๒๗. การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขภายใต้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ตอนที่ ๒
อ่าน: 1450ขอต่อให้จบในวันนี้เลยนะครับ เพราะยังมีอีก ๓ หัวข้อที่ยังไม่ได้เขียน คราวนี้จะไม่สนใจ rating ว่าจะมีใครเข้ามาอ่านกี่คน อิอิ วันนี้ก็เพิ่งไปว่าความคดีใหญ่มา ก็เหนื่อยเอาการเหมือนกัน นานๆว่าความที อิอิ
อาจารย์เล่าให้เราฟังว่าการร่างรัฐธรรมนูญ จะมีกรอบการร่างหลักๆ ๓ กรอบ คือ
-กรอบสิทธิเสรีภาพของประชาชน
-กรอบการตรวจสอบอำนาจรัฐขององค์กรอิสระของรัฐธรรมนูญ
-กรอบพรรคการเมือง ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยไม่เคยมีพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเข้มแข็ง จนกระทั่งถึงปี ๒๕๔๐
๑.ต้องทำให้ประชาชนเข้มแข็ง สิทธิเสรีภาพให้ประชาชนมีส่วนร่วม
๒.ระบบรัฐสภาเมื่อตั้งรัฐบาลได้ รัฐสภาจะอ่อน จึงต้องร่างให้ทำให้ระบบรัฐสภามีความเข้มแข็ง
แนวนโยบายของรัฐ มีการวิพากย์วิจารณ์หลังรัฐธรรมนูญปี ๒๔๙๒ ว่ามีทำไม ใครจะมาเป็นรัฐบาลเขาก็จะมีแนวนโยบายแห่งรัฐ (แต่ที่มีเพราะไม่ไว้ใจรัฐบาล อิอิ )ตั้งแต่ปี ๒๔๙๒ มาถึงปัจจุบัน ตัดไม่ได้
จนปัจจุบันมีการเมืองภาคประชาชน
รัฐธรรมนูญ ปี ๔๐ มีการพูดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มาตกผลึกเมื่อรัฐบาลขิงแก่ ออกกฎหมายรับรององค์กรที่ไม่ได้จดทะเบียน องค์กรที่เป็นสถาบันทางการเมืองได้รับการรับรองโดยกฎหมายของรัฐ
รัฐธรรมนูญ ปี ๕๐ ขยายมามองถึงผู้ถูกปกครอง นายชวน เป็น ส.ส.ตั้งแต่ ๒๕๑๒ การคุ้มครองผู้ถูกปกครอง การจะจับคนก็ถูกห้ามไม่ให้ทำง่ายๆเพราะต้องการคุ้มครองคนดีแต่มันก็เกิดผล กระทบอย่างที่บรรดาฝ่ายกฎหมายรู้ดี และไม่สามารถเขียนให้สมบูรณ์ได้ทุกจุด
คนที่กำหนดตัวนายกคือพรรคการเมือง
รัฐธรรมนูญเป็นการกำหนดความชอบธรรมแห่งอำนาจ ที่ซึ่งประชาชนยอมรับอำนาจของผู้ปกครอง
หลังจากพักดื่มกาแฟแล้ว ท่านอาจารย์เปิดโอกาสให้ซักถาม
คุณไตรรัตน์ ถาม รัฐธรรมนูญมีโอกาสที่จะไม่ต้องมีตัวรัฐธรรมนูญแบบอังกฤษ ตัวรัฐธรรมนูญถ้าให้เป็นตามธรรมชาติ เป็นตามทางวัฒนธรรมไม่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร
อ.บอกว่ายากมาก เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงต้องมีการเขียนกติกา โลกที่ไม่มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรมีน้อยมาก เช่น นิวซีแลนด์ ขนาดเขียนมีกติกาล่วงหน้ายังมีปัญหาเลย….สมัย อ.สัญญา(เป็นนายกรัฐมนตรี) มีการยุบสภา มีปัญหาว่าเมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้จะยุบได้อย่างไร ก็ตอบว่ามีตัวอย่างมาก่อนแล้วสองครั้ง ทำได้
คุณกฤตพล ถามทำไมรัฐธรรมนูญไทยจึงมีหลายมาตรา
อ.ตอบ อินเดียเขียนเยอะกว่าเรา แต่หลายเรื่องก็ไม่น่าใส่ แต่เวลาแลกเปลี่ยนความเห็นฝ่ายที่ให้ใส่เป็นฝ่ายชนะ เช่น การปกครองส่วนท้องถิ่น ไทยมี ๔ แบบ
โกติ่ง ถาม รัฐธรรมนูญแก้ไขได้หรือไม่
อ.ตอบ ถ้าแก้ไขจะทำได้ง่ายกว่าการร่างเพราะมันมีหลายเรื่อง น่าจะเป็นเรื่องจรก็เป็นเรื่องหลัก ถ้าจะแก้ จะแก้เรื่องไหน และถ้าถามว่าควรจะแก้หรือไม่ แก้เรื่องอะไร ก็ต้องถามว่าแก้แล้วเกิดประโยชน์แก่ประชาชนหรือไม่
คุณศิริบูรณ์ ถาม รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ที่มีการรับร่างรัฐธรรมนูญเพราะชาวบ้านอยากให้มีการเลือกตั้ง มากกว่ารับรัฐธรรมนูญเพราะชอบรัฐธรรมนูญ (โพล) ถามว่าใครควรจะเข้าไปแก้
อ.ตอบว่า นักการเมืองนั่นแหละ เพราะรับอาสามาสร้างความสงบสุขให้แก่บ้านเมือง จะไปโทษตัวรัฐธรรมนูญไม่ได้
คุณเทพสิทธิ์ ขอให้วิจารณ์แก้รัฐธรรมนูญ ม. ๒๓๗ วรรคสอง ม.๓๐๙
อ.ตอบ เป็นที่รู้กันการเลือกตั้งซื้อเสียง ฝ่ายที่เสนอต้องใช้ยาแรงคือต้องยุบพรรค มีการอภิปรายกันแต่ในที่สุดฝ่ายที่บอกว่ายุบพรรคเป็นฝ่ายชนะ แต่ที่สุดแล้วก็คือศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผู้ตัดสิน
ท่านนันทศักดิ์ถาม เรื่องการถอดถอนกรรมการบริหารพรรคว่าผู้ร่างคิดอย่างไรที่เขียนให้ยุบพรรค เพราะกรรมการพรรคผู้ใหญ่บางท่านอาจจะไม่รู้เรื่องแต่เป็นเรื่องส่วนตัวของส.ส.ที่คนหนึ่งบังเอิญว่าเป็นกรรมการบริหารพรรค
อ.บอกว่าตอนร่างก็พูดกัน แต่ก็เกิดคำถามว่าจะใช้ยาแรงไหม ถ้าใช้ยาแรงก็ต้องเป็นแบบนี้ และในที่สุดก็เป็นยาแรง ก็ถ้าไม่ทำผิดจะไปกลัวอะไร
ท่านนันทศักดิ์ พรรคเล็กตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจ เมื่อตั้งพรรคแล้ว ทำโครงการเสนอทำกิจกรรม กกต.ก็จ่ายตังค์ แต่พอถูกเพิกถอนก็ไม่เหลืออะไรสักอย่าง ควรจะทำอย่างไรที่จะทำให้พรรคเหล่านี้เหลือน้อยลง
อ.บอกว่า พรรคที่เพิ่งตั้งใหม่ไม่มีเงินทำกิจกรรมเหมือนกัน แต่ว่าต้องตามจับโจรกัน
คุณไตรรัตน์ เสนอว่ารัฐธรรมนูญควรมีการสอนตั้งแต่เด็กนักเรียน
อ.บอกว่า เวลามีปัญหาอย่าเอาไปให้เด็กเรียนทุกเรื่อง อิอิ แต่การศึกษาอย่ามัวแต่นึกสอนอยู่ในห้องเรียน ต้องให้เด็กเรียนรู้นอกห้องเรียน
ลืมจดว่าใครพูด อิอิ (นึกไม่ออกจริงๆ) เราพูดถึงรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่าอยากแก้เพราะมาจากเผด็จการ แต่ในความเป็นจริงทหารเข้าไปเป็นกรรมการร่างน้อยมาก และปี ๒๕๔๐ กับ ๕๐ คน ร่างก็เป็นชุดเดียวๆกัน ถ้าชอบผู้หญิงคนหนึ่งคงไม่ไปถามว่าใครทำคลอด สอนเรื่องกฎหมายกับสังคม ให้นศ.วิจารณ์รัฐธรรมนูญปี ๔๐ กับปี ๕๐ นศ. ๙๐ เปอร์เซนต์ วิจารณ์ว่าปี ๕๐ ดีกว่า
เราถามกันเยอะมาจนผมจดไม่ค่อยทัน เอาว่ามันมาก..สนุกกับการเรียนรู้ จนอดใจไม่ไหวเอามาเล่าสู่กันฟังทั้งๆที่มีงานคดีหนักรออยู่ข้างหน้า อิอิ จบแล้วครับ……
« « Prev : ๒๖. การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขภายใต้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ตอนที่๑
Next : ๒๘. สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ตอนที่ ๑ » »
ความคิดเห็นสำหรับ "๒๗. การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขภายใต้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ตอนที่ ๒"