที่มาถึงแถมเก็บภาพที่แม่กำลังสอนชินจังลูกชายหมอหยก ที่พ่อแม่มาฝากไว้ก่อนเที่ยง หลังจากกินมื้อเที่ยงแล้วมาช่วยย่า(ซึ่งชินจังเีรียก อาม่าว่า “ย่า”) เตรียมดินปลูกต้นไม้แล้วยังช่วยปอกหัวหอมไว้ใช้ซอยใส่ในน้ำปลาหวาน  เพื่อเตรียมเป็นของว่างรับ พวกอาๆ ที่กำลังเดินทางจากรุงเทพ จะมาถึงในช่วงบ่ายวันที่ ๑๕ พค. หลังจากนั้นชินจังยากประดิษฐ์ดอกไม้จากใบไปไม้แบบต่างๆ ซึ่งชินจังไปเห็นที่วางอยู่บนโต๊ะ ย่าก็สอนให้ ทำดอกกุหลาบจากใบเตยหอม เป็นความสุขเล็กๆ ที่แบ่งปันให้กันและกันค่ะ ลูกๆทุกคนรักและเอ็นดูหนูชินจังมาก และดีใจที่ชินจังมาช่วยทำให้อาม่าไม่เหงา


ความมั่นคงทางอาหาร29 (สภากาแฟครั้งที่4/2554 )

อ่าน: 2088

วันอังคาร ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ “สภากาแฟ” ครั้งที่ ๔/๒๕๕๔ จัดขึ้นที่หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา อาม่าไปร่วมงานครั้งนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งมีการจัดเป็นประจำทุกเดือนแต่ละหน่วยงาน หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นการพบปะกันระหว่างหัวหน้าหน่วยงาน ราชการ ทหาร และเอกชน มาทานอหารเช้า(๗.๐๐-๘.๓๐น)ร่วมกันเพื่อได้มีโอกาสพูดคุยทำความรู้จักสร้างความคุ้นเคยกันสมัครสมานสามัคคีกลมเกลี่ยวกัน เข้าใจการทำงานของแต่ละฝ่าย นำไปสู่การทำงานร่วมกันเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะแยกย้ายกันไปปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ

ท่านผู้ว่าจะสรุปเหตุการณ์ และสถานการณ์ในปัจจุบันโดยเฉพาะการสู้รบที่พนมดงรัก ชายแดนระหว่าง เขมร -ไทย ที่สุรินทร์ ศรีสะเกเกษ ซึ่งท่านเคยเป็นผู้ว่าฯ ของทั้งสองจังหวัดนี้มาก่อน จึงเข้าใจสถานการณ์ และสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรตามแนวชายแดนเป็นอย่างดี ท่านส่งรถสุขาเคลือนที่ไปช่วยเหลือประชาชน ที่ต้องอพยบหนีภัยการสู้รบตามชายแดน เข้ามาอยู่รวมกันในศูนย์ที่ทางการจัดให้ ไม่ว่าจะเป็น วัด โรงเรียน หรือสถานที่ราชการ เมืออยู่รวมกันจำนวนมากๆ จะมีความลำบากในเรื่องสุขา และช่วงบ่ายท่านจะไปเยี่ยมและเอาของไปช่วยเหลือราษฎณตามศูนย์ทั้งสองจังหวัด

ส่วนการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นวิถีชีวิตของชาวโคราช ในทุกด้านนั้น ทางหอการค้า มีโครงการเกษตรพอเพียง ๑ ไร่ ๑ แสน ซึ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  เข้าใจในโครงการนี้เป็นอย่างดี และบอกว่าเป็นเกษตรประณีต เกษตรกรต้องขยันจึงประสบความสำเร็จ


ความมั่นคงทางอาหาร 28(ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง)

อ่าน: 2443

คุณจักริน เชิดฉาย ประธานหอกาค้าจังหวัดนครราชสีมาได้นำโครงกาีร “เกษตรพอเพียง ๑ ไร่ ๑ แสน เพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวงฯ ในวโรกาสพระชนมายุ ๘๔ พรรษา ” ที่ทางกรรมการฝ่ายส่งเสริมเศรษฐิจพอเพียงหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา คุณ พิสิษฐ์ นาคำ ร่วมกับคณะอนุกรรมการฯ จัดทำขึ้น เพื่อเข้าร่วมกับทางจังหวัด  ในพิธึลงนามบันทึกความร่วมมือ “ชาวโคราชน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิถีชีวิต ถวายพระเจ้าอยู่หัว ๘๔ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๔ “  วันศุกร์ที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔  เวลา ๐๘.๓๐ -๑๒.๐๐น. ณ หอประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิกามูลนิธิชัยพัฒนา เป็นสักขีพยาน

ก่อนพิธีลงนามฯ  ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้บรรยายพิเศษ ปรัชญาของเศรษฐิจพอเพียงมิติทางสังคม เป็นการบรรยายที่ฟังแล้วทั้งสนุกและได้ความรู้สึกที่ตรงไปตรงมาอย่างชัดเจน อาม่าชอบการอธิบายความเรื่องของปรัชญาฯ ที่เป็นภาษาลาว “การพัฒนาทุกซอกทุกแนว ” เป็นภาษาง่ายๆเข้าใจได้ทันที่ เป็นธรรมชาติง่ายๆ  แค่รู้จักพื้นฐานของชีวิต คือรู้จักตัวเราเอง รู้จักโลกใบนี้ที่เราอยู่ประเทศที่เราอยู่ แล้วเราจะใช้โลกที่เราอยู่อย่างไร คือใช้ ดิน น้ำ ลม ไฟ อย่างไรในชีวิตทุกด้าน อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่บริโภคเกินความจำเป็น เราใช้ทรัพยากรของประทศอยู่ตลอดเวลา เราต้องช่วยกันรักษาแผ่นดิน(ทรัพยากร)คือรักษาชีวิต

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมาย ๑. เพื่อการพัฒนาที่สมดุล ๒. เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ๓. เพื่อการพัฒนาที่มีภูมิคุ้มกัน

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลาง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน( ต้องสร้างการบริหารความเสี่ยง) ภายใต้เงื่อนไขความรู้ คือรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง และเงื่อนไขคุณธรรม คือ ความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน มีสติปัญญา รู้จักแบ่งปัน นำไปสู่ชีวิต /เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน

ความพอดีด้านจิตใจ                                   ความพอดีด้านเศรษฐกิจ

๑. มีจิตใจเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้                 ๑. มุ่งลดรายจ่าย

๒. มีจิตสำนึกที่ดี                                  ๒. ยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้

๓. มองโลกอย่างสร้างสรรค์                      ๓. ไม่ใช้จ่ายเกินตัว เกินเงินที่หามาได้

๔. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่                                  ๔. หารายได้เพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป

๕. ประณี ประนอม                                ๕. หลีกเลี่ี่ยงการก่อหนี้โดยไม่มีผลตอบแทนที่คุ้มค่า

๖.ยึดประโยชน์สุข                                 ๖. บริหารความเสี่ยง



Main: 0.14459800720215 sec
Sidebar: 0.071002960205078 sec