ความมั่นคงทางอาหาร 2
ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมีความหลากหลายทางชีวภาพมากมาย สำรวจอย่างไรก็สำรวจไม่หมด โดยเฉพาะพวกพืชผักสมุนไพร ทั้งที่เป็นพืชผักพื้นบ้านที่ปลูกกันทั่วๆ ไปในแต่ละภูมิภาค และพืชผักสมุนไพรที่มีอยู่ในป่าทั่วไปของประเทศ
สมุนไพรตัวหนึ่งที่อาม่าได้มาเมื่อ 7 ปีที่แล้ว พยายามให้นักวิชาการหลายท่าน ช่วยค้นหาชื่อทั้งภาษาไทย และชื่อทางวิทยาศาสตร์ เป็นเวลากว่าสองปีแล้ว คำตอบคือไม่พบพืชตัวนี้ในฐานข้อมูลของไทยเรา
จนกระทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ มี คุณ Shinobi Sakka
เข้ามาตอบในเฟสบุ๊คโดยส่งมาให้สามชื่อด้วยกัน ค้นจาก Flora of Zimbabwe แต่อาม่าวิเคราะห์แล้วไม่ใช่ทั้งสามตัวที่แจ้งโดย คุณ Shinobi Sakka
อาม่าจึงค้นต่อในที่สุด จึงพบพืชตัวนี้ เป็นพืชที่พบในป่าบนภูเขาที่ความสูง 1750 เมตร ประเทศ Zimbabwe เมื่อ 24 สิงหาคม 2004
Dicliptera extenta
วันนี้อาม่าให้สมุนไพรตัวนี้กับ รศ.กมลทิพย์ และ ดร.ณัฐกานต์ และขอให้ ดร.ณัฐกานต์ช่วยทำ DNA finger print ให้เป็นอันดับแรกเสียก่อน ส่วนการวิเคราะห์สารนั้น ต้องรอผลที่ให้อาจารย์อีกท่านนำไปทำการวิเคราะห์สาร เมื่อสองปีก่อน
แต่ก็ยินดีที่จะให้นักวิชาการที่สนใจ นำไปวิเคราะห์สารแต่ละตัวในสมุนไพรตัวนี้ ส่วนการทดสอบสารเหล่านี้ก็จะเป็นขั้นตอนต่อไป ค่ะ
แนวคิดความมั่นคงทางอาหารนั้น เป็นเรื่องสำคัญมากค่ะ โดยเฉพาะอาหารที่เป็นสมุนไพร นั้นอาม่าให้ความสนใจมานานแล้วค่ะ อยากให้เราคนไทยที่อยู่ในแต่ละท้องถิ่น แต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รู้จักกินอาหารพื้นบ้านของท้องถิ่นตัวเองเป็นหลัก และกินให้เหมาะสมกับวัย กินอย่างพอเพียง และกินตามฤดูกาล สร้างความแข็งแรงและมั่นคงให้กับร่างกาย ห่างไกลโรคภัยที่เกิดจากการกินอาหาร ที่ไม่เหมาะสมต่อวัย ไม่เพียงพอต่อวัย
ขอให้ทุกท่าน กินอาหารอย่างมีความสุข กินแล้วไม่เกิดทุกข์ แค่นี้ก็พอเพียงแล้วค่ะ