คุณจักริน เชิดฉาย ประธานหอกาค้าจังหวัดนครราชสีมาได้นำโครงกาีร “เกษตรพอเพียง ๑ ไร่ ๑ แสน เพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวงฯ ในวโรกาสพระชนมายุ ๘๔ พรรษา ” ที่ทางกรรมการฝ่ายส่งเสริมเศรษฐิจพอเพียงหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา คุณ พิสิษฐ์ นาคำ ร่วมกับคณะอนุกรรมการฯ จัดทำขึ้น เพื่อเข้าร่วมกับทางจังหวัด ในพิธึลงนามบันทึกความร่วมมือ “ชาวโคราชน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิถีชีวิต ถวายพระเจ้าอยู่หัว ๘๔ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๔ “ วันศุกร์ที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๘.๓๐ -๑๒.๐๐น. ณ หอประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิกามูลนิธิชัยพัฒนา เป็นสักขีพยาน
ก่อนพิธีลงนามฯ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้บรรยายพิเศษ ปรัชญาของเศรษฐิจพอเพียงมิติทางสังคม เป็นการบรรยายที่ฟังแล้วทั้งสนุกและได้ความรู้สึกที่ตรงไปตรงมาอย่างชัดเจน อาม่าชอบการอธิบายความเรื่องของปรัชญาฯ ที่เป็นภาษาลาว “การพัฒนาทุกซอกทุกแนว ” เป็นภาษาง่ายๆเข้าใจได้ทันที่ เป็นธรรมชาติง่ายๆ แค่รู้จักพื้นฐานของชีวิต คือรู้จักตัวเราเอง รู้จักโลกใบนี้ที่เราอยู่ประเทศที่เราอยู่ แล้วเราจะใช้โลกที่เราอยู่อย่างไร คือใช้ ดิน น้ำ ลม ไฟ อย่างไรในชีวิตทุกด้าน อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่บริโภคเกินความจำเป็น เราใช้ทรัพยากรของประทศอยู่ตลอดเวลา เราต้องช่วยกันรักษาแผ่นดิน(ทรัพยากร)คือรักษาชีวิต
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมาย ๑. เพื่อการพัฒนาที่สมดุล ๒. เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ๓. เพื่อการพัฒนาที่มีภูมิคุ้มกัน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลาง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน( ต้องสร้างการบริหารความเสี่ยง) ภายใต้เงื่อนไขความรู้ คือรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง และเงื่อนไขคุณธรรม คือ ความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน มีสติปัญญา รู้จักแบ่งปัน นำไปสู่ชีวิต /เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน
ความพอดีด้านจิตใจ ความพอดีด้านเศรษฐกิจ
๑. มีจิตใจเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ๑. มุ่งลดรายจ่าย
๒. มีจิตสำนึกที่ดี ๒. ยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้
๓. มองโลกอย่างสร้างสรรค์ ๓. ไม่ใช้จ่ายเกินตัว เกินเงินที่หามาได้
๔. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ๔. หารายได้เพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป
๕. ประณี ประนอม ๕. หลีกเลี่ี่ยงการก่อหนี้โดยไม่มีผลตอบแทนที่คุ้มค่า
๖.ยึดประโยชน์สุข ๖. บริหารความเสี่ยง