จิตรกรรมฝาผนังเมืองปัก 2
การลงพื้นที่เพื่อศึกษาจิตรกรรมฝาผนัง วัดหน้าพระธาตุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมาคราวนี้ หัวใจของการลงพื้นที่อยู่ที่การเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของการ แสดงออกของจิตรกรรมฝาผนังในเขตอีสานตอนล่างและอีสานตอนกลาง เพื่อที่ผ่านมาผมและนักศึกษาได้แต่สาระวนอยู่ในเขตอีสานตอนกลางเท่านั้น
สิ่งที่เห็นได้ด้วยสายตาในความแตกต่างมีหลายประการที่จะพอเล่าในบันทึกนี้คือ
1.จิตรกรรมฝาผนังของวัดหน้าพระธาตุนี้เขียนอยู่ภายในสิม แต่จิตรกรรมในเขตอีสานกลางหลายแห่งเขียนที่ผนังด้านนอกสิมด้วยเช่น สิมวัดสนวนวารี สิมวัดบ้านลาน สิมวัดไชยศรี สิมวัดสระบัวแก้ว วัดโพธาราม ฯลฯ ซึ่งส่วนหนึ่งของการไม่เขียนนอกจากความนิยมดังว่าแล้ว ผนังสิมด้านนอกของสิมวัดหน้าพระธาตุนี้ไม่มีหลังคาปีกนกคลุมไว้ ดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะเขียนภาพ ภาพที่เขียนผนังด้านนอกมีเฉพาะด้านหน้าที่มีมุยหลังคายื่นเท่านั้น
2.จิตรกรรมฝาผนังของวัดหน้าพระธาตุเขียนภาพบนผนังเปูนแห้งที่มีการลวง พื้นก่อนจะมีการเขียนภาพตัวละครและฉากต่าง ๆ ลงไปแตกต่างจากภาพในเขตอีสานกลางนิยมเขียนลงบนพื้นที่ลงพื้นสีขาวหรือสีปูน ดิบเลย ดังนั้นเมื่อมีปฏิกิริยาของสารเคมี ความชื้นที่ซึมมากับชั้นสี ภาพที่ไม่มีการลวงพื้นจึงเปื่อยและหลุดหล่อนได้เร็วกว่า ดังนั้นภาพในเขตอีสานกลางจึงชำรุดง่ายกว่า ในขณะที่วัดนี้โครงสร้างภาพยังแข็งแรงดี
3.เนื้อหาที่เขียนบนสิมวัดหน้าพระธาตุจะเน้นไปที่ ทศชาติชาดก ในขณะที่เขตอีสานกลางนิยมเขียนภาพชาดกเฉพาะเวสสันดรชาดกมากที่สุดนอกจากนั้น ยังพบวรรณกรรมพื้นบ้านผสมผสานกันไปด้วย เสียดายที่ผมไม่ได้เก็บภาพมาเปรียบเทียบ เพราะมัวแต่ดูนักศึกษาทำงาน แต่คาดว่าผลงานของนักศึกษาบางคนก็สนใจประเด็นเรื่องเนื้อหานี้ด้วย แล้วจจะมาเล่าละเอียดครับ
ส่วนความแตกต่างอื่น ๆ แบบละเอียด ผมขอเชิญชวนท่านไปชมด้วยตัวเองครับ
สมบัติของชาติเชียวนา โรงเรียนน่าจะยกห้องเรียนมาที่นี่นะออตนะ
ความคิดเห็น โดย bangsai — มกราคม 18, 2010 @ 8:27
อาจารย์บางทราย
ความคิดเห็น โดย ออต — มกราคม 18, 2010 @ 19:52