จะไปหาหมอหรือจะไปหาครู

อ่าน: 2008

ผมมีเรื่องละล้าละลังตั้งแต่ออกจากบ้านมาบางกอกแล้วละครับ ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะไปประชุมกับหน่วยงานไหนดี ที่บังเอิญมานัดประชุมในเวลาเดียวกัน “ด่วนที่สุด” เป็นหัวจดหมายที่ประทับกำชับมา แต่จดหมายเดินทางมาถึงไม่พร้อมกัน ผู้ประสานงานโทรมาถามว่า “มาร่วมประชุมได้ไหมคะ” เราเว้นวรรคเรื่องอื่นอยู่แล้วก็ตอบไปว่า “ไปได้” รับปากแล้วก็มีเหตุทำให้ไปไม่ได้นี่แหละปวดศรีษะที่สุด งานแรกว่าด้วยเรื่องคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ

คณะกรรมการฯทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะในระดับนโยบาย เกี่ยวกับกำลังคนด้านสุขภาพในภาพรวมของประเทศ รวมทั้งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินงาน ตามแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งได้มีการประชุมคณะกรรมการฯมาอย่างต่อเนื่องนั้น จึงกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการครั้งที่3/2554 ในวันที่ 26 กันยายน 2554 เวลา 13.30-16.30 น. ห้องประชุม 1 สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ บริเวณกระทรวงสาธารณะสุข

หากท่านไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้

ขอความกรุณาโปรดมอบหมายผู้แทนระดับตัดสินใจได้เข้าประชุมแทน จะเป็นพระคุณ

ท่านที่รัก ถ้าพิจารณาใจความจะเห็นความเอาจริงของกรรมการคณะนี้ ว่าเขาทำงานกันแบบแข็งแรงแข็งขันขนาดไหน ผมเคยร่วมประชุมเมื่อครั้งยกร่างระบบปฏิรูปสุขภาพ ตั้งแต่ปีมะโว้โน่น คุณนายแพทย์ทั้งหลายประชุมกันหามรุ่งหามค่ำ เจอกันหลายเดือน เรื่องก็เลยติดสอยห้อยตามมาจนกระทั้งเดี๋ยวนี้ สิ่งที่ได้จากการประชุมคณะกรรมการฯแห่งนี้คือ เราจะได้เห็นบทบาทของผู้ที่วางแผนระดับนโยบาย ที่ทำการบ้านเชิงรุกอย่างหนักอย่างไร คำว่า “ผลักดันนโยบายยังน้อยไป” ทุกวิถีทางที่จะทำให้สิ่งที่ใคร่ครวญแล้วเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม นพ.มงคล ณ สงขลา นพ.สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ นพ. พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ฯลฯ ปักหลักลุยปัญหาระดับช้างอย่างทรหด

ผลงานที่เป็นรูปธรรมจึงเรียงล่ายซ่าย เช่น ระบบปะกันสุขภาพ การพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลทั่วประเทศ รวมทั้งโครงการโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพที่เกิดขึ้นอย่างเร่งรุด อนึ่ง บุคลากรทางด้านสาธารณะสุขทุกระดับมีการขยับเขยื้อนเอาภาคสังคมมาร่วมเป็นเจ้าภาพได้อย่างน่าสนใจ อสม.ผู้นำชุมชน นักวิจัย นักพัฒนาสังคม ครู อาจารย์ เดินกันให้ควักในเวทีสัมมนาต่างๆ ทางด้าน สสส. เองก็เป็นพี่เลี้ยงได้อย่างนี้ ในการที่จะเอื้อให้กระบวนการทำงานในพื้นที่มีความคล่องตัวทำงานสะดวกขึ้น

ถ้าอ่านรายงานการประชุมของกระทรวงสาธารณสุข จะเห็นความแตกต่างจากการประชุมของที่อื่นๆ ตัวแทนหน่วยงานเข้าร่วมก็ธรรมดาที่ไหนเล่า ล้วนเป็นผู้ที่เจ้ากระทรวงฯที่เกี่ยวข้องส่งมือดีมาร่วม เนื้อหาที่นำเข้าสู่ที่ประชุมล้วนแต่มีความสำคัญยิ่งต่อความเป็นไปด้านสุขภาพของประเทศ คำว่า อนุญาตให้ส่งผู้ที่ตัดสินใจได้เข้าประชุมแทน ถ้าคิดให้ดีก็หนาวแล้วละครับ ถ้าไม่จำเป็นขนาดดิ้นปัดๆผมก็จะถ่อสังขารมาประชุมให้ได้ เคยส่งตัวแทนเข้าประชุม 2 ครั้ง โคตรเกรงใจเขาเลยละครับ

อีกรายการหนึ่งเป็นการนัดประชุม ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชิญประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการบัณทิตจิตอาสา ของหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร เรื่องนี้ผมเข้าไปร่วมตั้งแต่แรกเริ่มที่มีการคิดจะเปิดการศึกษารูปแบบใหม่ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อหล่อหลอมความคิดและทัศนคติชีวิตของนิสิตด้านจิตอาสา ในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นฐานเมื่อจบการศึกษาไปแล้ว  ในภาคการศึกษาที่ 2/2554 นี้ จะมีนิสิตเดินทางไปศึกษาและใช้ชีวิตในศูนย์เรียนรู้ฯ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน ทางสำนักงานฯจึงเห็นสมควรจัดประชุมหารือวิพุทธิยาจารย์อาสาในโครงการฯ เพื่อสรุปแนวทางในการดำเนินงานต่อไป

ในการนี้สำนักงานฯเรียนเชิญประชุมในวันจันทร์ที่ 19 หรือ วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2554 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานฯ ชั้น 12 อาคารวิทยกิตติ์ สยามสแควร์ มีหนังสือรายงานการประชุมย่อยมากระทุ้งให้เห็นว่าโครงการเดินหน้าเต็มลูกสูบด้วยนะ วันที่ 19 ผมติดรายการดูงานที่บ้าน ยังดีที่มีก๊อก2ให้มาติดตามความคืบหน้าวันนี้

ในการประชุมครั้งก่อน คณาจารย์มีความเห็นว่าควรจัดให้วิพุทธิยาจารย์ไปพบปะนิสิตยังศูนย์การเรียนรู้จังหวัดน่าน ครั้งละ 2 ท่าน ( ต่างสาขา) ทุก2-3สัปดาห์ โดยการพบปะแต่ละครั้งนิสิตจะเป็นผู้เลือกและกำกับหัวข้อการสนทนากับวิพุทธิยาจารย์อาสาตามความสนใจของนิสิตเอง ซึ่งวาระของการประชุมอาจเป็นช่วงเดือนมกราคม 2555 หลังงานกีฬามหาวิทยาลัยแห่งชาติ

ที่เขียนเล่าเป็นคุ้งเป็นแควไม่ได้โอ้อวดว่าไปยุ่งเกี่ยวกับพันธกิจของสถาบันใด แต่ให้เห็นความเป็นไปของงานเชิงโครงสร้างต่างๆที่ไปเกี่ยวข้อง เพื่อที่ญาติแซ่เฮจะเข้ามาแนะนำผมได้ หรือ อาสาไปประชุมแทนในยามขัดสนเวลา หรือ เข้าไปเป็นตัวแทนเสียเลย ยกตัวอย่าง เช่น รายการของกระทรวงสาธารณสุข ถ้าคุณหมอจอมป่วนเข้าไปเป็นตัวจริงจะสะท้อนงานด้านสาธารณะสุขได้อย่างปรุโปร่ง แต่ก็อีกนั่นแหล่ะ งานสำคัญๆเชิงนโยบายเขามักจะเอาชาวบ้านไปห้อยไว้1คน ในฐานะตัวแทนภาคประชาชน หลายท่านจะได้หายสงสัยว่าทำไมหลายองค์กรลากผมเข้าไปร่วม ไม่มีอะไรหรอก..ไปเป็นเม็ดมะแข่วนในเครื่องลาบเพื่อให้มันครบสูตร นะครับ

อนึ่ง ผมกำลังมองหาแซ่เฮจิตอาสาไปประชุมแทน

ในเวลากระชั้นชิดนี่แหละ  ทำไงได้

แถมยังเป็นวันราชการเสียด้วย

ท่านใดลงมาบางกอกช่วงนี้ยกมือขึ้น !

เท่าที่สัมผัสมา พอประมวลได้ว่างานด้านสาธารสุขนั้นเดินหน้าไปฉับๆแล้ว แต่งานด้านการศึกษานี่สิ อาการยังน่าเป็นห่วง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาคนใหม่ยังไม่ได้เรียกประชุมอะไร แต่มีข่าวว่ากำลังเดินหน้าหาประเด็นมาเปิดนโยบายเช่นกัน ดังที่เราอาจจะได้ข่าวเรื่องเอาแป๊ะเจี๊ยะออกมาวางบนโต๊ะ ทำเหมือนเอาหวยใต้ดินมาเป็นหวยออลไลน์ ที่น่าสนใจมีรายงานข่าวเรื่อง “สมัชชาหลักสูตร” ปลดแอกเด็กไทย

การศึกษาไทยใครไปใครมาก็ต้องรื้อๆ

ระบบมันไม่นิ่งสักที

เป็นรายการแก้ผ้าเอาหน้ารอดอยู่ประจำ

ถึงจะคิดดีทำดีอย่างไร อยู่ไม่นานก็เผ่น!ตามวาระเลือกตั้ง

คณะฯใหม่ๆเข้ามาก็อยากจะแก้ๆๆๆอะไรๆให้ดีขึ้น

แต่..แก้ผ้..า า ไม่ทันถูสบู่ ก็ไปเสียแล้ว

ท่านรัฐมนตรีแห่งเมืองแพร่ร่ายยาวว่า..การปรับหลักสูตรครั้งใหญ่คืองานแรกที่ผมต้องทำ และได้ลงมือแล้ว มีมหาวิทยาลัยแกนนำ อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มทร.ธัญบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ฯลฯ ในการระดมสมอง ผู้มีความรู้ความสามารถแต่ละสาขาอาชีพ ในพื้นที่ ในจังหวัด ในชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งของโรงเรียน เพื่อมาออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอน และเนื้อหาวิชาเรียนให้สอดรับต่อการนำไปพัฒนาศักยภาพของพื้นที่เป็นหลัก

ดังนั้น ความหลากหลายของหลักสูตร จึงขึ้นอยู่กับศักยภาพของพื้นที่ๆแตกต่างกัน แต่เด็กต้องได้เรียนในสิ่งที่ชอบ สาขาที่ใช่ เรียนจบแล้วมีงานทำ เพราะเป็นการบูรณาการหลักสูตรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อาจจะเรียกว่าสมัชาหลักสูตร เพราะวิชาไหนที่ไม่จำเป็น หรือเรียนแล้วไม่เกิดประโยชน์ก็ตัดทิ้งไป  มุ่งสู่โลกไฮเทคเทคโนโลยีทางการศึกษามากขึ้น เพราะโลกอนาคตเราต้องเตรียมพร้อมคนไทยเข้าสู่ประชาคมอาเชียน ภาษาที่ 2 ภาษาที่ 3 มีควมจำเป็นที่ลูกหลานต้องได้เรียนแบบเข้มข้นมากขึ้น

“ผมไม่อยากเห็นภาพลูกหลานไปเรียนหนังสือมีความทุกข์อีกต่อไป เรียนกวดวิชาแทบเป็นแทบตาย สุดท้ายไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นหลักสูตรคือหัวใจสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง คุณภาพชีวิตเด็ก คุณภาพชีวิตครู คุณภาพชีวิตของพ่อแม่ต้องดีขึ้นเมื่อผู้เรียนได้เรียนสิ่งที่ชอบ เรียนจบแล้วมีงานทำ ตาม 5 สาขาหลัก คือ เกษตรกรรม พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และอาชีพเฉพาะทาง”

เมื่อยุทธศาสตร์ของรัฐบาลหลอมรวมกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการเสร็จแล้ว

จะทำความเข้าใจให้ตรงกันทั้ง 3 รัฐมนตรี

เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริง

แหม  มาตกม้าตายอีตอนรัฐมนตรียังไม่ได้ทำความเข้าใจกันนี่แหละ

ทำได้ก็ดี อย่าให้เป็นเพียงลมปากเหมือนที่ผ่านๆมา

ก่อนออกจากบ้านมีอาการคร๊อกแคร๊ก

มาถึงบางกอกเป็นหวัดจนได้

ที่นัดไว้จะกินข้าวเย็นกับดร.นฤมลของจุฬาฯ

หรือนัดเจี๊ยะสะเต๊กของขาใหญ่กับแห้ว

ก็คงจะแห้ว

งานประชุมมูลนิธิสันติภาพโลกก็วืดหนึ่งไปรายการหนึ่ง

ถ้าแห้วอีกคงไม่กระไรนัก

อ ย า ก จ ะ พั ก ร บ ไ ม่ พ บ รั ก

ตะกี้หนูพิมพ์ผู้ช่วยอาจารย์นฤมล บรรจงจิตร โทรมาถามอ บอกว่าไปประชุมที่ไหนจะรอรับข้างล่าง หลังจากนั้นจะพาไปรับประทานอาหารจีนสักมื้อหนึ่ง น้ำใจนี่หนอ ..ขอเป็นว่าเจี๊ยะแบบเร็วๆแอร์ไม่เย็นมากน่าจะพอไหว มีเหตุให้ต้องใจอ่อนนะเธอ “ขี้เหร่เลือกได้เชียวนะงานนี้” อิ อิ ผมรู้จักอาจารย์มานาน ทำงานร่วมกันประชุมกันมาเป็นสิบปี ให้ไปช่วยสอน ป.โท ที่สถาบันวิจัยสังคมจุฬาฯก็หลายครั้ง ผมได้เรียนงานวิจัยจากที่นี่พอสมควร ทั้งในฐานะอีแอบ ผู้ร่วมวิจัย และ ผู้ ถู ก วิ จั ย

อาจารย์เกษียณปีนี้ ทราบว่าใครขอให้ต่ออายุงานอย่างไรก็ไม่เอาแล้ว ขอวางมือทำให้ชีวิตว่างจะได้พักผ่อนบ้าง ที่ผ่านมาตระเวณสอนตระเวณลุยพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรไทย เดือนนี้ก็จะจบอาชีพอาจารย์จุฬาฯแล้ว ที่สำคัญ อาจารย์ทำวิจัยทิ้งทวนเรื่องมหาชีวาลัยอีสานเป็นเรื่องสุดท้าย ศึกษาแบบกระเทาะเปลือกกระบวนการทำงานของสถานีเรียนรู้ภาคประชาชนที่ชื่อว่า กรมราษฎรส่งเสริม ส่งเสริมตรงไหน ส่งเสริมอย่างไร ผ ล ลั พ ธ์ ผ ล ล บ เ ป็ น อ ย่ า ง ไ ร ?  อาจารย์จะถอดรหัสและลีลาของครูบา เรียกว่าเปลือยครูบาก็ได้กระมัง ภายในเดือนหน้าก็จะรวบรวมพิมพ์งานดังกล่าวนี้ให้เบ็ดเสร็จส่งมอบงาน

การพบกันในเย็นนี้จึงมีความหมาย

จะได้ขมวดงานดังกล่าวจนถึงหยดสุดท้าย

จะได้พบปะกันในวาระสุดท้าย

จะได้ขอบคุณอาจารย์และลูกศิษย์ที่ให้การสนับสนุนคนบ้านป่าด้วยดีเสมอมา

ด้วยเหตุนี้ รายการขาใหญ่ ขาเล็ก สมควรหลีกทางให้ใช่ไหมละครับ

รายการตกค้างยกยอดไปวันพรุ่งนี้

อยากจะเรียนต่อเรื่องโปรแกรมโทรศัพท์ และนั่งทำต้นฉบับ “โมเดลอีสาน”

ใครจะอาสาสอนคนขี้โรค เอามือลง อิ อิ


แก่แค่ไหนก็ไม่เกินแกง

อ่าน: 1963

เมื่อวานหลังจากเขียนบล็อกแล้วกดเผยแพร่ มีตัวอักษรยึกยือออกมาแสดง ไม่สามารถส่งข้อความได้ จึงหาเรื่องไปดูหนังสือดีกว่า อยากจะได้พจนานุกรมไทย-จีน จะไปเที่ยวจีนก็แอบดูศัพท์แสงเขาหน่อยละเธอ คำง่ายๆเขาคุย-ถาม-แปล-สื่อความหมายว่าอย่างไร ในเมื่อภาษาจีนไม่รู้สักเอ๊ะ ก็เลยถือโอกาสเรียนภาษาจีนนิดๆหน่อยๆ  ระหว่างเลือกดูหนังสือ หันไปเจอป้ายโฆษณาภาพยนต์เรื่อง Transformers 3 มีรูปหุ่นยนต์ท่าทางจะบู้สะบั้น น่าจะเป็นหนังหุ่นยนต์ลุยแหลก เป็นอภิมหาสงครามจักรกล ประกอบกับได้ยินแห้วพูดเรื่องหนัง3D เอ๊ะมันเป็นยังไงนะ คนบ้านนอกเคยดูแต่หนังขายยา วันนี้ถึงไม่มีลูกสาวผู้ดีไปดูด้วยอย่างขาใหญ่เล่าไว้ในบล็อก ก็ดูละวะ ..

อ่านต่อ »


วิจัยสไตล์บ้านนอก

อ่าน: 2716

หลายปีดีดักมาแล้วที่ผมไปเที่ยวประเทศออสเตรเลีย ในฐานะคนบ้าปลูกยูคาลิปตัสแบบมุทะลุ ปลูกทดลองตามโจทย์ที่เขาว่าต้นไม้พันธุ์นี้มันไม่ดี..ด้วยอยากจะรู้ว่าไม่ดีอย่างไร ไม่ดีตรงไหน ในเมื่อธรรมชาติได้ส่งพรรณไม้ชนิดนี้มาเกิดในโลก เมื่อเราได้เรียนจากการปฏิบัติ ทำให้เราได้พบแง่มุมที่ด้อยและแง่มุมที่เด่น ในส่วนที่ไม่ดีส่วนมากจะมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น ที่บริหารจัดการยังไม่ถูกต้องเหมาะสม ถ้าสามารถจัดการให้ถูกต้องแล้วเราจะพบจุดพิเศษของไม้ชนิดนี้ จึงไม่ควรตัดสินกล่าวโทษชนิดไม้แบบที่เราไม่ได้รู้จริงอย่างถี่ถ้วน ส่วนมากมนุษย์จะตัดสินใจจากข้อมูลที่ตนมี หรือ ตัดสินจากเขาว่า..ก็เลยว่าตามเขา..

ประเด็นเหล่านี้เกิดจากวิธีเรียนรู้และวิธีวิจัยที่ยังไงดีล่ะ อ่านต่อ »


ไปงานวิจัยตกกะไดพลอยโจนไหมเธอ..

อ่าน: 2068

(จะรู้ว่ามะละกอพันธุ์ไหนเหมาะกับพื้นที่ก็ต้องปลูๆๆๆๆ)

จวนจะมืดแล้วแหละ เสียงโทรศัพท์ดัง..มิน คะครูบา โอ้แม่สาวน้อย เป็นยังไงบ้าง สบายดีไหม ลูกศิษย์เป็นยังไง ทักทายสวนกันไปมา..กว่าจะชะลอคำถาม เธอเล่าว่ามีอาจารย์ที่มหิดล “ได้อ่านเจ้าเป็นไผ” แล้วเอาแนวคิดนี้ไปใช้กับนักศึกษาในระหว่างลงพื้นที่ ด้วยการตั้งประเด็นง่ายๆ เป็นไผ เป็นไง เป็นยังไง เป็นอิหยัง ..ถ่างความรู้ความคิดจากจุดง่ายๆสบายๆกว่าที่เคยออกแบบการลงพื้นที่ศึกษาชุมชนกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา มินเล่าว่า อาจารย์ท่านนี้รู้จักลานปัญญา รู้จักสมาชิกชาวเฮผ่านการอ่าน บอกว่ารู้จักครูบาด้วยสิ เคยฟังคนขี้โม้ที่มหาสารคาม ..แสดงว่า สิ่งเล็กเหมือนกรวดทราย ได้เกิดอานุภาพแทรกอยู่ในความคิดคำนึงของใครต่อใครก็ไม่รู้นะ ผมแจกเจ้าเป็นไผให้คนที่มาเยือน ทุกคนรีบอ่าน บางท่านอ่านแล้วก็รีบบอกในวันรุ่งขึ้น ว่าคุยกับ1คน ก็รู้จักหนึ่งคน แต่อ่านหนังสือเล่มนี้ได้รู้จักคนดีอีกตั้งหลายคน

อ่านต่อ »


หนึ่งปีเธอรับประทานข้าวกี่คำ

อ่าน: 2356

คำเล่าลือ..แผ่นดินขวานทอง มีที่ไปที่มาจากผืนท้องนาสีทอง ช่วงที่รวงข้าวสุกเหลืองเต็มท้องทุ่งสุดลูกหูลูกตา ยากจะหาดูที่ไหนได้อย่างทุ่งรวงทองท้องนาไทยในยามเก็บเกี่ยว ในยุคที่ยังใช้แรงงานคนเกี่ยวและนวดข้าว ชาวนาจะใช้เวลาทำงานในท้องทุ่งติดต่อกันหลายเดือน นับแต่เกี่ยวข้าวได้ก็จะหาบทำลอมข้าวไว้ รวบรวมแล้วก็จะนัดลงแขกช่วยกันนวดข้าว ถ้าตรงกับช่วงพระจันทร์เต็มดวงจะสวยมาก ลมหนาวพัดโชยมาเย็นๆ ไอ้หนุ่มออกแรงฟาดข้าวต่อหน้าอีสาวไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วงพักล้อมวงกินข้าว นอกจากจะมีต้มปลา-น้ำพริกจิ้มแจ่วแล้ว เมนูเด็ดที่แต่ละเจ้านาจะเตรียมไว้คือ ต้ ม เ ป็ ด ใ ส่ ใ บ ม ะ ข า ม อ่ อ น กับ ล า บ เ ป็ ด ใ ส่ เ นื้ อ ม ะ ข า ม เ ปี ย ก เซียนลูกทุ่งถือว่าสูตรนี้เห้อแรด ผักต่างๆก็หาเก็บเอาในผืนนานั่นแหละ เป็นการใช้วิถีพอเพียงฉบับท้องทุ่งบ้านเฮา

แต่น่าเสียดาย

เสน่ห์ท้องทุ่งสูญหายไปพร้อมกับวันที่ค ว า ย เ ป ลี่ ย น ไ ป เ ป็ น ลู ก ชิ้ น

การทำนาที่ไร้ภูมิปัญญาและวัฒนาธรรมพื้นถิ่นนั้นมันกระด้างสิ้นดี

ชาวนาเปลี่ยนเป็นซาวหน้าซาวหลัง

ซังกะตายไปอย่างน่าเวทนา..

อ่านต่อ »



Main: 0.038838863372803 sec
Sidebar: 0.77402806282043 sec