บ้านชานเมือง (36) วันดีที่ห้าเดือนห้าปีห้าห้า

อ่าน: 2435

      หลังจากเมื่อเย็นวานนี้มีพายุมาฝนตกหนักที่บ้านชานเมือง  ทำให้ไฟฟ้าดับไปหลายชั่วโมง โชคดีที่เกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารเย็นแล้ว  ตอนทุ่มกว่า ๆ น้องลอยขับรถเอาผลไม้จากระยองได้แก่มังคุดและลองกองมาฝากถึงบ้าน แต่ไม่ได้คุยกันมากเพราะหน้าบ้านมืดมาก เนื่องจากไฟฟ้าเพิ่งมาเพียงเฟสเดียวและมีแรงดันต่ำมาก โชคดีที่มีหลอดไฟที่ติดได้สองหลอด คือหลอดตะเกียบประหยัดไฟ ที่ระเบียงหน้าบ้าน กับหลอดนีออนกลมรุ่นใหม่ที่ไม่ต้องใช้สตาร์ทเตอร์ ที่เพิ่งเปลี่ยนใหม่ที่ห้องครัว เลยพอมีแสงสว่างในบ้านบ้าง
       เช้าวันที่ห้า เดือนห้า ปีห้าห้า เป็นวันที่ถือว่าเป็นวันดีที่นาน ๆ จะมีครั้ง เป็นวันฉัตรมงคลของปวงชนชาวไทย  อากาศแจ่มใส ผมตื่นเช้า กว่าปกติ รีบออกไปเดินดูต้นไม้ต่าง ๆ ที่ปลูกไว้ว่ามีอะไรเสียหายหรือเปล่า ปรากฏว่ามีกิ่งไม้เล็ก ๆ หักเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  แหงนดูมะม่วงงามเมืองย่าที่ยังพอมีเหลืออยู่ ก็ยังอยู่ดีบนกิ่ง จึงเอาบันไดออกมากางและปีนขึ้นไปสอยโดยใช้ตะกร้อที่มีอยู่ ลงมาจนเกือบหมด บางลูกถูกกระรอกแทะไปบางส่วน บางลูกหัวเหลืองแล้ว บางลูกก็แก่กำลังดี สำหรับการรับประทานเป็นมะม่วงมัน  นึกถึงน้องลอยที่มาเยี่ยมเมื่อคืนจึงรีบโทร. ไปหาและนัดเวลาเอามะม่วงงามเมืองย่าไปฝากจำนวน ๕ ลูกที่เป็นเลขมงคลวันนี้ พร้อมของฝากจากร้านเจ้าสัว  ก่อนจะเดินทางต่อไปที่ปักธงชัย ตั้งใจเอามะม่วงอีกส่วนหนึ่งไปฝากโกใหญ่ แต่ปรากฏว่าโกใหญ่ออกไปส่งหนังสือที่โรงเรียนในอำเภอวังน้ำเขียวตั้งแต่เช้า  หลานเน้ยรู้ใจ เมื่อรับมะม่วงไว้ก็บอกว่า จะเก็บไว้ให้โกใหญ่เพื่อไว้ไหว้อาม่าต่อไปในตอนเย็น เพราะทุกครั้งที่มะม่วงงามเมืองย่าที่บ้านออกลูก จะต้องนำไปให้อาม่าได้ชิมเสมอมาทุกปี
        ในวันดีวันนี้ยังได้มอบเงินร่วมทำบุญกับครอบครัวสกุล วราอัศวปติ ในการซ่อมหลังคาโบสถ์วัดกลางปักธงชัยอีกด้วย ทราบจากตั่วเฮีย (พี่คนโต) ว่าเป็นการร่วมกันของ สามสกุล ที่เป็นเครือญาติกัน  เสร็จแล้วก็เดินทางไปซื้อ หมี่โคราชตราห้าดาว จากที่โรงงานตามที่ได้รับการแจ้งทางโทรศัพท์จากท่าน ผบ.ทบ. ก่อนจะไปช็อปของใช้ที่ตลาดโลตัส ปักธงชัย  สุดท้ายก็คือการแวะ “ร้านก๋วยเตี๋ยวรวงทอง” ร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อดัง ของตลาดเก่าปักธงชัย เพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยวและขนมกลับมาครับ

 
 
 วันดีวันนี้ ขอไหว้ย่าโมและอาม่าไซเง็ก ด้วยดอกบัวฉัตรที่บ้านชานเมืองที่กำลังจะบานด้วยครับ

 ขออวยพรให้ทุกท่านจงประสพแต่โชคดี  ในโอกาสวันดี วันที่ห้า เดือนห้า ปีห้าห้า นี้ทุกท่านเทอญ

 


บ้านชานเมือง (34) เช็งเม้งปีมังกรทอง

5 ความคิดเห็น โดย Panda เมื่อ 28 มีนาคม 2012 เวลา 15:54 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา, สังคม ครอบครัว ชุมชน #
อ่าน: 3000

       เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕ เป็นวันเช็งเม้ง หรือ วันไหว้บรรพบุรุษ ของครอบครัวของเรา ปีนี้เป็นปีพิเศษของครอบครัว เนื่องจากลูก ๆ หลาน ๆ และเหลน ๆ ได้ไหว้ทั้งอากงและอาม่า พร้อมกันเป็นครั้งแรก เพราะอาม่าซึ่งเป็นหลักยึดของครอบครัวเพิ่งจากพวกเราไปเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ที่ผ่านมา  และเนื่องจากวันเช็งเม้งโคราชตามปฎิทินจีนปีมังกรทองปีนี้ ตรงกับวันเสาร์พอดี จึงทำให้มีคนที่มาไหว้บรรพบุรุษมากเป็นพิเศษ คือคนที่ยังยึดถือถือเคร่งครัดตามวัน และคนที่ถือเอาวันเสาร์อาทิตย์ที่ใกล้ที่สุด มาไหว้ในวันเดียวกัน ดังนั้นการไหว้เช็งเม้งในปีมังกรทองปีนี้ของครอบครัวเรา ที่เป็นปีแรกของการไหว้อาม่าจึงมีญาติ ๆ มาไหว้อากงอาม่ามากกว่าทุก ๆ ปีที่ผ่านมา เป็นบุญของอาม่าจริง ๆ

         อ่านต่อ »


เด็กข้างวัด (๙) เข้าเมืองหลวง

2 ความคิดเห็น โดย Panda เมื่อ 1 กุมภาพันธ 2012 เวลา 14:41 ในหมวดหมู่ การศึกษา การเรียน การสอน, สังคม ครอบครัว ชุมชน #
อ่าน: 2542

        จากสุดยอดของเด็กบ้านนอก ที่สอบได้ที่ ๑ ของชั้นเรียนมาเป็นประจำ เมื่อเดินทางมาเรียนต่อในเมืองใหญ่ในตัวจังหวัดนครราชสีมา ความรู้สึกและสิ่งที่เจอก็คงคล้าย ๆ กับละครทีวีที่กำลังนำเสนออยู่ในช่วงนี้เรื่อง “โหมโรง” ที่เจ้าศร มือระนาดเอก จากบ้านนอกเข้ากรุง ได้เจอว่า นักเรียนที่มาเข้าเรียนในโรงเรียนประจำจังหวัดจำนวนมากล้วนเป็นผู้ที่สอบได้ที่ ๑ หรือ ที่ ๒ มาจากต่างอำเภอ และแม้แต่เด็กที่อยู่ค่อนมาทางหางแถวของโรงเรียนประจำจังหวัดก็ยังเก่งกว่าสุดยอดจากโรงเรียนบ้านนอก ก็คงมีปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่ทำให้เกิดความแตกต่างมาจนถึงในปัจจุบันนี้ก็คงยังคงเช่นเดิม แม้ว่าความเจริญก้าวหน้าด้านการเทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งวิทยุ ทีวี โทรศัพท์มือถือ และ อินเทอร์เน็ตจะดีกว่าเมื่อก่อนมากก็ตาม แต่ในเมืองก็ยังคงมีปัจจัยและโอกาสที่ดีกว่าบ้านนอกเหมือนเดิม เช่นเดียวกับในกรุงเทพฯ ก็ยังมีปัจจัยและโอกาสต่าง ๆ มากกว่าต่างจังหวัดเหมือนเดิม  ดังนั้นในเทอมแรกที่เข้ามาเรียนในตัวจังหวัดของเด็กบ้านนอกจึงถือว่าเป็นช่วงปรับตัวที่สำคัญ ที่ต้องอาศัยใจที่เข้มแข็ง ไม่ท้อถอยในการพัฒนาตัวเองเพื่อให้สามารถแข่งขันในการเรียนกับสุดยอดฝีมือที่ได้มาพบกันให้ได้

          ในสมัยนั้นยังไม่มีการเรียนพิเศษหรือการกวดวิชากันมากเหมือนในสมัยปัจจุบัน ดังนั้นวิธีหนึ่งที่ทำให้นักเรียนสนิทสนมกันมากขึ้นก็คือการรวมกลุ่มเพื่อติวหรือช่วยเหลือซึ่งกันและกันในระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียนด้วยกันเอง โดยใช้บ้านของใครคนใดคนหนึ่งที่สะดวกเป็นที่พบปะกัน สำหรับกลุ่มของห้อง ม.๗-๘ ข มักจะใช้บ้านของเพื่อนที่อยู่บริเวณถนนราชดำเนินใกล้ๆ กับสี่แยกที่ตัดกับถนนจอมสุรางค์ยาตร์ ที่ฝั่งตรงข้ามคือห้างสรรพสิ้นค้าคลังพลาซ่าในปัจจุบัน บ้านของเพื่อนที่กลุ่มเราใช้พบกันค่อนข้างบ่อยก็คือ ร้านตัดเสื้อผ้าชายที่มีชื่อว่า “ร้านทรงสมัย”  ซึ่งถ้าจำไม่ผิดแถวนั้นปัจจุบันกลายเป็นร้านขายพิชซ่าไปแล้ว ในสมัยนั้นด้านหลังของตึกแถวแถบนั้นสามารถทะลุออกไปยังบริเวณที่เป็นโรงลิเกได้ และมีบ้านของเพื่อนอีกคนที่อยู่ติดกับโรงลิเก ที่มักจะใช้เป็นที่พบปะกันอีกบ้านหนึ่งด้วย

          ด้วยความมุ่งมั่นและการพยายามพัฒนาตนเองอย่างหนัก ทำให้ผลการเรียนของตัวเองสามารถขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่ ๑ หรือ ที่ ๒ ของชั้นได้ในที่สุด โดยมีเพื่อนคนหนึ่งที่มาจากอำเภอลำปลายมาศเป็นคู่แข่ง ที่ผลัดกันแพ้หรือชนะ จนจำไม่ได้แน่ว่าในตอนจบชั้น ม.๘ ตัวเองได้ที่ ๑ หรือ ที่ ๒ ของชั้น แต่จำได้แม่นว่าสอบได้คะแนนรวม ๗๙ เปอร์เซ็นต์ ขาดไปเพียง ๑ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น (คือสอบชั้น ม.๘ ได้คะแนนตั้งแต่ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป) ชื่อก็จะได้รับการจารึกไว้ที่บอร์ดประกาศของโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย เพื่อเป็นเกียรติประวัติต่อไป

          อ่านต่อ »


เด็กข้างวัด (๘) ครูต้นแบบ

อ่าน: 2432

      คุณครูทรงธรรม ชุ่มเมืองปัก ครูใหญ่โรงเรียนมัธยมปักธงชัย หรือ โรงเรียน มป. ที่ผมเรียนตั้งแต่ชั้น ม.๑ ถึง ม.๖ เป็นคุณครูที่ผมรู้จักมาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ใกล้บ้านเกิด คุณครูทรงธรรมหรือครูเหลือ ของชาวบ้านร้านตลาดปักธงชัยเป็นคุณครูที่ผมประทับใจมากและถือเป็นครูต้นแบบที่สำคัญคนหนึ่งของผมตลอดมา

  อ่านต่อ »


เด็กข้างวัด (๗) คารวะคุณครู

อ่าน: 2423

    เนื่องในโอกาสวันครูที่กำลังจะมาถึง วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ นี้  ขอกราบคารวะคุณครูทั้งหลายที่กรุณาอบรมสั่งสอน ให้สามารถดำเนินชีวิตต่อมาได้จนถึงปัจจุบัน  ขอนำภาพคณะครูที่ร่วมอบรมสั่งสอนในชั้น ม.๗-ม.๘ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ มากราบคารวะไว้ในที่นี้อีกครั้งครับ

  อ่านต่อ »


เด็กข้างวัด (๖) ละครเพศที่สาม

อ่าน: 3490

      ในงานการกุศลของจังหวัดนครราชสีมาครั้งหนึ่ง ในช่วงที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ทางโรงเรียนต้องจัดการแสดงละครไปร่วมงานกับทางจังหวัดด้วย และผู้นำหรือคนหลักในการจัดการละครครั้งนี้ก็คือเพื่อนร่วมชั้นเรียนในชั้นเดียวกัน ดังนั้นเพื่อนหลาย ๆ คนรวมทั้งตัวเองก็เลยได้ร่วมแสดงละครในครั้งนี้ด้วย เป็นการแสดงที่ยังมีรูปเก็บไว้จนถึงทุกวันนี้ครับ

  อ่านต่อ »


เด็กข้างวัด (๕) จากบ้านเกิด

อ่าน: 2523

         หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมที่ ๖ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนในอำเภอบ้านเกิดในสมัยนั้นแล้ว โดยสถานะภาพของลูกคนจีนที่มีอาชีพค้าขาย แนวทางของชีวิตก็คือ เริ่มทำงานหาเลี้ยงชีพโดยการช่วยเหลือเตี่ยและครอบในการทำมาค้าขาย แต่ด้วยเพราะว่าผลการเรียนระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่ชั้น ม. ๑ จนถึง ม. ๖ จะสอบได้ที่ ๑ หรือที่ ๒ ของชั้นเรียนตลอด จึงทำให้คุณครูโดยเฉพาะครูใหญ่ มาคุยกับเตี๋ยและแม่ ว่าควรจะให้ได้เรียนต่อชั้น ม.๗ - ม.๘ เพื่อที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยต่อไป โดยคุณครูเห็นว่าเรียนดีอย่างนี้น่าจะมีโอกาสสอบเข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์ หรือเข้าเรียนหมอได้ตามความต้องการของคุณแม่ อีกปัจจัยหนึ่งก็คือแรงสนับสนุนจากพี่วรากร ที่ขณะนั้นเรียนอยู่ที่ วิทยาลัยครูนครราชสีมา (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา) โดยได้รับทุนการศึกษา จึงทำให้ภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวน้อยลง ผมจึงมีโอกาสเข้ามาสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อที่ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ที่เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชาย โดยมีนักเรียนจากอำเภอต่าง ๆ เข้ามาสอบแข่งขันจำนวนมาก รวมทั้งนักเรียนส่วนหนึ่งจากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยเองด้วย และก็โชคดีที่ผมสอบเข้าได้ จึงมีโอกาสได้เรียนต่อในชั้น ม.๗ - ม.๘ หรือที่สมัยนั้นเรียกอีกอย่างว่าชั้นเตรียมอุดม ซึ่งหมายถึงว่า เป็นการเรียนเพื่อเตรียมตัวศึกษาต่อในชั้นอุดมศึกษาหรือชั้นมหาวิทยาลัยนั่นเอง เมื่อเข้าไปเรียนในชั้น ม.๗ นักเรียนที่สอบคัดเลือกเข้ามาได้ทางโรงเรียนจะให้เรียนในห้อง ม.๗ ข ทั้งหมด ส่วนห้อง ม.๗ ก จะเป็นนักเรียนที่คัดมาจากนักเรียนชั้น ม.๖ ที่เรียนดีถึงเกณฑ์ของโรงเรียนราชสีมาเองโดยไม่ต้องสอบ อ่านต่อ »


เด็กข้างวัด (๔) โรงเรียนหน้าบ้าน

อ่าน: 2290

         ด้านหน้าบ้านไม้สามชั้นเป็นถนน ที่อีกฟากหนึ่งของถนนเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเอกชนแห่งแรกของอำเภอปักธงชัย มีชื่อว่า โรงเรียนมัธยมปักธงชัย หรือ มป.  เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับชั้นมัธยม ตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ ๑ ถึง ๖ (ม. ๑-๖)  เนื่องจากในขณะนั้นโรงเรียนของรัฐบาลที่อำเภอมีเพียงชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ๔ (ป.๑-๔) เท่านั้น เพราะเป็นการศึกษาภาคบังคับของภาครัฐในตอนนั้น ชีวิตในวัยเด็กของผมจึงมีความเกี่ยวข้องอยู่กับทั้งเรื่องของที่ บ้าน วัด และโรงเรียน ครบทั้งสามส่วนที่เรียกย่อ ๆ กันว่า บวร นับว่าเป็นความโชคดีของผม นอกจะได้เรียนรู้ชีวิตที่บ้าน ชีวิตเด็กวัดแล้ว ยังได้เรียนรู้ชีวิตในโรงเรียนที่อยู่หน้าบ้านอีกด้วย ได้เข้าไปเล่นในบริเวณโรงเรียนนี้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กอยู่ และต่อมาเมื่อเข้าเรียนชั้นมัธยมก็ได้มาเรียนที่โรงเรียนนี้จนจบชั้น ม.๖  แม้ว่าในช่วงนั้นมีโรงเรียนที่ตั้งใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งโรงที่รู้จักกันนามว่า โรงเรียนแผนใหม่ เพราะมีการจัดการเรียนการสอนตามแนวที่มีการปรับปรุงใหม่ โดยมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านอาชีพมากขึ้น อ่านต่อ »


เด็กข้างวัด (๒) วัดกลาง

อ่าน: 2458

          ติดกับบ้านไม้สามชั้นด้านหนึ่งจะเป็นวัด ดังนั้นเด็ก ๆ แถวนั้นก็เป็นเด็กข้างวัด คือใช้สนามในวัดและบริเวณต่าง ๆ ภายในวัดเป็นที่เล่นและทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นประจำ บริเวณด้านหน้าของวัดจะมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ที่ให้ร่มเงาแก่เด็ก ๆ และผู้คนที่มาวัด ด้านหลังต้นโพธิ์เป็นบริเวณที่มีเรือนไม้หลังเล็ก ๆ หลังหนึ่งตั้งอยู่

        อ่านต่อ »


เด็กข้างวัด (๑) บ้านไม้สามชั้น

ไม่มีความคิดเห็น โดย Panda เมื่อ 2 มกราคม 2012 เวลา 16:30 ในหมวดหมู่ สังคม ครอบครัว ชุมชน #
อ่าน: 3224

       ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประมาณต้นปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เมื่อรัฐบาลไทยยอมเซ็นสัญญาเข้าร่วมรบกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามอย่างเต็มตัวกับฝ่ายสัมพันธมิตรแล้ว  ฝ่ายพันธมิตรคือทางสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ จึงได้ส่งเครื่องบินขนาดใหญ่มาทิ้งระเบิดอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ทั่วทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน ทำให้แหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญๆถูกทำลาย วัดวาอารามก็ถูกระเบิดจนย่อยยับ เส้นทางคมนาคมถูกตัดขาด จนรัฐบาลต้องประกาศให้ประชาชนเตรียมพร้อมสำหรับการทิ้งระเบิดในครั้งต่อ ๆไป เมื่อเครื่องบินกำลังจะมาถึง ทางการจะเปิดเสียงสัญญาณหวอหรือไซเร็นเสียงดัง เพื่อเตือนให้ประชาชนได้ระวังตัว เช่น ไปหลบอยู่ในหลุมพรางที่ขุดขึ้นเอง หรือทำการพรางไฟ เป็นต้น แต่ประชาชนในกรุงเทพฯบางส่วนก็ได้อพยพย้ายไปอยู่ตามชานเมืองหรือต่างจังหวัด ประชาชนในเขตเมืองบางส่วนก็อพยพไปอยู่ในเขตชนบท ที่คิดว่าปลอดภัยจากการถูกทิ้งระเบิด ซึ่งการอพยพนั้นมักจะเดินทางกันไปเป็นขบวนกลุ่มใหญ่เหมือนขบวนคาราวาน

อ่านต่อ »



Main: 0.068209886550903 sec
Sidebar: 0.022119998931885 sec