๕๖.ชุมชนสมานฉันท์

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2008 เวลา 16:02 ในหมวดหมู่ เสริมสร้างสังคมสันติสุข #
อ่าน: 1727

วิทยากรที่มาพูดคุยให้พวกเราฟังในวันนี้คือ อาจารย์โคทม อารียา ที่ท่านบอกว่า ท่านมีชื่อเป็นแขก หน้าเจ๊ก แต่หัวใจเป็นไทย อิอิ…

ท่านได้อธิบายภาคทฤษฎี

๑.แนวคิด เรื่องความขัดแย้ง มีแนวคิดอยู่ ๒ สำนัก คือ

CR หรือ Conflict Resolution ซึ่งจะใช้กับความขัดแย้งที่ไม่ซับซ้อน กับ

CT หรือ Conflict Transformation ซึ่งจะใช้กับความขัดแย้งที่ซับซ้อนและเห็นหนทางให้ความขัดแย้งกลายเป็นพลังสร้างสรรค์เกิดการเปลี่ยนแปลง

หรือถ้าจะเปรียบเทียบ CR กับ CT

คิดแบบ CR                                            คิดแบบ CT

-ความขัดแย้งหลีกเลี่ยงได้                   -หลีกเลี่ยงไม่ได้มันต้องเกิด

-เกิดเพราะมีคนต้องการให้เกิด              -เพราะโครงสร้างทำให้เกิดการแข่งขัน

-เป็นอันตรายต่อความสำเร็จ                 -เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ

-ไม่ดี เป็นสิ่งเลวร้าย                           -เป็นเรื่องปกติ

ยกตัวอย่าง ผัวเมียทะเลาะกัน ผัวจะซื้อตู้เย็นฝาเดียวเพราะราคาถูกกว่า เมียอยากได้แบบสองประตู ก็ต้องใช้แนวคิดแบบ CR เพราะถ้าคิดแบบ CT ว่ากันด้วยเรื่องโครงสร้างแล้วมันจะยาวทะเลาะกันตาย หรือนายจ้างกับลูกจ้าง ลูกจ้างขอขึ้นค่าแรง ๑๐ บาท นายจ้างต่อรองเหลือ ๗ บาท ตกลงกันได้จบ แต่ถ้าแนวคิดแบบ CT ว่ากันด้วยโครงสร้าง ลูกจ้างจะไปยอมอย่างนั้นไม่ได้ไม่มีพลัง มันต้องเรียกร้องโดยสหภาพแรงงาน ปล่อยให้สหภาพเป็นผู้เจรจา ต้องดูค่าครองชีพ ต้องเอาความขัดแย้งเป็นพลัง เอาความขัดแย้งเป็นบทเรียน ถ้าเป็นแบบนี้ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง…..

แต่พอเรามามองการเมืองไทย พลวัตเราสูงไปหน่อย พอทำท่าจะก้าวไปข้างหน้าก็เกิดความขัดแย้งเจอกำแพงแล้วดีดกลับทุกที อิอิ แต่ถ้ามองในแง่ของความแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งก็ต้องถือว่าเป็นความก้าวหน้า ใช่ไหมครับ…ลองดูที่ภาพนี้ครับ

พลวัตของความขัดแย้ง

๒.เครื่องมือในการวิเคราะห์ความขัดแย้ง ท่านทำภาพภูเขาน้ำแข็งให้เราดู

ภูเขาน้ำแข็ง

เหมือนปัญหาในภาคใต้ ข้างบนมองเห็นแต่ข้างล่างมองไม่เห็น ส่วนบน ปรากฏการณ์ เหตุการณ์ ก็คือ มีการฆ่ากันทุกวัน วิธีแก้ ตำรวจทหารเข้าไปในพื้นที่ ปิดล้อม ตามล่า จับกุม ดำเนินคดี เรียกว่าการบริหารวิกฤติ เป็นการตอบสนองระดับเหตุการณ์ จากนั้นก็มีการจำแนกแจกแจงวันเวลาที่กระทำ พื้นที่ หารูปแบบพฤติการณ์ที่กระทำ เหตุการณ์นี้มีความหมายว่าอย่างไร เอาเหตุการณ์มาวิเคราะห์ วัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน แก้ไข ให้ถูกจุด เช่น รู้ว่า เปลี่ยนจากการยิงมาเป็นใช้ระเบิด จากระเบิดมาเป็นการเผา สรุปผลว่าอย่างไร จะป้องกันอย่างไร จะต้องจุดตรวจหรือกองกำลังยังจุดใด จากนั้นต้องวิเคราะห์ต่อลึกลงไปอีกถึงเหตุแห่งแบบแผนพฤติกรรม ว่าเหตุที่เกิดความรุนแรง เกิดขึ้นเพราะอะไร เช่น ขัดแย้งกันเรื่องอะไร คับข้องใจ เรื่องราวในอดีต ภาษา การปกครอง ศาสนา(ไม่ใช่ตัวขัดแย้งแต่เอามาใช้เพื่อให้เกิดความขัดแย้ง) ระบบจะต้องทำอย่างไร จะเปลี่ยนเรื่องระบบการศึกษา ระบบโครงสร้าง มี ศอ.บต. หรือ กอ.รมน.กำกับดูแล ต้องมีกลไกโครงสร้างมารองรับ ต้องให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แต่ที่อยู่ลึกที่สุด คือ หาเหตุเชิงความคิดความเชื่อ ค่านิยม เช่น ความคิดความเชื่อเรื่องประวัติศาสตร์ ความคิดความเชื่อเรื่องศาสนา ก็ต้องมีการปรับระดับความคิดในเรื่องต่างๆซึ่งเป็นอคติ ถ้าปรับได้ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้…..

ถ้าอยู่ที่ระดับพฤติกรรม เราจะเห็นการเกิดกิริยา แล้วเราก็จะใช้ปฏิกิริยาโต้ตอบ รุนแรงมาก็รุนแรงไป โกหกมาก็โกหกไป (ปฏิกิริยา)Reaction มันจะไปเรื่อยๆ หล่อเลี้ยงตัวมันเอง เพื่อระงับความรุนแรง….

ศึกษาและเห็นแบบแผน แล้วเราก็ออกแบบใหม่ Redesign เพื่อป้องกันความรุนแรง

หาเหตุแห่งแบบแผน เปลี่ยนโครงสร้าง Restructure เพื่อลดความรุนแรงเชิงโครงสร้าง

ให้คุณค่าใหม่ Revalue หาเหตุแห่งความเชื่อ ลดความรุนแรงทางด้านวัฒนธรรม

อาจารย์บอกว่ามัน รี ทั้งนั้นไม่มีกลมเลย ทุกคนเงียบ….อิอิ เพราะอาจารย์ไม่เน้นคำ..ปล่อยมุขแล้วมันแป้ก….. ผมนั่งแหะๆอยู่คนเดียว
อาจารย์ยกตัวอย่างให้เราเข้าใจง่ายๆ เช่น เกิดไฟไหม้ ในระดับเหตุการณ์เกิดความเสียหายสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน เราแก้ไขระดับเหตุการณ์ หารถดับเพลิงมาเพิ่ม เราก็หาสาเหตุว่าไฟไหม้บ่อยในช่วงใด อ้อ..ช่วงตรุษจีน สาเหตุมาจากการจุดพลุ เผากระดาษกงเต็ก ศึกษาแบบแผนว่ามักจะเกิดที่ใด พบว่าเกิดที่ชุมชนแออัด สาเหตุสายไฟเก่าและมีการเผาไล่ที่ วิเคราะห์เวลาที่เกิดบ่อย หาทางแก้โดยเพิ่มความระมัดระวัง ตั้งจุดดับเพลิงใกล้ชุมชนแออัด จัดหารถดับเพลิงขนาดเล็กให้เข้าถึงได้ง่าย ในระดับโครงสร้าง เพราะปลูกบ้านชิดกันเกินไป ระบบเดินสายไฟไม่ได้มาตรฐาน ระบบหนีไฟไม่ดี ต้องวางระเบียบก่อสร้างอาคาร วางระบบการหนีไฟ ดับไฟ วิเคราะห์ความคิดความเชื่อซึ่งอยู่ระดับล่างสุด เพราะคนไทยอะไรก็ได้ไม่สนใจอันตราย รู้แต่ไม่ทำ เตือนก็ไม่เชื่อ อาจต้องอาศัยสื่อ การสร้างนิสัยแต่วันเยาว์ แก้ยากเพราะอยู่ส่วนล่างสุดของภูเขาน้ำแข็ง

อาจารย์บอกว่าการคิดแก้ไขต้องวิเคราะห์หลายระดับ

อาจารย์ได้นำเสนอโมเดล PRIA (เปรี๊ยะ…..อันนี้ผมว่าเอง แฮ่ะๆ…)

Power อำนาจ

Right สิทธิ

Interest ผลประโยชน์

Attitude ทัศนคติ

การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ลองดูตามโมเดลนี้ ยกตัวอย่างปัญหาเขาพระวิหาร หากต่างคนต่างใช้ Power ต่างยกกำลังไปตรึงกันไว้ จะมีใครมาเที่ยวเขาพระวิหารไหม….พูดกันแต่เรื่องสิทธิหรืออาณาเขต ก็ตกลงกันไม่ได้ ทางแก้ต้องลดตัว P และ R ให้น้อยลง แล้วมาเพิ่ม I ให้มากขึ้น เรื่องไหนคุยกันไม่ลงตัวก็เปลี่ยนเรื่องมาคุยกันเรื่องผลประโยชน์ เมื่อมีผลประโยชน์มากๆเรื่องอื่นก็ผ่อนปรน ในประเทศแถบยุโรป สมัยก่อนมีสงครามบ่อย แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว ผลประโยชน์สำคัญกว่า ขับรถผ่านเขตแดนได้สบายผลประโยชน์ร่วมกันมันเยอะ มาถึงตัวสุดท้าย A ซึ่งแก้ยากแต่ส่วนใหญ่แก้ได้โดยใช้เวลา เพราะมันเหมือนฐานรองรับภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งต้องระวังเหมือนกัน เราคุยเรื่องอำนาจไม่ได้ ก็มาคุยกันเรื่องสิทธิ คุยกันเรื่องสิทธิไม่ได้ก็มาคุยเรื่องผลประโยชน์ แต่ก็ต้องระวังเรื่องทัศนคติความเชื่อที่ฝังลึก มีจิตใต้สำนึกบางทีมันโพล่งขึ้นมาทำให้โกรธโดยไม่รู้ตัว

ดูท่าทางจะยาวววววววอีกแล้ว ขอผัดไปตอนหน้าอีกก็แล้วกันจะพยายามให้จบครับ อิอิ

« « Prev : ๕๕.ไปหาความรู้ที่โรงงานแตงโม(๔)

Next : ๕๗.ชุมชนสมานฉันท์๒ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

5 ความคิดเห็น

  • #1 อัยการชาวเกาะ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2008 เวลา 16:24

    จะปรับภาพให้เล็กลงยังไงครับเนี่ย…

  • #2 อัยการชาวเกาะ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2008 เวลา 17:47

    เย้..มั่วจนได้แล้ว อิอิ แถมน้องเบิร์ดไม่ชอบสีเหลืองก็แก้ให้แล้วนะ มั่วเหมือนกัน อิอิ

  • #3 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2008 เวลา 19:02

    มายิ้มเขินแบบกว้างถึงหูให้เลยค่ะ ^             ^
    เบิร์ดมิมีประสงค์จะให้เกิดการปรับสีพื้นนะคะ เพียงแต่เรียนตามตรงว่าแม้นจะมีสีที่ปกติจะไม่ค่อยปลื้มมากนักในการเป็นสีบล็อกเพราะสว่างแบบแปลกๆ แต่ก็เต็มใจติดตามอ่านเพราะชอบเนื้อหาโดยมองข้ามเรื่องอื่นไปได้อย่างไม่เห็นเลยล่ะค่ะ อิอิอิ

    แต่ท่านเก่งนะคะปรับสี ปรับรูปเองได้ เยี่ยมมากเลยชอบๆๆๆๆๆๆๆ (สีนี้สวยดีค่ะ และมีรูปด้วยยิ่งถูกใจๆๆๆๆ)

    มีการวิเคราะห์ม๊อบต่างๆมั้ยคะ ว่าเป็นความขัดแย้งระดับใด และควรจะออกแบบใหม่อย่างไร หรือว่าดูที่ผลประโยชน์ร่วมกัน (ตัว I ) ในที่นี้คือผลประโยชน์ของชาติ เพราะเบิร์ดเห็นว่าแม้ใครจะมองว่ามีแต่ความแตกต่างกันสุดขั้ว แต่จริงๆแล้วมีความเหมือนกันอยู่ไม่น้อยเลยล่ะค่ะ เช่น เป็นคนไทย มีความต้องการการเปลี่ยนแปลง อยากเห็นการเมืองแบบใหม่ อยากมีความสุข สันติในบ้านเมือง(ในอนาคต) เรามีจุดร่วมเนาะคะ ^ ^

  • #4 อัยการชาวเกาะ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2008 เวลา 6:30

    เรื่องการวิเคราะห์ม๊อบมีครับเพิ่งเรียนผ่านไป แต่เป็นหัวข้อที่ถูกเลือกเข้าไปฟัง ได้สอบถามผู้บรรยายแล้วว่าจะนำมาเปิดเผยได้หรือไม่ ก็ได้รับคำตอบว่าถ้าไม่เปิดเผยแหล่งที่มาก็คงได้ แต่มีคำเตือนให้ระวังความขัดแย้งในแนวราบ ซึ่งกำลังขยายมากขึ้นทุกวัน ทั้งๆที่เหตุมาจากความไม่พอใจระดับบุคคล แล้วลามเป็นแนวดิ่ง เช่น ชนชั้นกลางกับรากหญ้า แล้วกำลังลามมาที่สีเหลืองสีแดง มันกำลังลามไปสู่ภูมิภาค แล้วในระดับจังหวัดเอง ถ้าปล่อยให้ปลุกม๊อบ และโฟนอินปลุกระดมอย่างนี้ ประเทศชาติพังพินาศแน่นอน..เศร้าใจ

  • #5 Michael Kors Wallets Sale ให้ความคิดเห็นเมื่อ 21 กันยายน 2014 เวลา 0:06

    df
    Michael Kors Wallets Sale


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.58029079437256 sec
Sidebar: 0.053711175918579 sec