๑๐. การสร้างสังคมสันติสุข

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 9 กรกฏาคม 2008 เวลา 6:46 ในหมวดหมู่ เสริมสร้างสังคมสันติสุข #
อ่าน: 16205

เริ่มต้นอาจารย์ รศ.ดร.มารค ตามไท พูดถึงแนวคิดทางวิธีการศึกษาอบรมแบบ Prescriptive ซึ่งเป็นแบบการนั่งฟังบรรยายอย่างเดียว โดยมีสมมุติฐานว่า

-ศูนย์กลางการฝึกอบรมอยู่ที่ความรู้ของวิทยากร

-ความเชื่อชุดนี้ของวิทยากรสามารถถ่ายทอดโดยตรง แบบรู้มาบอกไป

-ความรู้ชุดนี้เป็นสากล

-วิทยากรจะเป็นผู้กำหนดหัวข้อ

แต่มักไม่ค่อยได้ผล ยิ่งถ้าเป็นการอบรมข้ามวัฒนธรรมก็ยิ่งแล้วใหญ่

ส่วนวิธีที่พวกเรากำลังตั้งหน้าตั้งตาศึกษากันอยู่นี้เป็นแบบ Elicitive ซึ่งเป็นแบบช่วยกันดึงออกมาแล้วบอกไป

-ผู้เข้าอบรมมีความรู้ติดตัวมาแล้ว

-มองการอบรมเป็นกระบวนการที่มุ่งสร้างรูปแบบต่างๆออกมาจากทรัพยากรที่ติดตัวมากับผู้รับการอบรม

-วิทยากรเป็นผู้ประสานความสร้างสรรค์ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ

แล้ว Elicitive มันมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ข้อดี ก็คือ ได้ใช้ความรู้ที่มาจากบริบททางวัฒนธรรมของปัญหาเอง

ข้อเสีย ก็คือ อาจไม่มีโอกาสเรียนรู้ของใหม่

คราวนี้ก็มาถึงเนื้อหาที่อาจารย์พูดถึง ซึ่งก็คือส่วนประกอบของการเสริมสร้างสังคมสันติสุข

๑.การป้องกันความขัดแย้ง Conflict prevention  ซึ่งมีหลายวิธี ถ้าการป้องกันไม่ดีก็เกิดความขัดแย้ง และวิธีการป้องกันก็ยังแยกเป็นระยะยาว แบบยั่งยืน และแบบเฉพาะ  หน่วยงานที่ทำหน้าที่ป้องกัน ก็เช่น กระทรวงยุติธรรม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยที่มีหน่วยศึกษาความขัดแย้ง

๒.การแก้ไขความขัดแย้ง Peace making ถ้า มีความขัดแย้งเกิดขึ้นก็ต้องใช้ข้อ ๒. ถ้ายังไม่เกิดก็ใช้ข้อ ๑. ในส่วนการแก้ไขความขัดแย้งนี้มีกลไก คือ การไกล่เกลี่ย และการพูดจากันDialogue

๓.การสร้างสมานฉันท์ Peacebuilding

อุปสรรคต่องานทั้งสามแบบ

-กิเลสมนุษย์ เกิดจากความอยาก ถ้าเราต้องการความจริง ต้องตั้งสมมุติฐานในสิ่งตรงกันข้าม แล้วหาข้อพิสูจน์มันจะไม่เกิดความลำเอียง

-อคติสังคม บางทีเราตอบคำถามไม่ได้เพราะบางทีมีคำพูดหรือการกระทำที่กระทบความรู้สึกผู้อื่น พูดแล้วทำให้เขาเจ็บ

-กระบวนทัศน์ paradigm ต่างๆ ที่ฝังรากลึกออกไปจากกระบวนทัศน์ยากที่สุด เช่น กระบวนทัศน์ของความเป็นไทย สร้างมาแล้วออกไม่ได้ แค่ตั้งคำถามยังไม่ได้เลย กระบวนทัศน์จะตอบด้วยเหตุผลไม่ได้เพราะมันมีความสมบูรณ์อยู่ในตัว แล้วถ้าเกิดความขัดแย้งที่มีกระบวนทัศน์ฝังรากลึก จะทำอย่างไร อาจารย์บอกว่า การจัดการต้องสร้าง paradigm (เพื่อนผมมันอ่าน พา รา ดิ กึ้ม  อิอิ)ใหม่ซึ่งต้องใช้เวลา แต่บางครั้งมันไม่มีเวลารอให้แก้

ถ้าเราเจอคำตอบที่ว่า “อัตลักษณ์ของผมคือปกป้องไม่ให้เกิดอัตลักษณ์อื่น” กรณีอย่างนี้เจาะยากครับพี่น้อง เพราะเท่ากับเขาปิดประตูการเปลี่ยนกระบวนทัศน์เลย

วันนี้ รู้สึกวิชาการเยอะ เพราะอาจารย์ไม่ค่อยพูดตลก พวกเราเลยนั่งฟังกันเงียบๆแต่ก็เป็นหัวข้อที่น่าสนใจจึงไม่เห็นใครหลับ อิอิ หรือว่ายังเช้าอยู่ก็ไม่แน่..แฮ่…

งานจัดการกับอุปสรรคมีอยู่ ๓ มิติ

๑.มิติทางอภิปรัชญา (ธรรมชาติของมนุษย์) ก่อนสร้างสังคมสันติสุข เรานึกว่ามนุษย์อยู่กันอย่างไรบ้าง

ธรรมชาติของมนุษย์สร้างข้อจำกัดให้เราในการหาวิธีการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความขัดแย้งหรือไม่ เป็นความฝันหรือความเป็นไปได้

อาจารย์ฉายภาพให้เราดู เป็นภาพ Peacable Kingdom สังคมสันติสุขต้องให้รู้ความหมายว่าอย่างไร ในภาพมีแกะ วัว อยู่กับสิงโต เด็กอยู่กับเสือ โดยไม่มีการทำร้ายกัน รักและห่วงใยกันมาก ดูในภาพ

หรืออีกภาพหนึ่ง ชื่อ ไฮดาไกว (เขียนไม่ถูก อิอิ) ผู้สร้างปฏิมากรรมชิ้นนี้คือ บิล รี๊ด เป็นปฏิมากรรมสังคมสันติสุข มีผู้โดยสาร ๑๓ คนอยู่ในเรือ มีแม่หมีหัวเป็นหมีตัวเป็นมนุษย์ มีพ่อหมี แม่หมี มีกัตส์เป็นหมาป่า มีนกอินทรี มีผู้โดยสารแกล้งนกอินทรี เจ้านกอินทรีจึงไปจิกผู้โดยสารอีกคนหนึ่ง ในเรือมีชายแก่ถูกเกณฑ์มาพายเรือโดยไม่สนใจว่าเรือจะไปที่ไหนสักแต่พาย มีอีกาชื่อซูย่าถือหางเสือ กำกับทิศทางได้แต่ไม่สามารถทำให้เรือเคลื่อนที่ได้ บางทีอีกาก็ขี้เล่น คัดหางเสือให้ไปในทิศทางที่ตัวเองต้องการ ไม่มีทิศทาง เรือก็เริ่มมีปัญหา ผู้โดยสารอยู่ตรงกลางสวมหมวก ถือไม่เท้า ความสำคัญอยู่ที่ไม้เท้าที่มีรูปสลักของทั้งสิบสามคน มีหน้าที่อย่างเดียวคืออย่าให้เรือล่ม แบบนี้รักและห่วงใยหรือไม่ไม่รู้ ดูในภาพ

๒. มิติทางจริยศาสตร์ (ควรจัดการกับความขัดแย้งอย่างไร) เช่นบางครั้งเรากับเพื่อนจะเดินทาง เราจะไปสาย ๑๗ เพื่อนบอกไปสาย ๒๕ ดีกว่า แต่พอถามเข้าจริงๆเรากับเพื่อนจะไปคนละทาง ขึ้นรถสายเดียวกันไม่ได้ ดังนั้นการแก้ปัญหาก็ต้องให้รู้จุดหมายตรงกันเสียก่อน  มี คำถามว่า เราพร้อมจะจ่ายเท่าไหร่สำหรับสันติสุข เป็นคำถามที่ใหญ่มาก เราต้องการให้สังคมสันติสุขอยู่ในลำดับไหน ที่สำคัญก็คือต้องรู้ว่าเป้าหมายคืออะไร วิธีการคืออะไร บางทีเอาวิธีนำหน้าเป้าหมาย ไปยึดติดกับวิธี บางทีก็อาจทำให้ลืมไปได้ว่าแท้จริงแล้วเราต้องการอะไร

๓.มิติทางวิญญาณวิทยา (ทำอย่างไรจึงจะเกิดสันติสุข) เราจะพัฒนาการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีอย่างไร

บางสังคมมีวัฒนธรรมไม่เหมือนกัน ที่เราบอกว่าอยากให้เขาทำอย่างไรกับเรา เราก็ต้องทำอย่างนั้นกับเขาบางทีมันใช้ไม่ได้ เหมือนฝรั่งบางทีเราไปช่วยเขา เขาหาว่าเราไปดูถูก ในขณะที่วัฒนธรรมของเราเห็นผู้สูงอายุเราอย่างช่วยเพราะนี่คือการทำความดี

เมื่อวัฒนธรรมแตกต่างกัน การกระทำก็ต้องต่างกัน

วันนี้ไม่มีโจ๊กอีกวัน มีแต่หมูบะช่อ..อิอิ…แต่ยังไม่จบนะครับ กรุณาติดตามตอนจบพรุ่งนี้ครับ

« « Prev : ๙. ทางเลือกในการจัดการความขัดแย้ง

Next : ๑๑. การสร้างสังคมสันติสุข ๒ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3365 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 5.2061088085175 sec
Sidebar: 0.049633979797363 sec