“ลงแขก”ห้องสมุด
อ่าน: 1827วันนี้เป็นวันดีอีกวันหนึ่ง ของโรงเรียนพัฒนาเด็ก (ประชาสโมสร) ที่คุณครูทุกท่าน กรุณาสละเวลา มาทำงานพิเศษที่โรงเรียน เพื่อจะ “ลงแขก” ห้องสมุด ที่ย้ายจากห้องเก่า มาอยู่ห้องใหม่ และผู้ดูแลคนเก่า ก็สอบติดปริญญาโท ลาไปเรียนที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น อย่างค่อนข้างกระทันหัน มอบหมายงานไม่ทัน คนใหม่ก็ไม่ใช่ บรรณารักษ์มืออาชีพ ดังนั้น ปัญหาจึงเกิดขึ้น เช่น หาหนังสือที่ต้องการไม่เจอ ไม่สะดวกในการใช้ ไม่รู้ว่ามีหนังสือใหม่อะไรเข้ามาบ้าง ฯลฯ เมื่อมีปัญหาคุณครูก็นัดกันว่าจะระดมความคิดกัน ช่วยแก้ไขให้ทุกคนสามารถใช้ห้องสมุดได้ อย่างเร็วที่สุดเพราะโรงเรียนก็เปิดมาหนึ่งเดือนเต็มๆแล้ว
เริ่มต้นด้วยการตั้งวงคุยกันก่อนลงมือปฏิบัติการ ถ้าจะพูดให้เป็นทฤษฎีหน่อย ก็คงจะตรงกับ BAR คือ Before action review คุยถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น และสรุปกันว่า จะไปเริ่มลงมือทำกันอย่างไร และตรงไหน
แม่ใหญ่ นั่งฟังคุณครูปรึกษาหารือกัน และสรุปข้อคิดเห็นของคุณครู ได้ดังนี้
ปัญหา |
ความต้องการ / ข้อเสนอแนะ / การปฏิบัติ |
· ห้องใหม่เล็กกว่าห้องเก่า และมีชั้นวางสองด้าน ทำให้ต้องวางกลางห้อง ทำให้ห้องเล็ก และชั้นมีความสูงเกินระดับสายตาอาจมองได้ไม่ทั่วถึง |
· อยากได้ชั้นเตี้ย โชว์ หนังสือด้านเดียว และวางชิดฝาทั้งสี่ด้าน |
· หนังสือตอนนี้อยู่ปนๆกันในกล่องบ้างนอกกล่องบ้าง |
· ให้ช่วยกันจัด แยกประเภทออกเป็น คู่มือครู นิทานแบบปกอ่อน และปกแข็ง วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติและสิง่แวดล้อม และอาจมีประเภทอื่นๆอีก ตามที่เห็นตรงกัน ขณะที่จัดร่วมกัน |
· แผ่นโปสเตอร์ มองไม่ชัด เลือกยาก |
· ให้ทำที่แขวนโปสเตอร์ และแยกประเภทด้วยเช่นกัน |
· มีหนังสือปนกันทั้งที่ชำรุด ต้องซ่อมแซม และหนังสือที่ ซ่อมไม่ได้หรือ ไม่น่าใช้แล้ว |
· แยกพวกซ่อมออกไว้ซ่อมภายหลัง แยกพวกที่ไม่มีประโยชน์แล้ว ทิ้งไปได้ |
· Big Book เป็นหนังสือที่เด็กชอบมาก ยังไม่มีชั้นวางที่ได้ขนาด |
· เสนอให้ทำกล่องใส่ Big book ต่างหาก และวางไว้ให้เด็กเลือกได้ แต่ควรอยู่ในความดูแลของครู เพราะ Big book บางเล่ม หาซื้อไม่มี มาจากต่างประเทศ และมีราคาแพง ควรดูแลรักษาเป็นพิเศษ |
· การยืมคืนยังไม่เป็นระบบ |
· ครูที่เคยเรียนวิชาบรรณารักษ์ให้คำแนะนำ ผู้ทำหน้าที่ดูแลห้องสมุด ให้ทำทะเบียน หนังสือ และให้มีบัตรยืมคืน ให้เป็นคนเก็บหนังสือเข้าที่เองทุกวัน |
· การยืมหนังสือบางคนยืมนานตลอดเทอม คนอื่นไม่ได้ยืม |
· ครูตกลงกันว่า จะให้ยืมเพียงคนละ 7 วัน เท่านั้น ถ้าต้องการก็ต้องมาต่อเวลาทุกครั้ง |
· ครูอยากฝึกให้เด็กได้มายืมด้วยตนเอง เอากลับไปบ้านได้ |
· จัดระบบยืมคืนให้เด็กนักเรียน แต่ให้เอาไปได้เพียงวันเดียว ต้องเอามาคืนในวันรุ่งขึ้น |
· มีหนังสือใหม่มา ครูไม่รู้ |
· ให้จัดบอร์ดแสดงหนังสือใหม่ไว้หน้าห้องสมุด |
· อยากมีบัตรสถิติส่วนตัวครู ว่าเดือนหนึ่งใครยืมหนังสือกี่เล่ม |
· เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ครูเข้ามาหาวิชาความรู้เพิ่มเติม |
· อยากให้มีการ “ลงแขก” แบบนี้ทุกสิ้นเทอม |
· มีข้อตกลงกันว่า จะทำแบบนี้ ทุกๆสิ้นเทอม เพราะจะทำให้ ห้องสมุดเป็นแหล่เรียนรู้ที “ หยิบง่าย หายรู้ ดูก็งามตา |
คุณครูคุยปรึกษา กันไม่นาน ประมาณ สิบห้านาที แล้วก็ลงไปช่วยกันจัดห้อง ตามที่ตกลงกัน โดยบอกกันว่า ถึงวันนี้จะยังไม่เสร็จ สมบูรณ์ แต่ก็คงมีโอกาสนำเอาปัญหามาพูดคุยใน “วาระ อื่นๆ” ของการประชุมประจำสัปดาห์ที่มีขึ้นทุกวันจันทร์ได้
ที่ โรงเรียนพัฒนาเด็ก เราทำงานด้วยกันแบบนี้ มีอะไรก็ปรึกษากัน และช่วยกันคิด ช่วยกันแก้กันไป จึงเกิดกระบวนการเรียนรู้และทำงานกันอย่างเป็นทีมขึ้น ไม่ใช่ต้องรอให้สั่งอย่างเดียว ผู้บริหารก็ไม่เหนื่อย ลูกน้องก็เก่งขึ้นเรื่อยๆ งานก็ไม่ไปหนักอยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่ง ผลงานออกมา ก็เป็น ผลงานของเรา ชื่นอกชื่นใจด้วยกันทุกฝ่าย