การมอบเกียรติบัตรและรางวัล : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่ 10 (31)
หลังจากการเรียนรู้วิธีออกกำลังกายในน้ำอย่างถูกวิธีกันด้วยความสนุกสนานเสร็จแล้วก็ขึ้นมาอาบน้ำแต่งตัวเพื่อการรับเกียรติบัตรจาก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา คือ ท่าน นายแพทย์ เอกชัย เพียรศรีวัชรา ผู้ริเริ่มโครงการ 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี สำหรับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบครบวงจรนี้ หลังจากกลับมาที่บ้านแล้วดูเกียรติบัตรจึงได้ ทราบว่า ผมเข้าใจสับสนเล็กน้อย ระหว่าง ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 (นายแพทย์ สุเทพ เพชรมาก) กับ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (นายแพทย์ เอกชัย เพียรศรีวัชรา) ดังนั้นในบันทึกก่อนหน้านี้ เมื่อพูดถึง ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 ผมจะหมายถึง นายแพทย์ เอกชัย เพียรศรีวัชรา ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ครับ เนื่องจากท่านผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 ไม่ได้มาพบหรือร่วมกิจกรรมในโครงการนี้แต่อย่างใด ขออภัยในความสับสนครับ
ธงโภชนาการ : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่10 (27)
หลังจากการฝึกบริหารเท้าและเข่าแล้ว ก็เป็นการสรุปเรื่องราวของ อาหาร 5 กลุ่มตาม ธงโภชนาการ อีกครั้ง หลังจากได้เรียนรู้รายละเอียดในแต่ละกลุ่มมาแล้วในสัปดาห์ก่อน ๆ โดยเรียงตั้งแต่กลุ่มที่ต้องบริโภคมากที่สุด จนไปถึงกลุ่มที่บริโภคแต่น้อยคือ ซึ่งปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉลี่ย ต่อวันคือ อ่านต่อ »
อนาคต สว. ไทย : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่10 (25)
กินอยู่อย่างไรให้อายุยืนเกิน 100 ปี : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่10 (24)
การพักและคลายเครียด : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่10 (23)
อาหารสองกลุ่มที่คุ้นเคย : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่10 (22)
หลังจากการได้ยืดเส้นสายด้วยยางยืดชีวิตพิชิตโรคแล้ว ก็มีการทบทวนเรื่องราวของอาหารที่ทุกคนคุ้นเคยกันอีกสองกลุ่มคือ กลุ่มพวกข้าวหรือแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) กับกลุ่มเนื้อสัตว์ (โปรตีน) ที่นำเสนอด้วยอาหารเทียมตามเคย (เพื่อความสะดวก) สิ่งที่เข้าใจว่าจะเป็นจุดเน้นก็คือ การทำความเข้าใจกับปริมาณความต้องการในแต่ละวันตามธงโภชนาการ ที่กำหนดไว้ อ่านต่อ »
ยางยืดชีวิตพิชิตโรค : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่10 (21)
อาหารบำรุงกระดูกและให้เส้นใย : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่10 (20)
ในแต่ละสัปดาห์ นอกเหนือจากการฝึกท่าการออกกำลังกายต่าง ๆ แล้ว สิ่งที่เรียนรู้ร่วมด้วยเสมอก็คือ ความรู้เรื่องของอาหาร ในสองสัปดาห์ที่ผ่านมาก็จะเน้นที่อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น การดื่มนมสด นมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม อย่างน้อยวันละ 1 แก้ว มีข้อแนะนำว่าควรดื่มนมจืดและพร่องมันเนยเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักเกิน กรณีบางท่านมีปัญหาท้องเสียจากการดื่มนมสด อาจเปลี่ยนมาดื่มนมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ร่วมกับการรับประทานอาหารพวก ปลาตัวเล็กตัวน้อย (ที่รับประทานทั้งตัว) ถั่วต่าง ๆ รวมทั้งผักใบเขียวเข้ม เพื่อให้ได้แคลเซียมอย่างพอเพียง อ่านต่อ »