ลานบ้านชลบถพิบูลย์

กันยายน 29, 2011

AAR : KIDS ART

Filed under: Uncategorized — ออต @ 15:51

HUG SCHOOL เปิดสอนมาได้ขวบปีที่สามแล้ว  แต่จำเป็นจะต้องปรับปรุงหลายเรื่องอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ส่วนใหญ่ก็จะคุยกันในครูแต่ละฝ่ายเช่น ฝ่ายดนตรีและขับร้อง ฝ่ายเต้นรำ รวมทั้งฝ่ายศิลปะ ซึ่งครูออตร่วมอยู่ในทีม

สามเดือนก่อนหน้านี้ เราสอนกันเฉพาะเด็กของตนเองกล่าวคือ ใคร(ครู) สอนเด็กคนไหนก็จะสอนเด็กคนนั้นตลอดไปเด็กลงทะเบียน 1 คอร์สเท่ากับสามเดือน ดังนั้นครูจึงสอนเด็กคนนั้นไปตลอดสามเดือน แบบนี้ครูจะเห็นพัฒนาและวางแผนการสอนอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ทำให้พัฒนาการของเด็กดีขึ้น

หลังจากเด็กหมดคอร์สที่หนึ่ง ผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็จะเห็นความสำคัญและส่งลูกเรียนคอร์สต่อไป แต่ปัญหาที่เจอคือ เด็กมักจะไม่อยากเรียนกับครูคนใหม่เมื่อขึ้นคอร์สต่อไปเรื่องนี้เข้าใจได้ไม่อยากเพราะเด็กกับครูเก่าเริ่มมีความไว้วางใจกันแล้ว การจะสอนอะไรก็ง่ายขึ้นการเปลี่ยนครูก็จำทำให้เด็กงอแงที่จะเปลี่ยนครูและ ไม่มาเรียนในที่สุด  วิธีการนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีอย่างที่เล่าไปแล้ว ส่วนข้อเสียอีกประการหนึ่งคือเมื่อเด็กติดครูและทำให้ครูบางคนมีชั่วโมงสอนที่เยอะ มากในขณะที่ครูอีกหลายคนมีชั่วโมงน้อย ทำให้เมื่อคิดถึงค่อตอบแทนในการสอนรายเดือนแล้วไม่เกิดแรงจูงใจการการมาสอน ประสิทธิภาพในการสอนก็ลดลง

สองเดือนที่แล้วเราคุยกันและลองเปลี่ยนครูสอนใน 1 คอร์สเป็นครู3คน โดยสอนสลับกันไปเป็นเดือน เพื่อช่วยลดปัญหาการติดครู ดังนั้นเมื่อครบ 3 เดือนก็จะจได้เจอครูสามคน วิธีนี้ผ่านไปสองเดือนดูเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไรแต่เมื่อเวียนกลับมาหาครูออตอีกรอบ ทำให้เราเห็นความผิดพลาดบางประการ

เมื่อวานจึงมีการประชุมครูฝ่ายศิลปะและเชิญผู้บริหารมารับฟัง ความจริงมันคือการทำ AAR (After Action Review)นั้นเอง ซึ่งความจริงเราควรทำกันตั้งแต่สิ้นการสอนเดือนที่หนึ่ง เพราะเมื่อเปลี่ยนครูไปแล้ว ครูได้ส่งเด็กให้ครูคนต่อไปแต่ครูลืมส่งข้อมูลของพัฒนกาารสอนของเด็กแต่ละคนให้ครูคนต่อไป  ครูคนที่รับช่วงต่อ หากไม่ทราบพัฒนาการของเด็กรายบุคคลก็จะสอนเหมือนกันหมด ทำให้พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก(บางคน)ลดลงและมีผลชัดเจนในเดือนที่สอง

บันทึกนี้เหมือนจะเดือนตัวเองและผุ้บริหารว่า การทำ AAR  นี่มันมีความสำคัญเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนในการเน้นประสิทธิภาพการสอน มากกว่าเน้นให้เด็กสนุกไปวันวัน ในความสนุกความสุขซึ่งเป็นปรัชญาของโรงเรียนจำเป็นจะต้องมีทักษะที่ดี มีความซาบซึ้งในสุนทรียภาพ และเอาศิลปะช่วยขจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างของเด็กออกไปให้ได้ ดังนั้นหากต้องการอะไรที่มากกว่าสนุกต้องกลับมาทบทวนการจัดการเรียนรู้ด้วย

หลังได้ช่วยกันทบทวนพฤติกรรมของนักเรียนและครูผู้สอนด้วยกันเองแล้ว เราได้บทสรุปร่วมกันและการวางแผนสำหรับการสอนในเดือนต่อไป ซึ่งเราจะมาทำ AAR กันอีกหลังเสร็จสิ้นการสอนในเดือนตุลาคมนี้  ครูออตเชื่อว่าการทำ AAR จะช่วยให้การเรียนการสอนของฝ่ายศิลปะมีประสิทธิภาพมากขึ้น…..ครูออตเชื่ออย่างนั้น

2 ความคิดเห็น »

  1. อย่างหนึ่งที่พี่เห็นในการเรียนการสอนของไทยคือ ขาดการส่งต่อข้อมูล แบบที่น้องออตพูดนั่นแหละจ้ะ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเด็กคนหนึ่ง

    พี่เข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับเด็ก LD กับ Prof. อเมริกาที่มาบรรยายในไทย เขาเล่าถึงระบบการเรียนการสอนของอเมริกาว่าเมื่อเด็กขึ้นชั้นเรียนที่โตขึ้น เด็กจะมีข้อมูลการเรียนการสอนของเด็กที่ชัดเจนส่งต่อให้คุณครูคนต่อไปให้ได้รู้ว่าเด็กคนนี้เรียนรู้ได้ดีผ่านการมองเห็นหรือการฟัง จับใจความเป็นยังไง ถนัดวิชาอะไร ชอบทำกิจกรรมอะไร แต่ในสมุดพกของไทยไม่มีรายละเอียดเหล่านี้นะจ๊ะ และเท่าทีเ่ห็นมักเป็นแค่ความประพฤติเรียบร้อย เอาใจใส่การเรียนดี หรือไม่รับผิดชอบงาน ฯลฯ คือ ถ้าไม่กลางๆหรือดีโดยไม่มีรายละเอียด ก็แย่ไปเลย แต่ไม่ช่วยให้คุณครูผู้รับข้อมูลเห็นภาพเด็กคนหนึ่งได้เลย

    เอาใจช่วยให้น้องออตและฮักสคูล เดินหน้าต่อไปอย่างเข้มแข็งและมีความสุขทั้งผู้เรียนและผู้สอนนะจ๊ะ

    ความคิดเห็น โดย น้ำฟ้าและปรายดาว — กันยายน 29, 2011 @ 18:36

  2. ในห้องเรียนนั้นไม่มีใครคนไหนทำให้ได้เต็มร้อย เด็กแต่ละคนต่างกัน ครูก็มีทักษะ ความชำนาญและแรงขับภายในที่แตกต่างกัน ความสำคัญคือการทำให้บกพร่องน้อยที่สุด สร้างภูมิภายในของเด็กให้ได้ หาก ได้ ไม่ว่าครูท่านไหนจะมาก็ OK อาจจะมีความชอบมากชอบน้อย ก็เป็นเรื่องความจริงในสังคม ที่ไม่มีอะไรเสมอภาคไปหมดเหมือนทฤษฎีประชาธิปไตย เห็น ฮักสคูล และ ออตทำแล้วดีใจที่มีโรงเรียนแหวกม่านออกมา

    ความคิดเห็น โดย bangsai — กันยายน 29, 2011 @ 19:04

RSS feed for comments on this post. TrackBack URL

แสดงความคิดเห็น

*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word

Powered by WordPress