ต้อนรับ รมช. กระทรวงสาธารณสุข
เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ ๕ ได้ไปร่วมต้อนรับ นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและคณะ ที่มาตรวจเยี่ยม ศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา
เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ ๕ ได้ไปร่วมต้อนรับ นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและคณะ ที่มาตรวจเยี่ยม ศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา
ในวันแห่งความรัก ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ชมรมผู้สูงอายุฯ ร่วมกับศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา ถือเป็นฤกษ์ดี ได้จัดงานเปิดตัว สวนสมุนไพร ของชมรมฯ โดยมี นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ ๕ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะฝ่ายส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ให้เกียรติมาร่วมงานนี้กับสมาชิกชมรมผู้สูงอายุฯ จำนวนมาก ทำให้ชาวชมรมฯ มีขวัญและกำลังใจที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาสวนสมุนไพรแห่งนี้ให้เจริญก้าวหน้าและเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคตให้มากขึ้นเรื่อย ๆ
หลังจากพิธีเปิดแล้ว ท่าน ผอ. ศูนย์อนามัยที่ ๕ ที่ปรึกษาชมรมฯ ประธานและสมาชิกชมรมฯ พร้อมบุคลากรของศูนย์ฯ ก็ได้ร่วมกันปลูกต้นสมุนไพร เพิ่มเติมลงในบริเวณสวนสมุนไพร ที่ได้มีการจัดเตรียมไว้
ในการได้ไปเยือนพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช หนองระเวียง ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ได้ชมนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา โดยเฉพาะในห้องพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช ที่จัดแสดงสรรพชีวิตในพื้นที่หนองระเวียงที่มีความหลากหลาย เป็นฐานทรัพยากรอันทรงคุณค่าอย่างยิ่งต่อการศึกษาและการอนุรักษ์ ทั้งในระบบนิเวศน์ ของพืช สัตว์ จุลินทรีย์ และพวกเห็ดรา ต่าง ๆ รวมทั้งการระวังป้องกันไฟป่าโดยใช้หอสูง แล้ว มีความภูมิใจเป็นอย่างมากในความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ (ชมรม สว.๙) ศูนย์อนามัยที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ คือการไปศึกษาดูงานที่ ศูนย์ อพ.สธ. หนองระเวียง พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องของการจัดสวนสมุนไพร ที่ทางชมรมฯ จะดำเนินการต่อไป ที่ศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา ในปี ๒๕๕๕ นี้
หลังจากคณะของเราเดินทางไปถึงศูนย์ฯ ก็ได้รับการต้อนรับจากท่านประธานชมรมฯ คนใหม่ ที่เป็นอดีตอาจารย์ของ มทร. อีสานเจ้าของสถานที่ คือ ท่านอาจารย์กำจัด สุขถาวร และเป็นผู้นำชมด้วยตนเอง
เริ่มจากการนำชมพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ที่ประกอบด้วยนิทรรศการ ๕ ห้องด้วยกัน ได้แก่
จากสุดยอดของเด็กบ้านนอก ที่สอบได้ที่ ๑ ของชั้นเรียนมาเป็นประจำ เมื่อเดินทางมาเรียนต่อในเมืองใหญ่ในตัวจังหวัดนครราชสีมา ความรู้สึกและสิ่งที่เจอก็คงคล้าย ๆ กับละครทีวีที่กำลังนำเสนออยู่ในช่วงนี้เรื่อง “โหมโรง” ที่เจ้าศร มือระนาดเอก จากบ้านนอกเข้ากรุง ได้เจอว่า นักเรียนที่มาเข้าเรียนในโรงเรียนประจำจังหวัดจำนวนมากล้วนเป็นผู้ที่สอบได้ที่ ๑ หรือ ที่ ๒ มาจากต่างอำเภอ และแม้แต่เด็กที่อยู่ค่อนมาทางหางแถวของโรงเรียนประจำจังหวัดก็ยังเก่งกว่าสุดยอดจากโรงเรียนบ้านนอก ก็คงมีปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่ทำให้เกิดความแตกต่างมาจนถึงในปัจจุบันนี้ก็คงยังคงเช่นเดิม แม้ว่าความเจริญก้าวหน้าด้านการเทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งวิทยุ ทีวี โทรศัพท์มือถือ และ อินเทอร์เน็ตจะดีกว่าเมื่อก่อนมากก็ตาม แต่ในเมืองก็ยังคงมีปัจจัยและโอกาสที่ดีกว่าบ้านนอกเหมือนเดิม เช่นเดียวกับในกรุงเทพฯ ก็ยังมีปัจจัยและโอกาสต่าง ๆ มากกว่าต่างจังหวัดเหมือนเดิม ดังนั้นในเทอมแรกที่เข้ามาเรียนในตัวจังหวัดของเด็กบ้านนอกจึงถือว่าเป็นช่วงปรับตัวที่สำคัญ ที่ต้องอาศัยใจที่เข้มแข็ง ไม่ท้อถอยในการพัฒนาตัวเองเพื่อให้สามารถแข่งขันในการเรียนกับสุดยอดฝีมือที่ได้มาพบกันให้ได้
ในสมัยนั้นยังไม่มีการเรียนพิเศษหรือการกวดวิชากันมากเหมือนในสมัยปัจจุบัน ดังนั้นวิธีหนึ่งที่ทำให้นักเรียนสนิทสนมกันมากขึ้นก็คือการรวมกลุ่มเพื่อติวหรือช่วยเหลือซึ่งกันและกันในระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียนด้วยกันเอง โดยใช้บ้านของใครคนใดคนหนึ่งที่สะดวกเป็นที่พบปะกัน สำหรับกลุ่มของห้อง ม.๗-๘ ข มักจะใช้บ้านของเพื่อนที่อยู่บริเวณถนนราชดำเนินใกล้ๆ กับสี่แยกที่ตัดกับถนนจอมสุรางค์ยาตร์ ที่ฝั่งตรงข้ามคือห้างสรรพสิ้นค้าคลังพลาซ่าในปัจจุบัน บ้านของเพื่อนที่กลุ่มเราใช้พบกันค่อนข้างบ่อยก็คือ ร้านตัดเสื้อผ้าชายที่มีชื่อว่า “ร้านทรงสมัย” ซึ่งถ้าจำไม่ผิดแถวนั้นปัจจุบันกลายเป็นร้านขายพิชซ่าไปแล้ว ในสมัยนั้นด้านหลังของตึกแถวแถบนั้นสามารถทะลุออกไปยังบริเวณที่เป็นโรงลิเกได้ และมีบ้านของเพื่อนอีกคนที่อยู่ติดกับโรงลิเก ที่มักจะใช้เป็นที่พบปะกันอีกบ้านหนึ่งด้วย
ด้วยความมุ่งมั่นและการพยายามพัฒนาตนเองอย่างหนัก ทำให้ผลการเรียนของตัวเองสามารถขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่ ๑ หรือ ที่ ๒ ของชั้นได้ในที่สุด โดยมีเพื่อนคนหนึ่งที่มาจากอำเภอลำปลายมาศเป็นคู่แข่ง ที่ผลัดกันแพ้หรือชนะ จนจำไม่ได้แน่ว่าในตอนจบชั้น ม.๘ ตัวเองได้ที่ ๑ หรือ ที่ ๒ ของชั้น แต่จำได้แม่นว่าสอบได้คะแนนรวม ๗๙ เปอร์เซ็นต์ ขาดไปเพียง ๑ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น (คือสอบชั้น ม.๘ ได้คะแนนตั้งแต่ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป) ชื่อก็จะได้รับการจารึกไว้ที่บอร์ดประกาศของโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย เพื่อเป็นเกียรติประวัติต่อไป