เหตุผลที่ไม่ให้เผาฟางข้าว

อ่าน: 88650

ทำไมชาวนาถึงถูก ต่อว่าเและถูกห้ามไม่ให้เผาฟางข้าวทั้งในนา และนอกนา

หลายครั้งหลายหนที่ชาวนาได้ยินได้ฟัง แต่ไม่ทำตามนั้นต้องเข้าใจและเห็นใจเขานะคะ เพราะสังคมทุนนิยมเข้ามาแบบไม่ทันตั้งตัว ชาวนาทิ้งไร่นาไปสู่แรงงานภาคอุตสากรรม ทำคนให้เป็นเครื่องจักร จึงทำให้ขาดแรงงานภาคเกษตรกรรมรุนแรงขึ้นทุกวัน ทำอะไรที่ต้องพึ่งการซื้อแรงงานจากคน จะพบเห็นการพึ่งพาแรงแบบลงแขกที่เป็นวัฒนธรรมวิถีชีวิตที่มีคุณค่ายิ่งหายไปจากไร่นา เพราะถูกวิถีชีวิตเร่งรีบครอบงำด้วยวัตถุนิยม จนลืมความงดงามของสังคมชนบทที่พึ่งอาศัยแบ่งปันกัน มาเป็นสังคมชาวนาที่ต้องจ่ายค่าจ้างเป็นค่าแรงงานเพิ่มขึ้น นับวันแรงงานยิ่งหายากมากขึ้น จนชาวนาท้อ เพราะถึงแม้มีแรงแต่ขาดทักษะการทำนา จ้างค่าแรงงาน จบแล้วจบเลยไม่มีความพูกพันแบบดั้งเดิม เงินมิอาจซื้อความงดงามของวัฒนธรรมความมีน้ำใจได้ค่ะ  ความจำเป็นที่จะลดค่าแรงงานในการไถกลบหมักฟางในนา กว่าฟางเปื่อยก็ใช้เวลาไม่ทันใจ จึงอาศัยการเผาฟาง อาศัยยาฆ่าหญ้า อาศัยสารเคมีกำจัดแมลงแลพศัตรูพืช ทั้งที่รู้ถึงอันตรายจากสารเคมี แต่จะอ้างว่าไม่มีทางเลือก อาม่าจึงพยายามไปเสาะทางเลือกมาให้ค่ะ บันทึกนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาให้พิจารณาค่ะ ในการตอบโจทย์ว่าทำำไมไม่ให้เผาฟาง

ทำนาปลูกข้าวแบบไม่ต้องฉีดพ่นฮอร์โมนทางใบ ประหยัดค่าแรง ลดต้นทุน
ในฟางข้าวที่ให้ผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกหนึ่งร้อยถังหรือหนึ่งตัน

ในฟางข้าวที่ให้ผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกหนึ่งร้อยถังหรือหนึ่งตัน
จะมีไจนโตรเจน 7.6 กก., ฟอสฟอรัส 1.1 กก., โพแทสเซียม 28.4 กก., แมกนีเซียม 2.3
กก., แคลเซียม 3.8 กก. กำมะถัน 0.34 กก. เหล็ก 150 กรัม. สังกะสี 20 กรัม ทองแดง 2
กรัม โบรอน 16 กรัม. ซิลิก้า 41.9 กิโลกรัม คลอรีน 55 กิโลกรัม (สถาบันข้าวนานาชาติ
IRRI, Manila, Philippines (1987)) จากตัวเลขดังกล่าว
สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของฟาง
ถ้าไม่เผาฟางก็สามารถประหยัดปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนอาหารเสริมได้มาก

ต้นข้าวต้องการปุ๋ยธาตุอาหารหลักเพื่อให้ได้เมล็ดข้าวเปลือก
100 ถังหรือหนึ่งตันโดยต้องการ ไนโตรเจน 22.2 กก. มีอยู่ในฟางแล้ว 7.6 กก.
ต้องการเพิ่มอีก 14.6 กก. ฟอสฟอรัส 7.1 ก.ก. มีอยู่ในฟางแล้ว 1.1 ต้องการเพิ่มอีก
6.0 กก. โพแทสเซียม 31.6 กก. มีอยู่ในฟางแล้ว
28.4 ต้องการเพิ่มอีก 3.2 กก.
จะสังเกตุเห็นได้ว่าในส่วนที่ขาดหายไปนั้นก็คือออกไปในรูปของแกลบหรือเปลือกข้าว
จึงควรต้องเพิ่มเข้ามาให้เกิดความสมดุลกัน ธาตุอาหารหลักทั้งสามตัวถ้าสังเกตให้ดี
ไนโตรเจน 7.6 กิโลกรัมจากฟางข้าว เทียบเท่าได้กับ ปุ๋ยเคมี 16-20-0 หนึ่งกระสอบ
คือมีไนโตรเจนตัวหน้าร้อยละ 16 ปุ๋ยหนัก
50 กิโลกรัมต่อกระสอบ ก็เท่ากับมีไนโตรเจนอยู่ 8 กิโลกรัม ในฟางข้าวขาดเพียง 0.4
กิโลกรัมเท่านั้นเอง ส่วนโพแทสเซียมในฟางข้าวมีอยู่ 28.4 กิโลกรัม
เทียบเท่าได้กับปุ๋ย 0-0-60 หนึ่งกระสอบ เทียบเปอร์เซ็นต์เหมือนกับปุ๋ยไนโตรเจนในข้างต้น

ถ้าเกษตรกรกระทำการเผาตอซังฟางข้าว
ก็เท่ากับว่าได้เผาปุ๋ยทิ้งไป 2 กระสอบ เป็นเงินก็เกือบ 2,000 บาทสูญเสียรายได้หรือกำไรไปแล้วโดยที่ยังไม่ได้ลงมือปลูก
แต่ถ้าเราไม่เผาฟางเท่ากับเราได้สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยเพิ่มปุ๋ยให้กับดินไปอีก
2 กระสอบ แถมยังได้ธาตุอาหารเสริมจุลธาตุต่างๆ
ช่วยให้ข้าวเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรง โดยอาจจะเติมปุ๋ยลงไปบ้างเพียงเล็กน้อยตามปริมาณที่ต้นข้าวต้องการจากผลการวิจัย
IRRI ด้านบน

อีกทางเลือกหนึ่งเราสามารถใช้กลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟที่ชื่อว่า
“ซีโอ-พูมิชซัลเฟอร์” ซึ่งมีแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ มากมาย ทั้งฟอสฟอรัส,
แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, เหล็ก, ทองแดง แมงกานีส , สังกะสี, โบรอน,
มิลิบดินัม ฯลฯ และที่สำคัญคือแร่ซิลิก้าหรือซิลิสิค แอซิด (H4Sio4) ที่ช่วยให้ข้าวใบตั้งชูสู้แสง
ไม่ล้มง่ายปลอดภัยในช่วงเก็บเกี่ยวที่มีพายุฟ้าฝนลมแรง ช่วยเพิ่มน้ำหนัก
เมล็ดแกร่ง โดยทำการหว่านเตรียมดินตอนทำเทือกเพียง 1 – 2 กระสอบต่อไร่
จะช่วยลดทดแทนการฉีดพ่นปุ๋ยยาฮอร์โมนและธาตุอาหารเสริมทางใบ ช่วยลดต้นทุนไม่ต้องสิ้นเปลืองเรื่องแรงงานในการฉีดพ่น
อันนี้ก็ฝากพี่น้องเกษตรกรให้ช่วยเลือกพิจารณากันสักนิดนะครับ หากเลือกพรรค เลือก
ส.ส. ยังตัดสินใจไม่ได้ ก็ลองเลือกใช้
“ซีโอ-พูมิซซัลเฟอร์” กันดูก่อนนะครับ

มนตรี
บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com


มิติใหม่ของการทำนาดำ

อ่าน: 3870

ชาวนารุ่นใหม่จากท้องไร่ท้องนา เป็นคลื่นลูกใหม่ ชาวนาผสมผสานเทคโนโลยี ถูกอาม่าขอให้น้องต้นกล้าพามาขึ้นเวทีเสวนาในงานเกษตรแห่งชาติ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ ที่ อาคารสุรพัฒน์ ๑ เทคโนธานี มทส.ในภาคเช้า เป็นการเปิดตัวการทำนาในมิติใหม่ ใส่ใจในรายละเอียด  ถ้าจะทำนาต้องรู้จักธรรมชาติข้าว เข้าใจวัฏจักรวงจรชีวิตของข้าว ในแต่ละช่วงเวลาของการเจริญเติบโตของข้าว นำมาปรับใช้ในการวางแผนการปลูกข้าวแบบนาดำ ที่ประณีตทุกขั้นตอน ตั้งแต่เตรียมดิน เตรียมน้ำ พันธุ์ข้าว เพาะกล้าด้วยวิธีทำแผ่นกล้า ใช้สำหรับปักดำกับเครื่อง ในกรณีย์ทำนาขนาดใหญ่ การปักดำด้วยมือในนาขนาดเล็ก การป้องกันหอยเชอรี่ก่อนปักดำ การดูแลนาหลังปักดำ ด้วยการให้เป็ดลงไปกินหอยกินแมลงแมลงในแปลงนา การสร้างความแข็งแรงให้ต้นข้าว ทำให้รากแตกดีหาอาหารกินเก่ง ด้วยเทคนิคแกล้งข้าวเปียกสลับแห้ง (AWD 5/15 ภาพจากบันทึกน้องต้นกล้า)

ใช้แหนแดงคลุมนาป้องกันหญ้าและวัชพืชขึ้นในแปลงนา เพิ่มออกซิเจนให้แปลงนา และดึงไนโตรเจนจากอากาศมาให้ต้นข้าว

และใช้โรตารี่วีดเดอร์กำจัดหญ้าและวัชพืชได้สะดวกในแปลงนา ไม่ปวดหลังเป็นการออกกำลังกายในขณะทำงาน

สาพัดเทคนิคที่ทำได้ด้วยตัวเอง ทั้งคนและข้าวแข็งแรง มีแต่ได้กับได้ ได้ผลทั้งคนและข้าว

คนแข็งแรงไม่ต้องเสี่ยงชีวิตกับสารพิษ ท้องนาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คืนห่วงโซ่อาหารกลับมาสู่ไร่นา

จะเห็นแมลงปอปีกสีทองบินมาหาอาหารในแปลงนา หลังปักดำไม่นาน

แม้จะเหนื่อยแต่พักแล้วก็จะหาย ทุกคนทำได้แน่นอน ข่าวนาข้าวอินทรีย์ ลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี ที่น้องต้นกล้าแนะนำวิธีทำนาดำแบบใหม่ เผยแพร่ในเฟสบุ๊ค รู้ไปถึงแฟนคลับฉันจะเป็นชาวนาของน้องอุ้ม จึงนัดหมายกันตามไปดูทันที ได้ความรู้มาเต็มๆ ได้สัมผัสลุงวีและลูกชาย ผู้ใจดี ขอขอบพระคุณชาวนาผู้เอื้ออารีทั้งสอง แทนแฟนคลับฉันจะเป็นชาวนา และทีมงานจของอาม่าค่ะ

ขอขอบคุณน้องต้นกล้าที่ ส่งแฟ้มภาพมาให้อาม่าค่ะ


นวัตกรรมลงแขกดำนาร่วมสมัย

อ่าน: 3089

อาม่าได้รับคำเชิญให้ช่วยร่วมจัดกิจกรรมกรรมในงาน
“Go green Go organic รวมพลคนหัวใจอินทรีย์>>>รักษ์เร​า… รักษ์โลก…” จัดโดย คลินิกเทคโนโลยี มทส.
ระหว่างวันที่ ๓๑ กค.-๖ สค. ๒๕๕๔ ที่อาคารสุรพัฒน์ ๑ เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

พอปรึกษาเครือข่ายของอาม่า ได้รับคำตอบว่าเต็มใจร่วมด้วยช่วยกัน ในกิจกรรมนี้เพราะมันคือหัวใจการทำงานของเครือข่ายของเราค่ะ อาม่าก็เป็นปลื้มซิค่ะ เราจะจัดเวทีเสวนาเป็นทีมใหญ่ค่ะ ล้วนเป็นคนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว ๑๐ หนุ่ม ๑๐ มุม มาให้ได้ฮากันจนเมื่อยขากรรไกเชียวหละ อะอย่าคิดเชียวนะว่าเป็ตลกคาเฟ่ เป็นตลกวิชาความรู้ที่มันแซกซึมเข้าไปในตัวผู้ฟังผ่านหู อย่างไม่รู้ตัวนะ อะแห้มๆ.. มีอาม่าเป็นดวงจันทร์ (ดวงเก่าแก่)ท่ามกลางดาวรุ่งพุ่งแรงถึง ๑๐ ดวง คอยทำหน้าที่เป็นกรรมการ เอ้ยไม่ใช่เป็นผู้ดำเนินรายการ ในเวทีนี้มีดาวดวงหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นดาวดวงเด่น เปร่งรัศมีเจิดจ้านามว่า ต้นกล้า ชาวนาวันหยุด จะเป็นทั้งนักวิชาการ และพี่เลี้ยง เป็นผู้ให้ความรู้ ที่สนุกสนาน สะท้านวงการทำนาดำ พาหนุ่มๆ ที่หลงไหลเทคนิคผสมผสาน ที่รักการทำนาดำ….ทั้งๆ ที่มีอาชีพทำอยู่แล้ว บางคนก็เป็นวิศกรโทรคมนาคม บางคนเป็นลูกชาวนา โอ้ยเพลอบอกไปก่อนได้ไง…อิอิ แค่น้ำจิ้ม รับรองเกษตรหนุ่มของเราไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนซิบอกให้  พูดมาตั้งนาน ลืมบอกไปว่าเราจั่วหัวเรื่องเสวนากันในเวที่แห่งนี้ว่า “นวัตกรรมลงแขกนาดำร่วมสมัย” เป็นไงไม่เคยได้ยินละซิ จะได้ยินอย่างไร เพราะ อาม่าเพิ่งบอก….ฮาๆๆๆๆ  อย่าลืมพบกันวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ อุ้ม กับลุงจันทร์ที รึจะสู้ พรรณี กับต้นกล้าทีจะพากันฮาจนลืมอายุไปเลย…อิอิรวมพลคนหัวใจอินทรีย์


ความมั่นคงทางอาหาร36(เพาะกล้า)

อ่าน: 32283

การทำนาดำ ด้วยเครื่องดำนา สิ่งแรกที่ต้องเตรียมก่อนคือ การเพาะกล้าในกะบะเพาะกล้า เพื่อใช้กับเครื่องปักดำ

โดยคัดเลือกพันธุ์ข้าวเป็นอันดับแรก หากจะกินเองเพื่อสุขภาพ อาม่าแนะพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของภาคอิสาน ข้าวหอมมะลิแดงค่ะ…. แต่ถ้าปลูกเพื่อขายก็เป็นข้าวหอมมะลิ ๑๐๕ ค่ะ เมื่อได้เมล็ดพันธุ์ ก้ต้องล้างทำความสะอาด จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ข้าวใส่ถุงตาข่ายไนล่อนแช่ในสารสมุนไพรป้องกันเชื้อราหนึ่งคืน แล้วผึ่งให้แห้งหนึ่งคืน จากนั้นก็พร้อมที่จะใช้โรยในกะบะเพาะ

เตรียมกะบะเพาะ และแกลบเผ่าป่นให้พร้อม

ทำการเอาแกลบใส่ในกะบะเพาะเมล็ด ปาดให้สม่ำเสมอ

เรียงกะบะบนโต๊ะรางวางกะบะ รดน้ำให้ชุ่มทั่วถึงทุกถาด

ขั้นตอนต่อไป เทเมล็ดพันธุ์ใส่ในเครื่องโรยเมล็ด(ถังสีฟ้า )แล้วนำถังเครื่องโรยเมล็ดมาวางให้ล้ออยู่ในบราง เพื่อเลื่อนไปตามรางไปมาสำหรับการโรยเมล็ดข้าวลงในกะบะเพาะ

ทำการโรยเมล็ดสองรอบ คือเลื่อนที่โรยเมล็ดไปข้างหน้ารอบหนึ่งถอยกลับอีกรอบ

ขั้นตอนต่อไปโรยแกลบปิดทับอีกครั้งให้สม่ำเสมอไม่ให้เห็นเมล็ดข้าว

เมื่อทำเสร็แล้ว ให้เอากะบะเพาะที่โรยเมล็ดพันธุ์ข้าวเสร็จแล้ว มาวางเรียงซ้อนกันเป็นการบ่มสองสามวัน

ไว้ในที่ร่ม จนกว่าจะเห็นการงอกเกิดขึ้น ให้นำกะบะเพาะมาเรียงไว้ ให้ได้รับแดดทั่วถึงกันเพื่อใบจะได้สังเคราะห์แสง หากแดดจัดให้ใช้แสลนคลุม รดน้ำให้ทั่วถึง กล้าข้าวจะแตกใบงอกงามเอง ไม่ต้องให้ปุ๋ย ครบสิบห้าวันสามารถนำออกจากกะบะเพื่อขนย้ายไปปักดำได้แล้ว หากต้นกล้าสูงเกินหนึ่งฟุตให้ตัด ให้ได้ความสูงหนึ่งฟุต กล้าข้าวสามารถใช้ปักดำได้จนอายุถึงหนึ่งเดือน

กล้าที่ใช้ปักดำในวันนี้ อายุสิบห้าวัน ขนมาวางไว้ใกล้ๆแปลงนา สะดวกต่อการ ขนใส่รถปักดำ

จากนั้นก็เริ่มปักดำจนเต็มนา สำหรับกล้าที่เหลือเก็บไว้ส่วนหนึ่สำหรับการซ่อม


ความมั่นคงทางอาหาร35(แปลงนาสาธิต)

117 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ กรกฏาคม 9, 2011 เวลา 22:08 ในหมวดหมู่ ความมั่นคงทางอาหาร, เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 4315

๙ กค. ๒๕๕๔ อาม่าในฐานะวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ.นครราชสีมา น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ สร้างความมั่นทางอาหารให้กับ เกษตรกรบ้านใหม่อุดม อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา ใช้หลักให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยให้ความรัก ให้ความรู้ ให้ความเข้าใจ อาม่าจัดหาผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้ฝึกอบรมให้ ตลอดปีที่ผ่านมา จนมาถึงวันนี้ สามารถทำแปลงนาสาธิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทุกขั้นตอนมีการเตรียมการอย่างรอบคอบตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ อาม่าได้รับความช่วยเหลือจากน้องต้นกล้า และทีมงานของสยามคูโบต้า มีน้องพงษ์ กับน้องรัตน์ ผู้รับผิดชอบงานสาธิต ๘ จังหวัดในภาตอิสาน มาช่วยทำแปลงนาดำด้วยเครื่อง จัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ๑๐๕ ทำการเพาะเมล็ดพันธุ์ในกะบะเพาะ เพื่อทำแผ่นกล้าที่ม้วนขนย้ายได้สะดวกเพื่อใช้กับเครื่องปักดำ โดยกล้าไม่ช้ำ

น้องรัตน์จะอธิบาย และสาธิตการเพาะกล้าในกะบะทุกขั้นตอนอย่างละเอียด จากนั้นก็นำเครื่องปักดำลงแปลงนาเพื่อทำการปักดำให้เกษตรกรดู

ทีมงานของอาม่ากำลังช่วยน้องรัตน์ เอาเครื่องปักดำลงแปลง ใช้วิธีถอยหลังลงค่ะ

ระดับน้ำในแปลงสูงเกินไปต้องระบายออกให้พอดีในการปักดำ ถ้าน้ำมากเกินไปต้นข้าวบางส่วนจะหลุดลอยได้ค่ะ ต้องช่วยปักดำแซม ถ้าเราเตรีมดินให้น้ำแค่ปิ่มๆ หน้าดินก็พอแล้วค่ะ เครื่องปักดำจะทำงานได้สะดวกค่ะ

อ.สงครามอยากลองปักดำดูบ้าง เลยขอเปลี่ยนไม้จากผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

น้องพงษ์เป็นไม้สุดท้ายเก็บรายละเอียดจนเต็มแปลงนา

สร้างความสุขให้เจ้าของนามากค่ะ และรับปากว่าพรุ่งนี้ จะพ่นสมุนไพรป้องกันหอยเชอรี ตามขั้นตอนป้องกันและกำจัดหอยเชอรี และปูนาที่พบอยู่ในแปลงนาค่ะ ถ้าเป็นไปได้ต้องดักไข่หอยเชอรีก่อนปล่อยน้ำเข้าแปลงนาค่ะ หลังจากนี้ หนึ่งอาทิตย์ให้ฉีดสมุนไพรบำรุงรากข้าวให้แข็งแรงจะได้หาอาหารกินทางรากได้เองค่ะ ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดจากสมุนไพร ทีมงานอาม่าจัดให้ทั้งหมดตลอดฤดูกาลนี้ค่ะ



Main: 0.04572606086731 sec
Sidebar: 0.046350955963135 sec