กระแสฉันจะเป็นชาวนา กำลังมาแรง ไม่เว้นแม้แต่อาม่ายังทำนาในบ้านเลย ปลูกต้นไม้มาก็นานโขที่เดียว สิ่งเดียวที่ยังไม่เคยปลูกอย่างจริงจังคือปลูกข้าว
น้ำท่วมครั้งรุนแรงที่สุดเมื่อตุลาคม ๒๕๕๓ สร้างความสูญเสียอย่างมหันต์ต่อชาวไร่ชาวนา อาม่าเลยทำโครงการความมั่นคงทางอาหาร โดยจัดหาซื้อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่มีคุณค่าทางอาหารสูงคือข้าวหอมมะลิแดง จากสุรินทร์ มาช่วยเหลือชาวนา โดยเริ่มส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจในการทำนาปลูกข้าวอินทรีย์ ด้วยการปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การบำรุงดินที่เหมาะสมกับสภาพดินและสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ ด้วยความรักและความเข้าใจในพื้นแผ่นดินของตนเอง โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีความรู้ความเข้าใจ ทั้ง น้ำ ดิน และมล็ดพันธุ์ข้าวที่พอเหมาะต่อภูมิสังคมของชุมชน ไม่ใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็น ต้องมีความอดทนอย่างมีเหตุมีเหตุผล อาม่าจึงขอการสนับสนุนช่วยเหลือด้านวิชาการผู้เชี่ยวชาญ จากฝ่ายปรับแปลงเทคโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มาฝึกอบรม มาฝึกอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ชาวนาเกษตรที่สนใจ ในการปลูกข้าวเพื่อขยายผลสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยให้มีพันธุ์ข้าวที่เพียงพอและยั่งยืน ที่จะใช้ปลูกให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคของแต่ละครัวเรือน หากมีกำลังพอ น้ำพอ ก็ปลูกเพิ่มเพื่อขายสร้างรายได้ค่อยเป็นค่อยไป อย่างมั่นคง ข้าวเป็นอาหารหลักของชาวไทย ทุกครัวเรือนต้องกินอยู่แล้ว หากปลูกข้าวมีคุณภาพ ผลดีย่อมตามมาอย่างมากมาย ตั้งแต่ด้านสุขภาพ ไม่ต้องใช้สารเคมีที่อันตรายต่อสุข ลดค่าใช้จ่ายทั้งด้านอาหาร สารเคมี และค่าดูแลรักษาสุขภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ทั้งกายและใจ พร้อมจะปรับปรุงวิธีการปลูกและวิธีดูแลรักษานาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาม่าเป็นนักวิชาการอิสระ ที่เข้าใจชาวนาและเข้าใจนักวิชาการ จึงสามารถพูดคุยและทำความเข้าใจที่ตรงกันได้ อาม่าจึงจัดสรรค้ดหา ความรู้ให้ตรงกับความต้องการของชาวนา ย่อมทำให้ทุกฝ่ายพอใจ นักวิชาการได้นำผลงานวิจัยที่ประสบผลสำเร็จลงไปขยายผลลงไปใช้ในพื้นที่ อย่างจริงจังเป็นรูปธรรม ทุกฝ่ายมีความสุขนั่นคือความพอเพียงเกิดขึ้นแล้วค่ะ
มาดูดูการปลูกข้าวของอาม่า ในบ้านนะค่ะ
อาม่าเริ่มปลูกข้าวในท่อซีเมนต์เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ ผ่านมาเกือบสองเดือน ข้าวแตกกอเกือบเต็มท่อแล้ว ข้าวแข็งแรง เริ่มออกรวงแล้วค่ะ
แต่ใช่ว่ามันจะราบรื่นไปเสียทุกอย่าง นี่คือนาขนาดย่อจิ๋วที่สุด แต่ปัญหาก็เกิดเหมือนทำนาในแปลงจริงๆ ดินเป็นดินนา เมื่อนำมาใช้ปลูกข้าวก็มีสัตรูพืชติดมา หอยเชอรี่ และหอยอื่นๆ ใช้วิธีเก็บออกให้หมด นี่ถ้าแปลงนาใหญ่ก็คงต้องใช้เป็ดตัวโตลงไปเก็บให้แน่ๆเลย ต้นข้าวเพิ่งแตกอ ถูกหอยกัดกินไปหลายกอทีเดียว ปลูกได้ ๕ วันข้าวออกรวงแล้ว อาจเป็นการตกใจกลัวตายของต้นข้าว? มาดูกันนะคะว่าอาม่าปลูกอย่างไร
ปัญหาเกิดขึ้น เหมือนในนาจริงๆ แต่ขนาดถูกย่อลงมาเล็กจนจิ๋วนิดเดียว ทำให้เข้าใจ และรับรู้ถึง ความรู้สึก ความทุกข์ยากของชาวนาได้อย่างลึกซึ้ง ทำให้ต้องให้ความช่วยเหลือและช่วยหาผู้มีความรู้ความเข้าใจลงไปช่วยแก้ปัญหาให้ ชาวนาและเกษตรกร ตอนนี้อาม่าส่งทีมงานจิอาสากลุ่มทำสมุนไพรกำจัดสัตรูพืช ไปช่วยกำจัดเพลี๊ยะและแมลงที่ทำลายต้นมันสำปะหลัง โดยใช้น้ำสมุนไพรหมักสูตรที่ให้ตรงกับชนิดของเพลี๊ยะและแมลงระบาดในไร่มัน โดยฉีดทั่วแปลง ได้ผลอย่างน่าชื่นใจ ช่วยกู้ไร่มันสำปะหลังที่นักวิชาให้ไถทิ้งแล้วปลูกใหม่ หลังจากฉีดสมุนไรใบที่แมลงและเพลี๊ยะทำลายเหี่ยวเฉาพร้อมทั้งสัตรูมันก็สิ้นฤทธิ์ ล่วงหบ่นไป ใบใหม่ก็เกิดขึ้น เมื่อกำจัดสัตรูได้แล้วก็ให้อาหารคือปุ๋ย ต้นมันสัมปะหลังกลับมาแตกใบงามกว่าเดิมด้วยปุ๋ยสูตรผสมจากกากขี้หมูที่เป็นผลพลอยได้ หลังจากทำแกสชีวภาพ ผสมอินทรีย์ชีวภาพบางตัว ทำให้ไร่มันสำปะหลังฟื้นตัวได้เร็ว ทุกแปลงที่ลงไปช่วยกำจัดเพลี๊ยะและหนอนด้วนสมุนไพรหมักสูตรต่างๆ ได้ผลเป็นอย่างดี มีการเก็บข้อมูลติดตามผลเป็นระยะๆ จนถึงเวลาเก็บเกี่ยวทุกแปลง แล้วอาม่าจะเอาผลมารายงานให้รับรู้ต่อไปค่ะ