ทำนาดำอินทรีย์สาธิต ๒ รูปแบบ
โครงการร่วมพัฒนาชุมชนของวุฒิอาสาธนาคารสมอง จังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โครงการหนึ่งก็คือการส่งเสริมให้ชุมชนได้ตระหนักถึงการทำนาแบบอินทรีย์ โดยเฉพาะการให้หันมาทำนาดำแทนการทำนาหว่าน โดยแบ่งออกเป็น ๒ รูปแบบ คือ
๑. การทำนาดำในชุมชนที่ชาวนามีที่นาเป็นของตนเองจำนวนพอสมควร แต่ปัจจุบันลูกหลานชาวนาไม่สนใจที่จะทำนาต่อ เพราะเห็นว่าการทำนาในแบบเก่าตามที่พ่อแม่ ปู่ย่าตายายบทำกันมานั้นเหนื่อยมากและให้ผลผลิตไม่พอเพียงต่อการเลี้ยงชีพ ทำให้มีแต่หนี้สิน จึงเหลือแต่ผู้สูงอายุที่ยังคงทำนาต่อไปและนับวันจะน้อยลง เนื่องจากทำเองไม่ไหวและการจ้างแรงงานผู้อื่นให้มาช่วยทำนั้นก็มักหายากขึ้นหรือไม่คุ้มกับค่าจ้างที่ต้องจ่ายไป
ดร. พรรณี หรือ อาม่าหลินฮุ่ย หนึ่งในวุฒิอาสาธนาคารสมอง นครราชสีมา ซึ่งมีโครงการ “สร้างความหมั่นคงทางอาหาร” จึงได้ประสานงานกับ ฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และ ฝ่ายวิชาการ บริษัทสยามคูโบต้าประเทศไทย ผ่านรองผู้จัดการ คุณสุภชัย ปิติวุฒิ ให้มาฝึกอบรมต่าง ๆ และ ทำแปลงนาดำสาธิต ที่บ้านใหม่อุดม อำเภอหนองบุญมาก โดยใช้นวตกรรมใหม่และเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ อย่างเช่น เครื่องเพาะกล้า เครื่องดำนา และเครื่องเก็บเกี่ยวข้าว และอื่น ๆ มาช่วยในการทำนา ทำใช้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่ขาดแคลนแรงงานสามารถทำนาดำได้ และให้ผลผลิตที่ดีกว่าเดิมได้ โดยทำการดำนาเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔
และทำการเก็บเกี่ยวเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ บันทึกของอาม่าหลินฮุ่ย
๒. การทำนาดำอินทรีย์ในชุมชนเมืองที่ไม่มีที่นา วุฒิอาสาฯ ก็ได้สาธิตการทำนาดำ แบบข้าวต้นเดี่ยวในวงซีเมนต์ รวมทั้งการเลี้ยงแหนแดงในการเพิ่มปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่ต้นข้าวอีกด้วย โดยใช้ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ที่วัดอาศรมธรรมทายาท อ่างซับประดู่ อำเภอสีคิ้ว เป็นพื้นที่สาธิต ซึ่งได้ทำการปลูกไปเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา
และกำหนดที่จะทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ที่จะถึงนี้
« « Prev : แก่นตะวันและฟักข้าวพืชดีที่ผู้ชายต้องใส่ใจ
ความคิดเห็นสำหรับ "ทำนาดำอินทรีย์สาธิต ๒ รูปแบบ"