ลดโลกร้อนด้วยนวตกรรม 3R

อ่าน: 3446

     ในกิจกรรมรวมพลังเครือข่ายลดโลกร้อนและสร้างสุขภาวะคนเมือง และการประชุมวิชาการท้องถิ่นอีสานปี ๓ ที่หน่วยงานงานต่าง ๆ นำมาจัดแสดงนั้นมีด้วยกันมากมายหลายแนวด้วยกัน แต่แนวทางหลัก ๆ ก็ยังคงเป็นเรื่องของ 3R  คือ Reduce (การลด)  Reuse (ใช้ซ้ำ) Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่)

 

     อ่านต่อ »


ลดโลกร้อนกับสุขภาวะคนเมือง

อ่าน: 2373

      เมื่อวันที่ ๒๐-๒๑ เมษายน ๒๕๕๔  สมาชิกชมรม สว.๙ ศูนย์อนามัยที่ ๕ เข้าร่วมกิจกรรม รวมพลังเครือข่ายลดโลกร้อนและสร้างสุขภาวะคนเมือง และการประชุมวิชาการท้องถิ่นอีสานปี ๓ ที่ เอ็มซีซีฮอลล์ ชั้น ๓ เดอะมอลล์ นครราชสีมา  ในงานนี้เจ้าภาพสำคัญก็คือศูนย์อนามัยที่ ๕ โดยการนำของนายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ ๕ นั่นเอง

        อ่านต่อ »


วุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๑๐) เดินหน้าพัฒนาเกษตรอินทรีย์ต้นแบบ

อ่าน: 1998

        เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ที่ผ่านมาในการประชุมวุฒิอาสาธนาคารสมอง จังหวัดนครราชสีมา ประจำเดือนแรกของปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นที่น่าดีใจที่มีสมาชิกวุฒิอาสาฯ มาร่วมประชุมกันจำนวนมาก แถมด้วยการมีสมาชิกใหม่มาร่วมด้วยช่วยกันอีกหลายท่านด้วยกัน 

 

        อ่านต่อ »


ภาพน้ำท่วมตลาดปักธงชัย

อ่าน: 2139

       วันนี้เป็น “วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองตะลิ่ง” เป็นวันลอยกระทง แต่สำหรับครอบครัวของชาวตลาด อ. ปักธงชัย เป็นวันที่ น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ ๑๐๐ ปี ได้ผ่านพ้นไปได้ หนึ่งเดือน ผมเพิ่งได้ภาพถ่าย ที่หลานชายซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ ที่บ้านพี่ชายตลอดระยะเวลาที่น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ได้ถ่ายไว้ตั้งแต่วันที่ ๑๖ ที่น้ำเริ่มท่วม จนถึงวันที่ท่วมสูงสุด คือ วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ จึงขอนำมาเก็บไว้เตือนความทรงจำไว้ที่นี่ครับ

น้ำท่วม ถนนศรีพลรัตน์ เมื่อ วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๖.๐๒ น.

 

อ่านต่อ »


ชาวปักธงชัยกับการแก้ปัญหาน้ำท่วม

อ่าน: 2943

      ได้อ่านบทความที่ทดไว้ที่นี่ http://lanpanya.com/journal/archives/9875 แล้วทำให้คิดต่อไปถึงการแก้ไขปัญหาระยะยาวของ จ. นครราชสีมา ตามที่ ท่านนายกฯ เสนอ และ ปัญหาของชาวปักธงชัยครับ
     

       คอลัมน์ “วิกฤติน้ำ” วาระเพื่อความอยู่รอด: ภาระของทุกคน(2)  จาก เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553  โดย ทีมเฉพาะกิจน้ำเพื่อชีวิต  ตอนหนึ่งกล่าวว่า

        “การมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่ให้ผล เพียงปีเดียวก็คุ้มค่าแล้วนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวางแผนแก้ปัญหาน้ำท่วมมานาน อย่างเป็นขั้นเป็นตอน นับตั้งแต่ พ.ศ. 2526 ที่น้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพมหานครเป็นเวลานาน ได้พระราชทานพระราชดำริจัดทำโครงการมากมาย เช่น คันกั้นน้ำจากดอนเมือง ไปลงออกทะเลที่สมุทรปราการกรมชลประทาน ได้มีส่วนร่วมในการสนองงานทำโรงสูบน้ำที่สำโรง พระโขนง สามเสน บึงมักกะสันบึงพระรามเก้า ทั้งยังแก้ที่สาเหตุ จากแม่น้ำป่าสักนอกจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่มีปริมาณกักเก็บน้ำ960 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ก็มีแนวพระราชดำริตัดยอดน้ำที่เหนือจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นลำน้ำที่มีปริมาณถึง 2,300 ลบ.ม. โดยมีโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหิน ห้วยป่าเลาและห้วยใหญ่ ในเขตจ.เพชรบูรณ์ ในปีนี้ ยังมีโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ น้ำก้อ ห้วยนา ลำกง,ห้วยเล็ง เพื่อดึงน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็ว
         อธิบดีกรมชลประทานย้ำว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมานานแล้วสิ่งที่กรมฯ ดำเนินการ เพียงแค่บริหารระบบเท่านั้น
ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ นอกจากการระบายน้ำตามหลักการที่ควรจะเป็นควบคู่กับการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แล้ว รัฐบาลได้เริ่มดำเนินการแก้ปัญหาระยะสั้น ซึ่งยึดแนวทางพระราชดำริแก้มลิง เป็นสำคัญ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ วันที่ 7 พ.ย. 53 ว่า ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯถวายรายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะเข้าถวายรายงานเป็นปกติประมาณเดือนละ 1 ครั้ง และขออัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใยพี่น้องประชาชน ได้ทรงกำชับให้รัฐบาลได้เร่งดูแลช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้ทั่วถึง และที่สำคัญ พระองค์ท่านได้รับสั่งถึงการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ให้มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน
          นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในการแก้ปัญหาระยะยาว ที่ จ.นครราชสีมา ได้พิจารณาดำเนินโครงการเพิ่มเติมในการกักเก็บน้ำ ด้วยแก้มลิง การมีช่องทางการระบายน้ำเพิ่มเติม รวมถึงการปรับปรุงปัญหาผังเมืองและสิ่งก่อสร้าง โดยจะตั้งคณะกรรมการร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนพิจารณาร่วมกัน และรายงานข่าวจาก จ.นครราชสีมาว่า โครงการแก้มลิงที่จะก่อสร้างแน่นอนแล้ว 4 แห่ง ประกอบด้วย ฝั่งทิศตะวันตกของเมือง ใช้กักเก็บน้ำได้ประมาณ 10 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดหาสถานที่ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 2 โครงการ โครงการแรกก่อสร้างเสร็จแล้ว ในพื้นที่ที่ค่ายสุรนารี อ.เมืองนครราชสีมา โครงการที่ 2 ใช้พื้นที่บ่อยิงดิน ภายในค่ายสุรนารี อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเสร็จภายในปี 2554 และด้านทิศใต้ จะใช้พื้นที่กองบิน 1 นครราชสีมา เริ่มลงมือได้ต้นปี 2554 หากทุกโครงการแล้วเสร็จจะรองรับน้ำได้จากทุกสารทิศที่จะเข้าสู่เขตเทศบาลนครราชสีมา ไม่น้อยกว่า 25 ล้าน ลบ.ม. โดยมีระบบผันน้ำจากแก้มลิงลงสู่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำพระเพลิง และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำมูลบนซึ่งจะทำให้การระบายน้ำจากตัวเมืองมีความรวดเร็วขึ้น”
         จากนโยบายการแก้ปัญหาระยะยาว เรื่องน้ำท่วมที่ จ. นครราชสีมา โดยโครงการแก้มลิงข้างต้นซึ่งจะเน้นที่การป้องกันน้ำเข้าท่วมในเขตเทศบาลนครราชสีมาเป็นหลัก ชาวชุมชนที่อยู่นอกเขตเทศบาล และ อำเภอข้างเคียงโดยเฉพาะชาวอำเภอปักธงชัย จึงต้องให้ความสนใจในเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปตามที่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงกำชับ “ให้รัฐบาลได้เร่งดูแลช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้ทั่วถึง และที่สำคัญ พระองค์ท่านได้รับสั่งถึงการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ให้มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน”  ไม่ใช่แก้ปัญหาได้เฉพาะในเขตเทศบาลนครราชสีมา แต่นอกเขตเทศบาลและอำเภอรอบ ๆ ต้องเดือดร้อนเพิ่มขึ้น อย่างเช่นที่ชุมชนรอบ ๆ กรุงเทพฯ ต้องประสบอยู่ในเวลานี้


อาม่าเล่าเรื่อง (๑๑) ตู้ทรหดหลังน้ำท่วมบ้านอาม่าที่ปักธงชัย

อ่าน: 3342

        หลังจากการเดินทางไปเยี่ยมอาม่าที่บ้านทีปักธงชัยในเช้าวันที่ ๑๖ ตุลาคม กลับมาแล้ว ในวันรุ่งขึ้น (๑๗ ตุลาคม) ก็ได้ทราบว่าระดับน้ำท่วมสูงขึ้นอีกประมาณ ๑ เมตร  บริเวณถนนหน้าบ้านมีระดับน้ำสูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร การเดินทางเข้าไปที่บ้านอาม่าต้องอาศัยเรือยางของทหารเท่านั้น  ติดตามข่าวจากทีวีและสอบถามข่าวอาม่าผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง  ลูก ๆ หลาน ๆ พยายามโน้มน้าวให้อาม่าเดินทางออกจากบ้านที่ถูกน้ำท่วมสูง มาพักอยู่ที่บ้านวรารักษ์ที่โคราช  แต่อาม่าก็ยังคงยืนยันว่าจะอาศัยอยู่ที่ชั้นสองของบ้านสองคนกับอาโก  แม้ว่าน้ำประปาไม่มี แต่ไฟฟ้ายังคงใช้การได้ (แม้ว่าบ้านติดกันไฟฟ้าถูกตัดไปแล้ว) จนกระทั่งเช้าวันที่ ๑๙ ที่มีข่าวว่าน้ำอาจจะท่วมสูงเพิ่มขึ้นอีกระลอก อาโกจึงตัดสินใจว่าจะนำอาม่าออกจากบ้าน กระบวนการนำอาม่าและอาโกออกจากบ้านจึงเริ่มขึ้น และจากการช่วยกันหลาย ๆ ฝ่าย การช่วยเหลือเพื่อนำอาม่าและอาโกออกจากบ้านจึงสำเร็จได้ด้วยดีในบ่ายวันนั้นเอง  (อ่านรายละเอียดได้จากบันทึกของ อ. หลินฮุ่ย)

 

      ดีใจสุด ๆ ที่อาม่า พร้อมพี่ใหญ่และครอบครัว เดินทางออกมาจากบ้านที่ปักธงชัย ที่ถูกน้ำท่วม ไม่มีน้ำไม่มีไฟฟ้าใช้มา ๓ วัน สามารถเดินทางมาถึงที่บ้านโคราชโดยสวัสดิภาพ และได้รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน ด้วยบริการของอาม่าหลินฮุ่ย อ่านต่อ »


น้ำท่วมปักธงชัยปีนี้มากจริง ๆ

อ่าน: 4076

  ขณะนี้ น้ำท่วม ในบริเวณตลาดเก่า ต.เมืองปัก อ. ปักธงชัย มากจริง ๆ  ท่วมสูงที่สุดตั้งแต่จำความได้ครับ  ที่บ้านพี่ชาย ไม่เคยท่วมเลยหลังจากก่อสร้างบ้าน (ตึก) ใหม่ แต่ปีนี้ก็ท่วมถึง คือน้ำเข้าบ้าน สูงประมาณ ครึ่งเมตร (บ้านในภาพข้างล่างนี้ ที่อยู่ซ้ายมือ ถ่ายตอนเมื่อวันที่ ๑๖ ที่น้ำเริ่มท่วมถนน) นั่นแปลว่า ตอนนี้ที่ถนน ระดับน้ำ มากกว่า ๑ เมตรแล้ว ครับ

 

(ภาพจาก ข่าวเดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=561&contentID=98364 )

 


เรียนรู้เกษตรประณีต ๑ ไร่ จากผู้ปฏิบัติจริง

อ่าน: 4051

      หลังจากการเสวนากับปราชญ์เดินดินทั้งหลายในช่วงเช้าแล้ว ช่วงบ่ายเราก็ได้โอกาสเรียนรู้จากตัวอย่างจริงของเกษตรประณีต ๑ ไร่ จากเจ้าของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตัวจริงเสียงจริงคือ พ่อจันทร์ที ประทุมภา และ ลูกชาย เป็นผู้พาชมเอง พร้อมการอธิบายและตอบข้อซักถามอย่างเต็มที่  เนื่องจากคณะของเราที่ไปครั้งนี้มีจำนวนไม่มาก จึงเป็นโอกาสทองของเราที่ได้เรียนรู้อย่างละเอียด ต้องขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งไว้ ณ. ที่นี้อีกครั้งครับ

       อ่านต่อ »


บ้านชานเมือง (31) ฝนมาแต่น้ำคงไม่ท่วมแล้ว

อ่าน: 2046

       สถานะการณ์ภัยแล้งผ่านไป ฝนเริ่มมาและมากขึ้นเรื่อย ๆ  สถานะการณ์เปลี่ยนจากภัยแล้งเป็นภัยจากน้ำท่วมเริ่มปรากฏมาแทนที่  เช่นเดียวกับที่บ้านชานเมือง  ฝนที่แล้วได้รายงานสถานะการณ์ ถนนหน้าบ้านจะกลายเป็นคลองเมื่อยามฝนตกหนักติดต่อกันนาน ๆ ดังภาพ

  อ่านต่อ »


บ้านชานเมือง (30) วันอนุรักษ์มรดกไทย

อ่าน: 3241

     วันนี้เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย และเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ขอนำเรื่องราวของ ดอกไม้สีน้ำเงินม่วง ที่มีประโยชน์และมีคุณค่ายิ่งมาให้ได้รู้จักกันครับ นั่นคือ ดอกอัญชัน ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาคัดเลือกจนมีหลายสี หลายแบบด้วยกัน  ที่บ้านมี สองสี สองแบบดังภาพครับ

 

      อ่านต่อ »



Main: 0.90883898735046 sec
Sidebar: 0.38353395462036 sec