ชาวปักธงชัยกับการแก้ปัญหาน้ำท่วม

อ่าน: 3039

      ได้อ่านบทความที่ทดไว้ที่นี่ http://lanpanya.com/journal/archives/9875 แล้วทำให้คิดต่อไปถึงการแก้ไขปัญหาระยะยาวของ จ. นครราชสีมา ตามที่ ท่านนายกฯ เสนอ และ ปัญหาของชาวปักธงชัยครับ
     

       คอลัมน์ “วิกฤติน้ำ” วาระเพื่อความอยู่รอด: ภาระของทุกคน(2)  จาก เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553  โดย ทีมเฉพาะกิจน้ำเพื่อชีวิต  ตอนหนึ่งกล่าวว่า

        “การมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่ให้ผล เพียงปีเดียวก็คุ้มค่าแล้วนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวางแผนแก้ปัญหาน้ำท่วมมานาน อย่างเป็นขั้นเป็นตอน นับตั้งแต่ พ.ศ. 2526 ที่น้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพมหานครเป็นเวลานาน ได้พระราชทานพระราชดำริจัดทำโครงการมากมาย เช่น คันกั้นน้ำจากดอนเมือง ไปลงออกทะเลที่สมุทรปราการกรมชลประทาน ได้มีส่วนร่วมในการสนองงานทำโรงสูบน้ำที่สำโรง พระโขนง สามเสน บึงมักกะสันบึงพระรามเก้า ทั้งยังแก้ที่สาเหตุ จากแม่น้ำป่าสักนอกจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่มีปริมาณกักเก็บน้ำ960 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ก็มีแนวพระราชดำริตัดยอดน้ำที่เหนือจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นลำน้ำที่มีปริมาณถึง 2,300 ลบ.ม. โดยมีโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหิน ห้วยป่าเลาและห้วยใหญ่ ในเขตจ.เพชรบูรณ์ ในปีนี้ ยังมีโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ น้ำก้อ ห้วยนา ลำกง,ห้วยเล็ง เพื่อดึงน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็ว
         อธิบดีกรมชลประทานย้ำว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมานานแล้วสิ่งที่กรมฯ ดำเนินการ เพียงแค่บริหารระบบเท่านั้น
ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ นอกจากการระบายน้ำตามหลักการที่ควรจะเป็นควบคู่กับการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แล้ว รัฐบาลได้เริ่มดำเนินการแก้ปัญหาระยะสั้น ซึ่งยึดแนวทางพระราชดำริแก้มลิง เป็นสำคัญ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ วันที่ 7 พ.ย. 53 ว่า ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯถวายรายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะเข้าถวายรายงานเป็นปกติประมาณเดือนละ 1 ครั้ง และขออัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใยพี่น้องประชาชน ได้ทรงกำชับให้รัฐบาลได้เร่งดูแลช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้ทั่วถึง และที่สำคัญ พระองค์ท่านได้รับสั่งถึงการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ให้มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน
          นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในการแก้ปัญหาระยะยาว ที่ จ.นครราชสีมา ได้พิจารณาดำเนินโครงการเพิ่มเติมในการกักเก็บน้ำ ด้วยแก้มลิง การมีช่องทางการระบายน้ำเพิ่มเติม รวมถึงการปรับปรุงปัญหาผังเมืองและสิ่งก่อสร้าง โดยจะตั้งคณะกรรมการร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนพิจารณาร่วมกัน และรายงานข่าวจาก จ.นครราชสีมาว่า โครงการแก้มลิงที่จะก่อสร้างแน่นอนแล้ว 4 แห่ง ประกอบด้วย ฝั่งทิศตะวันตกของเมือง ใช้กักเก็บน้ำได้ประมาณ 10 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดหาสถานที่ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 2 โครงการ โครงการแรกก่อสร้างเสร็จแล้ว ในพื้นที่ที่ค่ายสุรนารี อ.เมืองนครราชสีมา โครงการที่ 2 ใช้พื้นที่บ่อยิงดิน ภายในค่ายสุรนารี อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเสร็จภายในปี 2554 และด้านทิศใต้ จะใช้พื้นที่กองบิน 1 นครราชสีมา เริ่มลงมือได้ต้นปี 2554 หากทุกโครงการแล้วเสร็จจะรองรับน้ำได้จากทุกสารทิศที่จะเข้าสู่เขตเทศบาลนครราชสีมา ไม่น้อยกว่า 25 ล้าน ลบ.ม. โดยมีระบบผันน้ำจากแก้มลิงลงสู่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำพระเพลิง และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำมูลบนซึ่งจะทำให้การระบายน้ำจากตัวเมืองมีความรวดเร็วขึ้น”
         จากนโยบายการแก้ปัญหาระยะยาว เรื่องน้ำท่วมที่ จ. นครราชสีมา โดยโครงการแก้มลิงข้างต้นซึ่งจะเน้นที่การป้องกันน้ำเข้าท่วมในเขตเทศบาลนครราชสีมาเป็นหลัก ชาวชุมชนที่อยู่นอกเขตเทศบาล และ อำเภอข้างเคียงโดยเฉพาะชาวอำเภอปักธงชัย จึงต้องให้ความสนใจในเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปตามที่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงกำชับ “ให้รัฐบาลได้เร่งดูแลช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้ทั่วถึง และที่สำคัญ พระองค์ท่านได้รับสั่งถึงการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ให้มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน”  ไม่ใช่แก้ปัญหาได้เฉพาะในเขตเทศบาลนครราชสีมา แต่นอกเขตเทศบาลและอำเภอรอบ ๆ ต้องเดือดร้อนเพิ่มขึ้น อย่างเช่นที่ชุมชนรอบ ๆ กรุงเทพฯ ต้องประสบอยู่ในเวลานี้

« « Prev : อาม่าเล่าเรื่อง (๑๕) ในโชคร้ายยังมีโชคดี

Next : ภาพน้ำท่วมตลาดปักธงชัย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2010 เวลา 19:54

    โครงการแก้มลิงเป็นโครงการที่ช่วยได้ และมีอีกหลายโครงการที่พระองค์ท่านทรงทำค่ะพี่แพนด้า อย่างโครงการป้องกันน้ำท่วมที่จ.เพชรบุรีก็มีรายละเอียดที่น่าสนใจ http://www.phetchaburi.go.th/data/kingproject/project_17.html

    ถ้าติดตามดูโครงการของพระองค์ท่านจะเห็นว่าท่านแบ่งลักษณะการจัดการตามลักษณะของพื้นที่และจุดประสงค์ เช่น
    ช่วยให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้ำอุดมสมบูรณ์ก็จะมีการจัดการในรูปแบบของเขื่อน หรือคลองส่งน้ำ ถ้ามีน้ำท่วมขังจนไม่สามารถเพาะปลูกได้ พระองค์ก็จะระบายน้ำออกจากพื้นที่นั้น เช่นโครงการป่าพรุต่างๆเพื่อช่วยให้ชาวบ้านเข้าไปทำกินในบริเวณขอบพรุได้ โดยไม่ต้องไปบุกรุกในพื้นที่อื่น

    หรือก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แล้วปล่อยพันธุ์ปลาลงไปเพื่อเสริมในเรื่องรายได้ น้ำิเพื่อการอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร

    บางโครงการก็จะเป็นการบรรเทาอุทกภัยเช่นที่หาดใหญ่ กทม. เพชรบุรี ชุมพร ฯลฯ บางโครงการก็จะเป็นการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ หรือรักษาต้นน้ำลำธารก็เป็นฝายแม้วที่รู้จักกันดี

    คุณปราโมทย์ ไม้กลัด ได้เล่าไว้นานแล้วค่ะพี่แพนด้าว่า

    “…งานของพระองค์ท่าน มีตั้งแต่ ถ้าน้ำขาดแคลนก็จัดหาน้ำ และเมื่อน้ำท่วม น้ำมากก็จัดการบรรเทาให้น้อยลง เมื่อมีน้ำเน่าเสียก็จ้องจัดการทำงานด้านน้ำทั้งหมด ท่านจะทราบปัญหาอย่างละเอียด…”

    ถ้าเรามองรอบด้านและเข้าใจพื้นที่อย่างแท้จริงเราก็จะไม่แก้ปัญหาโดยการย้ายปัญหาไปไว้ในพื้นที่อื่นเนาะคะ …เอาใจช่วยให้การป้องกันน้ำท่วมของปักธงชัยประสบผลสำเร็จในเร็ววันค่ะ

  • #2 Panda ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2010 เวลา 20:30
    ขอบคุณ น้องเบริด มากครับที่ มาเสริมเติมข้อมูลดี ๆ ก็ได้แต่หวังว่า ผู้เกี่ยวข้องจะ “มองอย่างรอบด้าน ไม่แก้ปัญหาเฉพาะพื้นที่ ที่เรียกว่า เขตเศรษฐกิจ เท่านั้น”

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.22091913223267 sec
Sidebar: 0.11921501159668 sec