๘. ธรรมชาติของความขัดแย้ง ๒

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 7 กรกฏาคม 2008 เวลา 8:38 ในหมวดหมู่ เสริมสร้างสังคมสันติสุข #
อ่าน: 1086

ผมจะเล่าต่อจากเมื่อวาน ในการเจรจาแก้ไขปัญหาต้องให้ความสนใจที่จุดยืน (POSITION) ซึ่งก็คือ ทางออกที่เหมาะสมของข้อพิพาทในสายตาของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และที่จุดสนใจ (INTEREST)หรือความต้องการ ซึ่งก็คือ สิ่งที่กลุ่มต้องการหรือมีความจำเป็นต้องได้จริงๆจากการเจรจา  และ ในการเจรจาต้องหาจุดสนใจให้พบและให้น้ำหนักไปที่จุดสนใจอาจารย์ยังได้ยก ตัวอย่างกรณีการคัดค้านท่อแก๊สที่สงขลา คนจะนะเขากลัวจะเกิดมลภาวะกับหอยเสียบ  และที่จะนะ เขาเลี้ยงนกเขาชวา ราคาแพงตัวเก่งๆราคาเป็นล้าน เมื่อมีควันจากอินโดนีเซีย มันมีผลกระทบมาถึงภาคใต้ นกเขาชวาที่จะนะก็ไม่ขัน   แสดงว่าจุดยืนคือเขาไม่ต้องการให้สร้าง จุดสนใจคือเขากลัวจะเกิดผลกระทบต่ออาชีพของเขาหรือพูดโดยสรุปว่าเขา ห่วงหอยและนกเขา ฮา….

กรณีคลองด่าน  ไปดูหอยแมงภู่ที่เขาเลี้ยงแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน เมื่อโรงบำบัดน้ำเสียสร้างเสร็จ แม้น้ำจะสะอาด แต่เป็นน้ำจืด หอยแมงภู่อาจจะไม่มาเกาะที่ไม้ไผ่เหมือนเดิมอีก

อาจารย์ให้ดูตัวอักษรจีน ไม่รู้อ่านว่าอย่างไร แต่แปลว่าฟังอย่างตั้งใจ พอไปดูองค์ประกอบในตัวอักษรตัวนั้นจะประกอบด้วยคำว่า หู สมอง จิตใจ แสดงว่าคนจีนเข้าใจเรื่องนี้มานาน คนเราจะเข้าใจผู้อื่นต้องรู้จักฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูดอย่างตั้งใจ ซึ่งคนพูดจะรับรู้ได้ว่าคุณพูดด้วยกับเขาหรือเปล่า เช่น ฟังไปพยักหน้าไปแล้วทำเสียง อือ ฮึ..ฮึ..อือม์…….อิอิ(อันนี้ของผม)

ภาพที่ฉายบนจอเป็นกรณีคนประจวบต่อต้านโรงไฟฟ้า “ซุกหุ้นกูไม่ว่า ซุกโรงไฟฟ้ากูไม่ยอม” ฮา…

มีคนสวมเสื้อด้านหลังเขียน “ตายสิบจักเกิดแสน -ฆ่าได้เพียงร่างกาย แต่จิตใจอุดมการณ์ เจริญนับแสนล้าน จักก่อเกิดทั่วเมืองไทอาจารย์บอกให้จำว่า”  ตอนนั้นนายเจริญ วัดอักษร แกนนำถูกฆ่า ชาวบ้านก็ยังต่อสู้เรียกร้อง

การทำอะไรก็ตามที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้อื่น ถ้าเขาหาทางออกไม่ได้มันจะเกิดปัญหา อาจารย์บอกว่า “เมื่อมนุษย์หาทางออกไม่ได้ มนุษย์จะไปหาความรุนแรง”

เราได้ศึกษาประเภทความขัดแย้งว่ามันมีอยู่ ๕ ส่วน คือ ผลประโยชน์(Interest) ข้อมูล (Data) ความสัมพันธ์ (Relationships) โครงสร้าง (Structure) ค่านิยม(Values) ส่วนที่เจรจาได้ก็คือ ๓ ส่วนแรก ส่วนที่ยากต่อการเจรจา คือสองส่วนหลัง

เรื่องความเชื่อความรู้สึก คนอิสลามไม่ทานอาหารที่มีหมู เวลาจะทานอาหารเราเห็นว่าไม่มีร้านอาหารอิสลามแถวนั้น เราบอกว่าให้เขาไปกินอาหารทีเป็นร้านธรรมดา แต่ล้างจานให้สะอาดสักสามสี่ครั้ง ก็น่าจะได้  (ลองทบทวนดูว่าเราคิดอย่างนั้นไหม?) อาจารย์บอกว่าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆถึงความรู้สึกของคนอิสลาม ก็คือเรื่องไม้จิ้มฟัน เดี๋ยวนี้มันมีแบบพลาสติก ทนด้วย ใช้แล้วล้างให้สะอาดเก็บเอามาใช้ได้อีก อันนี้อาจารย์ใช้มาแล้วสองเดือน ก่อนมานี่ล้างแล้ว ๓ ครั้งรับรองสะอาด  เดี๋ยวพักเที่ยงไปทานอาหารอาจารย์จะให้ยืมเอาไหม ทุกคนส่ายหน้า…อิอิ ทีนี้เข้าใจความรู้สึกของเพื่อนเราชาวอิสลามหรือยัง

อาจารย์สอนด้วยความเร่งรีบเพราะหัวข้อที่จะสอนมีเยอะต้องใช้เวลาเป็นวันๆ แต่วันนี้มีเวลา ๖ ชั่วโมง ก็ต้องรีบๆ เอาแต่หลักๆแต่ก็ยังเข้าใจ

กลุ่มพันธมิตรพูดถึงอารยะขัดขืน เพื่อความเข้าใจในเรื่องนี้อาจารย์จึงยกตัวอย่างการต่อสู้ต้นแบบ คือการต่อสู้ของคานธี  คาน ธีกับเรื่องเกลือ ในสมัยก่อนอังกฤษเอาอินเดียเป็นเมืองขึ้น ออกกฎหมายเอาเปรียบคนอินเดีย เกลือเป็นทรัพยากรของประเทศอินเดียแต่คนอินเดียทำเกลือไม่ได้ คานธีจึงต่อสู้ด้วยการต่อต้านกฎหมายทำเกลือ ชาวอินเดียก็ลุกขึ้นมาทำเกลือ แม้จะถูกจับถูกทำร้ายก็ไม่ต่อสู้ จนอังกฤษต้องยอมเจรจากับคานธีบนโต๊ะเจรจาในลักษณะเท่าเทียมกัน

เราพักทานอาหารกันแล้ว เริ่มเรียนกันต่อ อาจารย์ชวนเรามาเล่นเกมซ่อนตาดำ เพราะรู้ว่าเวลาทานอาหารเสร็จเลือดจะไปเลี้ยงที่กระเพาะส่วนเลือดที่จะไป เลี้ยงสมองก็จะน้อยลงและจะทำให้ง่วง  แต่มีข้อแม้ว่าถ้าพวกเราเล่นกันเยอะ อาจารย์จะลงมาเล่นด้วย……ฮา…

« « Prev : ๗. ธรรมชาติของความขัดแย้ง

Next : ๙. ทางเลือกในการจัดการความขัดแย้ง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.4028651714325 sec
Sidebar: 2.6283538341522 sec