ศิลปะกินได้?
เดิมที่เดียวการสอนศิลปะเน้นหนักไปในทางศิลปะปฏิบัติ แต่ทุกวันนี้ครูออตเห็นว่ามีแนวคิดใหม่ ๆ ทีน่าสนใจที่ครูศิลปะนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือการนำเอาศิลปะมาผนวกกับชีวิตจริงของมนุษย์ อย่าทำให้ศิลปะเป็นแค่งานจิตรกรรม ประติมากรรม แต่ให้เอาศิลปะมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ความจริงในวิถีชีวิตคนไทยเราก็ล้วนใช้ศิลปะกับของกินของใช้มาแต่โบราณ เห็นชัดจากการแกะสลักผักผลไม้ให้สวยงามก่อนนำขึ้นสำรับ น้ำพริกปลาป่นสีแดงจากสีพริกป่นก็ตัดกับต้นหอมสีเขียวดูน่าทาน ข้าวต้มมัดสีขาวก็ตัดกับถั่วสีดำทำให้มีสีสันขึ้น นอกจากอาหารการกินจะสวยงามขึ้นและหน้าตาก็น่ากินขึ้น ซึ่งให้ความอุดมไปในทางสุนทรียศาสตร์ แบบนี้เรียกว่าไม่ต้องเรียนศิลปะแต่ก็มีศิลปะอยู่ในตัว
แต่เมื่อเราเรียนวิชาศิลปะและมีกฏเกณฑ์ทางศิลปะเข้ามากำกับ เราจึงถูกแยกศิลปะออกไปจากชีวิต เราถูกสอนมาให้เรียกภาพวาด งานปั้นเท่านั้นว่างานศิลปะ เราแยกข้าวของเครื่องใช้ที่ผลิตด้วยมือกลายเป็นแค่หัตถกรรมหรือดูดีหน่อยก็เรียกมันว่าหัตถศิลป์ แต่สำหรับครูออตแล้วขอเรียกว่ามันคือศิลปะ ในสถาบันศิลปะหลายแห่งมุ่งตรงไปที่ศิลปะสุดโต่งหรือจะเรียกวิจิตรศิลป์ก็มาก แต่เมื่อให้ออกแบบศิลปะสำหรับมนุษย์ใช้พวกศิลปินมักตกม้าตาย ดังนั้นศิลปะสำหรับเด็กสมัยใหม่จึงควรปลูกฝังการใช้ศิลปะในชีวิตประจำวันด้วย
“ศิลปะที่กินได้” อันเป็นหัวข้อของศิลปะในห้องเรียนวันนี้ ครูออตชวนเด็ก ๆ ทำขนมปังในแบบของตัวเองโดยมีแผ่นขนมปังแทนกระดาษ มีแยมแทนดินสอและแทนสี มีกรรไกรและพิมพ์ช่วยตัดและทำรูปทรงต่าง ๆ งานนี้เราเริ่มด้วยการคุยเรื่องขนมปังในแบบที่เด็ก ๆ เคยกิน ตามมาด้วยให้เด็ก ๆ วาดขนมปังที่ตนเองเคยกิน ขนมปังที่ตัวเองอยากกินและขนมปังที่จะทำในวันนี้
เด็ก ๆ ลงมือวาดขนมปังในกระดาษ ซึ่งถือว่าเป็นถอดขนมปังจากจิตนาการ/ประสบการณ์ ออกมาเป็นรูปให้ครูออตดู(ประมวล ทบทวนความรู้เดิมที่เด็ก ๆ มี) เมื่อได้แบบสองสามแบบแล้ว ก็ให้เด็ก ๆ เลือกแบบที่ตัวเองจะทำจริงในการทำศิลปะกินได้ในวันนี้
หลังจากนั้นครูออตสาธิตคร่าว ๆ ในการใช้เครื่องไม้เครื่องมือก่อนที่จะให้เด็ก ๆ สวมผ้ากันเปื้อนและออกไปล้างมือให้สะอาดที่สุดที่ห้องน้ำ ก่อนจะลงมือทำขนมปังในจินตนาการให้กลายเป็นขนมปังที่กินได้ในวันนี้
๑.ในขณะที่ทำ ครูควรสังเกตให้ได้ว่าเด็กจะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไรเพราะขนมปังในกระดาษ กับ ขนมปัง/แยม ของจริงนั้นต่างกัน? เพราะนี่คือการประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงๆ
๒.การทำรูปทรงด้วยพิมพ์เด็ก ๆ จะได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการควบคุมแม่พิมพ์ และกล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการออกแรงกดแม่พิมพ์เพื่อให้ขนมปังขาดออกจากกัน
๓.เมื่อมีรูปทรงเยอะแยะเด็ก ๆ จะได้ออกแบบว่าจะจัดการวางขนมปังชิ้นเล็กชิ้นน้อยให้ออกมาเป็นขนมปังตามจินตนาการได้อย่างไร นี่เขาจะเรียนวิชาองค์ประกอบศิลป์อย่างไม่รู้ตัว
ครูออตสอนวิธีเรียนวิชาที่ชิมได้ อร่อยๆทั้งน๊านนนนนนนนน อิ
ความคิดเห็น โดย sutthinun — ตุลาคม 23, 2011 @ 20:16
น่าจะเอาไปลงในหนังสือโมเดลอีสาน อิ
ความคิดเห็น โดย sutthinun — ตุลาคม 23, 2011 @ 20:17
Like
และนึกถึงลูกชุบจ้ะน้องออต ทำไมลูกชุบต้องปั้นเป็นผลไม้เท่านั้น เราจะปั้นเป็นรูปทรงต่างๆไม่ได้หรือ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทำลูกเต๋า วงกลมหลากสี หรือห้าเลี่ยม หกเหลี่ยมก็น่าจะดี น่ารักจะตาย อิอิอิ
ความคิดเห็น โดย น้ำฟ้าและปรายดาว — ตุลาคม 23, 2011 @ 20:51