ความมั่นคงทางอาหาร 11 (ดอกยอเก้า )

อ่าน: 2307

สืบเนื่องจากการไปศึกษาดูงานที่ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมพวง ของพ่อจันทร์ที ประทุมภา บ้านโนนรัง ต. ตลาดไทร อ.ชุมพวง จ. นครราชสีมา เมื่อ วันที่ ๑๒ กพ. ที่ผ่านมา ด้วยเหตุที่อาม่าเป็นเครื่อข่ายผู้ก่อการดีของที่นี่ มีการแบ่งปันความรักความรู้เสมอมา มาคราวนี้ก็เจอสมุนไพร ที่ต้องไปศึกษาต่อ สมุนไพรตัวที่สองที่ พ่อบอกว่าชื่อ “ยอเก้า” และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ากินไม่ได้ หน้าที่ผู้ก่อการดีก็แค่หาทางรู้ให้ได้ว่า ยอเก้า มีชื่อว่าอะไร และมีสรรพคุณ มีประโยชน์ทางยา อย่างไรบ้าง อาม่ามีเพื่อนเป็นปราชญ์(กูรู)หลายด้าน จึงใช้วิธีคุยกับปราชญ์ (คุยกับปราชญ์หนึ่งเพลา ดีกว่าไปท่องตำราเป็นสิบปี)
สมุนไพร

หลังจากปรึกษา คุณ Shinobi Sakka (สัมปชัญญบรรพ)ผู้ที่เคยเป็นลูกศิษย์หมียักษ์ในสมัยมาเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ที่ มทส.ตอนเป็นนักเรียนระดับมัธยมค่ะ เป็นเพื่อนอาม่าในเฟสบุ๊ค มีความสนใจเรื่องของต้นไม้สมุนไพร เหมือนอาม่าเราเป็นเพื่อนกันนานพอสมควร จึงรู้ว่าอาม่าใช้นามสกุลของหมียักษ์ ก็ยิ่งมีความรักความผูกพันธ์แน่นแฟ้นกลายเป็นศิษย์อาจารย์กัน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สร้างความมั่นคงทางปัญญาเพิ่มขึ้น ก็ช่วยกันค้นหาข้อมูล จนในที่สุด เราก็ใช้บริการของ แมกโนเลียไทยแลนด์ แหล่งรวมกูรูผู้รู้เรื่องพืชระดับเทพ(รวดเร็วเหมือนเทพ) อาม่าจึงมีเครื่อข่ายเทพด้วยค่ะ อยากรู้อะไรก็ต้องหาเครื่อข่ายที่เป็นกูรูเรื่องนั้นๆ มาช่วยเติมเต็มความรู้ผ่านครือข่าย สังคมออนไลน์ ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาม่าขอขอบคุณ กูรู ทุกๆคนที่ช่วยค้นหาและให้คำตอบ ที่รวดเร็วดุจเทพค่ะ
หลังจากนั้นอาม่าก็ตามไปหาความจริงของเส้นทางชี้แนะของกูรู

ข้อมูลจาก
http://www.thaiherb.most.go.th/
เสนียด

ชื่อวิทยาศาสตร์:

Justicia adhatoda L.

วงศ์:

ACANTHACEAE

ชื่อพ้อง:

Adhatoda vasica (L.)

ชื่อสามัญ:

Adhatoda;Malabar Nut Tree;Vassica

ชื่ออื่น:

กระเหนียด (ภาคใต้);กุลาขาว;บัวลาขาว;บัวฮาขาว (ภาคเหนือ);โบราขาว (เชียงใหม่);โมรา;เสนียดโมรา (ภาคกลาง);หูรา (นครปฐม);หูหา (เลย)

ลักษณะทางพฤกศาสตร์

ลำต้น:

เป็นไม้พุ่มใหญ่ แตกกิ่งก้านก้านสาขามากมายรอบๆ ต้น ลำต้นสูงประมาณ 3 เมตร

ใบ:

เป็นไม้ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ ลักษณะใบเป็นรูปหอก ปลายแหลม โคนใบแหลมสอบ ขอบใบเรียบ พื้นใบเป็นสีเขียว และมีขนอ่อนๆ ปกคลุมอยู่ ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5- 2.5 นิ้ว ยาว3.5-7 นิ้ว

ดอก:

ออกเป็นช่ออยู่ตรงง่ามใบ ส่วนยอดของต้น ช่อดอกจะรวมกันเป็นแท่ง ใบเลี้ยงที่รองรับดอกมีสีเขียวเรียงกันเป็นชั้นๆ กลีบดอกแยกออกเป็นปาก ด้านบนมี 2 แฉกสีขาว ส่วนด้านล่างมี 3 แฉกสีขาวประม่วง เกสรมี 2 อัน

สรรพคุณตามตำรับยาไทย

ส่วนที่ใช้และสรรพคุณ:

ใบ : ใช้ห้ามเลือด หรือเข้ายาหลายอย่างที่เกี่ยวกับเลือดเช่น บำรุงเลือด ฯลฯ แก้ฝี แก้หืด แก้ไอและขับเสหมะ

วิธีทำ/วิธีใช้:
นำเอาน้ำคั้นจากใบสดประมาณ 15 มิลลิลิตร ผลมกับน้ำผึ้งหรือน้ำขิงสดกิน


ความมั่นคงทางอาหาร 10 (ดีปลากั้ง)

อ่าน: 2601

อาม่าเป็นเครื่อข่าย ของกลุ่มผู้ก่อการดี ครือข่ายการเกษตรอินทรีย์ เกษตรประณีตฯ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรพอเพียง

เป้าหมายผู้ก่อการดี คือ ร่วมมือร่วมใจใฝ่รู้ ไม่จำกัดความรู้ ไม่จำกัดเพศ และวัย ล้วนมีใจที่มีความเพียรเป็นที่ตั้ง มีสติ มีธรรมนำชีวิต เป็นหลักของการดำเนินชีวิต ของเครื่อข่าย ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ร่วมกับปราชญ์ชาวบ้าน สร้างนวตกรรมทางการเกษตร ที่ผสมผสาน ทดลองทดสอบในพื้นที่อีสาน ดินแดนที่ทุกคนว่าแห้งแล้ง จนได้นวกรรมที่ใหม่ที่ปฏิบัติ แล้วเห็นผล ตือ เกษตรประณีต ๑ไร่ สามารถนำมาขยายผล ให้สอดคล้องกับภูมิสังคม ของแต่ละภูมิภาค ให้เหมาะกับพื้นที่ และวิถีชีวิต สามารถแก้จนเกษตร คนอีสานได้ แค่นั้นเอง

เริ่มต้นด้วยการ ออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ ออมสัตว์ ออมความรู้ ออมน้ำใจ แล้วแบ่งปั้นความรู้ กันด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และลงมือทำอย่างมีความเพียร  หากเกิดปัญหาที่แก้ได้เองก็ช่วยกันเองได้ แต่ถ้าต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีี เราก็สร้างเครือข่ายกัยสถาบันการศึกษา ในจังหวัดนั้น เพื่อขอความช่วยเหลือ ปราชญ์ชาวบ้านเองก็ช่วยขยายองค์ความรู้ร่วมกับสถาบันกาศึกษานั้นๆ  แบบร่วมด้วยช่วยกัน เป็นขบวนการก่อการดี  เครือข่ายเราได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจาก ฝ่ายปรับแปลงถ่ายทอดเทตโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ. นครราชสีมา

เมื่อออมน้ำพอเพียงแล้วก็ สามารถออมดิน ออมต้นไม้ ออมสัตว์ เพื่อสร้างความั่นคงทางด้านอาหารครบทุกหมวดหมู่ ออมไม้ใช้สอย ออมไม้มีค่าเป็นทรัพย์ ให้ลูกหลานและออมพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับบริโภคในรูปของอาหาร และเยียวยาตัวเองในรูปของสมุนไพรที่เป็นองค์ความรู้ของการเยียวยาตัวเอง ตามแนวทางวิถึชีวิตที่บรรพบุรุษสั่งสมมา ในที่สุดก็เกิด องค์ความรู้ใหม่ จากการผสมผสานร่วมมือกันระหว่างนักวิชาการ และปราชญ์ชาวบ้าน ทำการศึกษาทดลองจนบังเกิดผลประจักษ์อย่างชัดเจน จากระบบระเบียบการศึกษาวิจัย มีการสังเกตุุ จดบันทึก รวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล  ศึกษาวิจัยร่วมกับนักวิชาการ อย่างเป็นระบบ จนปราชญ์ชาวบ้านกลายเป็นนักวิจัยที่สอดคล้องกับที่ตรงกับความต้อง จนมีความรู้ความเข้าใจที่พอเพียง เพื่อทำ การเกษตรพอเพียง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายและกระบวนการเรียนรู้ของวุฒิอาสาธนาคารสมอง ในการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ ๑๒ ถึง ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณ ห้องอรพิม โรงแรมสีมาธานี    จ. นครราชสีมา

สิ่งที่อาม่าได้มาเต็มๆ ในการไปศึกษดูงานร่วมกับกลุ่มที่ ๒ คือสมุนไพรสองตัวค่ะ

ตัวแรกคือ ดีปลากั้ง จึงไปค้นคว้าหาความรู้มาเพิ่มเติมต่อยอดจาก http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?topic=1687.0 ซึ่งอาม่าใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และอ้างอิงได้อย่างใจค่ะ เป็นกูรูทางต้นไม้ ฝีมืถ่ายภาพขั้นเทพค่ะ ขอนำมาให้ชมเป็นแค่น้ำจิ้ม เพื่อกระตุกต่อมอยากรู้ค่ะ

อาม่าเองก็จะเก็บภาพมาเช่นกันแค่เป็นหลักฐานว่าได้เจอสมุนไพร ตัวนี้ที่บ้านพ่อจันทร์ที ประทุมภา เพื่อไปค้นคว้าศึกษาต่อไปค่ะ


ความั่นคงทางอาหาร 9 (รู้เขาให้มาก รู้เรามากแล้ว)

อ่าน: 2900

ความเพียร คือ ปุ๋ยแห่งความสำเร็จ

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายและกระบวนการเรียนรู้ของวุฒิอาสาธนาคารสมอง ในการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ ๑๒ ถึง ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณ ห้องอรพิม โรงแรมสีมาธานี    จ. นครราชสีมา

๑๑ กพ. ลงทะเบียน  แล้วรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน อาม่าและหมียักษ์ไปตรงเวลา แต่ วุฒิอาสาฯ ท่านมาก่อนค่ะ เราก็กินกันแค่สองคนที่โต๊ะอาหารโต๊ะใหญ่ เป็นอาหารจานเดี่ยวที่ทำไว้เสร็จแล้วพร้อมยกเสิร์ฟทันทีค่ะ

๑๒ กพ. ศึกษาดูงาน แบ่งเป็นสองกลุ่ม

กลุ่มที่ ๑ ศึกษาดูงาน โรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส อ.เมือง จ. นครราชสีมา และโครงการชุมชนจัดการตนเองตามวิถีพอเพียง หมู่ที่ ๒ บ้านใหม่อุดม ต. บ้านใหม่ อ. หนองบุญมาก จ. นครราชสีมา อ.แพนด้าอยู่กลุ่มที่ ๑ สมความตั้งใจ

กลุ่มที่ ๒ ศึกษาดูงาน ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมพวง นายจันทร์ที ประทุมภา บ้านโนนรัง หมู่ ๖ ต. ตลาดไทร อ.ชุมพวง จ. นครราชสีมา อาม่าถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้ ตรงกับความต้องการที่จะเอาพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดงไปให้ ไม่ต้องขับรถไปเอง….โชคดีจริงๆ

ไปทีไรนอกจากอิ่มท้องด้วยของกินที่รู้ใจกัน ยังอิ่มความรู้เสมอค่ะ ได้รู้จักสมุนไพรเพิ่มอีกสองต้นค่ะ ดังภาพข้างบน

เป็นที่น่าเสียดายแท้ๆ ที่วุฒิอาสาฯภาคอิสาน ส่วนใหญ่ไม่รู้จักท่าน อาม่าขออนุญาต นำประวัติความเป็นมาที่ หาอ่านได้ในอินเตอร์เน็ตมากมาย มาให้อ่านเพียงน้อยนิดค่ะ เชิญเลือกอ่านได้ตามสบาย หรือจะอ่านทั้งหมดก็ไม่ว่ากัน ถ้ามันกว่านั้นก็ถามพ่อกู(เกิล)ดูเอาเถิด

http://job.haii.or.th/vtl/index.php?option=com_content&task=view&id=293&Itemid=44

http://sites.google.com/site/banrainarao/community/12_12

http://www.webfels.org/f/f74/02.htm

http://www.thaihealth.or.th/node/4353

นี่เป็นส่วนเล็กๆ น้อยที่ อาม่านำมาแนะนำให้ ท่านวุฒิอาสาฯ ทำความรู้จักท่าน

วิธีลัดที่จะทำความรู้จักท่าน อาม่าจัดมาให้ค่ะ( รู้เขารู้เราจะทำอะไรก็มีชัยไหกว่าครึ่ง)

กลับจากการศึกษาดูงาน ก็เย็นโข ต้องสร้างความมั่นคงทางอาหาร อิ่มท้องแล้วจึงประชุมกลุ่มย่อย ตามที่แบ่งเป็นสองกลุ่มข้างต้น เพื่อสรุปองค์ความรู้จากการดูงาน และแนวทางประยุกต์ใช้ แล้วนำเสนอที่ประชุม

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ตามสไตล์วุฒิอาสา ผู้ทรงภูมิฯ ทั้งหลายแคว้นแดนอิสาน


ความมั่นคงทางอาหาร 8 (การปรับเปลี่ยน…)

อ่าน: 2627

โครงการความมั่นคงทางอาหาร มีขั้นมีตอนของวิธีการ….ควรมีความมุ่งมั่นและอดทน ทำที่ละขั้นทีละตอน พร้อมน้อมรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากผู้มีประสบการ์ทุกท่าน เพื่อปรับแผนให้สอดคล้องและ ทำได้ในแต่ละพื้นที่ค่ะ การปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาแบบเดิมๆ …ไม่ง่าย และยากอย่างที่หลายคนคิด..ควรให้เวลา…และความเชื่อมั่นว่าทำได้ การสร้างกลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้นำ ในการปรับเปลี่ยนวิธีปลูกข้าวต้นเดี่ยวฯ เพื่อทำแปลงสาธิตในพื้นที่นั้น จำเป็นที่ต้องลงไปดูพื้นที่จริงว่ามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด พร้อมให้ความเขื่อมั่น ให้คำแนะนำช่วยเหลือ… เพื่อให้บรรลุผล เป้าหมายต่อไป เกษตรกรเหล่านี้ ก็จะช่วยขยายผล…วิธีขยายพันธุ์ข้าวฯ ด้วยวิธีปลูกข้าวต้นเดี่ยวฯ  ต่อไป…ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง และสามารถทำเองได้ทุกขั้นตอน เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เกิดการเรียนรู้จริง ด้วยการลงมือทำ….

ออมดิน ออมน้ำ ออมต้นไม้ ออมสัตว์ ความความรู้ ออมน้ำใจ เพื่อขยายองค์ความรู้ลงไปสู่ชุมชนของตัวเอง  แล้วแบ่งปันปัญญาสร้างเครือข่าย สู่ชุมชนใกล้เคียง แบบค่อยเป็นค่อยไป ก้าวย่างอย่างมั่นคง…มีนักวิชาการเป็นเพื่อนคอยให้ความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา ที่เกษตรกรไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง เพราะจำเป็นต้องค้องพึ่งความรู้ ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่เหมาะสม ทางวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ. นครราชสีมา ก็ได้สร้างเครือข่ายร่วมด้วยช่วยกัน กับหน่วยงาน ที่มีโครงการเศรษฐกิจพอเพียงที่ทำงานสอดคล้องกัน  โดยน้อมนำหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามแนวพระราชดำริ  โดยปรับแปลงเป็น “เกษตรพอเพียง” ลงไปสู่พื้นที่ให้เหมาะสม และปฏิบัติได้จริง ภายใต้โครงการ “ความมั่นคงทางอาหาร” กิจกรรมอันดับแรกที่ทำ คือให้ความรักก่อนให้ความรู้ เพื่อรู้เขารู้เรา จะทำการสิ่งใดย่อมมีชัยไปแล้วกว่าครึ่ง ตรงกับหลัก เข้าใจ เข้าถึง จึงพัฒนา

อันดับแรกที่วุฒิอาสาฯ ลงมือทำ คือ ออมดิน ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานเบื้องต้น โดยให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องดิน เรื่องการบำรุงดิน วิธีทำปุ๋ย อินทรีย์ และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่ถูกวิธี และเหมาะสมกับพื้นที่  เพื่อออมดินไว้ใช้อย่างมั่นคง เพื่อผลิตอาหาให้พอเพียง และมั่นคงในที่สุด  ซึ่งได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือ จากฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนาีรี มาจัดฝึกอบรมปฏิบัติการ ในพื้นที่ของตำบล บ้านใหม่อุดม อ.หนองบุญมาก เมื่อ ๙ กพ. ๒๕๕๔ และจะมีการมาฝึกอบรม อีกสามหลักสูตรสามครั้ง ตามความต้องการของคนในชุมชนแห่งนี้ค่ะ

เกษตรผสมผสานคืองานที่จะเกิดขึ้นตามมาติดๆ  เพื่อความมั่นคงทางอาหาร การทำการเกษตรครบวงจรจะค่อยปรับให้เหมาะกับพื้นที่แต่ละแปลง ปลูกทุกอย่างที่ กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่รอบๆ ที่นา ผลพลอยได้จากพืชและสัตว์ นอกจากมีอาหารที่เพียงแล้ว ซากพืชมูลสัตว์ ยังนำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่มีคุณภาพ ได้ด้วยตัวเอง เพื่อบำรุงดินให้มีคุณภาพ และยั่งยืน นั่นคือ การออมดินที่ฉลาด และยั่งยืน และมีอาหารกินอย่างเพียงพอครบทุกหมู่และมีพลังงานใช้


ความมั่นคงทางอาหาร 7(อบรมปลูกข้าวต้นเดี่ยว…)

164 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ กุมภาพันธ 9, 2011 เวลา 20:39 ในหมวดหมู่ เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 4214

กินอิ่ม นอนอุ่น ทุกคนอยู่ดีมีสุข คือจุดประสงค์หลักที่ ตั้งใจทำให้กับชุมชนที่วุฒิอาสาธนาคารสมอง จ.นครราชสีมา ร่วมกับ สศช. น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ให้สอดคล้องเหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการของชุม ด้วยการร่วมด้วยช่วยกันวางแผนพัฒนาชุมชนให้มีความมั่นคง เข้มแข็งอย่างยั่งยืน การเข้าใจ เข้าถึง จึงได้ใจชาวชุมชน การร่วมแรงร่วมใจช่วยกันอย่างเต็มอกเต็มใจก็เกิดขึ้นได้ไม่ยาก

ในปี ๒๕๕๔ วุฒิอาสาธนาคารสมอง จ.นครราชสีมา ได้ปักธงโครงการความมั่นคงทางด้านอาหาร เพื่อสนองโครงการพระราชดำริ”เศรษฐกิจพอเพียง”  ข้าวคืออาหารหลักของคนไทย ชุมชนควรมีข้าวกินอย่างพอเพียง และมีคุณภาพ คือโจทย์ข้อแรกที่ควรทำให้เกิดขึ้นให้ได้ ที่สำคัญควรมีพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ และขยายพันธุ์ไว้ใช้ปลูกให้เพียงพอ  จึ่งเริ่มโครงการฯ ด้วยการเติมเต็มความรู้ในการปลูกข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผลผลิตสูง ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง อันดับแรกคือสร้างความเข้าใจ การจัดการดิน และธาตุอาหารในระบบอินทรีย์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ ในการทำนาให้ได้คุณภาพและผลผลิตสูงต้นทุนต่ำ ที่สามารถทำได้เองทุกขั้นตอน  วุฒิอาสาฯ ได้รับความร่วมมือ การสนับสนุน และการช่วยเหลือจาก ฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี  เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มาช่วยจัดฝึกอบรมปฏิบัติการ มาช่วยติมเต็มความรู้ความเข้าใจ เทคนิคการใช้แหนแดงและปุ๋ยชีวภาพ ในระบบข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต แล้วค่ะ ที่บ้านใหม่อุดม ในวันนี้ ที่๙ กพ. ๒๕๕๔ เพื่อฝึกอบรมให้ชาวนา มีความรู้ความเข้าใจ ในการปลูกขยายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองอิสาน(ข้าวหอมมะลิแดง) หลังฝึกอบรมก็ลงไปดูพื้นที่ เพื่อความมั่นใจว่ามีน้ำเพียงพอในการทำนาปรังหรือไม่ เมื่อเห็นพื้นที่นาข้าวแล้วยิ้มออกค่ะ มีน้ำมากพอ เพราะพื้นที่มีน้ำซับ จึงมีน้ำที่ทำนาได้ตลอดทั้งปีค่ะ เกษตกรท่านหนึ่งลงมือปลูกข้าวต้นเดี่ยวในแปลงนาที่เตรียมไว้ และลงมือทำตามคำแนะนำของ ดร. นันทกร โดยให้เอาน้ำออกจากแปลงนาที่เตรียมไว้ ให้เหลือน้ำแค่ปิ่มๆ ดิน แล้วให้เอาขี้วัวขี้ควายโรยในแปลง ให้ถอนกล้าข้าวมาปักดำในแปลงที่เตรียมไว้ได้เลย แบบปลูกต้นเดี่ยวระยะห่างหนึ่งฟุต ปลูกเสร็จให้ลงแหนไปในแปลงนาทันที เพื่อใช้เลี้ยงต้นข้าวต่อไปค่ะ



Main: 0.83680891990662 sec
Sidebar: 7.1528420448303 sec