๓๘.ลงพื้นที่จริง๒

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 20 สิงหาคม 2008 เวลา 7:56 ในหมวดหมู่ เสริมสร้างสังคมสันติสุข #
อ่าน: 1728

          เราออกเดินทางกันต่อ คุณสุทธิ อัชฌาศัย ก็ได้บรรยายให้พวกเราฟังว่าได้ประสานงานกับมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อให้ตั้งสถานีตรวจวัดน้ำฝนเพื่อตรวจสอบว่าเมื่อเวลาฝนตกมีภาวะฝนกรดหรือไม่เพราะแถวนี้มีโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งจะมีการปล่อยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้วินิจฉัยที่ตรงไปตรงมา แต่ยังมีปัญหาเรื่องกลิ่น ยิ่งถ้าฝนใกล้ตกกลิ่นจะรุนแรงมาก โรคที่เห็นผลชัดคือภูมิแพ้ ปัจจัยที่มีการระบายความร้อนขึ้นสู่อากาศทำให้ฝนตกน้อยลง และชาวบ้านยังใหม่อยู่กับการเรียกร้อง ชาวบ้านจึงไม่มีข้อมูลอย่างเป็นระบบ

          คุณสุทธิ ชี้ให้เราดูบ่อน้ำของ IRPC ซึ่งขุดลึกมาก ทำให้น้ำผิวดินซึ่งอยู่ตื้นกว่าไหลลงบ่อน้ำนี้ทำให้บ่อน้ำของชาวบ้านแห้ง เราให้นักธรณ๊วิทยามาช่วยสำรวจ แต่ทุกเรื่องที่ส่งไปผลยังไม่ออกสักเรื่อง อิอิ เราสงสัยว่าเพราะอะไร คุณสุทธิเฉลยว่าเคยมีอาจารย์เรณู จากคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร เคยมาสำรวจสารปนเปื้อนมลพิษในหอย พอเปิดเผยข้อมูลก็ถูกกลุ่มประมงเรือเล็กโจมตี เพราะทำให้เขาขายของไม่ได้ ทั้งๆที่ความจริงแล้วอาจารย์ต้องการให้ชาวประมงเรือเล็กไปเรียกร้องค่าชดเชยการสูญเสียอาชีพ เพราะหอยมันไม่ว่ายน้ำ ในอยู่กับที่ ดังนั้นมันจึงเป็นตัวบ่งบอกว่ามีสารพิษในน้ำหรือไม่

          คุณสุทธิพาพวกเราไปที่หมู่ที่ ๔ ซึ่งอยู่ติดกับโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม ที่สองอาทิตย์ก่อนมีแก๊สรั่วไหลซึ่งไม่รู้ว่าเป็นของบริษัท คาร์โปแลคตั้ม หรือ IRPC ตอนที่เกิดเหตุได้ประสานงานไปยังอุตสาหกรรมจังหวัดและสิ่งแวดล้อมจังหวัด แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่มาแต่เจ้าหน้าที่ไม่มีเครื่องมือมาด้วยตรวจสอบอะไรไม่ได้ เหอๆ….(ซึ่งต่อมาในภายหลังเราไปถามอุตสาหกรรมจังหวัดถึงเรื่องการบูรณาการ ท่านก็บอกว่าพวกข้าราชการทำงานกันแบบบูรณาการ อิอิ) คุณสุทธิบอกว่าได้เด็ดใบไม้ส่งไปให้ทางอาจารย์เรณู ช่วยตรวจให้ก็ไม่พบสารพิษเนื่องจากมันผ่านมาแว๊บเดียวแล้วหายไป แต่ใบไม้แถวนั้นเหี่ยวเฉาเป็นแถบๆ เมื่อตรวจสารไม่ได้ก็เลยไม่รู้ว่ามาจากโรงงานไหน วิธีที่ดีที่สุดคือต้องติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดที่ชุมชน

          เราถามถึง Mobile ตรวจวัด คุณสุทธิบอกว่าไม่มี มีแต่ติดตั้งประจำที่ จึงทำให้การแก้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขทันที
และแล้วเราก็เดินทางไปถึงหมู่ที่ ๔ แยกย้ายกันไปฟังชาวบ้านเขาเล่าให้ฟัง ชาวบ้านปักใจเชื่อว่ามาจาก IRPC และบอกว่ากลิ่นที่มามันมาตั้งแต่เช้าครึ่งวันตั้งแต่บ่ายโมงถึง ๔ โมง วันนั้นเป็นวันอาสาฬหบูชา แม้จะผ่านมาเป็นอาทิตย์แล้วยังคอแห้งอยู่เลย วันนั้นลูกค้าจะซื้อใบกะเพรา พอจะไปตัดกะเพราเห็นใบกะเพราแห้งเหี่ยวหมดแล้ว วันที่พวกเราไปถึงใบกะเพรามันแตกใหม่แล้ว แต่ต้นยูคาลิปตัสยังมีร่องรอยอยู่ ต่อมาวันที่ ๑๘ ที่ผ่านมามีกลิ่นเหม็น บริษัท คาร์โปฯ ยอมรับว่าเป็นของเขา กับบริษัท IRPC เวลาเราไปคุยกับเขา เขาก็มาดูแล้วก็ไป แล้วก็ไม่รู้ผลว่าเป็นยังไง รับผิดชอบยังไง เหมือนสีซอ..อิอิ แต่บริษัท คาร์โปฯบอกให้เราพาหลานไปเช็คร่างกาย คาร์โปก็จ่ายให้หมดไปเจ็ดพันกว่า ต่อมาคนเล็กที่คอเป็นหนอง หมดค่ารักษาไป ๔๐,๐๐๐ กว่า ไปเรียกร้องที่ IRPC เขาก็โยนให้ไปเรียกเอาจากคาร์โปฯ แต่พอเราบอกว่าคาร์โปรับผิดชอบไปแล้ว เขาก็เลยบอกว่าจะไปเคลียร์ให้แล้วก็เฉย

          เมื่อเราถามว่าบ้านอื่นเด็กๆมีอาการแบบนี้หรือไม่ ป้าคนขายของตอบว่าบางคนเขาก็พาเด็กๆให้ห่างกลิ่น แต่ป้าไปได้ไงขายของอยู่ จะพาไปไหน รถก็ขับไม่เป็น หลังเกิดเรื่อง จังหวัดก็มา อบต.เขาก็มาดู ใครก็มาดูหลายวันหลายครั้ง แต่ก็แค่นั้น แล้วป้าก็ชวนเราไปเดินดู ชี้ให้ดูว่าต้นมะขามใบก็เหี่ยวแต่ตอนที่เราไปถึงมันแตกใหม่แล้ว ต้นกะเพราก็ยังพอมีให้เห็นบ้างแต่มันก็แตกใหม่แล้ว น่าเสียดายที่ผมลืมชาร์จแบตเตอรี่กล้องถ่ายรูป จึงไม่มีรูปมาให้ดูสักเท่าไหร่

          ผมได้โอกาสสัมภาษณ์ คุณวิจารณ์ แย้มกลิ่น และคุณชวลิต หมู่บ้านปลวกเกด อ.เมือง ระยอง ได้ความว่า มะม่วงไม่เคยเห็นลูกเลยเห็นแต่ดอก พอมีหมอกลงมันก็ไม่เป็นลูก
ผมเลยสอบถามว่า จากสภาพที่เกิดขึ้น อยากจะให้มีโรงงานอุตสาหกรรมหรือไม่  คำตอบก็คือ ไม่อยากให้มี
เมื่อถามว่ามีลูกหลานทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือไม่ ก็ได้คำตอบว่า ก็มี มันได้ทำงาน อันไหนมันดีก็ว่าดี ไม่ดีก็ว่าไม่ดี ว่ากันตรงๆ
          ถาม ถ้าจะให้โรงงานอยู่ได้ชาวบ้านอยู่ได้ ควรจะต้องทำอย่างไร
          ตอบ ต้องปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
          ถาม สิ่งที่เกิดกับชาวบ้านนั้นมันเกิดทางใต้ดินหรืออากาศหรือทางไหน
           ตอบ ทั้งสองทางนั่นแหละ ใต้ดินต้นไม้ใหญ่จะตายเกลี้ยงแล้ว ต้นไม้มันโทรมไปเรื่อยๆ เพราะพอมีปัญหาใบแก่ก็ร่วง พอใบร่วงมันก็แตกใบอ่อนใหม่ ต้นไม้มันก็ลำเลียงอาหารไปใช้ แล้วมันร่วงอีก โดนเข้าบ่อยๆตายเกลี้ยง ผักปลูกเองยังไม่รู้เป็นยังไงเลย ดูได้เลยใบเหี่ยว จะกินยังไม่กล้าเลย
          ถาม เรื่องน้ำมีปัญหาหรือไม่
          ตอบ มีปัญหามานานเดิมกินน้ำฝน พอมีโรงงานอย่าว่าแต่จะกินเลย ซักผ้ายังไม่ได้เลยน้ำมันแดง น้ำบ่อใช้ไม่ได้ ต้องใช้น้ำบาดาลก็มีปัญหาน้อยหน่อย ทนทุกข์ทรมาน
          ถามว่า น้ำที่เกิดผลกระทบ ห่างไปไกลได้กี่กิโล
           ตอบ ห่างไป ๕ กิโลยังมีน้ำเสียเลย
          ถาม ตอนนี้มีปัญหาสุขภาพอย่างไร
          ตอบ เป็นมะเร็ง ไทรอยด์ นี่ไม่กี่วันนี้ IRPC จะเอารถเอกซ์เรย์ปอดมาตรวจให้ชาวบ้าน ไปรักษาหมอบอกว่าให้ย้ายที่อยู่ แล้วจะให้ผมย้ายไปไหน ผมเป็นมะเร็งรักษาก็ยากจะให้ไปอยู่ที่ไหนก็ต้องรับกลิ่นสะสมอยู่นี่แหละ ตอนนี้ดีหน่อยกลิ่นไม่มาก
          ถาม ทำไมถึงคิดว่าเป็นมะเร็ง เพราะอยู่ใกล้โรงงานเหล่านี้
          ตอบ เพราะมันมีสารสะสม สิ่งแวดล้อมทางกลิ่นทางเสียง ทางเดินหายใจ คนตำบลตะพง เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ๓๐๐ กว่าคน เมื่อก่อนไม่ค่อยเป็น หมอที่โรงพยาบาลบอกว่าคนที่ระยองเป็นมะเร็งตายเฉลี่ยวันละสองคน
แล้วพวกผมก็ถูกน้องวีนัสเร่งให้ขึ้นรถอีกแล้ว…..อิอิ

« « Prev : ๓๗.ลงพื้นที่จริง๑

Next : ๓๙.ลงพื้นที่จริง๓ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

133 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 1.4837069511414 sec
Sidebar: 0.080842018127441 sec