บ้านชานเมือง (34) เช็งเม้งปีมังกรทอง

5 ความคิดเห็น โดย Panda เมื่อ 28 มีนาคม 2012 เวลา 15:54 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา, สังคม ครอบครัว ชุมชน #
อ่าน: 2988

       เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕ เป็นวันเช็งเม้ง หรือ วันไหว้บรรพบุรุษ ของครอบครัวของเรา ปีนี้เป็นปีพิเศษของครอบครัว เนื่องจากลูก ๆ หลาน ๆ และเหลน ๆ ได้ไหว้ทั้งอากงและอาม่า พร้อมกันเป็นครั้งแรก เพราะอาม่าซึ่งเป็นหลักยึดของครอบครัวเพิ่งจากพวกเราไปเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ที่ผ่านมา  และเนื่องจากวันเช็งเม้งโคราชตามปฎิทินจีนปีมังกรทองปีนี้ ตรงกับวันเสาร์พอดี จึงทำให้มีคนที่มาไหว้บรรพบุรุษมากเป็นพิเศษ คือคนที่ยังยึดถือถือเคร่งครัดตามวัน และคนที่ถือเอาวันเสาร์อาทิตย์ที่ใกล้ที่สุด มาไหว้ในวันเดียวกัน ดังนั้นการไหว้เช็งเม้งในปีมังกรทองปีนี้ของครอบครัวเรา ที่เป็นปีแรกของการไหว้อาม่าจึงมีญาติ ๆ มาไหว้อากงอาม่ามากกว่าทุก ๆ ปีที่ผ่านมา เป็นบุญของอาม่าจริง ๆ

         อ่านต่อ »


อาม่าไซเง็ก (๑๐) พิธีไหว้ครบ ๔๙ วัน

2 ความคิดเห็น โดย Panda เมื่อ 27 กันยายน 2011 เวลา 11:37 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 2726

        เช้าเมื่อวานนี้ (๒๖ กันยายน ๒๕๕๔) แม้ว่ากรมอุตุนิยมวิทยา จะออกประกาศเตือนภัยว่า อิทธิพลของ พายุหมุนเขตร้อน “ไห่ถาง (Haitang)”  จะเริ่มมีผลกระทบต่อประเทศไทย  แต่ที่ตลาดปักธงชัยบ้านของอาม่า อากาศยังคงสดใสปกติดี  ลูกหลานของอาม่าได้มารวมกันจัดพิธีไหว้ขึ้นที่บ้าน เนื่องจากเป็นวันครบ ๔๙ วันที่อาม่าจากพวกเราไป

        

             อ่านต่อ »


อาม่าไซเง็ก (๙) พิธีถวายภัตตาหารเพล

อ่าน: 2884

          การทำบุญในงานพิธีศพนอกเหนือจากการสวดพระอภิธรรมในตอนค่ำของทุกวันแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ พิธีถวายภัตตาหารเพล หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า เลี้ยงพระเพล แด่พระและสามเณร ทุกวันเช่นเดียวกัน  สำหรับที่วัดกลางปักธงชัย นิยมเลี้ยงเพลพระและสามเณรทั้งหมดของวัดที่อยู่ในช่วงวันนั้น ดังนั้นในแต่ละวันจึงมีจำนวนไม่เท่ากัน ในกรณีของงานศพ อาม่าไซเง็ก แซ่ฉั่ว  ในช่วงสามวันแรกจะเลี้ยงเพลพระและเณรประมาณวันละ ๑๖-๒๐ รูป เนื่องจากมีศพอยู่ที่วัดกลางทั้ง ๒ ศาลา แต่ช่วงวันที่ สี่เป็นต้นไป จำนวนจะเพิ่มเป็น ๓๒-๓๖ รูป

                จากการปฏิบัติของ มัคนายก หรือ มัคทายก ของวัดที่เป็นผู้นำการปฏิบัติพบว่า มีมัคทายกของวัดจำนวน ๒ คน ที่มานำการปฏิบัติในแต่ละวันที่ไม่เหมือนกัน  เจ้าภาพอย่างผมที่ไม่ค่อยรู้ธรรมเนียมปฏิบัติจึงเกิดความสับสนพอสมควร อ่านต่อ »


อาม่าไซเง็ก (๘) พิธีกงเต็ก

อ่าน: 3449

       อาม่าได้บอกลูก ๆ ไว้ว่าให้จัดพิธีกงเต็กให้ด้วย เช่นเดียวกับที่ได้จัดในตอนที่อากงเสียเมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้ว (ปี ๒๕๓๑ ) เพื่อจะได้มีผู้นำดวงวิญญาณของอาม่าไปส่งบนสวรรค์เช่นเดียวกับที่ไปส่งอากง  แม้ว่าลูกหลานบางคนจะพูดว่าเดี๋ยวนี้ที่โคราชไม่มีใครรับทำพิธีกงเต็กแล้ว  แต่ในเช้าวันที่ ๙ สิงหาคม ที่เราไปติดต่อเรื่องโลงศพ พิธีรับศพของอาม่าที่มูลนิธิหลักเสียงเสี่ยงตึ้งโคราชกับเหล่ากู๋  เราก็แจ้งเหล่ากู๋ว่าเรามีความประสงค์จะจัดพิธีกงเต็กให้อาม่า ขอให้เหล่ากู๋ช่วยติดต่อให้ด้วย พร้อมทั้งปรึกษาเรื่องกำหนดการพิธีต่าง ๆ ทั้งหมดกับเหล่ากู๋ซึ่งรู้เรื่องดีมาก เพราะเคยช่วยงานที่มูลนิธิหลักเสียงเสี่ยงตึ้งโคราชมานาน  สรุปว่าควรทำพิธีรวม ๙ วัน เพราะถ้าทำ ๗ วัน วันที่จะมีพิธีกงเต็กจะตรงกับวันที่ ๑๔ สิงหาคม ซึ่งเป็นวันสารทจีนพอดี ไม่สามารถทำพิธีกงเต็กได้  และในบ่ายวันนั้นก็ได้รับแจ้งจากเหล่ากู๋ว่า ติดต่อผู้รับทำพิธีกงเต็กเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นคณะมาจากจังหวัดสุรินทร์  ด้วยการช่วยกันของลูกหลานอาม่าทุกคน ทุกอย่างจึงลงตัวได้ สามารถดำเนินการจัดพิมพ์การ์ด ได้ในเย็นวันที่ ๙ นั้นเอง

 

                อ่านต่อ »


อาม่าไซเง็ก (๗) ความทรงจำดี ๆ ในงานศพ

อ่าน: 2577

        ในช่วงพิธีทำบุญเลี้ยงพระและสวดพระอภิธรรมศพของอาม่า ระหว่างวันที่ ๙-๑๕ สิงหาคม มีผู้ที่มาเคารพศพอาม่า ร่วมทำบุญและสวดพระอภิธรรมจำนวนมาก ที่สร้างความปราบปลื้ม และประทับใจอย่างยิ่งแก่ครอบครัวแพนด้า จึงขอขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้อีกครั้ง  ขอนำบางส่วนมาบันทึกไว้ดังนี้

 

                อ่านต่อ »


อาม่าไซเง็ก (๖) หรีดจากเพื่อนโรงเรียนมัธยมปักธงชัย

อ่าน: 2270

        หลังจากศพของอาม่าไซเง็ก  มาถึงที่ศาลา ๒ วัดกลางปักธงชัย ในช่วงประมาณบ่ายโมงของวันที่ ๙ สิงหาคม ในช่วงบ่ายของวันนั้นก็มีพวงหรีดต่าง ๆ เริ่มทะยอยถูกนำมาที่ศาลา ๒ หนึ่งในหรีดที่มาแรก ๆ ก็คือ หรีดที่เขียนว่า อาลัยยิ่ง จาก เพื่อน ม.ป. รุ่น ๒๕๐๓  ในช่วงแรก ๆ พวกเราพี่น้องก็นั่งคุยกันว่าเป็นรุ่นใครหว่า เพราะครอบครัว วราอัศวปติ เรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนมัธยมปักธงชัย หรือ ม.ป. นี้กันหลายคน  ถามคนที่นำหรีดมา ซึ่งก็เป็นเจ้าของร้านทำหรีดอยู่แถวหน้าวัดกลางนั่นเอง เขาก็บอกว่าเขาไม่รู้ชื่อคนสั่ง เขาให้เอามาส่งที่ศาลา ๒ นี้  ไล่กันไปไล่กันมาจนในที่สุดอาม่าหลินฮุ่ยก็บอกว่าเป็นรุ่นของแพนด้านั่นเอง  ก็มันนานถึง ๕๑ ปี มาแล้ว…. เลยสับสนตามประสา สว….๕๕๕๕

 

                อ่านต่อ »


อาม่าไซเง็ก (๓) นำรูปอาม่ากลับบ้าน

2 ความคิดเห็น โดย Panda เมื่อ 23 สิงหาคม 2011 เวลา 22:53 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา, สังคม ครอบครัว ชุมชน #
อ่าน: 2745

     หลังจากเสร็จสิ้นพิธีฝังศพอาม่าแล้ว ผู้ทำพิธีก็บอกให้ลูกหลานและญาติเดินทางกลับจากที่ฝังศพ และบอกให้ทุกคนทราบว่า อย่าเหลียวหลังกลับไปยังด้านที่ฝังศพอีกตลอดการเดินทางกลับออกมา มีการนำกระถางธูปและรูปของอาม่ากลับออกมาด้วย แต่ให้ทิ้งตะเกียงไว้ที่หน้าหลุมศพ สำหรับการถือรูปกลับนั้นจะต้องถือรูปให้หันเข้าหาตัว ตรงข้ามกับการถือหันออกในตอนขามา (เพราะอะไร ใครทราบ ช่วยอธิบายด้วยครับ)

        อ่านต่อ »


อาม่าไซเง็ก (๕) วุฒิอาสาธนาคารสมอง เป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม

อ่าน: 2549

      คืนวันที่ ๑๕ สิงหาคม โดยการนำของ ผศ. ถนอมศรี ประธานวุฒิอาสาธนาคารสมอง  จังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย แพทย์หญิง พยอม บูรณสิน  ที่ปรึกษาวุฒิอาสาฯ  และ สมาชิกวุฒิอาสาฯ  อีกหลายท่านร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมศพ อาม่าไซเง็ก  สำหรับ พวงหรีด ของวุฒิอาสาฯ และ ของแพทย์หญิง พยอม บูรณสิน  นั้นจะเป็นต้นเฟื่องฟ้าหลากสี จากอำเภอหนองบุญมาก ที่แม่จินดา วุฒิอาสาฯ ปราชญ์ชาวบ้าน นำมาด้วยตนเอง โดยการประสานของ อาม่าหลินฮุ่ย นั่นเอง

                อ่านต่อ »


อาม่าไซเง็ก (๔) ศูนย์อนามัยที่ ๕ เป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม

อ่าน: 2849

      การสวดพระอภิธรรมศพของอาม่าไซเง็ก แซ่ฉั่ว ในคืนวันที่ ๑๐ สิงหาคม  ทางศูนย์อนามัยที่ ๕ โดยการนำของคุณอารี รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ  จำนวนหนึ่งเดินทางมาร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมศพอาม่า 

      อ่านต่อ »


อาม่าไซเง็ก (๒) พิธีฝังศพ

อ่าน: 2350

       หลังจากพิธีเคารพศพและพระราชทานดินฝังศพเป็นกรณีพิเศษแล้ว ก็เป็นการเคลื่อนศพอาม่าไซเง็ก แซ่ฉั่ว ไปยังสุสานเม้งยินซัวจึง จังหวัดนครราชสีมา โดยรถยนต์ของมูลนิธิหลักเสียงเสี่ยงตึ้งสว่างเมตตาธรรม ติดตามด้วยรถของ ลูกหลาน ญาติพี่น้องและแขกผู้มีเกียรติที่ตามไปส่งยังสุสาน โดยทางเจ้าภาพได้จัดรถบัสหนึ่งคันไว้คอยให้บริการ  ในการเคลื่อนศพนั้น ปกติคนที่ถือกระถางธูปเชิญวิญญาณผู้วายชนม์ จะเป็นบุตรคนโต แต่ในกรณีของอาม่าไซเง็กนี้ ผู้ทำพิธีให้หลานชายคนโตเป็นผู้ถือแทน ส่วนบุตรคนโตถือตะเกียง คนถัดมาถือรูปถ่าย  ตามด้วยพระสงฆ์หนึ่งรูป และเณรหลานเหลนที่บวชให้อาม่า จูงอาม่าไปขึ้นรถ เดินทางไปยังสุสาน

 

        อ่านต่อ »



Main: 0.17672181129456 sec
Sidebar: 0.83876705169678 sec