ชมรม สว.๙ เข้าร่วมอบรมเกษตรประณีต

อ่าน: 2933

     เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๔ สมาชิกชมรม สว.๙ ศูนย์อนามัยที่ ๕ ที่ประกอบด้วย ประธานชมรม รองประธาน เลขา และ สมาชิกชมรม รวม ๑๐ ท่าน พร้อมเจ้าหน้าที่จากศูนย์อนามัยที่ ๕ อีกสองท่าน รวมทั้งวุฒิอาสาธนาคารสมองโคราชอีกจำนวนหนึ่ง ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมกับเกษตรกรในชุมชน ต. บ้านใหม่ อ. หนองบุญมาก จ. นครราชสีมา ในหัวข้อ การเกษตรแบบประณีตและเกษตรอินทรีย์ โดยทีมวิทยากรจาก  ฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)  โดยจัดฝึกอบรมที่ห้องประชุมโรงเรียนบ้านใหม่ไทยเจริญ

 

       บรรยากาศการฝึกอบรมเป็นไปแบบสบาย ๆ เน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของเกษตรกรและผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมกับวิทยากรผู้รู้จริง (คุณสถาพร ซ้อนสุข) จากการลงมือปฏิบัติมาด้วยตนเองและประสบการณ์ในการร่วมเป็นวิทยากรกับ ปราชญ์ชาวบ้านอย่างเช่น พ่อจันทร์ที ประทุมภา พ่อคำเดื่อง ภาษี พ่อผาย สร้อยสระกลาง เป็นต้น ในการขยายเครือข่าย “เกษตรประณีต ๑ ไร่ แก้จนคนอีสาน” จนปัจจุบันเกิดเครือข่ายชาวบ้านทั่วประเทศกว่า ๑๕๐ ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ และประสบการณ์แก่เกษตรกรและผู้สนใจจำนวนมาก

         เรื่องราวต่าง ๆ รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับ “เกษตรประณีต ๑ ไร่” ในปัจจุบัน ท่านที่สนใจสามารถหาข้อมูลได้ง่ายๆ จากสื่อต่าง ๆ รวมทั้งสื่อออนไลน์ หรือ อินเทอร์เน็ต ซึ่งมีหลักการสั้น ๆ ว่า

-         ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก เหลือกินแจก เหลือแจกขาย

-         มีการออมน้ำ ออมดิน ออมพืช และ ออมสัตว์

-         ใช้ระบบปลูกพืชร่วม พืชแซม พืชเกื้อกูลกัน

       เกษตรประณีตเป็นรูปแบบหนึ่งของเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน และสอดคล้องกับการดำรงชีวิตตามแนว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย

-         เริ่มทำน้อย ๆ ก่อนที่จะขยาย พื้นที่อาจเริ่มจาก ๑-๒ ตารางเมตร หรือ ๑๐-๒๐ ตารางเมตร หรือ ๑ งาน ตามความพร้อมของตนเองและครอบครัว

-         ลงทุนน้อยที่สุดก่อน ใช้ทรัพยากรทุกอย่าง อย่างประหยัด

-         ใช้ความรู้ให้มาก และพึ่งตนเองให้มาก เช่นใช้ทรัพยากรของตนเองที่มีอยู่ ใช้แรงงานในครอบครัว ผลิตปัจจัยการผลิตเองเช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์พืช สารกำจัดโรคแมลง เป็นต้น

-         ดำเนินการอย่างครบวงจร เนื่องจากการเกษตรเป็น “ธุรกิจ” ประเภทหนึ่ง จึงต้องมีการดำเนินการด้านการผลิต การบริหารจัดการต้นทุน การตลาตหรือการจำหน่าย เริ่มด้วยการผลิตและจำหน่ายด้วยตนเองอย่างครบวงจร โดยมุ่งที่ตลาดท้องถิ่นเป็นหลักก่อนเพื่อ “ผลิตของดีให้คนรอบข้างได้กิน” เมื่อมั่นใจแล้วจึงขยายการผลิตและขยายสู่การทำเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) หรือ ขยายตลาดด้วยตนเองต่อไป

 (ข้อมูลจาก เอกสารประกอบการฝึกอบรม เรื่อง การเกษตรแบบประณีต โดย นายสถาพร ซ้อนสุข โครงการเกษตรเพื่อสุขภาพ มทส.)

 

 

     หลังจากการอบรมแล้ว สมาชิกชมรม สว.๙ พร้อมกับ ประธานชมรมฯ (หลินฮุ่ย) และทีมงานจาก มทส. ก็ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อภารกิจอีกหลายอย่าง เช่นการติดตามผลงาน การอบรมปลูกข้าวต้นเดี่ยว  การดูผักหวานป่าที่กำลังออกผลดกเต็มต้นในป่าชุมชนที่วัดใหม่สมบูรณ์ และตามบ้านเรือนของชุมชน โดยเฉพาะที่สวนของ ลุงเจริญ ปราชญ์ชาวบ้านอีกท่านหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญในการปลูกและขยายพันธุ์ผักหวานป่าและพืชต่าง ๆ ในระบบเกษตรอินทรีย์

 

      และในตอนท้ายก็ได้แวะไปดูสวนที่มีการปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ที่อยู่อีกด้านหหนึ่งของหมู่บ้าน ก่อนที่จะเดินทางกลับ มทส.

« « Prev : ชุมชนเมืองก็พอเพียงได้

Next : เทคโนโลยีการปลูกพืชอายุสั้นที่สุด » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.54926705360413 sec
Sidebar: 1.6457040309906 sec