ทำนาดำอินทรีย์สาธิต ๒ รูปแบบ
โครงการร่วมพัฒนาชุมชนของวุฒิอาสาธนาคารสมอง จังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โครงการหนึ่งก็คือการส่งเสริมให้ชุมชนได้ตระหนักถึงการทำนาแบบอินทรีย์ โดยเฉพาะการให้หันมาทำนาดำแทนการทำนาหว่าน โดยแบ่งออกเป็น ๒ รูปแบบ คือ
โครงการร่วมพัฒนาชุมชนของวุฒิอาสาธนาคารสมอง จังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โครงการหนึ่งก็คือการส่งเสริมให้ชุมชนได้ตระหนักถึงการทำนาแบบอินทรีย์ โดยเฉพาะการให้หันมาทำนาดำแทนการทำนาหว่าน โดยแบ่งออกเป็น ๒ รูปแบบ คือ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาแพนด้าและหลินฮุ่ย ได้แวะไปเยี่ยมเครือข่าย ที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาของชาวบ้านวังน้ำเขียวอีกครั้ง กับศาสตราจารย์จากประเทศสหรัฐอเมริกา Professor Mojibul และภรรยาพร้อมคณะ ได้รับการต้อนรับจากคุณอำนาจ หมายยอดกลาง ผู้อำนวยการศูนย์ และคุณมะลิ คู่ชีวิต เป็นอย่างดีเยี่ยมเช่นเคย หลังจากอิ่มหนำสำราญจากอาหารเจ รสเยี่ยม จากโรงครัวอิ่มบุญ โดยฝีมือของคุณมะลิแล้ว วันนี้ยังได้ชิม “แก่นตะวัน” พืชไร่พันธุ์ใหม่ สมุนไพรมหัศจรรย์ ที่กำลังส่งเสริมให้ปลูกในศูนย์แห่งนี้ นอกเหนือจากผักต่าง ๆ โดยเฉพาะผักสลัดที่เป็นพืชหลักของศูนย์ฯ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ที่ผ่านมา หลังจากพากลุ่มชาวนาจากโคราชไปเยี่ยมชมกิจกรรมการเกี่ยวข้าวของชาวนามืออาชีพ ที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จ. ปทุทธานี ในครึ่งวันเช้าแล้ว มีเวลาอีกครึ่งวัน เราจึงตัดสินใจพากลุ่มชาวนาที่มีความสนใจที่จะหันมาทำนาดำแบบอินทรีย์และตามรอยพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทำการเกษตรตามหลักปรัญญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อจะไปดูแปลงสาธิตที่ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ ๔๖-๔๘ ตรงข้ามโรงพยาบาลนวนคร ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ๑๒๑๒๐ ซึ่งจากข้อมูลที่ดูจากเว็บไซด์ของพิพิธภัณฑ์ แจ้งว่า เปิดให้บริการทุกวันอังคาร - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๕.๓๐ น. ปิดบริการเข้าชมวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
หลังจากการ่วมสืบสานประเพณีไทยกับพิธีบายศรีสู่ขวัญ ท่านนายอำเภอ ที่ต้องใช้ฉบับย่อเนื่องจากมีเวลาจำกัด ในช่วงต่อมาทางโรงเรียนจึงได้จัดทำพิธีในรูปแบบที่สมบูรณ์ เพื่อให้เด็กนักเรียนและชาวบ้านได้เรียนรู้กัน
มทส. ร่วมสนองพระราชดำริฯในหลวง วิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้น้ำมันจากพืชในโครงการ ไทไฟโตเลียม ( Thai Phytoleum )
โครงการ ไทไฟโตเลียม ( THAI PHYTOLEUM ) มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การศึกษาวิจัย และ พัฒนา องค์ความรู้ด้านการผลิตพืชน้ำมัน และ การประยุกต์ใช้น้ำมันจากพืช เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ ทั้งในภาคการพลังงานและอุตสาหกรรม ทดแทนน้ำมันจากหินหรือฟอสซิล ที่เรียกว่า ปิโตรเลียม ( PETROLEUM ) งานโครงการนี้จะครอบคลุมตั้งแต่การคัดเลือก และ ปรับปรุงพันธุกรรมของพืชน้ำมัน การคัดเลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการสกัดน้ำมัน การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพน้ำมัน การปรับแต่งเครื่องยนต์ การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัย และ สารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ( Internet ) โดยมีองค์กร และ คณะทำงานประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชน และ ประชาชน เข้าร่วมสนองพระราชดำริฯ หลายองค์กร รวมทั้งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ( มทส. ) ด้วย
วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2544 ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล ได้เวียนมาอีกวาระหนึ่ง ในปีนี้นอกจากปวงชนชาวไทยจะได้ร่วมถวายพระพรชัย เช่นทุก ๆ ปีที่ผ่านมาแล้ว ปวงชนชาวไทยยังได้รับทราบข่าวทั้งทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และสื่ออื่น ๆ ถึงพระอัจฉริยภาพของในหลวงของเราที่ ได้ทดลองนำเอาน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่หาได้ภายในประเทศ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล และพบว่าน้ำมันปาล์มมีศักยภาพใช้แทนน้ำมันดีเซลได้ โดยได้ยื่นจดสิทธิบัตร ไว้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว จากข้อมูลระบุว่าสามารถใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์อย่างเดียว หรือ ใช้ในรูปสารผสมกับน้ำมันดีเซลทุกอัตราส่วนเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลได้ และเพิ่มกำลังให้กับเครื่องยนต์โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ ระบบส่งน้ำมันหรือติดตั้งเครื่องกรองและอุปกรณ์กำจัดไอเสีย
นอกจากนั้น ในช่วงเวลาสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมาเราก็คงได้รับทราบข่าวการใช้น้ำมันพืชชนิดอื่น เช่น น้ำมันมะพร้าวผสมกับน้ำมันก๊าช หรือ น้ำมันปาล์มผสมน้ำมันก๊าซและน้ำมันดีเซล มาใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง แทนน้ำมันดีเซล ในหลายจังหวัด เช่นที่ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และที่ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น และเรียก น้ำมันผสมนี้ว่า ไบโอดีเซล ( BIODIESEL ) ซึ่งโดยความหมายที่ในต่างประเทศใช้กันนั้นคำว่า ไบโอดีเซล จะหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเปลี่ยนน้ำมันจากพืช น้ำมันหรือไขจากสัตว์ หรือ จากสาหร่ายบางชนิด โดยการทำปฏิกริยากับ แอลกอฮอล์ เช่น เอทานอล ( ETHANOL) หรือ เมทานอล ( METHANOL ) ในสภาวะที่มีตัวเร่ง ( Catalyst ) เพื่อเปลี่ยนน้ำมันให้เป็น เอทิลเอสเทอร์ (ethyl ester) หรือ เมทิลเอสเทอร์ (methyl ester) ดังนั้นการเรียกส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว หรือ น้ำมันปาล์ม กับน้ำมันก๊าซ และ/หรือ น้ำมันดีเซล เพื่อใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล จึงไม่น่าจะเรียกว่า ไบโอดีเซล ทางกลุ่มคณะวิจัยและพัฒนาของเราเสนอว่า ควรจะเรียกว่า ไฟโตดีเซล ( PHYTODIESEL ) เนื่องจากแตกต่างจากไบโอดีเซลตามที่มีมาตรฐานกำหนดไว้แล้วในต่างประเทศ ไฟโตดีเซล หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำมาจากน้ำมันพืช หรือส่วนอื่นใดของพืช ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดใด ๆ ก็ได้ โดยการนำมาเพื่อใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลโดยตรง หรือ ผสมกับน้ำมันชนิดอื่นหรือ เติมสารปรุงแต่งบางอย่างลงไป เพื่อให้มีคุณสมบัติใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดี ไฟโตดีเซล เป็น ผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่คณะวิจัยและพัฒนาของเราได้มีการวิจัยและพัฒนามาช่วงหนึ่งแล้ว โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการ ไทไฟโตเลียม ( THAI PHYTOLEUM ) คำว่า PHYTOLEUM มาจากการนำเอาคำสองคำมาเชื่อมเข้าด้วยกัน คือ คำว่า PHYTO ซึ่งมาจากภาษากรีก แปลว่า พืช ( Plant ) กับคำว่า OLEUM ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า น้ำมัน ( Oil ) รวมกันหมายถึง น้ำมันจากพืช ( Oil from plant ) การนำคำว่า PHYTOLEUM นี้มาใช้ จะช่วยสื่อความหมายและกระตุ้นให้ประชากรไทย และ ประชาคมโลก หันมาสนใจพัฒนาพืชน้ำมัน ให้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม ที่กำลังจะหมดไปในอนาคตอันใกล้นี้อย่างจริงจัง
อ้างอิง : http://portal.in.th/phytoleum/news/1825/
เมื่อกว่า ๑๐ ปีมาแล้ว (พ.ศ. ๒๕๔๓) ไปเที่ยวงานประจำปีของโคราช คืองานฉลองชัยชนะท่านท้าวสุรนารี หรือ ย่าโม ของลูกหลานชาวโคราช เห็นต้นชวนชม ถ้าจำไม่ผิดชื่อ “เพชรเมืองคง” ที่ได้รางวัลชนะเลิศจากการประกวดในช่วงนั้น ที่เขาเอามาตั้งโชว์ให้ดู ลำต้นมีโคนขนาดใหญ่มาก มีการแตกยอดมากมายพร้อมออกดอกสวยงาม จึงได้ซื้อชวนชมที่เพาะจากเมล็ดต้นแม่ นี้มา ๒ ต้น มาปลูกที่บ้าน ต้นมีการเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ เวลาผ่านไปประมาณ ๓ ปี ต้นสูงประมาณ ๑ ฟุต ตามในภาพ
วันนี้แพนด้าและหลินฮุ่ย แวะไปเยี่ยมเครือข่ายที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาของชาวบ้านวังน้ำเขียว ได้พบกับ อำนาจ หมายยอดกลาง ผู้อำนวยการศูนย์ และคู่ชีวิต
เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๔ วุฒิอาสาธนาคารสมองโคราช จำนวนหนึ่ง ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมกับเกษตรกร ในชุมชน ต. บ้านใหม่ อ. หนองบุญมาก จ. นครราชสีมา กับ สมาชิกชมรม สว.๙ ศูนย์อนามัยที่ ๕ ในหัวข้อ การเกษตรแบบประณีตและเกษตรอินทรีย์ โดยทีมวิทยากรจาก ฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี (มทส.) ที่ห้องประชุมโรงเรียนบ้านใหม่ไทยเจริญ
ในการอบรมเรื่องเกษตรแบบประณีตและเกษตรอินทรีย์ โดยทีมวิทยากรจาก ฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ที่ห้องประชุมโรงเรียนบ้านใหม่ไทยเจริญ วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๔ นั้นในช่วงบ่าย มีการพ่วงเรื่องของ การอบรมเทคโนโลยีการปลูกพืชไร้ดินที่อายุสั้นที่สุด ตามความต้องการของชุมชนให้ด้วย โดยชุดอุปกรณ์ที่พัฒนาโดยทีมงานของ เทคโนธานี มทส.
เป็นที่สนใจเป็นอย่างมากทั้งจาก สมาชิกชมรม สว.๙ ศูนย์อนามัยที่ ๕ วุฒิอาสาธนาคารสมอง โคราช และ เกษตรกรในชุมชนบ้านใหม่ ดังในภาพ อ่านต่อ »
เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๔ สมาชิกชมรม สว.๙ ศูนย์อนามัยที่ ๕ ที่ประกอบด้วย ประธานชมรม รองประธาน เลขา และ สมาชิกชมรม รวม ๑๐ ท่าน พร้อมเจ้าหน้าที่จากศูนย์อนามัยที่ ๕ อีกสองท่าน รวมทั้งวุฒิอาสาธนาคารสมองโคราชอีกจำนวนหนึ่ง ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมกับเกษตรกรในชุมชน ต. บ้านใหม่ อ. หนองบุญมาก จ. นครราชสีมา ในหัวข้อ การเกษตรแบบประณีตและเกษตรอินทรีย์ โดยทีมวิทยากรจาก ฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) โดยจัดฝึกอบรมที่ห้องประชุมโรงเรียนบ้านใหม่ไทยเจริญ