๕๙.ความขัดแย้ง อำนาจและความรุนแรง(๒)

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2008 เวลา 12:07 ในหมวดหมู่ เสริมสร้างสังคมสันติสุข #
อ่าน: 8377

สันติวิธี คืออะไร ทำไมต้องคิดเรื่องสันติวิธี

เพราะความรุนแรงทุกชนิดมีต้นทุน คนในสังคมไม่ค่อยแน่ใจในสันติวิธี ไม่อยากให้มันเกิด อีกพวกหนึ่งอยากจะเห็นมันปรากฏ อาจารย์ได้ยกตัวอย่าง NV in C20th Century

ปลดปล่อยชาวยิวที่ถูกจับในเบอร์ลิน กพ.๒๔๘๖ (การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตายไป ๖ ล้านคน ไม่ใช่ตายในสงคราม แต่ถ้ารวมคนพิการเข้าไปด้วยแล้วนับ ๑๐ ล้านคน เริ่มจากสตรีชาวเยอรมันที่มีสามีเป็นชาวยิวและถูกจับไป เธอถามหาสามี จนในที่สุดรัฐบาลต้องยอม)

ขับไล่นายผลเผด็จการในเอล ซาลวาดอร์,๒๔๘๗ วิธีที่ใช้คือนัดหยุดงานโดยสหภาพแรงงาน

ขบวนการอสิงหาของคานธีปลดปล่อยอินเดียเป็นอิสระจากจักรวรรดินิยมอังกฤษ เริ่มต้นในเซ้าท์อัฟริกา ชาวอินเดียมีชุมชนอยู่ทำการค้า แล้วจึงเข้ามาในอังกฤษภายหลัง ซึ่งเรียกว่าสัตยาเคราะห์ แปลว่า พลังของสัจจะ คานธีให้ชาวบ้านจดบันทึกเหตุการณ์ เป็นการเปลี่ยนจากเหยื่อเป็น reporter ทำให้เกิด power

อารยะขัดขืนของมาร์ติน ลูเธอร์คิง ในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี.๒๔๙๙ อเมริกาในสมัยนั้นมีการเหยียดผิว ห้องน้ำคนผิวขาวห้ามคนผิวดำใช้ แม้จะเป็นนักร้องที่เชิญมาร้องเพลงในบาร์ของคนผิวขาว ลูเธอร์คิงเขียนจดหมายจากคุกเมืองเบอร์มิงแฮม อธิบายว่าอารยะขัดขืนคืออะไร

ขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามในเอเชียและในสหรัฐปี ๒๕๐๓-๒๕๑๘ เครื่องมือที่ใช้คือการเดินขบวนเป็นหลัก

ขบวนการพลังประชาชนฟิลิปปินส์ขับไล่เผด็จการมาร์กอส ๒๕๒๙ เดินขบวนขับไล่ รวมกันหลายฝ่าย ศาสนจักรคาธอลิค,กอราซอน อาควิโน,ฯลฯ ความรุนแรงเกิดจากกองทัพสองฝ่ายโดยประชาชนอยู่ตรงกลาง มีคุณยายแก่ขวางไม่ให้กองทัพรบกัน มีบันทึกว่าทหารลงไปกอดคนแก่ว่าเหมือนกับแม่จะยิงได้อย่างไร

ขบวนการต่อต้าน Apartheid ในอัฟริกาใต้เป็นเรื่องเหยียดผิว เนลสัน แมนเดล่า เป็นผู้นำจนในที่สุดได้กลายเป็นรัฐบุรุษ และในเซ้าท์อัฟริกามีนิวเคลียร์ก็ยกเลิกโดยการต่อต้านจากอาสาสมัคร

ขบวนการ “ลุกขึ้นสู้” Intifada ในเขตปาเลสไตน์ที่ถูกอิสราเอล เป็นขบวนการลุกขึ้นสู้ของปาเลสไตล์ ทำให้อิสราเอลเกือบเป็นอัมพาต มีหมู่บ้านปาเลสไตล์ อิสราเอลส่งกำลังทหารเข้าไป ทหารหนุ่มอิสราเอลเดินไปตกอยู่ในวงล้อมของผู้หญิงปาเลสไตล์ ๕ คน ผู้หญิงหยิบปืนขึ้นมา คนแรกส่งให้คนที่ ๑,๒,๓,๔, แล้ววิ่งกลับมารอบหรือสองรอบ แล้วโยนปืนให้ทหารอิสราเอล แล้วบอกว่านี่ปืนของฉัน หยิบขึ้นมายิงฉันสิ…สันติวิธีทำงานบนฐานแห่งความไม่กลัวอีกต่อไป อัตราการที่ทหารอิสราเอลตัดสินใจไม่เข้าไปในพื้นที่จึงเพิ่มมากขึ้น

ขบวนการประชาธิปไตยฤดูใบไม้ผลิในปักกิ่ง,๒๕๓๒ ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ชายหนุ่มคนหนึ่งยืนอยู่หน้ารถถังและรถถังหยุดทั้งๆที่คนมือเปล่า แต่วันนั้นประชาชนถูกปราบ

ขบวนการ Solidarinos (Lech Walensa) และขบวนการสันติวิธีที่ยุติสงคราม

Madres de Plaza de Mayo เป็นเรื่องคุณแม่ที่ลูกหายไป ๑๕ คน ไปเดินขบวนวันพฤหัส แล้วถูกจับถูกล้อเลียนขว้างปา ใช้ผ้าเช็ดหน้าสีขาวมีชื่อตัวเอง และมีรูปลูกที่หายไป ถามว่าลูกฉันหายไปไหน จนในที่สุดเมื่อบวกกับเหตุการณ์อื่นจนทำให้นายพลสามคนต้องถูกขึ้นศาลทหาร ต่อมาขบวนการคุณยาย ที่ลูกหายแล้วแม่ไปประท้วงจนแม่หาย คุณยายจึงออกมาประท้วงแทน

ขบวนการสันติวิธีในโลกมีเยอะมาก ทำไมเรามองไม่เห็น สันติวิธีที่ประสบความสำเร็จและไม่สำเร็จ ที่อื่นสำเร็จ ที่จีนไม่สำเร็จ

บทเรียน ขบวนการใดที่อ้างว่าใช้สันติวิธีแต่เอาความรุนแรงมาผสม ก็จะทำให้เกิดอันตรายแก่กระบวนการนั้นเอง

กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของสันติวิธีทำให้กระบวนการประชาธิปไตยเข้มแข็งขึ้นตามไปด้วย

ความขัดแย้งในสังคมไทย

ทำไมกระบวนการในสังคมไทยจึงแตกแยกกันไปหมด

มีความขัดแย้ง ๓ ชุดเกิดขึ้นพร้อมกัน

๑.ความขัดแย้งกันในเรื่องเป้าหมายของสังคมการเมือง

ฝ่ายหนึ่งอยากเห็นรัฐบาลเข้มแข็ง อีกฝ่ายหนึ่งอยากเห็นรัฐบาลอ่อนแอ (สิทธิเสรีภาพของปชช.จะถูกรบกวนน้อย) รธน.๔๐ เน้นให้รัฐบาลเข้มแข็ง รธน.๕๐ เน้นให้ขบวนการตรวจสอบเข้มแข็ง

เสถียรภาพของรัฐบาล กับ อำนาจการควบคุมตรวจสอบเข้มข้น

(หนังสือของอ.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อธิบายความแตกต่างระหว่างความคิดของคนชนบทกับคนเมืองในเรื่องประชาธิปไตย ความคิดในความเป็นส.ส.ของคนเมืองกับคนชนบทตกต่างกัน)

๒.ความขัดแย้งในเรื่องวิธีการ(หนทาง)บรรลุจุดหมายทางการเมือง (อาจารย์บอกว่าวิธีการในเรื่องนี้สำคัญกว่าเป้าหมาย ความต่าง-แยก)

โดยอาศัยการเลือกตั้ง กับ โดยอาศัยการคัดสรรหรือแต่งตั้ง

อำนาจของประชาชนสามัญ กับ อำนาจอื่นๆในการคัดเลือกคนที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่งในทางการเมือง

ความเสมอภาค กับความไม่เท่าเทียมกันของประชาชน

๓.ความขัดแย้งเรื่องจินตนาการความเป็นคนพวกเดียวกันในรัฐชาติ

สีเหลือง กับ สีแดง

ความถูกต้อง กับ ความผิด

ความดีกับความเลว

แผนที่แห่งความจงรักภักดีสั่นสะเทือน ดูจากบทนินทา บทสนทนานอกวง เวบไซต์ ๑๒๐๐ เวบ ปิดไปแล้ว ๔๐๐ เวบ ที่ต้องจับตาดู ๘๐๐ เวบ หากเป็นจริงก็ยุ่ง

อธิบายชาติในฐานะชุมชนในจินตนาการ

ชาติไม่ใช่รัฐบาลกระทั่งไม่ใช่รัฐ ไม่ใช่ government และไม่ใช่ State

ชาติไม่ใช่อะไรอื่นแต่คือชุมชนในจินตนาการ

คนในชาติต้องสามารถจินตนาการข้ามแผ่นดินและกาลเวลาให้คิดถึงคนอื่นที่ไม่เคยเห็นหน้า ไม่เคนเห็นกันมาก่อน แตกต่างกันเรื่องสีผิว ชาติพันธุ์ ศาสนา วัฒนธรรม ชั้น เพศสภาพ ให้คิดรู้สึกถึงกันและกันได้ราวกับว่าเป็นพี่น้องผูกพันกันมา เห็นเขาสุขเราสุขใจ เห็นเขาทุกข์เราร้อนใจ จนกระทั่งสุข-ทุกข์เป็นอะไรบางอย่างที่แบ่งปันกันได้

ประเด็นก็คือความรุนแรงทำให้เกิดแบบนี้ไม่ได้ การแก้ปัญหาโดยใช้คนกลางไกล่เกลี่ยก็ไม่แน่ว่าจะใช้ได้หรือเปล่า แถมการใช้ความรุนแรงก็ยิ่งจะทำให้รอยแยกเพิ่มขึ้น

เปิดโอกาสให้ถาม

อ.ประสิทธิ์ อยากจะทราบว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม จะจบลงอย่างไร

ถ้าเราถูก ความขัดแย้งจะเดินหน้าต่อไป การออกจากทำเนียบก็ไม่ทำให้ความขัดแย้งหมดไป ถ้ารัฐบาลใช้ความรุนแรงกับคนที่ดูเหมือนไม่ใช้ความรุนแรง อย่ามองปัญหาง่ายเกินไป เพราะมันมีพลังบางอย่างทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การคิดแก้ปัญหาแบบเดิมย่อมไม่ได้เพราะระยะเวลาที่ผ่านมามันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว

ตอบคำตอบเบ็ดเสร็จไม่ได้ หน่วยงานใดก็ตามที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ของความเกลียดชังเพิ่ม เอาเมล็ดพันธุ์แห่งความเกลียดชังมาปลูก มตรุกข์ ต้นไม้แห่งความตาย เป็นการรับรู้ด้านหนึ่งแต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด ใครก็ตามที่ทำให้เห็นด้านไม่ดีของอีกฝ่ายหนึ่งเพียงอย่างเดียว ก็คือการกำลังปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งความเกลียดชัง

ยังมีอีก ๒-๓ คำถามครับ ที่จำได้มี ดร.อิสมาแอ, พล.ต.ท.วันชัย, ท่านชาติชาย แต่มันยาวมากแล้ว และอาจารย์ก็รีบเพราะต้องไปบรรยายต่ออีกแห่งหนึ่ง รออ่านหัวข้อต่อไปทีเดียวเลยนะครับ เพราะมีเรียนต่ออีก….

« « Prev : ๕๘.ความขัดแย้ง อำนาจและความรุนแรง

Next : ๖๐.การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1408 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 2.8793148994446 sec
Sidebar: 0.07138204574585 sec