วุฒิอาสาร่วมสืบสานประเพณีไทย
เมื่อวันสิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เราได้รับเกียรติจากชุมชนบ้านใหม่ อำเภอหนองบุญมาก ให้ไปร่วมงานบายศรีสู่ขวัญ ต้อนรับท่านนายอำเภอท่านใหม่ ณ. ห้องประชุมโรงเรียนบ้านใหม่ไทยเจริญ
เมื่อวันสิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เราได้รับเกียรติจากชุมชนบ้านใหม่ อำเภอหนองบุญมาก ให้ไปร่วมงานบายศรีสู่ขวัญ ต้อนรับท่านนายอำเภอท่านใหม่ ณ. ห้องประชุมโรงเรียนบ้านใหม่ไทยเจริญ
ในวันปีใหม่ไทยปีนี้ มีโอกาสได้ไปร่วมงานบุญกับ อาม่าหลินฮุ่ย ที่ วัดสารภี อ. หนองบุญมาก พร้อมกับประธานฝ่ายส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ได้ร่วมทำบุญ สรงน้ำพระ ไหว้พระและปิดทอง และร่วมงาน สืบสานวัฒนธรรมและการละเล่นโบราณ
เมื่อวันที่ ๑๒-๑๓ กุมภาพันธ์ มีโอกาสดีได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างเครือข่ายและกระบวนการเรียนรู้ของวุฒิอาสาธนาคารสมอง ในการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาไท ที่โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา
พิธีเปิด โดย นายไพโรจน์ สุจินดา ประธานอนุกรรมการอำนวยการธนาคารสมอง
ในช่วงท้ายของการทำประชาคมกับชุมชนบ้านใหม่ในครั้งนี้ หลังจากการสอบถามถึงปัญหาและความต้องการของชุมชนแล้ว ท่านประธานวุฒิอาสาฯ ได้จัดให้มีการแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อให้วุฒิอาสาให้คำแนะนำตามความเชี่ยวชาญของวุฒิอาสา เช่น กลุ่มการทำบัญชีและบริหารธุรกิจ กลุ่มการเขียนโครงการ กลุ่มการเกษตร กลุ่มงานประดิษฐ์ เป็นต้น เพื่อให้สามารถปรึกษาหารือและให้คำแนะนำได้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งการวางแผนที่จะลงพื้นมาให้การสนับสนุนในครั้งต่อไปได้ตรงประเด็นความต้องการของชุมชนมากขึ้น
สิ่งที่ผมและ ดร.พรรณี รวมทั้งผู้แทนจากเทคโนธานี มทส. ชื่นชมอีกอย่าง ในการไปสัมผัสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ โรงเรียนบ้านใหม่ไทยเจริญ ในครั้งนี้ก็คือ การได้รู้ ได้เห็น ความใส่ใจ ทุ่มเทของ ครูสงคราม เปรี่ยมกระโทก รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านใหม่ไทยเจริญ ในการให้ความร่วมมือกับชุมชน เป็นกำลังหลักในการจัดการองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นระบบ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเป็นระบบ และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ที่เป็นที่ศึกษาของทั้งนักเรียนและชุมชน ผมคิดว่านี่จะเป็นจุดเชื่อมโยงกับชุมชนบ้านใหม่ ที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และเทคโนธานี จะสามารถเข้าไปประสานการให้การสนับสนุนต่อไปได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเกษตรอินทรีย์ เกษตรประณีต ๑ ไร่ นวตกรรมทางการศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องของสื่อการศึกษาออนไลน์หรืออินเทอร์เน็ต
ในการไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนบ้านใหม่ในครั้งนี้ ผมได้พบกับ ปราชญ์ชาวบ้านที่ผมชื่นชมอย่างไม่คาดคิดมาก่อน ปราชญ์ชาวบ้านท่านนี้ ผมได้เคยนำเรื่องราวของท่านไปใช้เป็นตัวอย่างในการเรียนการสอนนักศึกษา ในเรื่องของการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ให้สามารถพึ่งตนเองได้จากการนำพืชป่าอย่างเช่นผักหวานป่ามาปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เป็นบำนาญชีวิต การส่งเสริมให้ชุมชนทำเกษตรอินทรีย์ (ไมใช้สารเคมี) การประสานความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาหมู่บ้านของสามประสานคือ ชาวบ้าน พระสงฆ์ และ ครูนักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่ของตน ที่รู้จักกันชื่อ สามประสานแบบ บ้าน วัด โรงเรียน หรือ บวร นั่นเอง
จากการได้เข้าร่วมรับรู้ รับทราบและแลกเปลี่ยนกับผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และชาวบ้าน ชุมชนบ้านใหม่มาสองครั้ง รู้สึกชื่นชมในความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านใหม่เป็นอย่างมากที่ ร่วมกันพัฒนาชุมชนจนได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ระดับอำเภอไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งมีการสรุปบทเรียนไว้สั้น ๆ คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเกิดจากชุมชนต้อง…..
หลังจากที่วุฒิอาสาธนาคารสมอง โคราช ได้ร่วมประชุมปรึกษากับ ผู้แทนจาก สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการคัดเลือกชุมชน ๔ แห่งจาก ๔ ตำบล ในจังหวัดนครราชสีมาเพื่อเป็นชุมชนนำร่องที่จะเข้าไปช่วยสนับสนุนการดำเนินการตามแผนชุมชน เพื่อพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง พวกเราได้ลงพื้นที่จริงเพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้นไปแล้วเมื่อกลางเดือนสิงหาคม ชุมชนหนึ่งก็คือ ชุมชน บ้านใหม่อุดม ม. ๒ ตำบลบ้านใหม่ อ. หนองบุญมาก ที่ในครั้งแรกที่เราเข้าไป ได้พบกับ ครูภูมิปัญญาไทย ที่มีความสามารถยิ่ง คือ แม่จินดา บุษสระเกษ ที่จบแค่ ป. ๗ แต่มีความรู้ความสามารถ อย่างชนิดที่ ดร. พรรณี (Lin Hui) ยกให้เป็น ดร. จินดา เลยทีเดียว
ภาพข้างบนเป็นภาพ บรรยากาศที่ ทีมของวุฒิอาสาฯ และทีมของสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลงพื้นที่ครั้งแรก เมื่อ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓