รวมพลคนหัวใจรีไซเคิล

อ่าน: 4252

      เช้าวันเสาร์ที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๕ เดินทางเข้า มทส. เพื่อไปร่วมกิจกรรม “รวมพล..คนหัวใจรีไซเคิล”  ณ โรงอาหารกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ถิ่นที่เคยอาศัยและทำงานตั้งแต่ยุคก่อตั้ง เพราะชื่นชมในกิจกรรมดี ๆ ที่บุคลากรของส่วนอาคารสถานที่ โดยการสนับสนุนของ รศ. ดร. รังสรรค์ วงศ์สรรค์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนา และประธานคณะทำงานโครงการจัดการวัสดุรีไซเคิลภายในมหาวิทยาลัย

 sutrecycleday

        กิจกรรมเริ่มด้วย ผู้แทนหัวหน้าส่วนอาคารสถานที่ กล่าวรายงาน ต่อจากนั้น ท่านรองอธิการบดี กล่าวเปิดงานและมอบรางวัลต่าง ๆ ได้แก่ อ่านต่อ »


การอนุรักษ์รูปเก่า

อ่าน: 2118

          การอนุรักษ์รูปเก่า ๆ วิธีหนึ่งก็คือ การนำรูปภาพเก่ามาถ่ายด้วยกล้องดิจิตัล แล้วจึงนำมาตัดแต่งและปรับแสงสีอย่างง่ายด้วยโปรแกรมอย่างเช่น Photoscape หรือ Photoshop เพื่อเป็นการเปลี่ยนจากรูปภาพให้มาอยู่ในรูปของไฟล์ภาพ ผมเริ่มทำเช่นนี้ค่อนข้างบ่อยก็ในช่วงปีที่แล้ว ที่ไปอยู่ที่บ้านที่ปักธงชัย เพื่อช่วยอาโกดูแลอาม่าและพูดคุยกับอาม่าในเรื่องเก่า ๆ ดังที่ได้บันทึกไว้ใน อาม่าเล่าเรื่อง รวม ๑๘ บันทึก พร้อมรูปเก่า ๆ ประกอบ ที่อาม่าเก็บสะสมไว้  บางรูปมีอายุมากกว่า ๗๐ ปี เช่นรูปครอบครัวพร้อมบุตรชายสองคน ที่ถ่ายไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๒  ที่แม้จะเก็บอย่างดีแต่ด้วยกาลเวลาที่ยาวนานก็มีการเสียหายไปบางส่วน

          อ่านต่อ »


การจัดการความรู้สู่วิธีปฏิบัติที่ดี

อ่าน: 2065

        เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา เราสาม สว. ได้รับเกียรติจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร. อีสาน) ให้ไปเป็นคณะกรรมการตัดสินผลงาน การจัดการความรู้สู่วิธีปฏิบัติที่ดี (Good Practice for Knowledge Management) ซึ่งมีผลงานจากวิทยาเขตทั้ง ๕ ของ มทร. อีสาน ส่งเข้ามาร่วมจำนวนถึง ๕๓ โครงการด้วยกัน การนำเสนอผลงานนอกจากการจัดทำเป็นบอร์ดนำเสนอแล้ว เราจัดให้มีเวทีการนำเสนอในแบบการเล่าเรื่อง ให้ทุกท่านที่มาร่วมงานได้ร่วมรับฟังกันพร้อมกับคณะกรรม เพื่อให้ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอีกด้วย แม้ว่าแต่ละโครงการจะมีเวลานำเสนอที่น้อยคือ ประมาณไม่เกินเรื่องละ ๕ นาทีเนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องเวลาของการจัดงานก็ตาม โดยภาพรวมก็คิดว่าจะทำให้ทุก ๆ ท่านที่มาร่วมงานได้ประโยชน์ แทนที่จะให้เฉพาะคณะกรรมการสามท่านรับฟังการเล่าเรื่องของแต่ละโครงการ

          อ่านต่อ »


วันนี้เมื่อ ๑๐ ปีก่อน

อ่าน: 2688

มทส. ร่วมสนองพระราชดำริฯในหลวง วิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้น้ำมันจากพืชในโครงการ ไทไฟโตเลียม ( Thai Phytoleum )

      โครงการ ไทไฟโตเลียม ( THAI PHYTOLEUM ) มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การศึกษาวิจัย และ พัฒนา องค์ความรู้ด้านการผลิตพืชน้ำมัน และ การประยุกต์ใช้น้ำมันจากพืช เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ ทั้งในภาคการพลังงานและอุตสาหกรรม ทดแทนน้ำมันจากหินหรือฟอสซิล ที่เรียกว่า ปิโตรเลียม ( PETROLEUM ) งานโครงการนี้จะครอบคลุมตั้งแต่การคัดเลือก และ ปรับปรุงพันธุกรรมของพืชน้ำมัน การคัดเลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการสกัดน้ำมัน การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพน้ำมัน การปรับแต่งเครื่องยนต์ การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัย และ สารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ( Internet ) โดยมีองค์กร และ คณะทำงานประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชน และ ประชาชน เข้าร่วมสนองพระราชดำริฯ หลายองค์กร รวมทั้งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ( มทส. ) ด้วย

    

        วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2544 ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล ได้เวียนมาอีกวาระหนึ่ง ในปีนี้นอกจากปวงชนชาวไทยจะได้ร่วมถวายพระพรชัย เช่นทุก ๆ ปีที่ผ่านมาแล้ว ปวงชนชาวไทยยังได้รับทราบข่าวทั้งทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และสื่ออื่น ๆ ถึงพระอัจฉริยภาพของในหลวงของเราที่ ได้ทดลองนำเอาน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่หาได้ภายในประเทศ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล และพบว่าน้ำมันปาล์มมีศักยภาพใช้แทนน้ำมันดีเซลได้ โดยได้ยื่นจดสิทธิบัตร ไว้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว จากข้อมูลระบุว่าสามารถใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์อย่างเดียว หรือ ใช้ในรูปสารผสมกับน้ำมันดีเซลทุกอัตราส่วนเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลได้ และเพิ่มกำลังให้กับเครื่องยนต์โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ ระบบส่งน้ำมันหรือติดตั้งเครื่องกรองและอุปกรณ์กำจัดไอเสีย 
          นอกจากนั้น ในช่วงเวลาสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมาเราก็คงได้รับทราบข่าวการใช้น้ำมันพืชชนิดอื่น เช่น น้ำมันมะพร้าวผสมกับน้ำมันก๊าช หรือ น้ำมันปาล์มผสมน้ำมันก๊าซและน้ำมันดีเซล มาใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง แทนน้ำมันดีเซล ในหลายจังหวัด เช่นที่ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และที่ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น และเรียก น้ำมันผสมนี้ว่า ไบโอดีเซล ( BIODIESEL ) ซึ่งโดยความหมายที่ในต่างประเทศใช้กันนั้นคำว่า ไบโอดีเซล จะหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเปลี่ยนน้ำมันจากพืช น้ำมันหรือไขจากสัตว์ หรือ จากสาหร่ายบางชนิด โดยการทำปฏิกริยากับ แอลกอฮอล์ เช่น เอทานอล ( ETHANOL) หรือ เมทานอล ( METHANOL ) ในสภาวะที่มีตัวเร่ง ( Catalyst ) เพื่อเปลี่ยนน้ำมันให้เป็น เอทิลเอสเทอร์ (ethyl ester) หรือ เมทิลเอสเทอร์ (methyl ester) ดังนั้นการเรียกส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว หรือ น้ำมันปาล์ม กับน้ำมันก๊าซ และ/หรือ น้ำมันดีเซล เพื่อใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล จึงไม่น่าจะเรียกว่า ไบโอดีเซล ทางกลุ่มคณะวิจัยและพัฒนาของเราเสนอว่า ควรจะเรียกว่า ไฟโตดีเซล ( PHYTODIESEL ) เนื่องจากแตกต่างจากไบโอดีเซลตามที่มีมาตรฐานกำหนดไว้แล้วในต่างประเทศ ไฟโตดีเซล หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำมาจากน้ำมันพืช หรือส่วนอื่นใดของพืช ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดใด ๆ ก็ได้ โดยการนำมาเพื่อใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลโดยตรง หรือ ผสมกับน้ำมันชนิดอื่นหรือ เติมสารปรุงแต่งบางอย่างลงไป เพื่อให้มีคุณสมบัติใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดี ไฟโตดีเซล เป็น ผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่คณะวิจัยและพัฒนาของเราได้มีการวิจัยและพัฒนามาช่วงหนึ่งแล้ว โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการ ไทไฟโตเลียม ( THAI PHYTOLEUM ) คำว่า PHYTOLEUM มาจากการนำเอาคำสองคำมาเชื่อมเข้าด้วยกัน คือ คำว่า PHYTO ซึ่งมาจากภาษากรีก แปลว่า พืช ( Plant ) กับคำว่า OLEUM ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า น้ำมัน ( Oil ) รวมกันหมายถึง น้ำมันจากพืช ( Oil from plant ) การนำคำว่า PHYTOLEUM นี้มาใช้ จะช่วยสื่อความหมายและกระตุ้นให้ประชากรไทย และ ประชาคมโลก หันมาสนใจพัฒนาพืชน้ำมัน ให้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม ที่กำลังจะหมดไปในอนาคตอันใกล้นี้อย่างจริงจัง 

อ้างอิง : http://portal.in.th/phytoleum/news/1825/

 


วุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๑๑) สร้างเครือข่ายและกระบวนการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น โดย Panda เมื่อ 4 มีนาคม 2011 เวลา 16:28 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ การบริหารจัดการ #
อ่าน: 2308

      เมื่อวันที่ ๑๒-๑๓ กุมภาพันธ์ มีโอกาสดีได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างเครือข่ายและกระบวนการเรียนรู้ของวุฒิอาสาธนาคารสมอง ในการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาไท ที่โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา

พิธีเปิด โดย นายไพโรจน์  สุจินดา  ประธานอนุกรรมการอำนวยการธนาคารสมอง

           อ่านต่อ »


เยี่ยมแปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์

อ่าน: 3567

          วันนี้ได้แวะเข้าไปทำธุระใน มทส. เลยถือโอกาสแวะไปเยี่ยมชมแปลงสาธิตและวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ที่บริเวณหลังอาคารกาญจนาภิเศก เทคโนธานี  โชคดีจริง ๆ ที่ได้พบกับ ท่าน ศ. เกียรติคุณ ดร. นันทกร บุญเกิด หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์จาก คลินิคเทศโนโลยี (iTAP) กำลังให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวของวารสารด้านข้าวในเรื่อง การใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ในระบบข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต (Azolla & BOF-SRI) และ เรื่องราวของการทำเกษตรอินทรีย์อยู่พอดี  ซึ่งทางวุฒิอาสาธนาคารสมอง จังหวัดนครราชสีมาได้ประสานเพื่อให้ท่านไปช่วยฝึกอบรมเรื่องนี้ให้แก่เกษตรกรชุมชนบ้านใหม่อุดมในวันที่ ๙ กุมภาพันธุ์ ที่จะถึงนี้พอดี

                     อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่เว็บไซต์นี้ครับ


วันครูปี ๒๕๕๔

อ่าน: 2537

“เทิดพระเกียรติทั่วหล้า บูชาครูของแผ่นดิน ภูมินทร์ภูมิพล”

คือ คำขวัญวันครูปี ๒๕๕๔

     ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา “พระผู้ทรงเป็นครูของแผ่นดิน” แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันครู ๑๖ มกราคม ๒๕๕๔ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา รวมทั้งเพื่อยกย่องวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง และจัดตั้งกองทุนครูของแผ่นดินขึ้นมา พร้อมการประกาศการเป็นปีคุณภาพครู  เพื่อการตระหนักในหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของการเป็นครูที่ดี ช่วยกันพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นไป ในอนาคตจะได้มีครูที่ดีและเก่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในส่วนของภาครัฐจะสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครู เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการดูแลในเรื่องของรายได้ ความเป็นอยู่ รวมไปถึงเรื่องของวิทยฐานะ

      ขอแสดงความยินดีกับคุณครูคุณภาพ ครูที่ดีและเก่งทั้งหลายด้วยครับ และหวังว่าคงจะได้รับการดูแลจากรัฐ ตามที่ได้ประกาศไว้อย่างจริงจัง   ทุกคนมีความรู้อยู่ในตัว ทุกคนสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ ดังนั้นทุกคนจึงเป็นครู ขอจงเป็นครูคุณภาพตาม “พระผู้ทรงเป็นครูของแผ่นดิน” ของปวงชนชาวไทย


ชาวปักธงชัยกับการแก้ปัญหาน้ำท่วม

อ่าน: 3028

      ได้อ่านบทความที่ทดไว้ที่นี่ http://lanpanya.com/journal/archives/9875 แล้วทำให้คิดต่อไปถึงการแก้ไขปัญหาระยะยาวของ จ. นครราชสีมา ตามที่ ท่านนายกฯ เสนอ และ ปัญหาของชาวปักธงชัยครับ
     

       คอลัมน์ “วิกฤติน้ำ” วาระเพื่อความอยู่รอด: ภาระของทุกคน(2)  จาก เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553  โดย ทีมเฉพาะกิจน้ำเพื่อชีวิต  ตอนหนึ่งกล่าวว่า

        “การมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่ให้ผล เพียงปีเดียวก็คุ้มค่าแล้วนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวางแผนแก้ปัญหาน้ำท่วมมานาน อย่างเป็นขั้นเป็นตอน นับตั้งแต่ พ.ศ. 2526 ที่น้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพมหานครเป็นเวลานาน ได้พระราชทานพระราชดำริจัดทำโครงการมากมาย เช่น คันกั้นน้ำจากดอนเมือง ไปลงออกทะเลที่สมุทรปราการกรมชลประทาน ได้มีส่วนร่วมในการสนองงานทำโรงสูบน้ำที่สำโรง พระโขนง สามเสน บึงมักกะสันบึงพระรามเก้า ทั้งยังแก้ที่สาเหตุ จากแม่น้ำป่าสักนอกจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่มีปริมาณกักเก็บน้ำ960 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ก็มีแนวพระราชดำริตัดยอดน้ำที่เหนือจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นลำน้ำที่มีปริมาณถึง 2,300 ลบ.ม. โดยมีโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหิน ห้วยป่าเลาและห้วยใหญ่ ในเขตจ.เพชรบูรณ์ ในปีนี้ ยังมีโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ น้ำก้อ ห้วยนา ลำกง,ห้วยเล็ง เพื่อดึงน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็ว
         อธิบดีกรมชลประทานย้ำว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมานานแล้วสิ่งที่กรมฯ ดำเนินการ เพียงแค่บริหารระบบเท่านั้น
ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ นอกจากการระบายน้ำตามหลักการที่ควรจะเป็นควบคู่กับการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แล้ว รัฐบาลได้เริ่มดำเนินการแก้ปัญหาระยะสั้น ซึ่งยึดแนวทางพระราชดำริแก้มลิง เป็นสำคัญ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ วันที่ 7 พ.ย. 53 ว่า ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯถวายรายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะเข้าถวายรายงานเป็นปกติประมาณเดือนละ 1 ครั้ง และขออัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใยพี่น้องประชาชน ได้ทรงกำชับให้รัฐบาลได้เร่งดูแลช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้ทั่วถึง และที่สำคัญ พระองค์ท่านได้รับสั่งถึงการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ให้มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน
          นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในการแก้ปัญหาระยะยาว ที่ จ.นครราชสีมา ได้พิจารณาดำเนินโครงการเพิ่มเติมในการกักเก็บน้ำ ด้วยแก้มลิง การมีช่องทางการระบายน้ำเพิ่มเติม รวมถึงการปรับปรุงปัญหาผังเมืองและสิ่งก่อสร้าง โดยจะตั้งคณะกรรมการร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนพิจารณาร่วมกัน และรายงานข่าวจาก จ.นครราชสีมาว่า โครงการแก้มลิงที่จะก่อสร้างแน่นอนแล้ว 4 แห่ง ประกอบด้วย ฝั่งทิศตะวันตกของเมือง ใช้กักเก็บน้ำได้ประมาณ 10 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดหาสถานที่ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 2 โครงการ โครงการแรกก่อสร้างเสร็จแล้ว ในพื้นที่ที่ค่ายสุรนารี อ.เมืองนครราชสีมา โครงการที่ 2 ใช้พื้นที่บ่อยิงดิน ภายในค่ายสุรนารี อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเสร็จภายในปี 2554 และด้านทิศใต้ จะใช้พื้นที่กองบิน 1 นครราชสีมา เริ่มลงมือได้ต้นปี 2554 หากทุกโครงการแล้วเสร็จจะรองรับน้ำได้จากทุกสารทิศที่จะเข้าสู่เขตเทศบาลนครราชสีมา ไม่น้อยกว่า 25 ล้าน ลบ.ม. โดยมีระบบผันน้ำจากแก้มลิงลงสู่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำพระเพลิง และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำมูลบนซึ่งจะทำให้การระบายน้ำจากตัวเมืองมีความรวดเร็วขึ้น”
         จากนโยบายการแก้ปัญหาระยะยาว เรื่องน้ำท่วมที่ จ. นครราชสีมา โดยโครงการแก้มลิงข้างต้นซึ่งจะเน้นที่การป้องกันน้ำเข้าท่วมในเขตเทศบาลนครราชสีมาเป็นหลัก ชาวชุมชนที่อยู่นอกเขตเทศบาล และ อำเภอข้างเคียงโดยเฉพาะชาวอำเภอปักธงชัย จึงต้องให้ความสนใจในเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปตามที่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงกำชับ “ให้รัฐบาลได้เร่งดูแลช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้ทั่วถึง และที่สำคัญ พระองค์ท่านได้รับสั่งถึงการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ให้มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน”  ไม่ใช่แก้ปัญหาได้เฉพาะในเขตเทศบาลนครราชสีมา แต่นอกเขตเทศบาลและอำเภอรอบ ๆ ต้องเดือดร้อนเพิ่มขึ้น อย่างเช่นที่ชุมชนรอบ ๆ กรุงเทพฯ ต้องประสบอยู่ในเวลานี้


วุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๖) บ้านมอจะบก

อ่าน: 2294

         ตามที่วุฒิอาสาธนาคารสมอง โคราช ร่วมกับสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการนำของ ผอ. ไพโรจน์     คัดเลือกชุมชน ๔ แห่งจาก ๔ ตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นชุมชนนำร่องที่จะเข้าไปช่วยสนับสนุนการดำเนินการตามแผนชุมชน เพื่อพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ชุมชนหนึ่งก็คือ ชุมชนบ้านมอจะบก ต. มิตรภาพ อ. สีคิ้ว  โดยได้ลงพื้นที่จริงเพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้นไปเมื่อกลางเดือนสิงหาคม และมีการทำเวทีประชาคมในครั้งแรกโดยใช้ วัดอาศรมธรรมทายาท ที่อยู่ใกล้กับอ่างซับประดู่ ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญของชาวบ้านมอจะบก เป็นที่จัด  ซึ่งแน่นอนผู้ที่เป็นกำลังสำคัญที่สุดในการนัดหมายชาวบ้านมาร่วมงานก็คือ หลวงตาแชร์  เจ้าอาวาสวัดนั่นเอง  นอกจากผู้ใหญ่บ้านแล้วยังมี ท่านพัฒนาการอำเภอสีคิ้ว มาร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอีกด้วย

        อ่านต่อ »


การขยายผลเกษตรประณีต ๑ ไร่

อ่าน: 2979

             เมื่อวานนี้เรา มีโอกาสดีที่ได้ไปร่วมการเสวนา “การขยายผลเกษตรประณีต ๑ ไร่ ไปสู่ ๑ ล้านครัวเรือนในภาคอีสาน ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวตกรรม” กับทางเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กับ คุณสถาพร ซ้อนสุข หัวหน้าโครงการเกษตรเพื่อสุขภาพ และคณะ ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ ของพ่อจันทร์ที ประทุมภา ปราชญ์ชาวบ้าน ที่หลาย ๆ ท่านคงรู้จักกันดี  ในการเสวนาครั้งนี้เป็นโอกาสทองของเราที่ได้เรียนรู้จากสุดยอดปราชญ์ชาวบ้านของภาคอีสานหลาย ๆ ท่านนอกเหนือจากพ่อจันทร์ที เช่น พ่อผาย สร้อยสระกลาง ที่ในช่วงที่ผ่านมาออกทีวีในเรื่อง “เราจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยได้อย่างไร”  พ่อคำเดื่อง ภาษี  พ่อไพรัตน์ ชื่นศรี  และ ท่านอื่น ๆ ที่เป็นผู้รู้จากการปฏิบัติจริงอีกหลายท่านที่มาร่วมเสวนาในครั้งนี้ อ่านต่อ »



Main: 0.1309540271759 sec
Sidebar: 0.23898983001709 sec