แผนผังเดินดินบ้านหว้านใหญ่ : มุมองและความคิด
เมื่อวานอาจารย์บางทรายแวะมาคุยเรื่องค่ายฮูบแต้มแคมของ ที่จะจัดในวันที่ 1-3 กันยายนนี้ที่บ้านว่านใหญ่ อำเภอว่านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร(ที่เขียนว่านใหญ่เพราะว่า ชื่อเดิมของบ้านนี้คือ ว่านใหญ่ แต่เพี้ยนเป็น หว้านใหญ่ในปัจจุบัน) ซึ่งวานนี้ได้มุมมองและแนวคิดหลายอย่างในการจัดค่ายจากมิติของนักพัฒนา
กิจกรรมหนึ่งที่ผมเน้นและท่านอาจารย์บางทรายเห็นด้วยคือ การสำรวจพื้นที่ชุมชนเพื่อหาเรื่องราว มุมมองและอัตลักษณ์ที่แสดงออกในพื้นที่ของชุมชนบ้านหว้านใหญ่ ซึ่งในค่ายจะชี้ให้เห็นการมองในมุมที่คนในลืมมองแต่คนนอกสนใจ ในค่ายเราจะชี้ชวนให้เด็ก ๆ สงสัยสิ่งที่ปรากฎ เรื่องเล่าที่สืบมา
แผนผังเดินดินของเรามีรูปแบบการศึกษาอย่างไร นี่เป็นแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ ในรูปแบบค่ายที่เราวางแผนเอาไว้การทำและจะนำไปสู่การจัดทำแผนที่ท้องถิ่น
แผนผังท้องถิ่น (Localized Mapping) ในมุมมองของผมหมายถึง การค้นหา ระบุ จัดทำข้อมูล แหล่งทรัพยากรที่ปรากฎในชุมชนทั้งปรากฎในรูปลักษณะที่จับต้องได้(The tangibles)และสิ่งที่เป็นนามธรรม(The intangibles) โดยกระบวนการทำงานและผลัพท์ของการทำแผนที่ท้องถิ่นจะช่วยให้คนในท้องถิ่นชื่นชมอัตตลักษณ์ของชุมชน(Identity)และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่พบในแผนที่
กระบวนการจัดทำแผนผังท้องถิ่น สำหรับค่ายฮูบแต้มแคมของ มีกระบวนการง่าย ๆ ซึ่งเหมาะสำหรับจัดการเรียนรู้ในค่ายดังนี้
ตามมาดู..ชิดติดขอบค่าย
ความคิดเห็น โดย dd_l — สิงหาคม 17, 2009 @ 20:26
อาม่า ว่าน่าจะเรียกว่าแผนผังเดินดินบ้านหว้านใหญ่ มากกว่านะค่ะ หากใช้คำว่าแผนที่มันเป็นทางการเกินไป มีกฏระเบียบแบบแผนที่มีมาตรฐาน ด้านความถูกต้องทางมาตราส่วน ทิศ ระยะทาง และการคำนวนพิ้นทีฯลฯ จึงอยากเสนอแนะให้ใช้คำว่า “แผนผัง” ซึ่งตรงกับที่น้องออตต้องการค่ะ
ความคิดเห็น โดย Lin Hui — สิงหาคม 18, 2009 @ 11:35
หากใช้ภาพถ่ายดาวเทียมของกูเกิลเอิร์ท ก็พอจะเป็นแผนที่ภาพได้ค่ะ หากมีการปรับปรุงเพิ่มเติมข้อมูลให้ทันสมัยยิ่งเป็นแผนที่ภาพที่ทันสมัยค่ะ
ความคิดเห็น โดย Lin Hui — สิงหาคม 18, 2009 @ 11:38
อาม่าครับ ขอบพระคุณมาก
ได้ส่งรายละเอียดการเดินทางให้อาม่าแล้วนะครับ
ความคิดเห็น โดย ออต — สิงหาคม 18, 2009 @ 11:41
แก้แล้วตามที่อาม่าแนะนำครับ
ความคิดเห็น โดย ออต — สิงหาคม 18, 2009 @ 11:43