บ้านชานเมืองปีที่ ๑๗

อ่าน: 1849

เนื่องในโอกาสวันวาเลนไทน์ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ลูกๆพาหลานๆ มาเยี่ยม เลยถือโอกาสเก็บภาพบริเวณบ้านชานเมือง เพื่อบันทึกไว้เปรียบเทียบกับช่วงใกล้ ๆ กัน เมื่อปีที่ผ่านมา จากภาพก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน จากต้นไม้ที่เติบโตขึ้น

อากงอาม่ากับหลาน

อากง อาม่า กับ หลานทั้ง ๒ ที่เดินทางมาเยี่ยม ที่สวนบ้านชานเมือง

บ้านชาเมือง

ด้านหน้าบ้าน กิ่งมัลเบอรี่ ที่ปักชำไว้ตามแนวรั้วด้านหน้า โตขึ้นสูง คาดว่าจะให้ดอกและผลในเร็ว ๆ นี้

ดอกชงโคฮอลแลนด์

ต้นชงโคที่ปลูกไว้ เริ่มให้ดอกสีชมพูม่วงสดใส


บ้านชานเมือง ๑๕ ปี

อ่าน: 2004

วันและเวลาเดินต่อไปไม่มีวันหยุด ทุกชีวิตย่อมเปลี่ยนแปลง บ้านชานเมืองก็เช่นเดียวกัน ลองค้นภาพเก่าที่เคยถ่ายไว้ เมื่อได้เป็นเจ้าของบ้านชานเมืองหลังนี้ บ้านมีบริเวณที่เป็นสนามหญ้า ทั้งด้านหน้าบ้าน และด้านข้างบ้านต่อจากโรงรถ ดังภาพ…..

บ้านชานเมือง ๒๕๔๓

เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก ๑๕ ปีแล้วนะ สภาพบริเวณบ้านเปลี่ยนไปเป็นดังภาพ…..

บ้านชานเมือง ๒๕๕๘

นี่คือความจริงของชีวิต….ชีวิตคือการเปลี่ยนแปลง….แม้ไม่ชีวิตแล้วก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงต่อไป….ตามวัฏจักรของสสาร………


ไชโย ไชโย…มีคนยึดลานแล้ว

อ่าน: 1799

ดีใจที่มีคนชวนกันมายึดลานปัญญา….ทั้งท่านบางทราย หมอจอมป่วน ……แต่สงสัยท่านเจ้าป่า และ ผูใหญ่หมู่บ้านโลก กับ แห้วจอมซ่า เอ้ย..จอมซิ่ง จะไม่ยอม….อิอิ

 


บ้านชานเมือง (35) ความรักและการพัฒนา

อ่าน: 2298

       ช่วง ๑-๒ เดือนที่ผ่านมาที่บ้านชานเมือง ได้เห็นความรักของพ่อแม่และการพัฒนาของชีวิตน้อย ๆ ของนก ที่มาทำรังที่กิ่งของต้นมะกรูดที่บ้าน  ได้เห็นตั้งแต่การสร้างรัง การวางไข่และการกกไข่ จนกระทั่งกลายเป็นตัวลูกนกออกมาจากไข่ในเวลาไล่เรี่ยกัน ๒ ตัว  ได้เห็นถึงความรักของพ่อแม่นกที่มีต่อลูก ที่พร้อมที่จะเสี่ยงอันตรายได้ทุกอย่างเพื่อปกป้องลูกของตนเองให้ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นภัยจากพวกนกด้วยกันเอง จากแมว จากกระรอก หรือแม้แต่จากคนก็ตาม  ที่เข้ามาใกล้บริเวณที่ลูกนกอยู่  โดยเฉพาะในช่วงที่ลูกนกยังบินไม่ได้

       อ่านต่อ »


พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชหนองระเวียง

อ่าน: 2004

        ในการได้ไปเยือนพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช หนองระเวียง ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ได้ชมนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา  โดยเฉพาะในห้องพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช  ที่จัดแสดงสรรพชีวิตในพื้นที่หนองระเวียงที่มีความหลากหลาย เป็นฐานทรัพยากรอันทรงคุณค่าอย่างยิ่งต่อการศึกษาและการอนุรักษ์ ทั้งในระบบนิเวศน์ ของพืช สัตว์ จุลินทรีย์ และพวกเห็ดรา ต่าง ๆ   รวมทั้งการระวังป้องกันไฟป่าโดยใช้หอสูง แล้ว มีความภูมิใจเป็นอย่างมากในความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

 

       อ่านต่อ »


ศึกษาดูงานสวนสมุนไพรที่ศูนย์หนองระเวียง

อ่าน: 2484

        กิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ (ชมรม สว.๙) ศูนย์อนามัยที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ คือการไปศึกษาดูงานที่ ศูนย์ อพ.สธ. หนองระเวียง พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องของการจัดสวนสมุนไพร ที่ทางชมรมฯ จะดำเนินการต่อไป ที่ศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา ในปี ๒๕๕๕ นี้

            หลังจากคณะของเราเดินทางไปถึงศูนย์ฯ ก็ได้รับการต้อนรับจากท่านประธานชมรมฯ คนใหม่ ที่เป็นอดีตอาจารย์ของ มทร. อีสานเจ้าของสถานที่ คือ ท่านอาจารย์กำจัด สุขถาวร  และเป็นผู้นำชมด้วยตนเอง

เริ่มจากการนำชมพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา  ที่ประกอบด้วยนิทรรศการ ๕ ห้องด้วยกัน ได้แก่

  • ๑. ห้องฐานทรัพยากรไทย
  • ๒. ห้องพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช หนองระเวียง
  • ๓. ห้องผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ จาก มทร.อีสาน
  • ๔. ห้องวัฒนธรรมจากยอดเขาใหญ่สู่ลำน้ำโขง
  • ๕. ห้องเทิดพระเกียรติ

 

อ่านต่อ »


วุฒิอาสาร่วมพัฒนาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

อ่าน: 3203

        เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ที่ผ่านมา วุฒิอาสาธนาคารสมอง จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับเครือข่ายและแขกรับเชิญต่าง ๆ จำนวนถึง ๑๓ องค์กร ได้มาร่วมกันพัฒนาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ที่วัดอาศรมธรรมทายาท บ้านมอจะบก ต. มิตรภาพ อ. สีคิ้ว  ในโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวไร้สารพิษในวงบ่อซีเมนต์

      อ่านต่อ »


วุฒิอาสาร่วมสืบสานประเพณีไทย

อ่าน: 3086

    เมื่อวันสิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เราได้รับเกียรติจากชุมชนบ้านใหม่  อำเภอหนองบุญมาก ให้ไปร่วมงานบายศรีสู่ขวัญ ต้อนรับท่านนายอำเภอท่านใหม่ ณ. ห้องประชุมโรงเรียนบ้านใหม่ไทยเจริญ

     อ่านต่อ »


วันนี้เมื่อ ๑๐ ปีก่อน

อ่าน: 2581

มทส. ร่วมสนองพระราชดำริฯในหลวง วิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้น้ำมันจากพืชในโครงการ ไทไฟโตเลียม ( Thai Phytoleum )

      โครงการ ไทไฟโตเลียม ( THAI PHYTOLEUM ) มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การศึกษาวิจัย และ พัฒนา องค์ความรู้ด้านการผลิตพืชน้ำมัน และ การประยุกต์ใช้น้ำมันจากพืช เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ ทั้งในภาคการพลังงานและอุตสาหกรรม ทดแทนน้ำมันจากหินหรือฟอสซิล ที่เรียกว่า ปิโตรเลียม ( PETROLEUM ) งานโครงการนี้จะครอบคลุมตั้งแต่การคัดเลือก และ ปรับปรุงพันธุกรรมของพืชน้ำมัน การคัดเลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการสกัดน้ำมัน การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพน้ำมัน การปรับแต่งเครื่องยนต์ การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัย และ สารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ( Internet ) โดยมีองค์กร และ คณะทำงานประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชน และ ประชาชน เข้าร่วมสนองพระราชดำริฯ หลายองค์กร รวมทั้งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ( มทส. ) ด้วย

    

        วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2544 ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล ได้เวียนมาอีกวาระหนึ่ง ในปีนี้นอกจากปวงชนชาวไทยจะได้ร่วมถวายพระพรชัย เช่นทุก ๆ ปีที่ผ่านมาแล้ว ปวงชนชาวไทยยังได้รับทราบข่าวทั้งทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และสื่ออื่น ๆ ถึงพระอัจฉริยภาพของในหลวงของเราที่ ได้ทดลองนำเอาน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่หาได้ภายในประเทศ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล และพบว่าน้ำมันปาล์มมีศักยภาพใช้แทนน้ำมันดีเซลได้ โดยได้ยื่นจดสิทธิบัตร ไว้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว จากข้อมูลระบุว่าสามารถใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์อย่างเดียว หรือ ใช้ในรูปสารผสมกับน้ำมันดีเซลทุกอัตราส่วนเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลได้ และเพิ่มกำลังให้กับเครื่องยนต์โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ ระบบส่งน้ำมันหรือติดตั้งเครื่องกรองและอุปกรณ์กำจัดไอเสีย 
          นอกจากนั้น ในช่วงเวลาสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมาเราก็คงได้รับทราบข่าวการใช้น้ำมันพืชชนิดอื่น เช่น น้ำมันมะพร้าวผสมกับน้ำมันก๊าช หรือ น้ำมันปาล์มผสมน้ำมันก๊าซและน้ำมันดีเซล มาใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง แทนน้ำมันดีเซล ในหลายจังหวัด เช่นที่ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และที่ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น และเรียก น้ำมันผสมนี้ว่า ไบโอดีเซล ( BIODIESEL ) ซึ่งโดยความหมายที่ในต่างประเทศใช้กันนั้นคำว่า ไบโอดีเซล จะหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเปลี่ยนน้ำมันจากพืช น้ำมันหรือไขจากสัตว์ หรือ จากสาหร่ายบางชนิด โดยการทำปฏิกริยากับ แอลกอฮอล์ เช่น เอทานอล ( ETHANOL) หรือ เมทานอล ( METHANOL ) ในสภาวะที่มีตัวเร่ง ( Catalyst ) เพื่อเปลี่ยนน้ำมันให้เป็น เอทิลเอสเทอร์ (ethyl ester) หรือ เมทิลเอสเทอร์ (methyl ester) ดังนั้นการเรียกส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว หรือ น้ำมันปาล์ม กับน้ำมันก๊าซ และ/หรือ น้ำมันดีเซล เพื่อใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล จึงไม่น่าจะเรียกว่า ไบโอดีเซล ทางกลุ่มคณะวิจัยและพัฒนาของเราเสนอว่า ควรจะเรียกว่า ไฟโตดีเซล ( PHYTODIESEL ) เนื่องจากแตกต่างจากไบโอดีเซลตามที่มีมาตรฐานกำหนดไว้แล้วในต่างประเทศ ไฟโตดีเซล หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำมาจากน้ำมันพืช หรือส่วนอื่นใดของพืช ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดใด ๆ ก็ได้ โดยการนำมาเพื่อใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลโดยตรง หรือ ผสมกับน้ำมันชนิดอื่นหรือ เติมสารปรุงแต่งบางอย่างลงไป เพื่อให้มีคุณสมบัติใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดี ไฟโตดีเซล เป็น ผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่คณะวิจัยและพัฒนาของเราได้มีการวิจัยและพัฒนามาช่วงหนึ่งแล้ว โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการ ไทไฟโตเลียม ( THAI PHYTOLEUM ) คำว่า PHYTOLEUM มาจากการนำเอาคำสองคำมาเชื่อมเข้าด้วยกัน คือ คำว่า PHYTO ซึ่งมาจากภาษากรีก แปลว่า พืช ( Plant ) กับคำว่า OLEUM ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า น้ำมัน ( Oil ) รวมกันหมายถึง น้ำมันจากพืช ( Oil from plant ) การนำคำว่า PHYTOLEUM นี้มาใช้ จะช่วยสื่อความหมายและกระตุ้นให้ประชากรไทย และ ประชาคมโลก หันมาสนใจพัฒนาพืชน้ำมัน ให้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม ที่กำลังจะหมดไปในอนาคตอันใกล้นี้อย่างจริงจัง 

อ้างอิง : http://portal.in.th/phytoleum/news/1825/

 


บ้านชานเมือง (32) ชวนชมเพชรเมืองคง

อ่าน: 6871

        เมื่อกว่า ๑๐ ปีมาแล้ว (พ.ศ. ๒๕๔๓) ไปเที่ยวงานประจำปีของโคราช คืองานฉลองชัยชนะท่านท้าวสุรนารี หรือ ย่าโม ของลูกหลานชาวโคราช  เห็นต้นชวนชม ถ้าจำไม่ผิดชื่อ “เพชรเมืองคง” ที่ได้รางวัลชนะเลิศจากการประกวดในช่วงนั้น ที่เขาเอามาตั้งโชว์ให้ดู  ลำต้นมีโคนขนาดใหญ่มาก มีการแตกยอดมากมายพร้อมออกดอกสวยงาม  จึงได้ซื้อชวนชมที่เพาะจากเมล็ดต้นแม่ นี้มา ๒ ต้น มาปลูกที่บ้าน ต้นมีการเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ เวลาผ่านไปประมาณ ๓ ปี  ต้นสูงประมาณ ๑ ฟุต ตามในภาพ

ชวนชมเพชรเมืองคงอายุ ๓ ปี

          อ่านต่อ »



Main: 1.0074119567871 sec
Sidebar: 0.56543684005737 sec