๑๘. สันติวิธีกับความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 18 กรกฏาคม 2008 เวลา 8:53 ในหมวดหมู่ เสริมสร้างสังคมสันติสุข #
อ่าน: 6772

วันนี้เราเรียนกับป้าแจ๋ จิราพร บุนนาค ผู้หญิงมั่น อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เจ๋งไม่เจ๋งก็ลองคิดดู อิอิ ลีลาการพูดเสียงดังฟังชัดจดบันทึกง่าย แต่จะไม่แนะนำมากเพราะเพราะ อ.แหววจะทำหน้าที่บันทึกแนะนำผู้คนใน girl gang เดี๋ยวไปแย่งการทำมาหากินของ อ.แหวว อิอิ

ป้าแจ๋เริ่มต้นอธิบายให้เราฟังว่าในอดีตนั้นนโยบายความมั่นคง เป็นเรื่องลับ แต่ในปัจจุบันถือว่าไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของรัฐ เพราะทั้งภายในภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โลกไร้พรมแดน จึงอยู่กับที่ไม่ได้ ความมั่นคงของชาติจึงต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับคน เน้นสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวกับคน ไม่ใช่เน้นแผ่นดิน เน้นรัฐที่ไม่ใช่คน

นโยบาย ๒๕๕๐-๒๕๕๔ จึงเน้นที่หัวใจความรักสามัคคีของคนในชาติเป็นตัวตั้งต้น เพราะพบว่าปัญหาต่างๆหลายปัญหา ไม่มีปัญหาใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับคน ปัญหาเกี่ยวกับความต่าง ความคิดเห็น การอยู่ร่วมกันจึงต้องอยู่ในกรอบคิดสันติวิธี ทั้งในเรื่องศักดิ์ศรีของมนุษย์

ทิศทางการปรับตัวของประเทศไทยในมิติด้านความมั่นคง

การดำรงรักษาความมั่นคงของรัฐ

ปกป้องความมั่นคงของปชช.ในรัฐ

วิสัยทัศน์และผลประโยชน์แห่งชาติ

นโยบายความมั่นคงเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้

ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการใช้สันติวิธีและความร่วมมือของกลุ่มพลังวัฒนธรรมเพื่อลดการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายตามหลักนิติธรรมและไม่มีการเลือกปฏิบัติ

ยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายทั้งในมิติการปราบ ปรามผู้ที่ผิดและมิติการดำเนินกระบวนการยุติธรรม ไม่ย้อนกลับมาเป็นเงื่อนไขของความรุนแรง ฯลฯ

การฟังความเจ็บปวด การถูกะเมิดสิทธิเของกลุ่มชนบางกลุ่ม เด็กถูกทรมานอย่างไร คนชายขอบมีปัญหาอะไร การไร้รัฐไร้สัญชาติ

พ่อหลวงจอนิ และลูกชายที่ชื่อ พรึ โอ่เดชา (ถ้าชื่อที่ผมบันทึกนี้ผิด ช่วยบอกกันด้วยเพื่อจะได้แก้ไขให้ถูกต้องครับ)  กะเหรี่ยง ปกาเกอญอไม่ค่อยจะมีข้าวกิน แต่เดี๋ยวนี้กระเหรี่ยงมีข้าวมีเสื้อผ้าจากที่เคยมี ๑ ชุด มามีหลายชุด แต่เขาไม่ชอบบางสิ่งบางอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเขา อวค์กรที่มาช่วยเหลือเขาคือองค์กรทางศาสนา มาแนะนำให้เขาทำธนาคารข้าว มากินข้าวด้วยกัน ทำให้เกิดความผูกพันขึ้นมา และต่อยอดมาสู่วิถีชีวิตของคนกะเหรี่ยง วันหนึ่งมีเสือออกมาจากป่ามากินวัวของชาวบ้าน แทนที่กลุ่มชาวกะเหรี่ยงไปฆ่าเสือ เขาคิดว่าถ้าฆ่าเสือแล้วเสือตัวอื่นไม่มากินวัวหรือ ทำอย่างไรให้เสืออยู่ในป่าและมีอะไรพึ่งพิงได้โดยมีอาหารให้เสือได้กินโดย ไม่มารบกวนวัว (นี่เป็นวิธีคิดแบบสันติวิธีอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ทึ่งไหมครับความคิดของเขา..)

การทำนโยบายความมั่นคง จะต้องคิดให้ลึกว่าปัญหาอะไรคือปัญหาโครงสร้าง อะไรเป็นปัญหาเชิงมิติวัฒนธรรม ซึ่งความรู้ที่ได้คือสองอย่างนี้ที่สำคัญที่สุด

ความรู้สึกที่ไม่เท่าเทียม ความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้าเป็นคนจนจะถูกดูถูกว่าไม่มีความรู้ และสกปรก ถ้าเป็นคนเล็กคนน้อย (คำนี้ป้าแจ๋ใช้ได้อย่างน่ารักมาก อิอิ ) ไม่มีพื้นที่ต่อรอง เขาไม่มีโอกาสเล่าเรื่องความยากลำบากของเขาให้ผู้ใหญ่ฟัง หรือฟังแต่ไม่ได้ยิน ความรู้สึกเช่นนี้ถ้าสะสมมากๆและมีเงื่อนไขเพิ่มขึ้น ในที่สุดทางเลือกที่จะเลือกคือความรุนแรงเพื่อให้ส่วนใหญ่รับรู้ว่าเขาทุกข์ ให้มาช่วยดูแลพวกเขาด้วย

อันตรายที่สุดของการอยู่ร่วมกันต้องดูแลคนเล็กคนน้อยให้มีความสุข ให้เกียรติ ให้คุณค่า มีพื้นที่ให้สื่อสาร

คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒๕๔๗ เป็นปรากฏการณ์ของความรุนแรง ๒๕๔๗ เป็นการปล้นปืน เมื่อเอามาดูจะแก้ตามปรากฏการณ์ไม่ได้ จึงมาดูเรื่องการเรียน กฎหมาย ฯลฯ การแก้ไขปัญหากลับยิ่งรุนแรงมากขึ้น เราพบว่านโยบายที่ทำร่วมกับภาคส่วนประชาชนมีการประกาศนโยบายจุดยืนโดยรัฐ แต่ไม่ได้กระทำในพื้นที่  สัญญาที่ให้ไว้กับปชช.มักไม่ค่อยเห็นในทางปฏิบัติ

โครงการหลายโครงการเป็นโครงการ top down ส่วน bottom up ส่วน ใหญ่เกิดการระแวง ว่างบประมาณนั้นถูกนำไปให้ขบวนการหรือเปล่า เมื่องบประมาณไม่ถูกใช้โดยประชาชน เมื่อรัฐไม่เปิดพื้นที่ให้ปชช.คิดอย่างอิสระ การแต่งตั้งบุคคลต่างๆขึ้นมาจึงกลายเป็นเพียงเป็นผู้ปรึกษาแต่ไม่เป็นผลใน การปฏิบัติ รัฐไม่ได้มองเห็นคุณค่าของประชาชน เมื่อเกิดเหตุความจริงของรัฐ กับความจริงของปชช. ไม่เหมือนกัน บอกว่าโจรทำ ชาวบ้านเขาสงสัยว่าทำไมเครื่องไม้เครื่องมือไม่น่าจะใช่ของโจร และทำไมจับโจรไม่ได้สักที สิ่งที่ตามมาก็เกิดเป็นข่าวลือ ตามร้านน้ำชา

แต่ปัจจุบันข่าวลือที่เชื่อถือมักออกจากปากผู้หญิงที่เป็นงานกินเหนียว ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงผู้คนเชื่อได้รวดเร็ว ผู้หญิงจะพูดต่อไปได้เรื่อยๆ(เอ๊ะ..ทำไมผู้หญิงเป็นอย่างนี้ไปหมด อิอิ..ล้อเล่ง….แซวมากไม่ได้เดี๋ยวถูก girl gang รุม 555) ตอนนี้จึงมีการศึกษาเกี่ยวกับผู้หญิง ข่าวลือทุกเรื่องจะเกิดมาที่รัฐทั้งสิ้น ถามว่ารัฐแก้ข่าวลือได้ทุกเรื่องไหม โดยเฉพาะข่าวลือเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม รัฐสามารถแก้ได้บ้าง แต่ไม่สามารถด่วนสรุปความเชื่อของประชาชนได้ ถ้าจะแก้ปัญหาต้องไม่หลบซ่อนความจริง แต่ไม่ประเมินโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ต้องประเมินโดยประชาชน เพราะมันจะมีการพูดแต่ภาพสวยงาม แต่ความจริงที่แฝงเร้นไม่ได้รับการแก้ไขและสะสมมากขึ้น

ป้าแจ๋บรรยายให้พวกเราฟังอย่างน่าสนใจทุกประโยค แม้จะไม่มีลูกเล่นฮาๆ แบบ ศ.นพ.วันชัย แต่ตัวอย่างที่ป้าแจ๋ยกขึ้นมานั้นล้วนแต่เป็นเรื่องน่าสนใจทั้งสิ้น อิอิ สงสัยจะมีสามภาคอีกแล้ว เพราะมันน่าสนใจจนผมไม่อยากจะตัดทอนสิ่งที่บันทึกมา เพราะอยากให้ท่านที่เข้ามาอ่านได้รู้เท่ากับผมครับและได้ช่วยกันเสนอแนวคิด แก้ไขปัญหาให้เราอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธีครับ

« « Prev : ๑๗. แผนที่ความคิด ๒

Next : ๑๙. สันติวิธีกับความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่ ๒ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1017 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 1.7857370376587 sec
Sidebar: 0.09437894821167 sec