ทองเนื้อเก้า๑

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 16 ตุลาคม 2013 เวลา 12:03 ในหมวดหมู่ เฮฮาศาสตร์ #
อ่าน: 3016

ช่วงนี้มีละครฮิตช่อง ๓ ผมไม่ได้ดูละครมานานพอสมควรแล้วเนื่องจากมีภารกิจหลายเรื่อง มาช่วงนี้เห็นละครทองเนื้อเก้า จำได้ว่าเคยดูสมัยอภิรดี ภวภูตานนท์ แสดง ซึ่งแสดงได้ดีมาก ก็เลยได้นั่งดูบ้าง แต่ก็ไม่ได้ตลอดเพราะทอฝันจะชวนคุณปู่เล่นบ้าง จะฟังเพลงเด็กบ้าง แต่ก็นึกในใจว่าอยากจะเขียนเรื่องนี้ หลังจากห่างหายไปจากวงการนานพอสมควร

เหตุที่อยากเขียนเรื่องนี้ก็เพราะมันเป็นเรื่องของชีวิตครอบครัว การอบรมสั่งสอน ผลที่เกิดขึ้น  มันเป็นเรื่องที่ผมให้ความสนใจเพราะเมื่อเราอยากจะให้ลูกหลานของเราได้ดีในอนาคตเราก็ต้องปลูกฝังสิ่งดีให้เขาในปัจจุบัน เพราะเราเองก็ได้รับการป้อนสิ่งดีๆมาจากอดีต

คำว่า “ทองเนื้อเก้า” หมายถึงอะไรกันแน่  ผมลอกบทความจากเวบไซต์ของสมาคมค้าทองคำมาให้อ่านกันครับ

“การกำหนดคุณภาพของทองคำ

การกำหนดคุณภาพของทองคำของไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีวิธีการกำหนดคุณสมบัติ ดังนี้

1.ในอดีต

ปรากฎหลักฐานตามประกาศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ระบุถึงการกำหนดคุณภาพทองคำ โดยตั้งพิกัดราคา(ทองคำ) ตามประมาณของเนื้อทองคำบริสุทธิ์ในทองรูปพรรณ เนื้อทองคำดังกล่าวอาจผสมด้วยแร่เงิน หรือทองแดงมากน้อยตามคุณภาพของทองคำ ส่วนการเรียกทองคุณภาพต่าง ๆ นั้น ใช้วิธีการเรียกราคาของทองคำต่อน้ำหนักทองหนึ่งบาทเป็นมาตรฐานในการเรียกชื่อทองคำ โดยเริ่มตั้งแต่ทองเนื้อสี่ขึ้นไปจนถึงทองเนื้อเก้า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ทองเนื้อสี่ หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคาบาท

ทองเนื้อห้า หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคาบาท

ทองเนื้อหก หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคาบาท (ทองดอกบวบ)

ทองเนื้อเจ็ด หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคาบาท

ทองเนื้อแปด หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคาบาท

ทองเนื้อเก้า หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคาบาท

ทองเนื้อเก้าเป็นทองคำบริสุทธิ์ เรียกว่าทองธรรมชาติ” หรือบางที่เรียกว่าทองชมพูนุช” เป็นทองที่มีสีเหลืองเข้มออกแดง นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกแตกต่างกันอีกหลายชื่อ เช่นทองเนื้อแท้”    “ทองคำเลียง”   ซึ่งหมายถึงทองบริสุทธิ์ปราศจากธาตุอื่นเจือปน ซึ่งตรงกับคำในภาษาล้านนาว่าคำขา”    นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกทองคุณภาพต่าง ๆ อีกหลายชื่อ เช่นทองปะทาสี”   ซึ่งเป็นทองคำเปลวเนื้อบริสุทธิ์ชนิดหนาทองดอกบวบ” เป็นทองที่มีเนื้อทองสีเหลืองอ่อนคล้ายดอกบวบ”

ในความหมายนี้ ทองเนื้อเก้า จึงเป็นทองคำบริสุทธิ์ ผมทำความเข้าใจว่าคำว่า “ทองเนื้อเก้า” ในละครนั้นหมายถึง วันเฉลิม ลูกของสันต์ กับลำยอง มิใช่ลูกของนักการเมืองนะขอรับ อิอิ ทำไมถึงบอกว่า “ทองเนื้อเก้า” หมายถึงวันเฉลิม ก็เพราะผมเข้าใจว่าผู้ประพันธ์ต้องการสื่อให้ทราบว่าคนดีแท้นั้นแม้จะอยู่ที่ไหนก็เป็นคนดี

ผมเคยมีความเชื่อตามบทความวิชาการที่ว่าเด็กเกิดมาบริสุทธิ์ ผู้ใหญ่ต่างหากที่ป้อนข้อมูลให้กับเด็ก ป้อนข้อมูลดีๆเด็กก็เป็นคนดี  ป้อนข้อมูลไม่ดีเด็กก็ยากที่จะดี ดังนั้นจึงพิสูจน์ว่าสิ่งแวดล้อมสำคัญกว่าพันธุกรรม  แต่ต่อมาประมาณสักสิบปีมาแล้วได้อ่านบทความวิชาการ (เสียดายที่ไม่ได้บันทึกเอาไว้ว่าอ่านจากที่ไหน) แต่เขามีงานวิจัยมานำเสนอว่า พันธุกรรมมีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ เช่นพ่อแม่ขี้ขโมย ลูกก็จะขี้ขโมยตามไปด้วยไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนเพราะมันถ่ายทอดทางพันธุกรรม  ตอนนี้เลยไม่รู้จะเชื่ออันไหนดี แฮ่…

เรื่องทองเนื้อเก้าเป็นเรื่องของครอบครัวรากหญ้า  ละครแตกต่างระหว่างฟ้ากับเหวที่เราดูคุณชายมาหลายตอน ตอนนั้นสาวๆอยากเป็นผู้หญิงของคุณชายกัน แต่พอมาถึงวันนี้เป็นละครละครน้ำเน่า (ก็อยู่ในสลัมก็ต้องเน่าสินะ..อิอิ) ชิงชังเคียดแค้น แม้จะมีเรื่องดีๆอยู่ในละครอยู่บ้างแต่บทในละครมันสะท้อนบทตัวไหนมากล่ะ เราเคยสังเกตกันไหมว่าละครเกาหลี ไม่มีเรื่องด่าทอสาดเสียเทเสีย ไม่มีเรื่องเมียหลวงตบกับเมียน้อย มีละครสร้างสรรค์ความรักชาติ รักวัฒนธรรม แล้วบ้านเราสร้างละครอย่างนั้นไม่ได้หรือไง เรื่องนี้ต้องว่ากันยาว คราวหน้าจะเอาเรื่องย่อมาให้อ่านกันครับ.

Post to Twitter Post to Facebook

« « Prev : จากปู่ถึงหลาน(๑๗)

Next : จากปู่ถึงหลาน(๑๘) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

237 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.26599311828613 sec
Sidebar: 0.048995971679688 sec