ชมจันทร์มาให้ชมถึงบ้าน
อะไรจะปานนั้น นับตั้งแต่ปีใหม่มาถึง มีอะไรที่เข็มขัดสั้นอยู่เรื่อยๆ ทำให้หัวใจเต้นจังหวะรัมบ้า..กัวระช่า แซมบ้า…โอ้ยหัวใจที่สูบฉีดโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายสดชื่น อย่างสม่ำเสมอเกือบทุกวันค่ะ
อะไรจะปานนั้น นับตั้งแต่ปีใหม่มาถึง มีอะไรที่เข็มขัดสั้นอยู่เรื่อยๆ ทำให้หัวใจเต้นจังหวะรัมบ้า..กัวระช่า แซมบ้า…โอ้ยหัวใจที่สูบฉีดโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายสดชื่น อย่างสม่ำเสมอเกือบทุกวันค่ะ
หลังจากทำบุญตักบาตรอาหารแห้งในวันปีใหม่ของหมู่บ้าน ในตอนเช้า ตอนเดินกลับบ้าน ถือโอกาสแวะทักทายร้านขายน้ำเต้าหู้ ปาท่องโก๋ ผู้ที่มีจิตอาสาช่วยใส่บาตรพระให้เป็นประจำ เมื่อแจ้งความจำนงว่าจะใส่บาตร…..วัน เพราะมีพระวันละองค์ที่มาบิณทบาตรแถวนั้นเป็นประจำ โดยฝากเงินไว้จ่ายค่าของที่ช่วยจัดหาใส่บาตรให้ พอเจอหน้ารีบบอกว่ายังคงเหลืออีกวันค่ะอาจารย์
ได้รับโทรศัพท์ ” อาจารย์อยู่โคราชหรือเปล่าครับผมจะมาหาวันนี้ จะมาพักด้วยครับถึงตอนเย็นๆ ครับ “จากอดีต ลูกศิษย์ในความดูแล รุ่นสุดท้าย ที่ดูแลกันมาตลอดสี่ปีเต็ม(ที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่น 2531 ) จนกระทั้งจบ ก่อนที่ Lin Hui จะย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ลูกศิษย์ผู้หญิง ทำงานที่ ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนผู้ชายทำงาน บริษัทแมปพอยต์เอเชีย มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นลำดับ ทั้งคู่เป็นคู่เรียนดี ความประพฤติดี ตั้งแต่เรียนอยู่ปีหนึ่ง จากการเฝ้าดูแลใส่ใจ Lin Hui เห็นว่าทั้งคู่เป็นคู่เหมาะสมกันที่สุด และในที่สุดทั้งคู่ก็แต่งานกัน โดย Lin Hui เป็นทั้งผู้ใหญ่ของทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาว ในปี 2542 กว่าจะมีหลานก็หลายปีเหมือนกัน ในที่สุดได้หลานชายคนแรกปี 2548 คนที่สอง 2551 โดยใครพบเห็นหน้าคู่นี้ ทุกคนมักจะพูดเสมอว่าไม่ต้องบอก ก็รู้เป็นลูกของอาจารย์ Lin Hui เลยไม่ขอแก้ไขความเข้าใจผิด เนื่องจากทั้งคู่มีความรู้สึกเป็นอย่างนั้นจริงๆ แม้แต่ผู้ใหญ่ในที่ทำงานก็เข้าใจเช่นนั้น จนมารู้ความจริงในวันแต่งงานที่ขึ้นไปอวยพรให้ทั้งคู่ เหตุผลง่ายๆ คือความสนิทสนมผูกพันมาตั้งแต่เด็ก ไปมาหาสู่เหมือนลูกแท้ๆ พอมีหลานก็พามากราบปู่ย่า เป็นประจำจนหลายคนกคิดว่าเป็นปู่ย่าแท้ๆ
พระนอนที่วัดป่าวิเวก
เป็นพระที่งดงามมาก อาม่าอยากทราบความยาวของพระนอนองค์นี้ ซึ่งมีความสำคัญมากเพื่อใช้เปรียบเทียบกับพระนอนองค์อื่นๆ ซึ่งมักจะพูดว่าเป็นองค์ใหญ่ที่สุดใน…..สำหรับอาม่าไม่ปล่อยให้มันผ่านไปโดยไม่คิด หรือหาคำตอบให้กับตัวเอง เมื่อถามใครก็ตอบไม่ได้ ก็แปลกใจเหมือกัน ทั้งๆที่พระนอนในศาลาวัดป่าวิเวกองนี้งามมาก เป็นผีมือชาวบ้านหว้านใหญ่ ที่ออตใช้เป็นสถานที่จัดค่ายฮูบแต้ม ซึ่งเป็นค่ายศิลปกรรมลุ่มน้ำโขง ตอน”ฮูบแต้มแคมของ”เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เป็นที่แปลกใจมากสำหรับอาม่าไม่มีใครอยากรู้อยากทราบ ขนาดความยาวของพระนอนองค์นี้ อาม่าอยากรู้ จึงถามหลายๆคน แต่ไม่มีใครทราบ ทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าจำไม่ได้ แต่มีอยู่ในหนังสือ แล้วจะไปค้นมาให้คำตอบพรุ่งนี้ หลายคนที่พูดก็จำไม่ได้ว่าสัญญาไว้อย่างไร จนบัดนี้ก็ไม่มีคำตอบ
แต่สำหรับอาม่ารู้คำตอบความยาวคร่าวๆ ขององค์พระนอนรูปนี้ตั้งแต่นาที่แรกที่เห็น เผอิญได้คุยกับ คนที่ร่วมมือลงแรงสร้างพระนอนองค์นี้ด้วยสองมือของตัวเอง ก็จำไม่ได้ค่ะ เพราะตอนที่สร้างพระนอนนั้น เขาอยู่ชั้นประถม พระนอนสร้างเมืิ่่่อ ปี 2501 ฉะนั้นท่านผู้นี้ก็คงจะอายุ ประมาณ 62 ปี สิ่งที่ท่านผู้นี้จำฝังใจ คือโครงรูปร่างภายในของพระนอนใช้ไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ที่ฝั่งลาว ต้องพายเรือไปช่วยขนไม้ไผ่ชนิดนี้มาให้ที่วัด เพราะมีคุณสมบัติพิเศษคือ เหมาะกับการดัดให้โค้งงอสร้างรูปร่าง แล้วโบกปูนขึ้นรูปร่างที่ต้องการ ทำให้องค์พระน้ำหนักเบา และคงทนแข็งแรงจนมาถึงทุกวันนี้ก็ประมาณ 52 ปีแล้ว อ่านต่อ »
มุกดาหารเป็นเมืองสงบน่าอยู่มากค่ะ มีวัดวาอารามที่น่าสนใจมากค่ะ โดยเฉพาะวัดศรีมหาโพธิ์ ที่มีสิมไม้เก่าแก่ มีจิตกรรมฝาผนังที่เป็นฝีมือชนชาติเผ่าพันธุ์เดียวกัน กับพวกเราชาวอิสาน เพียงแต่มีลำน้ำโขงไหลผ่านแบ่งเส้นเขตประเทศ แท้ที่จริงรากเง่าวัฒนธรรมเดียวกัน วิถีชีวิตที่เหมือนกัน แต่ที่น่าเสียดายยิ่งคือการปรับปรุงพื้นที่ การบูรณะวัดแห่งนี้ควรได้รับการพิจารณาให้เหมาะสม สอดคล้องกับศิลปดั้งเดิมซึ่งเป็นเอกลักษณ์เด่น ของพี่น้อง บ้าน หว้านใหญ่ อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร
อาม่าเลยสรุปวัดศรีมหาโพธิ์ ด้วยภาพมาให้ดูนะค่ะ มีโบราณสถานที่สำคัญ มีอาคารเก่าแก่ที่งดงาม ขณะเดียวกันก็มีสร้างเพิ่มเติม ที่ดูแล้วขัดกับความงามของศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมค่ะ โดยเฉพาะตัวสิม หรือโบสถ์ที่เก่าแก่ ที่มีภาพวาดล้ำค่า อันเป็นที่มาของค่าย ศิลปกรรมลุ่มน้ำโขง ตอน”ฮูบแต้มแคมของ” ของน้องออต ซึ่งอาม่าได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากมายเหลือเกิน อาม่าไม่ละเลยที่จะให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ซึ่งช่วยงานศิลปได้ค่ะ และสอนให้น้องออต ผู้ที่นอกจากไม่ชอบตัวเลข กลับมาชอบตัวเลข และนำตัวเลขมาใช้กับงานศิลปได้อย่างคล่องแค่ลว โดยหลีกเลี่ยงศัพท์ที่สูงส่ง(คณิตศาสตร์) ที่ส่งผลต่อเด็กที่ไม่ชอบคณิตศาสตร์เป็นอย่างมากค่ะ อาม่าใช้ได้ผลกับคนที่ไม่ชอบคณิตศาสตร์ ให้กลับมาใช้ตัวเลขอย่างมีความสุข เด็กๆ ได้เรียนรู้รากเง่าของบรพบุรุษที่สั่งสมความอัจฉริยภาพมาช้านาน สืบทอดกันมาจนได้ชื่นชมกัน ซึ่งก่อให้เกิดภาคภูมิใจ อ่านต่อ »