ถอดบทเรียน : การเรียนรู้ผ่านเกม
วันที่สอง ของงานอบรมการจัดการความรู้ เพื่อสร้างคุณอำนวย (Facilitator) และคุณลิขิต (Note Taker) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) รุ่นที่ ๑/๒๕๕๓ เป็นคิวของคนดอยปูน (คุณทวีสิน ฉัตรเฉลิมวิทย์) กระบวนกรจาก SCG ที่เคยทำหน้าที่ร่วมกับท่านอาจารย์ JJ มาหลายเวที เนื่องจากเป็นกลุ่ม Facilitator รุ่นแรก ที่ทาง สคส. เชิญไปร่วม ลปรร. กันที่บ้านผู้หว่าน ด้วยกันเมื่อหลายปีมาแล้ว และยังคงติดต่อร่วมงานกันมาจนถึงปัจจุบัน
คนดอยปูน เริ่มนำเข้าสู่การเรียนรู้ด้วยการให้ดู ภาพเงาดำของผู้หญิงที่หมุนรอบตัว เพื่อเชื่อมโยงการใช้สมองทั้งสองซีก เพื่อทดสอบว่า คุณใช้สมองซีกไหนมากกว่า และ คุ ณ เ ป็ น ค น แ บ บ ไ ห น ???
คุณเห็นภาพนี้หมุนทวนเข็ม หรือ ตามเข็มนาฬิกา…
http://www.our-teacher.com/our-teacher/article/3%20idea/70-wiseor.htm
คนเห็นหมุนตามเข็มนาฬิกา แสดงว่า ใช้สมองซีกขวามากกว่าซีกซ้าย
ถ้าเห็นหมุนทวนเข็มนาฬิกา แสดงว่า ใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าซีกขวา…
หลังจากให้เวลาพอประมาณ กระบวนกรก็สอบถามว่า ท่านใดเห็นหมุนทวนอย่างเดียว ท่านใดเห็นหมุนตามเข็มนาฬิกาอย่างเดียว และท่านใดเห็นหมุนกลับไปกลับมา คือตามบ้างทวนบ้าง มีท่านไหนสามารถควบคุมให้หมุนในทิศที่ต้องการได้ มีเคล็ดลับหรือวิธีอย่างไร ?
หลังจากนั้นก็ให้แต่ละคน เขียนชื่อ นามสกุล ตนเอง ด้วยมือที่ถนัด แล้วเปลี่ยนมาเขียนด้วยมืออีกข้าง (ที่ไม่ถนัด) แล้วให้แต่ละคน เล่าความรู้สึก(reflection) ……เชื่องโยงไปสู่การทำความเข้าใจว่า…..ทำอะไรที่เราคุ้นเคยหรือถนัด ก็ทำได้ง่าย ๆ แต่ถ้าทำในสิ่งที่เราไม่คุ้นเคย สิ่งที่เคยง่าย อาจจะกลายเป็นยากก็ได้ แต่ในบางคน (บางกรณี) อาจได้อะไรที่ดีกว่าของเดิม (ที่คุ้นเคยก็ได้) อย่างเช่นเขียนชื่อ นามสกุล ได้สวยขึ้น เพราะเขียนช้า ๆ และระวังมากกว่าการเขียนด้วยมือที่ถนัด (ซึ่งจะเขียนอย่างรวดเร็ว)
ก็เป็นการเปิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนานไม่เครียดครับ เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วจนได้เวลาพักรับประทานอาหารว่าง เมื่อกลับเข้ามา ก็มีการแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๘-๙ คน (โดยผู้จัดแบ่งให้แต่กลุ่มประกอบด้วยคนที่มาจากต่างหน่วยงานกัน) เพื่อเล่นเกมใหม่ที่เรียว่า เกมสิ่งก่อสร้าง Zin Tower
« « Prev : ถอดบทเรียน : เจ้าเป็นไผ
Next : ถอดบทเรียน : จากเกม Zin สู่ World Café » »
3 ความคิดเห็น
เงาหมุน ๆ อันนี้รู้สึกจะมีคนเอามาเล่นในลานจ๊อกแจ๊กอยู่นะคะ และเบิร์ดคุ้น ๆ ว่าตัวเบิร์ดสามารถสั่งได้ด้วย เพราะจริง ๆ เค้าใช้หลักทางคอมพ์อะไรซักอย่างนี่แหละทำซ้อนกันระหว่างแขนกับขา
ส่วนใหญ่เห็นทางเดียว แต่มีบางครั้งที่เห็นสองทาง ฝึกบองอยู่นานเหมือนกันครับ
ว่าแต่ว่าเราสั่งสมองไม่ได้ แต่ฝึกได้ กระบวนการสร้างพลังสมองทั้งสองซีกน่าที่จะระดมกันให้หนักตั้งแต่อนุบาลนะครับ แล้วครูที่สอนเด็กอนุบาลขึ้นมาเข้าใจเรื่องนี้แค่ไหน มีเครื่องมือสร้างสิ่งเหล่านี้แค่ไหน ผมนั้นโตมาจากสังคมเดิมเก๋ากึ๊กที่ครูใช้ระบบไม้เรียว อิอิ น่าสนใจมากครับ
ตัวเบิร์ดสั่งได้….ก็สุดยอดครับ แสดงว่า สั่งให้สมองซีกซ้ายขวา ทำงานได้อย่างดี….อิอิ
เรื่องหลักทางคอมพิวเตอร์หรือคณิตศาตร์ สงสัยจะต้องให้ ท่านเทพฯ หรือ ท่านเม้ง มาเฉลยครับ
ผมเอง ก็คล้ายท่านบางทราย ครับ ส่วนใหญ่เห็นหมุนทางเดียว…..อิอิ