ความมั่นคงทางอาหาร 4

อ่าน: 2571

หลังจากได้รับแจ้งนัดหมายให้มีการประชุมวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ.นครราชสีมา ในบ่ายของวันที่ 27 มค. 2554 ณ.ศาลากลางจังหวัด

หลินฮุ่ยก็เตรียมงานความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ กับชุมชนที่หลินฮุ่ยมีส่วนรับผิดชอบ โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(เทคโนธานี) เป็นอย่างดียิ่งตลอดมา สิ่งสำคัญอันดับแรกที่หลินฮุ่ยให้ความสำคัญ คือความมั่นคงทางด้านเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของอีสาน ที่ดีต่อสุขภาพ จึงได้เลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดงจากสุรินทร์ ถิ่นขึ้นชื่อด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสารเคมี  นำมาขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวชนิดนี้ ให้เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มข้าวอินทรีย์ และกลุ่มเกษตรกรปลอดสารเคมีในชุมชน

หลังจากที่ประสานงานกับคุณจินดาผู้นำชุมชน ต.บ้านใหม่อุดม อ.หนองบุญมาก  ในคราวประชุมวุฒิอาสาฯ เมื่อ 25 ธค. 2553 ให้คัดเลือกกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ หรือกลุ่มปลูกข้าวปลอดสารพิษ มารับพันธุ์ข้าวไปปลูกเพื่อ ขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง ให้ได้ปริมาณที่เพียงพอไว้ใช้ทำนาข้าวคุณภาพ เพื่อความั่นคงทางด้านอาหาร และเพื่อสุขภาพ สำหรับการปลูกนั้นสามารถปลูกได้ทั้งนาปรังและนาปี เพียงแต่ต้องใช้เทคนิคการปลูก วิธีแบบข้าวต้นเดี่ยว ของมทส.  เพราะจะได้เมล็ดข้าวสมบูรณ์  เป็นการลดต้นทุน (นา1ไร่ใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 1 กก.) เพิ่มผลผลิตได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

สำหรับการฝึกอบรมวิธีปลูกข้าวต้นเดียว ตลอกจนการดูแล ฯลฯ. ทางมทส.จะเป็นผู้จัดให้ จึงเป็นความคาดหวัง ในการสร้างความั่นคงทางด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ที่มั่นคงและพอเพียงต่อความต้องการของชุมชน จนถึงการผลิตมากพอที่จะ สามารถขายให้กับแหล่งที่ต้องการข้าวหอมมะลิแดงเพื่อสุขภาพ อย่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ สถานพยาบาล และกลุ่มคนที่รักษาสุขภาพ  ซึ่งหลินฮุ่ยได้เกริ่นเรื่องนี้ให้รับทราบเป็นการภายใน ระดับหนึ่งแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญของข้าวชนิดนี้ มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เหมาะสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานบริโภค

ข้าวหอมมะลิแดงกับศักยภาพในการป้องกันและบรรเทาโรคเบาหวาน

ข้าว เป็นอาหารหลักของคนไทย และปัจจุบันคนไทยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องเสาะแสวงหาพันธุ์ข้าวโดยเฉพาะข้าวพื้นเมืองที่มี ปริมาณดัชนีน้ำตาลต่ำ จากการทดสอบในระดับหลอดทดลองที่สามารถใช้ในการทำนายผลระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพื่อเป็นการคัดกรองในระดับแรก ก่อนนำผลที่ได้ไปทดสอบในมนุษย์ต่อไป

จากการทดสอบพบว่า ข้าวหอมมะลิแดงที่หุงสุกแล้วมีการเพิ่มขึ้นของระดับของน้ำตาลกลูโคสในช่วง เวลา 20 นาทีแรกค่อนข้างช้า คือ 10.60 กรัมต่อ 100 กรัม และปริมาณน้ำตาลกลูโคสหลังจากย่อยผ่านไป 120 นาที มีค่าเพียง 8.59 กรัมต่อ 100 กรัม แสดงให้เห็นว่าข้าวหอมมะลิแดงน่าจะเป็นข้าวพื้นเมืองที่มีดัชนีน้ำตาลที่ เหมาะกับการส่งเสริมให้ผู้บริโภคที่อยู่ในภาวะปกติ หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รับประทาน เพราะเมื่อรับประทานข้าวชนิดนี้เข้าไปแล้ว ร่างกายจะมีปริมาณน้ำตาลกลูโคสเพิ่มสูงขึ้นช้ากว่าข้าวเจ้าทั่วไป

ข้าวพื้นบ้านมีสารแอนติออกซิแดนท์มากกว่าข้าวทั่วไป

แอนติออกซิแด้นท์ (antioxidant) คือสารที่สามารถขจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย ในข้าวพื้นบ้านมีสารทองแดง สังกะสี เบต้าแคโรทีน วิตามินอี ซึ่งมีความสามารถดังกล่าว การบริโภคอาหารที่มีแอนตี้ออกซิแดนท์จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคความจำเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ แก่เร็ว เป็นต้น

ในอดีต ประเทศไทยมีพันธุ์ข้าวพื้นบ้านนับหมื่นนับแสนสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ข้าวท้องถิ่นเหล่านั้นกำลังสูญหายไปอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ข้าวหน่วยเขือ ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูงนั้นมีการปลูกน้อยมากในปัจจุบัน การตระหนักในคุณค่าของข้าวพื้นบ้านซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จะทำให้ทุกฝ่ายหันมาร่วมมือกันเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ให้กลับมางอกงามแพร่หลาย และหลากหลายยิ่งๆขึ้นไป

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวกล้องพื้นบ้านเปรียบเทียบกับข้าวกล้องทั่วไป
(วิเคราะห์โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล)

ชื่อพันธุ์
คุณค่าทางโภชนาการ (หน่วย :มิลลิกรัม/100 กรัม)
เหล็ก
ทองแดง
เบต้าแคโรทีน
ลูทีน
วิตามินอี
ค่าเฉลี่ยข้าวทั่วไป 0.42 0.1 ไม่พบ ไม่พบ 0.03
หน่วยเขือ - นครศรีธรรมราช 1.22 0.5 0.0052 0.0144 0.7873
ก่ำเปลือกดำ - ยโสธร 0.95 0.08 0.0118 0.2401 0.1946
หอมมะลิแดง - ยโสธร 1.2 0.43 0.003 0.0091 0.3366
หอมมะลิ - ทุ่งกุลาร้องไห้ 1.02 ไม่พบ 0.0031 0.0095 0.3766
เล้าแตก - กาฬสินธุ์ 0.91 0.06 0.0049 0.0085 0.3092
หอมทุ่ง* - อุบลราชธานี 0.26 0.38 ไม่พบ ไม่พบ 0.0118
ป้องแอ๊ว* - มหาสารคาม 0.24 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ 0.0089
ช่อขิง - สงขลา 0.8 ไม่พบ 0.0041 0.0103 0.1788
มันเป็ด* - อุบล 0.2 ไม่พบ ไม่พบ 0.0045 0.026
ปกาอำปึล* - สุรินทร์ 0.46 ไม่พบ ไม่พบ 0.0036 0.0226

หมายเหตุ: *ข้าวขัดขาว


แผนงานฐานทรัพยากรอาหาร
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

ที่มา http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=889

จะเอาเมล็ดถั่วครกไปให้จินดาไปปลูกที่ ต.บ้านใหม่อุดม  เพื่อขยายพันธุ์ถั่วครก เป็นการเพิ่มโปรตีนจากถั่วชนิดนี้ในอนาคตค่ะ

หน้าตาถั่วครกฝักสด และที่ต้มสุก ดังภาพข้างล่างนี้ค่ะ

Large_bean
Large_bean4


ความมั่นคง ทางด้านอาหาร 3

130 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ มกราคม 14, 2011 เวลา 21:47 ในหมวดหมู่ ความพอเพียง, เรื่องเล่าของLin Hui, เศรษฐกิจพอเพียง #
อ่าน: 3771

กองทัพเดินด้วยท้อง สมองและปัญญาต้องการสารอาหารเป็นพลังงานขับเคลื่อนการทำงาน โดยมีสติเป็นบังเหียน คอยช่วยให้การสั่งการสมองและปัญญา ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในการสร้างสรรสิ่งที่ดีงาม มีคุณค่าต่อตัวเองและครอบครัว ต่อส่วนรวม ต่อถิ่นที่อยู่อาศัย และประเทศชาติ…..

อาหารคือปัจจัยที่สำคัญที่สุด สำหรับสิ่งที่มีชีวิต หากมนุษย์ไม่ต้องกินอาหาร ความวุ่นวายก็จะไม่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้อย่างแน่นอน การสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นหนทางหนึ่งที่จะสร้างความสงบสุข ให้เกิดขึ้นในสังคมได้

หากเกษตรกร สามารถผลิตอาหาร เพียงพอต่อการบริโภค ในครัวเรือน นั่นหมายถึงความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน ถ้าทุกคนในชุมชนสามารถผลิตอาหารได้เพียงพอ ก็เกิดความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน หากคนในชุมชนสามรถผลิตอาหารได้เกินพอ ได้หลากหลาย ก็เพียงพอที่จะแบ่งปัน แลกเปลี่ยนกันในชุมชน ความเข้มแข็งของชุมชนก็จะเพิ่มขึ้น เมื่ออิ่มท้องนอนอุ่น จะคิดทำการสิ่งใดก็จะมั่นคง เมื่อสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต อาหาร(ข้าว พืชผัก ผลไม้ ปลา เป็ดไก่ …)ได้มากเกินพอก็สามารถนำไปแลกเปลี่ยน หรือขายให้กับท้องถิ่นที่ไม่สามารถผลิตอาหารเหล่านั้น..

หากเรารู้ว่ามีผู้คนต้องการอาหารคุณภาพ ที่เราผลิตได้มากเกินพอ ย่อมเกิดการซื้อขาย รายได้ก็เกิดขึ้นอย่างมั่นคงแน่นอน ทำอย่างมีความสุข เพราะทำเท่าที่มีกำลังผลิต อย่างมีคุณภาพก็พอเพียง

มีตัวอย่างของเกษตรกร ที่หันมาใส่ใจปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกพืชผักอินทรีย์ ผ่านการฝึกอบรมจากเทคโนธานี นำผลผลิตทีมาขายที่เทคโนธานี อาม่าก็จะสนับสนุนชื้อผักผลไม้ ทุกครั้งที่เข้าไปเทคโนธานี วันนี้ได้ผักหลายชนิด และละมุด นอกจากนั้นได้กินข้าวเม่า(สีดำ)คลุกอีกด้วย จากปักธงชัยค่ะ

ส่วนร้านค้าของฟาร์ม มทส. จะขายผลผลิตทุกชนิด ที่เป็นผลผลิตของฟาร์มทั้งผัก ผลไม้ ไข่ไก่ นมสด และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนม และขนมอบนานาชนิด นอกเหนือจากนั้นก็มีของจำเป็นที่รับมาจำหน่าย เป็นการบริการเสริมค่ะ และมีร้านอาหาร หลายร้านของฟาร์มไว้บริการตามจุดต่างๆ  ด้วยค่ะ

นี่เป็นส่วนหนึ่งของร้านอาหารพื้นเมืองของโคราช ที่เข้ามาขายเฉพาะกิจ ในบริเวณหน้าร้านค้าของฟาร์ม มทส. ในงานวันเปิดฟาร์ม มทส.12-14  มค .2554

อาม่าเลือกกินอาหารพื้นเมืองโคราขค่ะ ผัดหมีโคราช ส้มตำไทย(ไม่ใส่พริก) ไก่ทอด เป็นอาหารมื้อเที่ยง เพื่อความมั่นคง(อิ่มท้อง)ทางอาหาร แซ๊บอีหลีค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 2

อ่าน: 32580

ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมีความหลากหลายทางชีวภาพมากมาย สำรวจอย่างไรก็สำรวจไม่หมด โดยเฉพาะพวกพืชผักสมุนไพร ทั้งที่เป็นพืชผักพื้นบ้านที่ปลูกกันทั่วๆ ไปในแต่ละภูมิภาค  และพืชผักสมุนไพรที่มีอยู่ในป่าทั่วไปของประเทศ

สมุนไพรตัวหนึ่งที่อาม่าได้มาเมื่อ 7 ปีที่แล้ว พยายามให้นักวิชาการหลายท่าน ช่วยค้นหาชื่อทั้งภาษาไทย และชื่อทางวิทยาศาสตร์ เป็นเวลากว่าสองปีแล้ว คำตอบคือไม่พบพืชตัวนี้ในฐานข้อมูลของไทยเรา

จนกระทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ มี คุณ Shinobi Sakka

เข้ามาตอบในเฟสบุ๊คโดยส่งมาให้สามชื่อด้วยกัน ค้นจาก Flora of Zimbabwe แต่อาม่าวิเคราะห์แล้วไม่ใช่ทั้งสามตัวที่แจ้งโดย คุณ  Shinobi Sakka

อาม่าจึงค้นต่อในที่สุด จึงพบพืชตัวนี้ เป็นพืชที่พบในป่าบนภูเขาที่ความสูง 1750 เมตร ประเทศ Zimbabwe เมื่อ 24 สิงหาคม 2004

Dicliptera extenta S. Moore

วันนี้อาม่าให้สมุนไพรตัวนี้กับ รศ.กมลทิพย์ และ ดร.ณัฐกานต์  และขอให้ ดร.ณัฐกานต์ช่วยทำ DNA finger print ให้เป็นอันดับแรกเสียก่อน ส่วนการวิเคราะห์สารนั้น ต้องรอผลที่ให้อาจารย์อีกท่านนำไปทำการวิเคราะห์สาร เมื่อสองปีก่อน

แต่ก็ยินดีที่จะให้นักวิชาการที่สนใจ นำไปวิเคราะห์สารแต่ละตัวในสมุนไพรตัวนี้ ส่วนการทดสอบสารเหล่านี้ก็จะเป็นขั้นตอนต่อไป ค่ะ

แนวคิดความมั่นคงทางอาหารนั้น เป็นเรื่องสำคัญมากค่ะ โดยเฉพาะอาหารที่เป็นสมุนไพร นั้นอาม่าให้ความสนใจมานานแล้วค่ะ อยากให้เราคนไทยที่อยู่ในแต่ละท้องถิ่น แต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รู้จักกินอาหารพื้นบ้านของท้องถิ่นตัวเองเป็นหลัก และกินให้เหมาะสมกับวัย กินอย่างพอเพียง และกินตามฤดูกาล  สร้างความแข็งแรงและมั่นคงให้กับร่างกาย ห่างไกลโรคภัยที่เกิดจากการกินอาหาร ที่ไม่เหมาะสมต่อวัย ไม่เพียงพอต่อวัย

ขอให้ทุกท่าน กินอาหารอย่างมีความสุข กินแล้วไม่เกิดทุกข์ แค่นี้ก็พอเพียงแล้วค่ะ


เริ่มต้นปีใหม่ ๒๕๕๔ ด้วยความั่นคงทางอาหาร-1

อ่าน: 5230

เริ่มต้นปีใหม่ ๒๕๕๔ ก็จะคล้ายๆกับทุกปีที่ผ่านมา ปีนี้ก็เป็นอีกปีหนึ่งไปร่วมทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง และร่วมถวายปัจจัย แต่ที่พิเศษ และแตกต่างจากเดิม คือความคิดริเริ่มที่จะคัดเลือกเกษตรกรของตำบลสุรนารี เข้าร่วมโครงการขยายพันธุ์ข้าวมะลิแดง และข้าวนิล เพื่อให้มีพันธุ์ข้าวพอเพียงสำหรับการทำเกษตรอินทรีย์ ที่มีคุณภาพ ตามที่อาม่าได้รับความร่วมมือ และช่วยเหลือเป็นอย่างดี จากเทคโนธานี ในโครงการที่อาม่าตั้งใจทำ เพื่อสนองคุณแผ่นดินโดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้เกษตรกร

อันดับแรก คือ การมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เพียงพอ ต่อการปลูกข้าวในฤดูกาลเพาะปลูกตลอดไป นั่นคือความ มั่นคงทางพันธุ์ข้าว

อาม่าเลือกชื้อพันธุ์ข้าว หอมมะลิแดง ของจังหวัดสุรินทร์ ที่มีชื่อเสียง เป็นข้าวจากการทำเกษตรอินทร์ มาใช้เป็นแม่พันธุ์ สำหรับการนำมาปลูกขยายพันธุ์ เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ ปลูกข้าวชนิดนี้ใน ตำบลสุรนารี เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของอาม่า ประกอบกับรู้จักคุ้นเคยกับ นายก อบต. สุรนารี จึงได้นำเรื่องนี้หาลือกับนายก อบต.สุรนารี ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ท่านรับปากจะไปคัดเลือกเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ ของตำบลสุรีนารี ส่งให้มาพบอาม่า เพื่อร่วมโครงการฯ ค่ะ คงจะได้ทำงานร่วมกันในเร็วๆ วันนี้ค่ะ

ข้าวสารอาหารแห้งที่อาม่าจัดไปทำบุญตักบาตรค่ะ

เนื่องจากอาม่าซื้อพันธุ์ข้าวมะลิแดงมาได้ 4 กระสอบและแบ่งให้หมอหยก ครึ่งกระสอบไปช่วยปลูกขยายพันธุ์ ในพื้นที่นาเกษตรอินทรีย์ ที่อาม่าสามารถรเข้าไปติดตามและ ให้ความช่วยเหลือได้สะดวกค่ะ


คิดถึงลุงพูน

อ่าน: 2013

มันต้องมีเหตุ ถึงได้คิดถึงลุงพูน วันนี้มีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมายตอนช่วงเย็น ก่อนคำ่มืด

สืบเนื่องจากเอกสารที่ผู้นำชุมชน ต้องการขอความช่วยเหลือด้านต่างๆ ที่เป็นปัญหาของชุมชน ส่งให้ เทคโนธานี มทส. เพื่อจัดผู้เชี่ยวชาญลงมาช่วยให้ตรงกับประเด็นปัญหา ในที่สุดผู้นำชุมชนก็เดินทางเข้ามาพร้อมเอกสาร ที่ชาวชุมชนได้กรอกขอความช่วยเหลือมาด้วย แต่ก็เป็นเวลา 5 โมงเย็นแล้ว และอาม่าเองก็ต้องพาน้องเหมียวไปพบหมอตามนัดเวลา 5 โมงเย็น จึงนัดเจอที่ตลาดการเคหะ 5 โมงครึ่ง เพื่อซื้ออาหารมื้อเย็นไปกินที่บ้านอาม่า เป็นการกินไปคุยไปแบบชาวไทยที่ทำกันมาแต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชาน ต้องต้อนรับ

ต้องขอบอกเลยว่า คุณจินดาเป็นคนช่างสังเกตุจริงๆ เห็นแจกันดอกไม้ที่ทำจากใบเตยสดให้เป็นกุหลาบ ซึ่งบัดนี้แห้งสนิทแต่รูปทรงยังคงเดิม เธอเอ่ยปากทันที อาจารย์ช่วยสวนทำดอกกุหลาบจากใบเตยให้ด้วย อาม่าเลยบอกจะแถมทำดอกไม้ปักแจกันหรือพานจากลูกมะกรูดให้ด้วย แทนที่จะโยนลูกมะกรูดดับกลิ่นในห้องน้ำ ก็ผ่าซีกเสียบไม้แล้้วจัดแจกันไว้ในห้องน้ำ หรือห้องรับแขก หรือตามมุมต่างๆ ของบ้าน  จะดูดีและหอมสดชื่น กว่าการใช้สเปรย์ฉีดปรับอากาศเป็นไหนๆ พอใช้เสร็จเก็บมาทำแซมพูมะกรูดได้อีก แบบทูอินวัน  จะได้มีแชมพู เหมือนที่อาม่าได้รับแชมพูมะกรูดจกลุงพูน และวิธีทำแชมพูมะกรูด จากลานบ้านสวนลุงพูน จึงแนะวิธีทำแชมพูให้ ตามวิถีทางเศรษฐกิจพอเพียง ใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น อย่างเช่นมะกรูด  มาสร้างความสดชื่น พอเหี่ยวแล้ว นำมาทำแชมพูมะกรูด ทำเองใช้เองตามวิถีชีวิตดั่งเดิมของบรรพบุรุษ ที่มีคุณภาพสูงและไม่เจือปนสารเคมีใดๆ เป็นผลดีกับสุขภาพผมด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณ คุณลุงพูนมากค่ะ ที่ได้นำเสนอเรื่อง แชมพูมะกรูด อาม่าจึงถ่ายทอดให้ผู้นำชุมชนไปไปทำเองใช้เอง ไม่ต้องเสียเงินทองค่าใช้จ่ายค่าแชมพูอีกต่อไป เป็นการลดค่าใช้จ่ายได้ค่ะ



Main: 0.074252843856812 sec
Sidebar: 2.8133389949799 sec