๑๔. การวิเคราะห์ความขัดแย้ง ๒
วันนี้ขอต่อเรื่องราวที่รศ.ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ บรรยายให้จบนะครับ ในส่วนของกรอบการวิเคราะห์ความขัดแย้ง Conflict Mapping or Conflict Analysis Framework ทำไมต้องมาวิเคราะห์ความขัดแย้ง ก็เพราะ เมื่อเกิดความขัดแย้ง ปัญหาก็คือจะมีความสับสน ความสัมพันธ์ของฝ่ายต่างๆเปลี่ยนแปลงไป บางทีเฉียบพลันรุนแรง ผลที่ตามมาอาจจะเกิดความรุนแรง จึงต้องมีการวิเคราะห์ความขัดแย้ง โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Conflict mapping(อเมริกัน) หรือ Conflict Assessment Framework (แคนาดา) มีคำถามว่าใครจะเป็นคนใช้กรอบวิเคราะห์ความขัดแย้ง และใช้เพื่ออะไร ถ้า เราเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง ใช้เพื่อทำความเข้าใจความขัดแย้งในมุมมองของตัวเอง หรือคู่กรณีใช้ร่วมกันเพื่อเข้าใจว่าคู่กรณีอีกฝ่ายมีความคิดอย่างไร ถ้าเราเป็นคนกลางก็ใช้เพื่อทำความเข้าใจความขัดแย้งและเป็นเครื่องมือในการ หาทางออกร่วมกัน