วุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๕) แบ่งกลุ่มแนะนำตามความเชี่ยวชาญ

อ่าน: 3317

      ในช่วงท้ายของการทำประชาคมกับชุมชนบ้านใหม่ในครั้งนี้ หลังจากการสอบถามถึงปัญหาและความต้องการของชุมชนแล้ว  ท่านประธานวุฒิอาสาฯ ได้จัดให้มีการแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อให้วุฒิอาสาให้คำแนะนำตามความเชี่ยวชาญของวุฒิอาสา เช่น กลุ่มการทำบัญชีและบริหารธุรกิจ กลุ่มการเขียนโครงการ กลุ่มการเกษตร กลุ่มงานประดิษฐ์ เป็นต้น เพื่อให้สามารถปรึกษาหารือและให้คำแนะนำได้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งการวางแผนที่จะลงพื้นมาให้การสนับสนุนในครั้งต่อไปได้ตรงประเด็นความต้องการของชุมชนมากขึ้น

        อ่านต่อ »


วุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๒) บทเรียนจากบ้านใหม่

อ่าน: 2981

        จากการได้เข้าร่วมรับรู้ รับทราบและแลกเปลี่ยนกับผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และชาวบ้าน ชุมชนบ้านใหม่มาสองครั้ง รู้สึกชื่นชมในความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านใหม่เป็นอย่างมากที่ ร่วมกันพัฒนาชุมชนจนได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ระดับอำเภอไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งมีการสรุปบทเรียนไว้สั้น ๆ คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเกิดจากชุมชนต้อง…..

  • มีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่ทำ
  • สามารถวิเคราะห์ต้นทุน คุณค่าเดิมของชุมชนที่มี
  • จัดตั้งกลุ่ม ร่วมวางกฎกติกา
  • ลงหุ้น  ใช้แหล่งทุนของชุมชน
  • คืนทุน เน้นการออม
  • แบ่งปันทักษะ ความรู้  ตลาด
  • มีเวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำ

    

      อ่านต่อ »


Panda อายุครบหนึ่งขวบแล้ว

อ่าน: 2086

ถอดบทเรียน : AAR+ALR+Passion Plan

อ่าน: 4687

         ช่วงบ่าย ๆ ของวันที่สองของงานอบรมการจัดการความรู้ เพื่อสร้างคุณอำนวย (Facilitator) และคุณลิขิต (Note Taker) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) รุ่นที่ ๑/๒๕๕๓ หลังจากการพักรับประทานของว่างแล้ว  กระบวนกรก็ให้เล่นเกมสนุก ๆ เพื่อไม่ให้ง่วงกัน เป็นเกมที่ผมเองไม่รู้เหมือนกันว่าชื่ออะไร อาจจะเรียกว่า เดินงู  ก็แล้วกัน เป็นเกมที่แบ่งคนออกเป็น ๔ กลุ่ม เท่า ๆ กัน  กำหนดให้หญิงยืนสลับกับชาย แล้วจูงมือกันเดินเลี้ยวไปมาผ่านเก้าอี้ที่ตั้งไว้จนวนกลับมาที่เดิมให้เร็วที่สุด ในรอบต่อมาก็ให้มีบางคน (๓ คน) ในแต่ละกลุ่มถูกปิดตา  และมีการสลับผู้นำกลุ่มอีกด้วย  โดยมีกรรมการคอยหักคะแนน ถ้ากลุ่มใดเดินชนเก้าอี้ที่วางไว้  เสร็จจากเกมก็ให้แต่ละกลุ่มร่วมกัน ถอดบทเรียน หรือที่ คุณทวีสิน เรียกว่า Reflection คือ ได้ทำแล้ว ได้คิด และคิดอะไรได้ ?    ต่อจากนั้นก็เป็นการให้ดูหนัง ทาร์ซาน ๒  ตามด้วย การถอดบทเรียน ท่านได้ดู ได้ฟังแล้ว ได้คิด และคิดอะไรได้ ?   เพื่อให้แต่ละคนได้ฝึกถอดบทเรียนด้วยตนเอง การถอดบทเรียน หรือ  ALR (After Learning Review)

 

  อ่านต่อ »


ถอดบทเรียน : จากเกม Zin สู่ World Café

อ่าน: 3237

     การเล่นเกม Zin  มีกฏิกาดังนี้

 ๑.     มีข้อมูลเป็นกระดาษ ๓๓ ชิ้น มีข้อความที่บอกใบ้เกี่ยวกับการก่อสร้าง Zin

๒.    คำถามคือถามว่า Zin สร้างเสร็จในวันอะไร ของสัปดาห์ 

๓.    ข้อมูลจากกระดาษ จะแบ่งให้สมาชิกกลุ่ม อย่างไรก็ได้ แต่มีข้อแม้ว่า ไม่ให้เปิดให้ผู้อื่นดู  ให้ใช้การสื่อสารแบบอื่น ๆ ได้

๔.    ให้เวลาช่วยกันหาคำตอบประมาณ ๒๕ นาที

(ข้อมูลในกระดาษ เป็นภาษาอังกฤษ และ มีศัพท์เรื่องของหน่วยต่าง ๆ เช่น วัน เวลา เป็นคำเฉพาะที่ไม่เหมือน สิ่งที่เราคุ้นเคย)

 

     อ่านต่อ »


ถอดบทเรียน : การเรียนรู้ผ่านเกม

อ่าน: 2867

         วันที่สอง ของงานอบรมการจัดการความรู้ เพื่อสร้างคุณอำนวย (Facilitator) และคุณลิขิต (Note Taker) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) รุ่นที่ ๑/๒๕๕๓ เป็นคิวของคนดอยปูน (คุณทวีสิน ฉัตรเฉลิมวิทย์) กระบวนกรจาก SCG ที่เคยทำหน้าที่ร่วมกับท่านอาจารย์ JJ มาหลายเวที  เนื่องจากเป็นกลุ่ม Facilitator รุ่นแรก ที่ทาง สคส. เชิญไปร่วม ลปรร. กันที่บ้านผู้หว่าน ด้วยกันเมื่อหลายปีมาแล้ว และยังคงติดต่อร่วมงานกันมาจนถึงปัจจุบัน

 

          อ่านต่อ »


ถอดบทเรียน : เจ้าเป็นไผ

อ่าน: 2259

         กิจกรรมในท้ายวันแรกของงานอบรมการจัดการความรู้ เพื่อสร้างคุณอำนวย (Facilitator) และคุณลิขิต (Note Taker) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) รุ่นที่ ๑/๒๕๕๓ เป็นแนะนำให้รู้จักตัวตนของเจ้าของ โดยให้แต่ละคน วาดรูปสะท้อนตัวตนของตนเองในปัจจุบัน ลงในกระดาษ  แล้วจับคู่เล่าให้คู่ของตนฟัง  สำหรับชาวเฮฮาศาสตร์มักนิยมเรียกกันว่า บอกซิว่า “เจ้าเป็นไผ”

 

      โดยมีข้อกำหนดคือ อ่านต่อ »


ถอดบทเรียน : เรียนรู้อย่างไร ?

อ่าน: 3045

       ช่วงบ่าย ๆ ของวันแรกของงานอบรมการจัดการความรู้ เพื่อสร้างคุณอำนวย (Facilitator) และคุณลิขิต (Note Taker) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) รุ่นที่ ๑/๒๕๕๓  วิทยากรคนเก่งของเรา (ท่าน JJ) ก็ให้ดูคลิปวีดิโอสั้น ๆ หลายเรื่องด้วยกัน เช่นเรื่อง การหาความหมายของคำว่า “ความรู้คืออะไร ?” ของนักเรียน และต่อมาก็เป็นเรื่อง “การพับเสื้อ” ที่มีด้วยกันถึงสามตอน  โดยจะเน้นอยู่บ่อยว่า  ท่านได้ดู ได้ฟังแล้ว ได้คิด และคิดอะไรได้ ?   เพื่อให้แต่ละคนได้ฝึกถอดบทเรียนด้วยตนเอง ซึ่งเป็นทักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเรียนรู้  การถอดบทเรียนหรือการเรียนรู้ของแต่ละคนก็จะแตกต่างกัน ตามพื้นฐานประสบการณ์ของแต่ละคน ดังนั้นจึงไม่มีอะไรถูกหรือผิด อาจจะเป็นเรื่องของมุมมองที่แตกต่างกันเท่านั้น ดังนั้นการถอดบทเรียนของผมในที่นี้ อาจจะไม่ตรงกับหลาย ๆ คน หรือแม้แต่ของท่านวิทยากรเองก็ได้

       

      อ่านต่อ »


เรื่องเล่าจากครอบครัวหมี

อ่าน: 3196

       ในช่วงก่อนเที่ยงของวันแรก ในงานอบรมการจัดการความรู้ เพื่อสร้างคุณอำนวย (Facilitator) และคุณลิขิต (Note Taker) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) รุ่นที่ ๑/๒๕๕๓  เป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์ของ Panda (รศ. ดร. อรรณพ วราอัศวปติ)

     อ่านต่อ »


ลปรร. กู่สร้างสรรค์ ที่ มทส.

อ่าน: 2776

         งานอบรมการจัดการความรู้ เพื่อสร้างคุณอำนวย (Facilitator) และคุณลิขิต (Note Taker) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) รุ่นที่ ๑/๒๕๕๓ โดย อาจารย์ JJ (รศ. นพ. จิตเจริญ ไชยาคำ)  และทีมงาน เป็นการอบรมแบบเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง หรือ Action Learn ดังนั้นหลังจากเสร็จสิ้นพิธีเปิดโดย ท่านอธิการบดี มทส. ศาสตราจารย์ ดร. ประสาท สืบค้า แล้ว ท่าน JJ ก็เริ่มกระบวนการโดย แจ้งกติกามารยาทเบื้องต้น สำหรับทุกท่านที่เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ทันที

          อ่านต่อ »



Main: 0.081701040267944 sec
Sidebar: 0.035860061645508 sec