Jul 22

พระพุทธศาสนาหลังสมัยพุทธกาล

พระพุทธศาสนาเจริญมั่นคงยั่งยืนมา ถึงพวกเราทุกคนในวันนี้ได้ก็เพราะมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสออกบวช ศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฏิบัติ และสั่งสอนสืบต่อกันมา ส่วนการเดินทางของพระพุทธศาสนามายังประเทศไทยและส่วนอื่นๆ ของโลก กล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ได้เช่นเดียวกัน ในหัวข้อนี้ ผู้เขียนจะเล่าเหตุการณ์หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานย่อๆ เพื่อให้เห็นความเป็นไปของพระพุทธศาสนาหลังสมัยพุทธกาล

หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วสามเดือน คณะสงฆ์ได้ทำสังคายนาขึ้นครั้งแรกที่ถ้ำสัตตบรรณ กรุงราชคฤห์ เพื่อรวบรวมหลักธรรมคำสอนให้เป็นหมวดหมู่และท่องจำกันไว้ ประชุมสงฆ์ห้าร้อยรูป โดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานสงฆ์ กระทำอยู่เจ็ดเดือนจึงสำเร็จ ปรารภการกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยของพระสุทััทะซึ่งเป็นผู้บวชภายแก่ (พ่อหลวงหรือหลวงตา)

เรื่องก็มีว่าหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วเจ็ดวัน ขณะนั้นพระมหากัสสปะพร้อมสงฆ์หมู่ใหญ่ยังไม่ได้ทราบข่าวและกำลังเดินทางไป เฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองกุสินารา มีคนเดินทางสวนมาและบอกข่าวเรื่องการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เมื่อได้ฟังข่าวบรรดาพระภิกษุที่เป็นอริยะก็ได้แต่เกิดสังเวชธรรมปรารถถึง ความไม่แน่นอนเป็นต้น ส่วนพระภิกษุที่ยังเป็นปุถุชนก็ร้องไห้ บ่นเพ้อ ตีอกชกตัวตามประสาผู้ที่เศร้าเสียใจยังตัดไม่ได้

อ่านต่อ… »

Jul 22

การเสด็จออกบวชของพระพุทธเจ้า

พุทธศาสนิกชนทั่วไปรู้กันว่า พระบรมศาสดามีพระนามเดิมว่าฟ้าชายสิทธัตถะ และสาเหตุการออกบวชโดยมากก็เชื่อกันว่า วันหนึ่ง เมื่อฟ้าชายกำลังเสร็จประพาสชมเมืองชมสวนอยู่กับนายฉันนะซึ่งเป็นนายสารถี ประจำพระองค์ ทรงทอดพระเนตรเด็กแรกเกิด คนเจ็บ และคนตาย ตามลำดับ (เรียกกันตามสำนวนนักธรรมว่า เทวทูต ๔) ก็ทรงสงสัยว่าเพราะเหตุอะไรคนเราเกิดมาแล้วจะต้องแก่เจ็บตายไป ทรงขบคิดเรื่องนี้และสนทนากับนายฉันนะไปเรื่อยๆ จนกระทั้งมาเจอคนกลุ่มหนึ่งแต่งตัวแปลกๆ ไปจากคนทั่วไป จึงตรัสถามนายฉันนะว่าคนกลุ่มนี้เป็นใคร นายฉันนะก็ทูลว่าคนกลุ่มนี้เป็นนักบวชไม่มีเหย้ามีเรือน ได้ท่องเที่ยวไปเพื่อแสวงหาแนวทางหลุดพ้นจากการเกิดแก่เจ็บตาย สิทธัตถะราชกุมารทรงสดับแล้วก็มีดำริว่า

  • “คนเราเกิดมาแล้ว ก็จะต้องแก่ เจ็บ ตายไป ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารของชีวิต ควรออกบวชแสวงหาสัจธรรมคือความจริงของชีวิต ทำให้การเกิดมาครั้งหนึ่งไม่เป็นหมันคือไม่สูญเสียไปเปล่าๆ “

เมื่อเสด็จนิวัติกลับวังก็ทรง ครุ่นคิดแต่เรื่องนี้ ในตอนดึกคืนนั้นเอง พระองค์ก็ชวนนายฉันนะเสด็จออกจากวังโดยทรงม้าชื่อกัณฐกะ พอรุ่งเช้าก็เสด็จถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมาแล้วก็ทรงอธิษฐานบวช โดยทรงใช้พระขรรค์ตัดพระเมาลีแล้วก็ทรงเพศเป็นนักบวช ส่วนนายฉันนะก็นำม้ากลับวัง… ประวัติการออกบวชของพระมหาสัตว์โดยมากเชื่อกันทำนองนี้ เพราะมีหลักฐานตามคัมภีร์ต่างๆ ซึ่งบางประเด็นแม้ผู้เขียนเองก็ยังสงสัย เช่น พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต ๔ ภายในวันเดียวกันหรือไม่ ? เป็นต้น

อ่านต่อ… »

Jul 22
  • บอกกล่าว

คุณค่าการบวชปัจจุบัน เป็น หนังสือเล่มน้อย ซึ่งผู้เขียนเรียบเรียงขึ้นพิมพ์เผยแพร่ในงานอุปสมบทของญาติผู้น้องเมื่อปี ๒๕๔๖ จากนั้นก็เคยพิมพ์ซ้ำอีก ๑-๒ ครั้ง แต่ต้นขั้วเดิมสลายไปพร้อมฮาร์ดดีสหลายปีแล้ว  บังเอิญไปพบหนังสือหลงเหลืออยู่ในวัดเล่มหนึ่ง จึงถือโอกาสนำมาพิมพ์เผยแพร่ซ้ำใน GoToKnow ในเทศกาลเข้าพรรษาปีนี้ โดยทยอยพิมพ์ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบ…

…………..

บทนำ

“คุณค่าการบวชปัจจุบัน” ประกอบด้วยคำสามคำ คือ คุณค่า. การบวช. และ ปัจจุบัน ผู้เขียนเห็นว่าตามชื่อเรื่องนี้มีคำที่ควรอธิบายก่อนสองคำคือ “คุณค่า” และ “การบวช” ส่วนคำว่า “ปัจจุบัน” นั้นเข้าใจกันไม่ยาก โดยความหมายแคบที่สุดคือ ขณะนี้. เดียวนี้. ตอนนี้ ส่วนความหมายกว้างๆ ได้แก่ ยุคนี้. สมัยนี้ หรือ ยุคสมัยนี้ ซึ่งเป็นการกำหนดช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่นานนักไปจนถึงช่วงเวลาที่ยังมาไม่ถึง อีกเล็กน้อย ในที่นี้ประสงค์เอาความหมายกว้างๆ คือการบวชในยุคสมัยที่ผ่านมาสี่ห้าปีหรือเก้าปีสิบปีเท่านั้นเอง และก่อนที่จะนำไปสู่ความเห็นอื่นๆ เรื่องการบวช ผู้เขียนประสงค์นะอธิบายความหมายของคำว่าคุณค่าและการบวชเป็นประเด็นแรก ต่อจากนั้นก็จะชวนท่านผู้อ่านไปเที่ยวดินแดนพุทธภูมิคือชมพูทวีปหรือประเทศ อินเดีย โดยการนำเสนอแนวคิดเรื่องอาศรม๔ ในคัมภีร์พระเวท เพราะผู้เขียนสันนิษฐานว่าความหมายเดิมของการบวชตามวัฒนธรรมอินเดียน่าจะมา จากแนวคิดนี้ ต่อด้วยการเสด็จออกบวชของพระพุทธเจ้าและพุทธสาวกบางท่านเพื่อเป็นตัวอย่าง เล็กๆ น้อยๆ หลังจากนั้นก็จะเล่าความเป็นไปของเหตุการณ์หลังสมัยพุทธกาล และย้อยกลับมาเมืองไทยด้วยความเห็นของผู้เขียนเกี่ยวกับหลักฐานแห่งความ มั่นคงของพระพุทธศาสนา ประเด็นสุดท้ายจะเป็นเรื่องราวของคุณค่าการบวชในอดีตที่บรรพบุรุษของเรา สร้างไว้ก่อนจะเข้าสู่การบวชยุคปัจจุบันซึ่งเป็นเรื่องราวที่เราทุกคน ประจักษ์อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเราจะให้ความหมายสิ่งที่เรารู้เราเห็นอย่างไรเท่านั้น

อ่านต่อ… »

Jul 17
  • พุทโธ ก่่อตั้ง ศาสนา
  • ธัมโม เนื้อหา บ่งชี้
  • สังโฆ สืบต่อ มาดี
  • วันนี้ อาสาฬ หบูชา
  • แรกเริ่ม สำแดง คำสอน
  • ตัดตอน ที่สุด ออกมา
  • คงเหลือ สายกลาง มัชฌิมา
  • นำพา ดำเนิน ชีวิต
  • ยกกร พนม ก้มกราบ
  • รับทราบ มงคล สถิต
  • คงอยู่ เชิดชู ผู้ศิษย์
  • แนบสนิท เป็นหนึ่ง ถึงโมกข์
  • แม้นว่า ยังอยู่ เวียนว่าย
  • ยังพ่าย ยังอยู่ คู่โลก
  • ยังตาย ยังสุข ยังโศก
  • มีโชค พบพุทธ สืบเทอญ….
Jul 16
  • มักมาก มักมาก มักมาก
  • มักมาก มาก มาก มาก
  • มักมาก ยิ่งมัก ยิ่งมาก

.

  • มักน้อย มักน้อย มักน้อย
  • มักน้อย น้อย น้อย น้อย
  • มักน้อย ยิ่งมัก ยิ่งยาก

.

  • มักน้อย ยิ่งมัก ยิ่งยาก
  • มักมาก ยิ่งมัก ยิ่งมาก
  • ไม่มักน้อย ไม่มักมาก
  • ไม่มักมาก ไม่มักน้อย

.

ปล่อย ปล่อย ปล่อย…..

  • ปล่อย มักมาก…..
  • ปล่อย มักน้อย…..

.

ไม่มัก ไม่มาก ไม่น้อย

ไม่ปล่อย ไม่น้อย ไม่มาก

ไม่มักมาก ไม่มักน้อย

  • ปล่อย…
  • ปล่อย…
  • ปล่อย…
  • ……………….

หลุด ลอย จางหาย…

Jul 15
  • ย้ำ ย้ำ ย้ำ… ย้ำคิด ย้ำทำ
  • ทำ ทำ ทำ… ย้ำทำ ย้ำคิด
  • คิด คิด คิด… ย้ำคิด ย้ำทำ

ย้ำทำ… ย้ำคิด

ย้ำคิด… ย้ำทำ

  • เลิก เลิก เลิก… เลิกทำ เลิกคิด
  • คิด คิด คิด… เลิกคิด แต่ทำ
  • ทำ ทำ ทำ… เลิกทำ แต่คิด

เลิกคิด… เลิกทำ

เลิกทำ… เลิกคิด

  • ไม่คิด แต่ทำ
  • ไม่ทำ แต่คิด

จะคิดก่อนทำ หรือจะทำก่อนคิด ก็ควรจะ

  • ย้ำคิด ย้ำทำ
Jul 14
  • คิด ฉัน คิด
  • คิด เธอ คิด
  • คิด เขา ก็ คิด

คิด ต่าง คิด ….

  • เห็น เธอ เห็น
  • เห็น ฉัน เห็น
  • เห็น เขา ก็ เห็น

เห็น ต่าง เห็น ….

  • พูด เขา พูด
  • พูด เธอ พูด
  • พูด ฉัน ก็ พูด

พูด ต่าง พูด ….

  • ทำ ฉัน ทำ
  • ทำ เขา ทำ
  • ทำ เธอ ก็ ทำ

ทำ ต่าง ทำ ….

  • คิด… ต่างกัน
  • เห็น… ต่างกัน
  • พูด… ต่างกัน
  • ทำ… ต่างกัน

คน… ก็ ต่างกัน

Jul 13
  • ลองหลับตา….
  • หยุดความคิด….
  • พยายามปิดกั้นความคิดที่จะผุดขึ้นมา…

รู้สึกหรือไม่ ?

อย่าคิด ปิดกั้น อย่าคิด หยุดไว้…

รู้สึกหรือไม่ ?

  • สิ่งนั้น เป็นเพียงความรู้สึก…
  • คล้ายๆ กำลังจะวิ่งไปหาบางอย่าง…
  • ลองเพ่งดูว่า วิ่งไปหาอะไร ?

นั่นแหละ คือ ความแสวงหา

เมื่อมีความรู้สึก ก็มีความแสวงหา

  • ในความแสวงหา …

.

……………

.

  • ณ. ที่อันไกลโพ้นโน้น…

ฉันเคยคิด

  • ณ. ที่อันไกลโพ้นโน้น…

ฉันเคยฝัน

  • ณ. ที่อันไกลโพ้นโน้น…

ฉันมองไป

  • ณ. ที่อันไกลโพ้นโน้น…

ฉันก้าวไป

  • ณ. ที่อันไกลโพ้นโน้น…

เดินไป

เดินไป

เดินไป

และเดินไป

ณ. ที่อันไกลโพ้นโน้น…

  • เอ๊ะ ! ไม่ใช่ที่นี้
  • เอ๊ะ ! ที่นี้ไม่ใช่
  • เอ๊ะ ! หรือว่าเป็นที่อื่น
  • ณ. ที่อันไกลโพ้นโน้น…

ฉันคิด ฉันฝัน (อีกครั้ง)

  • ณ. ที่อันไกลโพ้นโน้น…

ฉันมองไป (อีกครั้ง)

ฉันก้าวไป (อีกครั้ง)

ฉันเดินไป (อีกครั้ง)

  • ณ. ที่อันไกลโพ้นโน้น…

อีกครั้ง

อีกครั้ง

อีกครั้ง

และอีกครั้ง

  • ณ. ที่อันไกลโพ้นโน้น