ความมั่นคงทางอาหาร 33(พึ่งพากัน)

อ่าน: 13147

โครงการความมั่นคงทางอาหาร นอกจากเราจะต้องอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืชพื้นบ้านแล้ว ต้องหมั่นเอามาขยายพันธุ์ให้มากพอ และแจกจ่ายให้เกษตรกรในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการนำไปใช้ปลูกเพื่อกิน และกระจายแบ่งปันเพื่อนเกษตรกรต่อๆ ไป จะทำให้พันธุ์พืชพื้นบ้านไม่สูญายหายไปจากท้องถิ่น

อาม่ามีความพยายามที่จะช่วยเปลี่ยนเกษตรกรเคมี มาเป็นเกษตรอินทรีย์แบบค่อยเป็นค่อยไป ทีมงานอาม่านั้นศักยภาพสูง เราทำงานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกร เอาปัญหาของเกษตรกรมาศึกษาวิเคราะห์ แล้วแก้ปัญหาเป็นขั้นเป็นตอน ส่วนใหญ่เกษตรกรที่เคยชินกับการใช้สารเคมีจะใจร้อน มักจะทำแบบเดิมๆ …อ้างว่าไม่มีเวลา……นี่คือปัญหาหลัก แต่เราก็ไม่ย่อท้อทำให้ดูและช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด ให้เกษตรกรที่ให้ความร่วมมือ เมื่อผลผลิตออกมาแล้ว….นั่นคือคำตอบ อาม่าบอกเสมอว่าให้ผลงานแทนคำพูดเถิด คนเราไม่เหมือนกันสอนคนที่เราสอนได้ก่อน….

ผลสรุปของทีมงานหลังจากลงมือทำงานศึกษาวิเคราะห์แล้ว ลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควร  จึงตกลงกันว่าต้องผลิตสารจากสมุนไพร ที่มีประสิทธิ์ภาพ แทนสารเคมีที่เกษตรกรใช้ ทุกชนิด ตอนนี้ทีมงานพร้อมแล้ว ตั้งแต่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่มีคุณภาพเหมาะกับพืชแต่ละชนิด และแต่ละช่วงอายุ ปริมาณการใช้น้อยมาก/ไร่ ต้นทุนต่ำมาก  ได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่าการใช้สารเคมีเป็นอย่างน้อย สารสมุนไพรกำจัดโรคพืช แมลงศัตรูพืช ตลอดจนสารสมุนไพรกำจัดหญ้าแต่ละชนิด ผลพลอยได้คืออนุรักษ์จุลินทรีย์สิ่งมีชีวิต คืนระบบนิเวศน์เล็กๆ และคืนระบบห่วงโซ่อาหารกลับคืนสู่ ท้องไร่ท้องนาเกษตรอินทรีย์ ชีวีก็มีสุข และที่สำคัญที่สุดเป็นมิตรกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม แน่นอนที่สุด ปลอดภัยต่อชีวิตรเกษตรกร

เมื่อวานทีมงานไปพบกับน้องต้นกล้า(สุภชัย ปิติวุฒิ) ชาวนาวันหยุด คนดังเกษตรอินทรีย์ผสมผสานเทคโนโลยีแห่ง G2K

เช้าวันนี้น้องต้นกล้ารายงานอาม่าดังนี้ค่ะ
“จัด rotary weeder ฝากไปกับหมอหยก กับหมอแหลมแล้วครับ ขอบคุณอาม่า สำหรับชุด จัดการหอย และเเมลงในเเปลงนา กับสารอินทรีย์ชีวภาพ ครับ จะลองเอาไปใช้ และแจ้งผลให้ทราบครับ”

Large_img_3294

Large_img_3069

อาม่าเลยส่งสารสกัดสมุนไพรไปให้น้องต้นกล้ากำจัดหอยเชอรี่และปูนา ไม่อันตรายต่อสัตว์เลี้ยง และเกษตรกรค่ะ

« « Prev : น้ำใจ

Next : หน้าที่ผลเมือง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2020 ความคิดเห็น