๒๘. สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ตอนที่ ๑
อ่าน: 2338หัวข้อวันนี้บรรยายโดยอาจารย์ปรีดา เรืองวิชาธร ครับ
อาจารย์เริ่มต้นว่าอยากจะให้เริ่มต้นจากการเล่นเกมเพื่อดูพฤติกรรมบางอย่าง แต่เนื่องจากจำนวนคนและสภาพห้องไม่อำนวยก็เลยต้องปรับเปลี่ยนแผน จริง ๆแล้วอ.อยากจะรู้จักพวกเราก่อนเป็นเรื่องหลักและหัวข้อที่คุณจตุพรเชิญให้มา บรรยายก็คือเงื่อนไขหรือ สภาพแวดล้อมอะไรที่ทำให้สังคมสงบสุข แต่ถ้าเริ่มที่ทางบวกเลยคือสงบสุขเลยมันดูจะเร็วไป ก็เลยอยากจะชวนพวกเรามาคิดกันว่าอะไรล่ะที่ทำให้สังคมเกิดปัญหา เกิดความทุกข์ ไม่เป็นสุข เกิดความขัดแย้งรุนแรง หากมองดูแล้วมันเริ่มเกิดจากภายในคน ปัจเจกบุคคล กระจายไปสู้ครอบครัว สังคม พื้นที่ ศาสนา พรรคการเมือง ขั้วการเมือง ฯลฯ อ.เลยอยากจะหารากเหง้า ตัวที่ทำให้เกิดความทุกข์ของสังคม ก็เลยให้พวกเราจับกลุ่มกันกลุ่มละ ๖ คน แล้วให้ลองระดมความคิดค้นหาความแตกต่างที่นำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรง
กลุ่มของผมแยกออกมาเป็นมิติใหญ่ๆได้สองมิติ คือมิติภายนอก กับมิติภายใน อยากรู้ไหมครับว่ามิติภายนอกที่พวกเราคิดมีอะไรบ้าง อะแฮ้ม..ต้องตามมาดูครับ
มิติภายนอก
วัฒนธรรม เชื้อชาติ เศรษฐกิจ ความยากจน ความขาดแคลน การเมืองการปกครอง สภาพแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ ฐานะ ข้อมูลข่าวสาร เพศ ศาสนา อำนาจ ความอยุติธรรม ผลประโยชน์
มิติภายใน
ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความกลัว ความเชื่อ ตัณหา อัตตา อารมณ์ มิจฉาทิฐิ อยากอยาก ความรู้ความเข้าใจที่ผิดพลาด ทัศนคติ (ถ้า มีศาสนามากไปก็โปรดเข้าใจว่ากลุ่มของผมมีนักศึกษาปริญญาเอกมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย ด้วย อิอิ) พอผมนำเสนอเสร็จก็มีเสียงแซวว่าพูดไปหมดแล้วกลุ่มอื่นก็ไม่ต้องพูดแล้ว อิอิ
จริง ๆแล้วอาจารย์ก็ถามทีละกลุ่มว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งก็ตอบกันหลากหลายครับ เรื่องที่ซ้ำกับของผมไม่เล่าแล้วนะครับมันเยอะมาก เอาที่ไม่เหมือนก็จะมีว่า การสื่อสารด้วยถ้อยคำบางอย่างเช่น โจรกระจอก..อิอิ,ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง,สภาพแวดล้อมภายนอกที่ ส่งผล เช่น กระแสโลกาภิวัฒน์,องค์กรข้ามชาติ,การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อม,โลภะ โทสะ โมหะ,ชาตินิยม,พรรคพวก,การอบรมเลี้ยงดู,ชาติพันธุ์,อุดมการณ์ ฯลฯ…
อ.เพิ่มเติมว่าในสังคมไทย ประสบการณ์สังคมที่ทำให้เรารู้เท่าทันถดถอยไปเรื่อยๆ คณะสงฆ์กับการศึกษาของชาวบ้านแยกจากกัน การเรียนรู้ความเท่าทันทางจิตวัญญาณก็ถดถอยลงไป ทำให้เมล็ดพันธุ์ด้านดีไม่ถูกผลักออกมา มีแต่ปลุกเร้า โลภะ โทสะ โมหะ
การที่จะทำให้สังคมพูดถึงความดีงามน้อยมาก โครงสร้างพื้นฐานของมนุษย์ ความต้องการที่มีมากและเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพราะการบริโภคนิยมเข้ามาครอบงำสังคม อาวุธของบริโภคนิยมคือโฆษณากับห้างสรรพสินค้าเมื่อรวมกันแล้วจะทำให้เราสูญเสียความใคร่ครวญ มีแต่ตัณหา อยากได้ โดยไม่คำนึงถึงความจำเป็น และมีลักษณะการสร้างที่ทำให้เกิดความเชื่อว่าเราต้องการอย่างไม่มีที่สุดและ สุขแท้คือความมั่งคั่ง โดยมองข้ามความเชื่อของคนสมัยก่อนที่มีความเอื้อเฟื้อกันแล้วมันจะเกิดความ สุขจากการอยู่ร่วมกัน คนสมัยก่อนไม่ได้รู้สึกว่าจน อยู่ได้อย่างมีความสุข เราจะเอาชนะมันได้ด้วยการรู้จริง ตามรู้เท่าทัน
เมื่อบริโภคนิยมเข้ามากลืนกินจะทำให้คนรู้สึกว่าต้องมีเหมือนคนอื่น จึงทำให้เกิดการแสวงหาโดยละโมภเพื่อไปแสวงหา จึงเกิดการแย่งชิง เอาเปรียบ เกิดโลภะจริต เรากำลังขาดการฝึกปรือภายในเราจึงต้องปฏิรูปการเรียนรู้
อ.ยกตัวอย่างการที่มีผู้นำทางจิตวิญญาณ ออกมาสั่งสอนทางโทรทัศน์ เช่น ท่าน ว.วชิรเมธี ท่านมหาสมปอง ก็ถือเป็นเรื่องดี แต่คนที่เข้าไปอยู่ในกระแสจิตวิญญาณ นักปฏิบัติธรรม จะรู้เรื่องแต่ภายใน แต่รู้เรื่องโครงสร้างน้อย ไม่สนใจประชาสังคม ไม่สนใจการเมืองสองขั้ว ไม่สนใจพันธมิตร ไม่สนใจการเมืองภาคประชาชน ลองไปถามดูก็จะบอกว่าเป็นเรื่องอวิชชาเป็นเจ้าเรือน แต่พอไปดูพวกที่สนใจโครงสร้าง การเมือง ฯลฯ ก็สนใจเรื่องจิตวิญญาณน้อย
เราอยู่นิ่งว่างไม่ได้ เราต้องเกาะเกี่ยว เพราะเราไปติดบริโภคนิยม เราจะรู้สึกว่ามีเท่าไหร่ไม่พอ เด็กในโรงเรียนก็แย่งชิงผู้ชายใครได้คนที่หล่อกว่า เปลี่ยนสิ่งของอยู่เรื่อง เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ โน้ตบุ๊ค
การสร้างความเชื่อให้เกิดการเปรียบเทียบแข่งขัน อ.เคยไปโรงเรียนในฝันแห่งหนึ่งอยากได้ความเป็นเลิศทางวิชาการ ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนตอบคำถาม ๑๐๐ ข้อ ใครตอบได้จะได้รับการยกย่อง จึงเกิดการแข่งขัน แต่แล้วก็ได้เด็กที่มีความเป็นเลิศจำนวนน้อย แต่เด็กในโรงเรียนไม่มีความสุข ความรักระหว่างเพื่อนหายไป เหลือแต่การแข่งขัน เมื่ออาจารย์สังเกตความผิดปกติ จึงเปลี่ยนโจทย์ใหม่ ๑.ให้ทำ ๑๐๐ ข้อ ห้ามนักเรียนในห้องแม้แต่คนใดคนหนึ่งตอบไม่ได้แม้แต่ข้อเดียว เพราะหากมีคนทำไม่ได้แม้แต่ข้อเดียวจะให้ตกทั้งห้อง และ ๒.หากมีเพื่อนช่วยเหลือคนอื่นให้ตอบคำถามได้ก็จะให้สิ่งตอบแทนในฐานะที่ทำ ให้พื่อนมีความสุข และ ๓.หากสามารถตั้งโจทย์ให้ครูตอบได้ ๒๐ ข้อ ก็จะให้ผลตอบแทน ผลจากการวางโจทย์อย่างนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี คนที่อ่อนกว่ารับรู้ถึงความมีน้ำใจของเพื่อน และพลังของกลุ่มทำให้เกิดการช่วยกันค้นหาคำถามมาให้อาจารย์ต้องตอบคำถาม ทำให้นักเรียนเกิดความรักความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และตอบคำถามได้เพราะถูกลดพันธนาการที่ทำให้รู้สึกว่าด้อยกว่าเมื่อครูถามว่า ถ้าครูจะให้ A ทั้ง ห้องจะดีไหมแม้จะมีคนตอบได้มากบางคนตอบได้น้อย ทุกคนก็รู้สึกเป็นสุข ในกระบวนการหลังห้อง เพื่อนๆก็เลี้ยงตอบแทนเพื่อนคนที่มีความรู้ดีและช่วยแนะนำเพื่อนคนอื่น ชวนอาจารย์ไปด้วย กระบวนการที่เปรียบเทียบแข่งขัน ก็แปรเปลี่ยนเป็นกระบวนการช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยความรัก…..
อาจารย์บอกให้เราพัก ผมก็เลยมาบอกให้ท่านพัก แล้วค่อยรออ่านตอนสองนะครับ..อิอิ…
« « Prev : ๒๗. การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขภายใต้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ตอนที่ ๒
Next : ๒๙. สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ตอนที่ ๒ » »
1 ความคิดเห็น
df
Michael Kors Bags Sale