๕๗.ชุมชนสมานฉันท์๒

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2008 เวลา 22:17 ในหมวดหมู่ เสริมสร้างสังคมสันติสุข #
อ่าน: 2787

วันนี้ผมขอต่อในหัวข้อต่อไปเลยนะครับ

๓.แนวคิดเชิงสมานฉันท์ คำว่าสมานฉันท์หมายถึง ปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอเหมือน อาจารย์ให้เราหาคำภาษาอังกฤษให้ตรงกับคำว่าสมานฉันท์ แต่ในที่สุดก็มาลงที่คำว่า Harmony สภาวะหรือสถานภาพ อาจารย์ได้บอกแนวทางสมานฉันท์ ๙ ประการ

๑.เปิดเผยความจริง

๒.ความยุติธรรม

๓.ความพร้อมรับผิด

๔.การให้อภัย

๕.การสานเสวนาระหว่างกัน

๖.สันติวิธี

๗.ความทรงจำ-การยอมรับอดีต

๘.(อิอิ จดไม่ทัน…ใครจดไว้ช่วยเติมหน่อยเด้อ….)

๙.การยอมรับความเสี่ยงใดๆที่อาจเกิดร่วมกัน

ความสมานฉันท์หมายถึงความยั่งยืน,คุณภาพชีวิต,การเอื้อาทร,การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข,ชีวิตพอเพียง อาจารย์ให้สูตร

H(armony) = Satisfied Needs
————————
Total Needs
สมานฉันท์ = ความต้องการที่พึงพอใจ
—————————
ความต้องการ

อาจารย์ก็ได้ยกตัวอย่าง เรื่องราวที่เคนยา อยู่ติดกับเอธิโอเปียและโซมาเลีย ตรงนั้นเป็นทางผ่านให้เขาสู้รบกัน เริ่มจากผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ เดคา อุ้มลูกหลบกระสุนปืนที่ใต้เตียง เมื่อเธอเล่าเรื่องนี้ให้แม่ของเธอฟัง แม่ของเธอก็เล่าว่าเมื่อ ๒๗ ปีที่แล้ว แม่ก็อุ้มเธอหลบลูกกระสุนที่ใต้เตียงแบบนี้แหละ เธอเกิดความคิดว่าในอนาคตจะปล่อยให้ลูกของเธอต้องอุ้มลูกหลบใต้เตียงแบบนี้ต่อไปอีกเหรอ เธอนำเรื่องนี้ไปพูดคุยให้ผู้หญิงด้วยกันฟัง แล้วเธอก็รวบรวมเพื่อนๆได้ ๑๒ คน ใช้ตลาดเป็นพื้นที่ปฏิบัติการเพราะผู้หญิงไม่ว่าจะเผ่าใดต้องไปตลาด และตลาดจะต้องปลอดภัย จัดเวรกันเฝ้าระวัง หากมีเหตุจะก่อให้เกิดความรุนแรงผู้หญิงพวกนี้ก็จะเข้าไปห้ามไปแยก ต่อมาตลาดก็เป็นเขตสันติภาพและได้ตั้งเป็นสมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ เป็นการแก้ปัญหาระดับเหตุการณ์ เห็นไหมครับ

เอารูปตลาดสดมาให้ดู ๒ แห่ง ที่ปาย(ภาพบน)และสุพรรณบุรี (ภาพล่าง) คงพอกล้อมแกล้มกับตลาดเคนยาได้มั๊ง…อิอิ

ตลาดปาย
ตลาดสุพรรณ
แม้ตลาดจะปลอดภัยแต่ก็ยังมีความรุนแรงส่งผลกระทบต่อชีวิตครอบครัวของเธอ จึงพากันไปหาผู้เฒ่าเผ่าต่างๆให้ผู้เฒ่าเผ่าที่เล็กที่สุดเป็นผู้ดำเนินการประชุม เป็นกุศโลบาย ไม่เอาตัว P เข้ามาเกี่ยว เพราะถ้าเอามาเกี่ยวเผ่าอื่นจะเกิดความระแวง จึงเอาคนที่มี power น้อยที่สุด ผู้เฒ่าก็ถามในที่ประชุมว่าขณะที่มีการสู้รบนี้ใครได้ประโยชน์ เป็นการถามถึงตัว I พอคุยกันถึงรู้ว่าประโยชน์ไม่มีเรากำลังทำลายกันเอง จึงมีการตั้งสภาผู้เฒ่าเพื่อสันติภาพ เป็นการได้ผู้เฒ่ามาช่วย การเอาคนที่มีอำนาจน้อยเช่นผู้หญิงไปห้ามการทะเลาะกัน เป็นผลดี เพราะผู้ชายไม่เกิดความระแวง และที่ผ่านมาการดำเนินการของผู้หญิงมักประสบผลสำเร็จ ดังนั้น อาจารย์จึงขอให้ผู้หญิงทำต่อไป คราวนี้เรียกเสียงกิ๊กกั๊กจากบรรดาสาวๆในห้องได้บ้าง อิอิ

ผู้เฒ่าก็ไปคุยกับนักรบในเผ่าของตนให้ยุติการสู้รบ ผู้หญิงก็เริ่มไปติดต่อผู้มีอำนาจ เริ่มจาก I ไปที่ P เมื่อตรวจสอบข้อมูลการสู้รบระหว่างเผ่าต่างๆกลับพบว่าพวกนักรบเป็นเยาวชน สาเหตุมาจากไม่มีงานทำ ซึ่งการรบทำให้เกิดอำนาจได้รับการยอมรับจากสังคม การจะให้วางอาวุธก็ต้องมีงานให้นักรบทำ ผู้หญิงผู้เฒ่าและผู้หลักผู้ใหญ่จึงติดต่อนักธุรกิจให้หางานให้นักรบมีงานทำ การสู้รบจึงหายไปนำไปสู่การปลดอาวุธ เห็นพลังของผู้หญิงไหมครับ…..แต่ผลนี้เป็นผลชั่วคราว เพราะต้องทบทวนต้องทำต่อเนื่องมิฉะนั้นมันจะเกิดปัญหาตามมาอีกเพราะในเรื่องทัศนคติ A ต้องมีการแปลงเปลี่ยน

หลังจากพักดื่มกาแฟแล้ว อาจารย์ก็ยกตัวอย่างเรื่องชุมชนน้ำเกี๋ยน เนื่องจากชุมชนมีปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด ฆ่ากัน ศีลธรรมเสื่อม แกนนำในชุมชนก็เริ่มจับกลุ่มพูดคุยแก้ปัญหา เริ่มจากผู้นำ ๓๗ คน สร้างความสัมพันธ์ในชุมชนในระบบเครือญาติ นับถือผีปู่ย่า ตั้งระบบกลุ่มรุ่นกลุ่มเสี่ยวใช้ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมาแก้ปัญหาทะเลาะวิวาท มีการออมเงินทำกองทุนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่น ช่วยงานศพ ให้กู้ดอกเบี้ยต่ำ จัดสวัสดิการยามประสบปัญหา จนเกิดความรักสามัคคี ความสำเร็จของบ้านน้ำเกี๋ยน มี ๔ ลักษณะ คือ การใช้มาตรการทางสังคม,การใช้ข้อบังคับของกลุ่มและกองทุนต่างๆในชุมชน,การใช้องค์กรกลาง(องค์กรพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตำบลน้ำเกี๋ยน)มาเป็นแกนกลางและการมีผู้นำหมู่บ้านทำงานเป็นทีม ชุมชนจึงเกิดสมานฉันท์

อีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือชุมชนเสียว จังหวัดศีรษะเกษ ปัญหาคือพอเลือกตั้งนายก อบต.คนในหมู่บ้านก็เกิดความขัดแย้ง จึงมีการพูดคุยกันเป็นสภาผู้นำ ซึ่งมีกลุ่มแนนำในชุมชน ผู้นำกลุ่มองค์กรชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน มาหารือร่วมกันและกำหนดคุณสมบัติของคนที่จะมาเป็นนายกอบต.เป็นการกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นจากชุมชน คือ “มีความเสียสละ ไม่พึ่งพานักการเมือง เป็นบุคคลสาธารณะ รู้งานและเป็นงาน รู้จักตนเองว่าสามารถบริหารจัดการได้หรือไม่ มีจิตสำนึกรักท้องถิ่นตนเอง ครอบครัวเห็นด้วยกับการทำงานชุมชน เป็นอิสระไม่ขึ้นกับใคร” นอกจากนี้ยังมีสภาผู้เฒ่า ซึ่งประกอบไปด้วยผู้นำทางความคิด เช่น พระ ครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คนเฒ่าคนแก่ มาช่วยวิเคราะห์ ชี้นำ สร้างสรรค์ ปรับเปลี่ยนมุมมองและความคิดให้เลือกคนดีมีสมบัติที่ต้องการเป็นตัวแทน แล้วช่วยลงขันและหาเสียงให้ด้วย จึงได้คนที่เหมาะสมมาเป็นนายก อบต.

อาจารย์ยังยกตัวอย่างอีกสองแห่ง แต่ก็เป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาของชุมชนจนประสบความสำเร็จ แห่งหนึ่งชุมชนควนรู แห่งหนึ่งชุมชนเสียว และหนองกลางดง ทำเอาพวกเรานั่งฟังไปแล้วเกิดหัวเราะ อาจารย์สงสัยถามว่าหัวเราะอะไรกัน เราตอบว่า ฟังชื่อตำบลแต่ละแห่งแล้ว คิดเตลิดเปิดเปิง เสียวงี้ ควนรู งี้…อิอิ..แล้วคุณกำลังคิดอะไรอยู่ ก๊ากๆ…

หลังจากนี้อาจารย์ก็เปิดโอกาสให้พวกเราแสดงความคิดเห็นอย่างเมามัน แต่ผมปวดหลังขอพักยกก่อนเด้อ……อิอิ

« « Prev : ๕๖.ชุมชนสมานฉันท์

Next : ๕๘.ความขัดแย้ง อำนาจและความรุนแรง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

94 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 1.0989940166473 sec
Sidebar: 0.071996927261353 sec