๒๖. การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขภายใต้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ตอนที่๑
อ่าน: 1682หัวข้อนี้เราเรียนกับรศ.นรนิติ เศรษฐบุตร อ.บอกว่าไม่ได้ตั้งหัวข้อเอง ต้องตั้งว่าการอยู่ร่วมกันอย่างไม่สงบภายใต้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ฮา…ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเพราะรัฐธรรมนูญ ในประเทศไทยเลือกตั้งทีก็มีคนตาย ไม่ว่าเลือกระดับไหน ความจริงเมื่อมีการเลือกตั้งแล้วคนชนะก็อยู่ได้คนแพ้ก็ต้องการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยก็ไม่แน่ว่าจะดีที่สุด รัฐธรรมนูญไม่เขียนเรื่องอภัยวิถีไว้ อิอิ แต่ในสังคมไทยสอนไว้ วรรณกรรมขุนช้างขุนแผนเขียนไว้ วรรณกรรมเรื่องนี้ก็เป็นของไทยภาคกลางอาณาบริเวณที่เขียนไม่เคยโยงไปถึงภาค ใต้ อย่างเก่งก็แค่เมืองเพชร พูดถึงการเดินทางไปทางเหนือก็พูดถึงพิจิตร พิษณุโลก สุโขทัยถึงเชียงใหม่ทีเดียว
อภัยวิถีเป็นเรื่องของคนดี เกิดเรื่องอะไรขึ้นขุนแผนซึ่งเป็นฝ่ายคนดี(ไม่รู้จริงหรือเปล่า) ก็ต้องอภัยขุนช้าง ศรีมาลาอภัยสร้อยฟ้า แต่ทางฝ่ายขุนช้างซึ่งเป็นคนร้ายไม่ให้อภัยขุนแผน สังคมไทยเราใช้อภัยวิถีแต่ปัจจุบันจะใช้ได้หรือไม่ให้ถามท่านอภัย (จันทนจุลกะ) อิอิ
ในรัฐธรรมนูญ คำจำกัดความ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ปี ๒๔๗๖เป็นผู้ใช้คำ(รัฐธรรมนูญ) นี้ ว่าหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการปกครองแผ่นดิน ก่อนจะใช้คำว่ารัฐธรรมนูญหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเขียนกฎหมายปกครอง และพูดถึงเรื่องประชาธิปไตยเอาไว้ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พูดถึงอำนาจ ระเบียบ อ.หยุด แสงอุทัย ก็พูดถึงอำนาจหรือความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจ จนถึงปี ๒๕๒๓ ดร.วิษณุ เครืองาม ก็พูดเรื่องอำนาจ ความสัมพันธ์ ระหว่างอำนาจ ฝรั่งก็อธิบายเรื่องอำนาจและความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจ แต่เวลาเราพูดกันว่ารัฐธรรมนูญคืออะไร เราก็จะบอกว่าเป็นกฎหมายแม่บท เป็นกฎหมายหลัก อิอิ…พอพูดถึงอำนาจเราพูดถึงผู้นำซึ่งมีอยู่น้อย
ทฤษฎีผู้นำ Elite Theory หรือทฤษฎีมวลชน Mass Theory ที่ผ่านมาทฤษฎีผู้นำมักชนะ (อาจารย์บอกว่าในอดีตนะ…ไม่ใช่ปัจจุบัน อิอิ) แม้แต่มาร์กคนยกย่องว่าเป็นผู้ใช้ทฤษฎีมวลชนพูดถึงทุนนิยมกับคอมมิวนิสต์ ว่านายทุนจะแย่จะขุดหลุมฝังตัวเองเพราะการขยายทุนจะกระทบกระเทือน แต่จนถึงปัจจุบันคอมมิวนิสต์ล่มสลาย แต่ทุนนิยมยังอยู่ ถ้ามีห้างใหญ่มา โชวห่วยก็เจ๊ง
แต่มาร์กเป็นนักทฤษฎีทางมวลชนไม่ใช่นักปฏิบัติ พอเลนินมาทำ(นักปฏิบัติ)มาทำก็บอกว่าอย่าให้กฎหมู่เหนือกฎหมาย การร่างวินัยของพรรคก็เป็นคนกลุ่มน้อย ผู้ปกครอง(กรรมการพรรค)ก็เป็นคนกลุ่มน้อย แต่สมาชิกพรรคเป็นคนกลุ่มใหญ่ เราพูดถึงสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ว่าเป็นทฤษฎีของ mass ซึ่ง มันใช่แน่หรือ…ลองไปอ่านทฤษฎีที่เป็นเจ้าตำรับด้านนี้ สังคมนิยมคนตัดสินใจเป็นคนกลุ่มน้อย อ.บอกว่าอย่าเอามาปรับกับของไทยนะ เพราะพูดในเรื่องต่างประเทศ..อิอิ หากจะเปรียบเทียบเอาไปเทียบที่บ้าน….การปกครองมัน top-down
ประชาธิปไตยที่ประชาชนจำนวนมากมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง ลองดูสิ..พอเลือกเสร็จประชาชนหมดอำนาจทันที..ฮา…ประชาชนมีอำนาจตัดสิน เลือกใครเท่านั้น วิธีคิดก็ต้องคิดถึงอำนาจ ประชาชนอยากรู้เพียงแค่ใครจะเป็นนายก ใครเป็นรัฐมนตรี ใครเป็นส.ส. ใครเป็นส.ว. ข่าวก็จะตามอยู่แค่นี้ คนชอบอ้างรัฐธรรมนูญอเมริกันว่ามีไม่กี่มาตรา แต่คนอเมริกันก็จำไม่ได้ อิอิ จำได้อยู่แค่ว่าสิทธิผู้ต้องหาจำเลยไม่ต้องให้การเพราะจะเป็นการปรักปรำตัว เขาเน้นที่อำนาจเหมือนกัน
การร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะร่างเรื่องอำนาจ ใครจะเป็นผู้มีอำนาจ ใครจะเป็นผู้ปกครอง การเน้นเรื่องอำนาจเป็นการเน้นที่คนส่วนน้อย ไม่ได้เน้นที่คนส่วนมาก แต่การปกครองไม่ว่าจะเป็นเผด็จการหรือประชาธิปไตยต่างจะอ้างว่าเพื่อประชาชน ไม่มีใครกล้าพูดว่าปกครองเพื่อตนเองสักคน อิอิ..
ประชาธิปไตยทางตรงในปัจจุบันทำไม่ได้ ต้องเป็นทางอ้อม โดยเลือกผู้แทน แล้วผู้แทนไปเลือกรัฐบาล ไปควบคุมรัฐบาล ไปซูเอี๋ยรัฐบาล แต่กระแสสังคมทำให้เกิดวิวัฒนาการและเกิดในต่างประเทศ และในที่สุดเราก็ได้ยินคำว่าประชาสังคม civil society มาจากยุโรปตะวันออก(ที่เป็นคอมมิวนิสต์) เพราะรัฐควบคุมทั้งหมด ประชาชนประกอบการไม่ได้ ในที่สุดประชาชนขออย่าให้รัฐมายุ่งได้ไหม ขอเพียงให้ประชาชนมีสิทธิมีเสียง
ยุคจอมพลสฤษดิ์ ห้ามคน ๕ คนพูดเรื่องการเมือง ผู้ชายสมัยนั้นพูดเรื่องทะลึ่งได้ แต่พูดเรื่องการเมืองที่สะอาดกว่าเรื่องทะลึ่งไม่ได้ มีสิทธิติดคุก อิอิ แสดงว่าผู้นำกลัวการเมือง
รัฐธรรมนูญของไทย ๑๘ ฉบับ เอาออกไปครึ่งหนึ่งเพราะเป็นเรื่องธรรมนูญการปกครอง ไม่ต้องไปสนใจมาก (เพราะไม่ค่อยพูดถึงสิทธิเสรีภาพ)
รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม (หลวงกาจ กาจสงคราม เป็นผู้ร่าง)พูดถึงสิทธิเสรีภาพไว้เยอะ
๑๐ ธ.ค.๒๔๗๕ เป็นพื้นฐานการนำเสนอว่าประชาธิปไตยไทยเป็นอย่างไร พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ใช้คำว่า “ราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ”ซึ่ง อ.ว่าแปลได้ถูกต้องที่สุด และได้พูดถึงสิทธิไว้แต่ก็ยังไม่มาก
ในรัฐธรรมนูญ มีการวิวัฒนาการ มีการประกันสิทธิเสรีภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้มีอำนาจละเมิดสิทธิของประชาชน การมีประชาธิปไตยของเรา คนยังพัฒนาไม่ทัน จึงเป็นที่มาของสภาที่สอง มีพฤฒิสภา ให้ประชาชนเลือกตั้งทางอ้อม เป็นเจตน์จำนงของรัฐธรรมนูญ ๒๔๘๙ แต่ยังไม่ได้ทำ และรัฐธรรมนูญใช้ได้ไม่นาน แต่ในปี ๒๔๙๐ คณะรัฐประหารเอามามีสองสภา มีเลือกตั้งกับแต่งตั้ง ปี ๒๔๙๒ ตั้งคณะคนขึ้นมาร่างแล้วข้ามมาถึง รัฐธรรมนูญปี ๒๕๑๑ ร่างนานมากตั้งแต่ ๒๕๐๒ มาเสร็จเอาปี ๒๕๑๑ แต่เนื้อหาไม่ค่อยมีอะไรกับประชาชน แต่เน้นห้าม ส.ส.เป็นรัฐมนตรี จนจอมพลถนอม ปฏิวัติรัฐบาลตัวเอง (น่าจะเอาไปลง ripley อิอิ)
๒๕๑๗ จะมองผู้ถูกปกครองอย่างไร มองว่าคนจะลงเลือกตั้งต้องสังกัดพรรคการเมือง ร่างการเปลี่ยนแปลง ๑๔ ตุลา จึงต้องเปิดกว้างปรับปรุงสิทธิเสรีภาพ ใช้ได้ถึง ๖ ต.ค.๑๙ หลังจากนั้นมีรัฐธรรมนูญเล็กๆน้อยๆมาถึงปี ๒๕๒๑ ซึ่งเริ่มสร้างประชาธิปไตยแต่ก็ยังไม่มีอะไรมาก
รัฐธรรมนูญปี ๒๕๓๔ ไม่สำคัญในเรื่องความคิดแต่จุดประกาย คุณฉลาด บอกว่าไม่ได้ต้องให้ประชาชนร่างไม่ใช่ให้นักการเมืองร่าง เพราะนักการเมืองร่างแล้วก็จะเขียนเพื่อประโยชน์ตัวเอง (กฎหมายบอกให้แก้ได้แต่ไม่ได้บอกให้ร่างใหม่) สมัยปี ๒๕๓๕ คิดนอกกรอบ สมัยนายกฯชวน ซึ่งท่านเห็นด้วย และต่อมาสามารถทำได้ในสมัยของนายกฯบรรหาร ตั้งกม.แก้ไขรัฐธรรมนูญปี ๒๕๓๔ ม.๒๑๑ ให้สามารถร่างรัฐธรรมนูญได้ สมัย ก่อนจะทำได้ต่อเมื่อยึดอำนาจ และอาจารย์ขอเราสังเกตให้ดูกระแสประชาธิปไตยด้วย คอมมิวนิสต์กำลังล่มสลายทั้งๆที่ไม่เคยมีใครคิดว่าจะล่มสลายเพราะลัทธินี้ ฝังรากลึกลงไปถึงหมู่บ้าน ทุกกลุ่มของเกษตรกร กรรมกร มีเซลล์ของคอมมิวนิสต์ แต่มันกลับกลายเป็นว่า ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี ฮา…
กำลังมันเลยครับ แต่ยาวไปสองหน้าแล้ว พักดื่มกาแฟกันดีกว่า..อิอิ
« « Prev : ๒๕. รัฐสวัสดิการกรณีศึกษากลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียน ๓
Next : ๒๗. การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขภายใต้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ตอนที่ ๒ » »
1 ความคิดเห็น
กำลังอ่านสนุกเหมือนกันค่ะ ดื่มกาแฟก่อนค่ะ