การมอบเกียรติบัตรและรางวัล : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่ 10 (31)

อ่าน: 4314

     หลังจากการเรียนรู้วิธีออกกำลังกายในน้ำอย่างถูกวิธีกันด้วยความสนุกสนานเสร็จแล้วก็ขึ้นมาอาบน้ำแต่งตัวเพื่อการรับเกียรติบัตรจาก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา คือ ท่าน นายแพทย์ เอกชัย เพียรศรีวัชรา ผู้ริเริ่มโครงการ  9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี สำหรับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบครบวงจรนี้ หลังจากกลับมาที่บ้านแล้วดูเกียรติบัตรจึงได้ ทราบว่า ผมเข้าใจสับสนเล็กน้อย ระหว่าง ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5  (นายแพทย์ สุเทพ เพชรมาก) กับ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (นายแพทย์ เอกชัย เพียรศรีวัชรา)  ดังนั้นในบันทึกก่อนหน้านี้ เมื่อพูดถึง ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5   ผมจะหมายถึง นายแพทย์ เอกชัย เพียรศรีวัชรา ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ครับ เนื่องจากท่านผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5  ไม่ได้มาพบหรือร่วมกิจกรรมในโครงการนี้แต่อย่างใด ขออภัยในความสับสนครับ

อ่านต่อ »


ออกกำลังกายในน้ำ (Arobic Water Exercise) : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่ 10 (30)

อ่าน: 4527

     กิจกรรมต่อจากการประเมินสุขภาพร่างกาย เป็นกิจกรรมที่ รุ่นที่ 10 นี้ได้ทำเป็นรุ่นแรกของโครงการฯ นี้ เป็นกิจกรรมที่ครั้งแรกผู้จัดตั้งใจจะให้ทำในสัปดาห์ที่ 8 แต่สภาพดินฟ้าอากาศไม่อำนวย คือฝนตกจึงต้องงดไป และเลื่อนมาจัดในสัปดาห์ที่ 9 นี้แทน กิจกรรมนี้คือ การออกกำลังกายในน้ำ (Arobic Water Exercise) ซึ่งกว่าจะได้เริ่มกิจกรรมก็เป็นเวลาเกือบเที่ยงวันแล้ว แต่ทุกคนก็พร้อมที่จะได้ทำกิจกรรมนี้  เพราะเดินดูรอบ ๆ สระน้ำรูปหัวใจที่สวยงามนี้มาถึง 8 สัปดาห์แล้ว  อ่านต่อ »


ประเมินผลสุขภาพ : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่10 (29)

อ่าน: 3443

     สัปดาห์ที่ 9  ซึ่งเป็นสัปดาห์สุดท้ายของการอบรม จะเริ่มต้นด้วยการประเมินผลสุขภาพด้านร่างกายด้านต่าง ๆ หลังจากผ่านการอบรมมาแล้ว 8 สัปดาห์ เพื่อเปรียบเทียบกับผลการประเมินไว้ในสัปดาห์แรกที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเข้าใจว่าส่วนใหญ่คงจะมีสุขภาพดีขึ้น อย่างไรก็ตามพบว่า บางท่านมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ตรงข้ามกับที่คาดหวัง เช่นมีบางท่านมีรอบเอวเพิ่มขึ้นแทนที่จะลดลงเป็นต้น  ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะทำให้การเปรียบเทียบค่าเริ่มต้นกับค่าสุดท้ายมีความคลาดคลื่อนไปได้ก็คือ การวัดบางอย่างเช่น เรื่องความอ่อนตัวโดยการนั่งเก้าอี้แล้วยืดเยียดมือไปแตะปลายเท้าโดยไม่ให้เข่างอ ในช่วงเริ่มต้นสัปดาห์แรกจะให้แต่ละท่านทำค่อนข้างอิสระ แต่ช่วงท้ายในสัปดาห์ที่ 9 จะมีการช่วยจับเข่าไม่ให้งอ ค่าของหลาย ๆ คนจึงอาจมีความอ่อนตัวแย่ลงได้(อันนี้เป็นข้อสังเกตส่วนตัว) 

อ่านต่อ »


ธงโภชนาการ : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่10 (27)

อ่าน: 9614

     หลังจากการฝึกบริหารเท้าและเข่าแล้ว ก็เป็นการสรุปเรื่องราวของ อาหาร 5 กลุ่มตาม ธงโภชนาการ อีกครั้ง หลังจากได้เรียนรู้รายละเอียดในแต่ละกลุ่มมาแล้วในสัปดาห์ก่อน ๆ โดยเรียงตั้งแต่กลุ่มที่ต้องบริโภคมากที่สุด จนไปถึงกลุ่มที่บริโภคแต่น้อยคือ  ซึ่งปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉลี่ย ต่อวันคือ อ่านต่อ »


การพักและคลายเครียด : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่10 (23)

อ่าน: 5668

อาหารสองกลุ่มที่คุ้นเคย : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่10 (22)

อ่าน: 11875

     หลังจากการได้ยืดเส้นสายด้วยยางยืดชีวิตพิชิตโรคแล้ว ก็มีการทบทวนเรื่องราวของอาหารที่ทุกคนคุ้นเคยกันอีกสองกลุ่มคือ กลุ่มพวกข้าวหรือแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) กับกลุ่มเนื้อสัตว์ (โปรตีน) ที่นำเสนอด้วยอาหารเทียมตามเคย (เพื่อความสะดวก) สิ่งที่เข้าใจว่าจะเป็นจุดเน้นก็คือ การทำความเข้าใจกับปริมาณความต้องการในแต่ละวันตามธงโภชนาการ ที่กำหนดไว้ อ่านต่อ »


ยางยืดชีวิตพิชิตโรค : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่10 (21)

อ่าน: 10131

อาหารบำรุงกระดูกและให้เส้นใย : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่10 (20)

อ่าน: 5156

      ในแต่ละสัปดาห์ นอกเหนือจากการฝึกท่าการออกกำลังกายต่าง ๆ แล้ว สิ่งที่เรียนรู้ร่วมด้วยเสมอก็คือ ความรู้เรื่องของอาหาร ในสองสัปดาห์ที่ผ่านมาก็จะเน้นที่อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น การดื่มนมสด นมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม อย่างน้อยวันละ 1 แก้ว มีข้อแนะนำว่าควรดื่มนมจืดและพร่องมันเนยเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักเกิน กรณีบางท่านมีปัญหาท้องเสียจากการดื่มนมสด อาจเปลี่ยนมาดื่มนมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ร่วมกับการรับประทานอาหารพวก ปลาตัวเล็กตัวน้อย (ที่รับประทานทั้งตัว) ถั่วต่าง ๆ รวมทั้งผักใบเขียวเข้ม เพื่อให้ได้แคลเซียมอย่างพอเพียง อ่านต่อ »


กายบริหารบำบัดโรค : 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดี รุ่นที่10 (19)

อ่าน: 5605

อาหารที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร

อ่าน: 2683

     

      เนื่องจากเสียเวลาสอบถามเส้นทางไปบ้าง ตามที่เล่าไปแล้ว เราจึงเดินทางถึงพิพิธภัณฑ์สิรินธรเกือบบ่ายสองโมง จึงมีความเห็นว่าควรหาอะไรรับประทานกันก่อน หลังจากจอดรถในบริเวณที่จอดรถก็มองหาร้านที่น่าสนใจบริเวณนั้น ซึ่งมีอยู่สองสามร้านและมีร้านอีกส่วนอยู่ด้านหน้าก่อนเข้าสู่บริเวณพิพิธภัณฑ์ แต่บังเอิญมีผู้มองเห็นป้ายชี้ว่าไป ห้องอาหารพิพิธภัณฑ์  จึงเห็นว่าน่าจะอุดหนุนห้องอาหารของพิพิธภัณฑ์ดีกว่า  เมื่อไปถึงเห็นมีกลุ่มหนึ่งกำลังรับประทานอาหาร อีกกลุ่มกำลังสั่งอาหาร ก็ทำให้ใจชื้นขึ้นมาว่าได้รับประทานแน่ ๆ แล้ว ก็เขาไปสั่งอาหารโดยเลือกชนิดที่คาดกันว่า เร็วที่สุดและมีแน่นอน คือ ข้าวราดคะน้าหมูกรอบ 3 จาน และ ข้าวกะเพราไก่ไข่ดาว  4  จาน และ สุกี้อีก 1 ที่  โดยเมื่อสั่งแล้วก็จ่ายเงินก่อน แล้วรับบัตรคิว (เราได้เบอร์ 4 ) กลับมานั่งรอที่โต๊ะ  รออยู่สักพักเห็นโต๊ะข้าง ๆ กันที่ถือบัตรเบอร์ 3 เริ่มได้อาหารที่สั่งก็มีความหวังมากขึ้น และพออีกไม่นานก็ได้รับเรียก เบอร์ 4 คะน้าหมูกรอบได้แล้ว   อีกประเดี๋ยวคนรับคำสั่งก็ออกมาบอกว่า ข้าวหมด ได้กะเพราไก่เพียง 2 จานเท่านั้น….แป่ว ๆๆๆ….มีเหลืออย่างเดียวคือ สุกี้ บางท่านจึงต้องกินสุกี้แห้ง แทนกะเพราไก่ไข่ดาว………พวกเราหรืออุตส่าห์จะอุดหนุน ห้องอาหารของพิพิธภัณฑ์ ที่สถานที่ดูดี ใหม่และสวยงาม แต่ก็ต้องผิดหวังครับ.….ระหว่างที่เรากินกันอยู่ก็มีอีกกลุ่มเข้ามาเพื่อกินอาหารเพิ่ม  ก็คงได้กิน สุกี้ อย่างเดียว……….ก็คิดเชิงบวกนะครับว่า เป็นความผิดของเราเองที่มาช้า เกือบบ่ายสองโมงแล้ว ประกอบกับเป็นช่วงวันหยุดยาว คนคงมากันมากกว่าปกติ คนเตรียมหรือแม่ครัวที่กินเงินเดือนก็เลยเตรียมเมือนปกติ….อิอิ



Main: 0.16200113296509 sec
Sidebar: 0.32555985450745 sec