วุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๑๔) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1 ความคิดเห็น โดย Panda เมื่อ 10 มีนาคม 2011 เวลา 21:05 ในหมวดหมู่ การศึกษา การเรียน การสอน, สังคม ครอบครัว ชุมชน #
อ่าน: 3661

       หลังจากพิธีการ คือการกล่าวรายงาน การกล่าวเปิดและกล่าวต้อนรับแล้ว ก็เป็นการปาฐกถาพิเศษเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการประยุกต์ใช้ โดย นายอำพน กิตติอำพน ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แต่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขยายแนวคิดเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาตั้งแต่ต้น  ก็อย่างที่ผู้บรรยายได้กล่าวในช่วงต้นของการบรรยายว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ท่านพูดมาแล้วจำนวนนับครั้งไม่ถ้วนและปรากฏอยู่ในหนังสือเอกสารและสื่อต่าง ๆ จำนวนมาก ที่ผู้คนที่สนใจคงได้อ่าน ได้ดู ได้ฟังกันมาแล้ว  ผมจึงไม่ขอนำมากล่าวซ้ำอีก แต่จะขอนำภาพสรุปที่สำคัญมาให้ชมแทนครับ

        อ่านต่อ »


วุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๑๓) เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านใหม่

อ่าน: 2357

      การศึกษาดูงานของวุฒิอาสาฯ ภาคอิสานกลุ่มที่ ๒ หลังจากดูงานศูนย์เรียนรู้ดุสิตปริ๊นเซสกับเศรษฐกิจพอเพียง แล้ว ก็ได้เดินทางไปเรียนรู้ชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านใหม่ อ. หนองบุญมาก จ. นครราชสีมา ที่เป็นชุมชนตัวอย่างที่วุฒิอาสาฯ โคราชได้ไปร่วมพัฒนาชมชนนี้มาก่อนแล้ว ดังที่ได้รายงานไปแล้วในบันทึกเหล่านี้

วุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๑) บ้านใหม่

วุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๒) บทเรียนจากบ้านใหม่

วุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๓) พบปราชญ์ชาวบ้านที่ชื่นชอบ

วุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๔) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านใหม่

       อ่านต่อ »


วุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๑๒) ศูนย์เรียนรู้ดุสิตปริ๊นเซสกับเศรษฐกิจพอเพียง

อ่าน: 3001

      ศูนย์เรียนรู้ดุสิตปริ๊นเซสกับเศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการที่ทางโรงแรมดุสิตปริ๊นเซส โคราชจัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยใช้พื้นที่ของโรงแรมส่วนที่เหลืออยู่มาร่วมคิดร่วมกันในการใช้ประโยชน์ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขององค์พระเจ้าอยู่หัว  โดยมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๑๒ ส่วน ให้พนักงานแต่ละฝ่ายรับผิดชอบในแต่ละส่วน โดยการตั้งชื่อที่น่าสนใจทีเดียว เช่นส่วน ๑. เห็ดลอยฟ้า เป็นการเพาะเห็ดชนิดต่าง ๆ ในโรงเรือน มีฝ่ายการเงินและบัญชีรับผิดชอบดำเนินการ  ๒. ปลาเจ้านาย เป็นการเลี้ยงปลาน้ำจืด มีฝ่ายบริหาร รับผิดชอบดำเนินการ ๓. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ ๔. ผักคุณนาย เป็นการปลูกผักแบบไร้ดิน (Hydroponic Vegetables) ๕. บ้านเดือน เป็นการเลี้ยงไส้เดือนอาฟริกา ๖. น้ำหมักไฮโซ เป็นการทำน้ำหมักชีวภาพ…….จนถึง ๑๑. การปลูกไม้ยืนต้น ในบริเวณ โดยฝ่ายคนสวนของโรงแรม ตามภาพข้างล่าง

อ่านต่อ »


วุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๑๐) เดินหน้าพัฒนาเกษตรอินทรีย์ต้นแบบ

อ่าน: 2105

        เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ที่ผ่านมาในการประชุมวุฒิอาสาธนาคารสมอง จังหวัดนครราชสีมา ประจำเดือนแรกของปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นที่น่าดีใจที่มีสมาชิกวุฒิอาสาฯ มาร่วมประชุมกันจำนวนมาก แถมด้วยการมีสมาชิกใหม่มาร่วมด้วยช่วยกันอีกหลายท่านด้วยกัน 

 

        อ่านต่อ »


เรียนจากปฏิทิน ๒๕๕๔ : ทรงพระเจริญ

อ่าน: 3062

      เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ มูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่ ๙ จัดทำปฏิทินปี ๒๕๕๔ นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเฉลิมพระเกียรติ “อัครศิลปิน” ด้วยการสนับสนุนของธนาคารกรุงเทพ โดยให้ชื่อว่า “ทรงพระเจริญ” ๗ รอบพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเหตุการณ์ร่วมสมัย ๘๔ ปี

       อ่านต่อ »


อาม่าเล่าเรื่อง (๑๘) จองบ้านให้อาม่า

4 ความคิดเห็น โดย Panda เมื่อ 28 ธันวาคม 2010 เวลา 23:50 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา, สังคม ครอบครัว ชุมชน #
อ่าน: 2692

       วันนี้ออกจากบ้านแต่เช้า เพื่อไปรับและดูการตกแต่งบ้านใหญ่ (ตั๋วฉู่) ที่ลูกหลานจองไว้สำหรับอาม่า ตามคำแนะนำของอากู๋และการเห็นชอบจากอาม่า เฝ้าดูตั้งแต่การเดินทางจาก กทม. มาถึงโคราชในเวลาประมาณ ๙.๓๐ น. จนกระทั่งทาสีแดงและตกแต่งเรียบร้อยในเวลาบ่ายประมาณ ๑๕.๓๐ น. จึงนำภาพกลับไปให้อาม่าดูที่ปักธงชัย  หลังจากการดื่มกาแฟและทานขนมและได้ดูภาพแล้ว อาม่าเล่าให้ฟังว่า เมื่อวานนี้คิดว่าจะออกมาดูบ้านด้วยตัวเองที่โคราช แต่เมื่อคืนเกิดอาการแน่นท้องจนเกิดการอาเจียน คิดในใจว่าพอรู้ว่าบ้านจะมาถึงก็จะไปเลยหรือยังไง ผมฟังแล้วก็พูดอะไรไม่ออก จนอาโกที่นั่งอยู่ด้วยพูดว่า เมื่ออาเจียนออกมาแล้วก็ดีขึ้นและวันนี้ก็ถ่ายออกตามปกติแล้วหลังจากเมื่อคืนให้รับประทานยาระบายไป วันนี้สบายดีขึ้นมากแล้ว ทำให้ผมสบายใจขึ้นได้ครับ
          อ่านต่อ »


ภาพงานเทศกาลผ้าไหมปักธงชัย ครั้งที่ ๑๑

อ่าน: 3447

      งานเทศกาลผ้าไหมปักธงชัยและของดีเมืองโคราช ครั้งที่ 11 ประจำปี 2553 ในระหว่างวันที่ 9 - 15 ธันวาคม 2553 ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา วันนี้เป็นวันสุดท้ายแล้วครับ  ท่านที่ยังไม่ได้ไปก็ต้องรีบแล้วนะครับ ถ้าพลาดโอกาสก็ต้องรออีกตั้งหนึ่งปีจึงจะได้ ชม ช้อป และ ชิม  ผ้าไหมเนื้องามและอาหารขึ้นชื่อของปักธงชัย ดังคำขวัญประจำอำเภอที่ว่า  “ลำพระเพลิงน้ำใส ผ้าไหมเนื้องาม ข้าวหลามนกออก ถั่วงอกวังหมี หมี่ตะคุ” 

 

         อ่านต่อ »


อาม่าเล่าเรื่อง (๑๗) เกาลูนฮ่องกง

อ่าน: 2969

       เมื่อช่วงหลังน้ำท่วมใหญ่โคราชเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา  ได้ไปเกาลูนและฮ่องกง โดยเดินทางจากมาเก๊าไปเที่ยวฮ่องกง โดยเรือ HYDROFOIL ตั้งแต่เช้าไปสู่ฝั่งเกาลูนแล้ว นั่งรถแท็กซี่ไปไหว้เทพเจ้าหวังต้าเซียน

        อ่านต่อ »


อาม่าเล่าเรื่อง (๑๖) อากงของเรา

2 ความคิดเห็น โดย Panda เมื่อ 2 ธันวาคม 2010 เวลา 21:05 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา, สังคม ครอบครัว ชุมชน #
อ่าน: 2372

          ในโอกาสใกล้วันพ่อ ( ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓)  เลยขอนำเรื่องที่เกี่ยวกับคุณพ่อ (อากง) ที่อาม่าเล่าให้ฟังเพิ่มเติมครับ
          อากงเป็นลูกคนโตของครอบครัว มีน้องชายนึ่งคน (อาเจ็ก) และน้อสาวหนึ่งคน (อาโก)  และเนื่องจากเล่ากง (พ่อของอากง) เสียชีวิตตั้งแต่อากงมีอายุเพียง๑๖ ปี อากงในฐานะลูกชายคนโตจึงต้องรับภาระในการช่วยเหลือเล่าม่า (คุณแม่) ในการทำมาหาเลี้ยงครอบครัว ตั้งแต่อายุยังไม่มาก แต่ก็ยังโชคดีที่เจ้าของโรงงานใหญ่ในสมัยนั้น (ร้านตงอาว) ที่มีโรงงานต้มกลั่นสุรา ที่อาม่าเรียกว่า “โรงต้ม” และมีร้านจำหน่ายสุรา (เหล้าขาว) หลายสาขา  เป็นคนที่มาจากเมืองจีนที่เป็นบ้านเดียวกันกับเล่าม่า จึงรับอากงเข้าทำงานที่ร้านจำหน่ายสุรา แม้ว่าอากงจะไม่ได้เรียนหนังสือสูง แต่ด้วยความขยันเรียนรู้ด้วยตนเองจึงมีความรู้ความสามารถในการอ่านและเขียนเป็นอย่างดี พร้อมทั้งมีความสามารถในการใช้ลูกคิด มีความละเอียดรอบครอบ จึงได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ด้านทำบัญชีของร้าน

         อาม่าบอกว่า อากงรักน้องทั้งสองคนมาก พยายามให้น้องทั้งสองได้เรียนหนังสือสูง ๆ  โดยเฉพาะอาเจ็กซึ่งเป็นน้องชาย ถึงกับลงทุนส่งให้ไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ  เรื่องของความรักและช่วยเหลือน้องของอากงนี้มีมาอย่างต่อเนื่องแม้ว่าน้องทั้งสองจะมีครอบครัวแล้วก็ตาม  อ่านต่อ »


ภาพน้ำท่วมตลาดปักธงชัย

อ่าน: 2251

       วันนี้เป็น “วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองตะลิ่ง” เป็นวันลอยกระทง แต่สำหรับครอบครัวของชาวตลาด อ. ปักธงชัย เป็นวันที่ น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ ๑๐๐ ปี ได้ผ่านพ้นไปได้ หนึ่งเดือน ผมเพิ่งได้ภาพถ่าย ที่หลานชายซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ ที่บ้านพี่ชายตลอดระยะเวลาที่น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ได้ถ่ายไว้ตั้งแต่วันที่ ๑๖ ที่น้ำเริ่มท่วม จนถึงวันที่ท่วมสูงสุด คือ วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ จึงขอนำมาเก็บไว้เตือนความทรงจำไว้ที่นี่ครับ

น้ำท่วม ถนนศรีพลรัตน์ เมื่อ วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๖.๐๒ น.

 

อ่านต่อ »



Main: 0.24359798431396 sec
Sidebar: 0.27599000930786 sec