บทที่ไม่ได้ขอให้เขียน

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ วันอาทิตย์, 15 มีนาคม 2009 เวลา 22:41 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 8241

เนื่องจากลานปัญญาเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ยังมีเครื่องมือสื่อสารแบบอื่นๆ อีกหลายอย่างที่จะช่วยให้การใช้งานลานปัญญา เป็นไปด้วยความสนุกเพลิดเพลิน

e-Mail และ e-Mail Notifier

ลานปัญญา ติดต่อกับสมาชิกผ่านระบบอีเมล ทั้งการสมัครสมาชิก และการแจ้งเตือนเมื่อมีความคิดเห็นมาใหม่ (ไม่ว่าจะต้องอนุมัติหรือไม่) ดังนั้นท่านสามารถจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในลานปัญญาได้รวดเร็วขึ้นมาก หากท่านมีเครื่องมือที่เตือนให้รู้ทันทีว่ามีอีเมลเข้ามาใหม่

ถ้าท่านใช้อีเมลของ Windows Live หรือ Hotmail ในการสมัครสมาชิกลานปัญญา ติดตั้ง MSN Messenger หรือ Windows Live Messenger จะมีทางเลือกให้ IM ของท่านตรวจสอบว่ามีอีเมลมาใหม่หรือไม่

ส่วนท่านที่สมัครโดยใช้อีเมลของ gmail โปรแกรม gtalk หรือ gmail notifier สามารถทำแบบเดียวกันได้

การเขียนบันทึกแบบ offline

สมาชิกที่เปิดบล็อก สามารถเขียนบันทึกจาก Microsoft Word 2007 แล้วโพสต์เมื่อพร้อมได้

แต่วิธีการที่ “สะอาด” กว่าคือเขียนบันทึกจาก Windows Live Writer (WLW) ซึ่งโหลดมาใช้ได้ฟรี

สะอาดในแง่ที่ WLW สามารถจะแต่งข้อความ/ปะรูปได้เหมือน Microsoft Word 2007 แต่ WLW ไม่จัด/แต่งตัวอักษรโดยปริยาย กล่าวคือถ้าเราไม่สั่ง มันก็ไม่ทำ ทำให้ข้อความที่โพสต์ขึ้นลานกลับไปใช้การแต่งสี/แต่งขนาดโดยปริยายของธีม ทำให้มีปัญหาน้อยกว่าเมื่อปลี่ยนธีมหรือย้ายข้อมูลออกไปบล็อกอื่นในอนาคต

เบราว์เซอร์

เป็นที่รู้กันในวงการคนทำเว็บว่า Internet Explorer รุ่น 6 (IE6) มีปัญหามาก ทั้งในแง่ของมาตรฐานการแสดงผล ความปลอดภัย และโปรแกรม Javascript; IE7 ดีกว่า IE6 มาก

แต่ IE6 เป็นเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมที่สุดในเมืองไทย ทั้งนี้เป็นเพราะการเปลี่ยนไปใช้ IE7 จะมีการตรวจสอบลิขสิทธิ์ของระบบปฏิบัติการ Windows จึงทำให้ผู้ใช้ Windows ที่ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นจำนวนมาก ไม่สามารถอัพเกรด IE ได้

Admin แนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ Firefox ซึ่งเร็วกว่า แสดงผลถูกต้องมากกว่า และปลอดภัยกว่า IE6/IE7 อีกทั้งไม่มีปัญหากับการใช้งานภาษาไทย

โหลด Firefox ได้จาก http://www.getfirefox.com/

ช่องทางติดต่อสมาชิกอื่นในกรณีฉุกเฉิน

น่าจะกล่าวได้ว่าจุดแข็งที่สุดของลานปัญญาคือเครือข่ายของสมาชิก ที่สนิทสนมกลมเกลียว เป็น Collective Knowledge / Collective Intelligence / Collective Soul มีความรู้ ความเชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ แบบที่รู้ไปหมด ทำได้หมดทุกอย่าง บนลานปัญญา ถ้ามีอะไรที่ไม่รู้ ก็ถามได้ เรียนรู้ได้

แต่ถ้าท่านเกิดติดขัดการใช้งานลานปัญญา จะเขียนถามใครก็ไม่ได้ จะทำอย่างไรดี?

ท่านจึงควรสร้างเครือข่ายของสมาชิกขึ้นมา จะแยกกลุ่ม หรือจะไปรวมกับใครได้ทั้งนั้น เมื่อสนิทกันแล้ว จึงอาจขออีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อในกรณีฉุกเฉิน

ห้ามโพสต์ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ไม่ว่าในบล็อกใดๆ ของลานปัญญา


บทที่ 11 การแสดงความเห็น

4 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ วันอาทิตย์, 15 มีนาคม 2009 เวลา 22:05 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 10382

การแสดงความเห็น

Blog เป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนมีสิทธิเข้าถึงได้ และมีสิทธิ์ที่จะแสดงความเห็นได้ภายใต้เงื่อนไขของผู้รับผิดชอบชุมชนนั้นๆ(Blog Community) ในพื้นที่ชุมชน Lanpanya นี้อาจกล่าวได้ว่าเป็น Bloggers เก่าที่เข้าไปเป็นสมาชิก Blog Community อื่นมาก่อนแล้วย่อมทราบกฎ กติกา มารยาทและพัฒนาเป็นสามัญสำนึกไปแล้ว กล่าวอีกทีก็คือ ทุกคนรู้จักกันดีว่าอะไรควร อะไรไม่ควร..

อย่างไรก็ตามเพื่อให้มีบรรทัดฐานการแสดงความเห็นใน Blog จึงค้นคว้ากติกาโดยทั่วไปที่เป็นสากลและยอมรับกัน ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1. ความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ก้าวร้าว รุนแรง ถ้อยคำลามก ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม

3. ไม่นำสื่ออนาจารมาเผยแพร่หรือนำเสนอสู่สายตาสาธารณะชน

4. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ
ต้องไม่นำมาโพสต์หรือขยายความต่อในบล็อก การโพสต์เรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น

5. ความคิดเห็นในบล็อก เป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก

6. โดยทั่วไป ผู้รับผิดชอบ Blog จะสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและความคิดเห็นนั้นๆ

(ดัดแปลงจากแหล่งข้อมูล http://blog.spu.ac.th/SurasakMu/2009/01/24/entry-1)


ปลัดกระทรวงไอซีที เคยกล่าวไว้ว่า การแสดงความคิดเห็น ควรใช้แนวทางวิจารณญาณดังนี้

1. ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นแต่ผู้แสดงความคิดเห็นและเว็บมาสเตอร์ ต้อง รับผิดชอบต่อความเห็นที่สร้างความแตกแยกในสังคม

2. หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันอันเป็นที่เทิดทูนของปวงชนชาวไทย

3. ไม่แสดงความเห็นพาดพิงหรือ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อศีลธรรมอันดีและความสงบเรียบร้อยในสังคม

(ดัดแปลงจากแหล่งข้อมูล http://webboard.mthai.com/5/2006-09-22/268814.html)

ประเด็นสำคัญหนึ่งของการแสดงความคิดเห็น คือ เป็นเสรีภาพที่สามารถกระทำได้ภายใต้ขอบเขตของการเคารพ ภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่หลากหลาย แต่เส้นแบ่งหรือตัวชี้วัดของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ภายใต้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 19 เรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ในข้อ 19 เช่นกัน ซึ่งถือเป็นบรรทัดฐานของสิทธิมนุษยชน ท่านที่สนใจโปรดดูแหล่งข้อมูลที่ http://www.newmana.com/yabb/index.php?topic=7246.0

นอกจากนี้แล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนหรือ “ฉบับธงเขียว”) ตามความในบทบัญญัติในหมวด 3 มาตรา 39 ที่ให้การรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ของชนชาวไทยโดยชัดแจ้ง ประกอบด้วย ข้อความรวม 6 วรรค โดย 4 วรรคหลังเป็นบทบัญญัติเกี่ยวข้องเฉพาะเจาะจงกับการดำเนินกิจการสื่อสารมวลชน ขณะที่ข้อความ 2 วรรคแรกเป็นบทบัญญัติทั่วไปเกี่ยวกับเสรีภาพของบุคคลในการแสดงความคิดเห็นและเงื่อนไขการจำกัดเสรีภาพดังกล่าว รายละเอียดจะไม่ขอกล่าวในที่นี

การที่รวบรวม กฎ กติกา ที่เกี่ยวกับการแสดงความเห็นมาไว้ เพื่อให้เราทราบว่า สังคมมีกฏมีเกณฑ์ blog และชุมชนชาว Blog ก็ย่อมมีกฎมีเกณฑ์ ทั้งที่เหมือนกันโดยทั่วไปและมีลักษณะเฉพาะ ก็ย่อมแล้วแต่ชุมชนนั้นๆจะกำหนดขึ้นมา

สำหรับ Lanpanya เป็นชุมชนใหม่ มีอายุไม่ถึง 1 ขวบปี ไม่ได้มีการตั้งกฎเกณฑ์พิเศษ เพียงรับรู้กันโดยสามัญสำนึกของการเป็น Bloggers ที่ดี คืออย่างไร การแสดงความเห็นที่เหมาะสมควรเป็นเช่นไร ในอนาคตหากมีสมาชิกมากขึ้นก็อาจจะเพิ่มกฎเกณฑ์ใหม่ๆขึ้นมา ซึ่งก็คงต้องประชาสัมพันธ์กันต่อไปเพื่อให้สมาชิกทุกคนรับทราบก่อน และอาจต้องการความคิดเห็น จากสมาชิกเพื่อมีส่วนร่วมในการกำหนดกติการ่วมกัน

แผนผังแสดงองค์ประกอบเบื้องต้นของการแสดงความคิดเห็น


สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติมเป็นเบื้องต้นของการแสดงความเห็นคือ

  • การแสดงความเห็นควรยึดหลัก Positive opinion
  • การแสดงความเห็นเชิงแตกต่าง หรือตรงข้ามเลย ก็ย่อมกระทำได้ แต่ควรเป็นการแสดงออกมาจากความจริงใจ หรือ ข้อเท็จจริงที่เรามีข้อมูลยืนยัน หรือเชิงอธิบายเพิ่มเติมเพื่อการสร้างบรรยากาศการก้าวไปข้างหน้าอย่างสร้างสรรค์
  • ภูมิหลังของแต่ละคนแตกต่างกัน การนำบันทึกออกสู่สาธารณะ เจ้าของบันทึกต้องยอมรับความแตกต่างเป็นพื้นฐาน
  • แม้ว่ามันทึกมิใช่รายงานวิจัย หรือรายงานวิชาการ แต่ก็มีบริบทในตัวของมันเอง สมาชิกผู้เข้ามาแสดงความเห็นอาจไม่เข้าใจบริบทของบันทึกนั้นๆ เจ้าของบันทึกพึงสร้างความเข้าใจให้มากที่สุด เพื่อมิให้เกิด การแสดงความคิดเห็นต่างบริบทกัน แต่ก็กระทำได้เพียงแต่จะเกิดลักษณะผิดฝาผิดตัว
  • การแสดงความเห็นเชิงสำนวน และ/หรือ การหยอกล้อ เล่น แต่พองามนั้น นับเป็นสีสันของ Blog ที่กลุ่มเพื่อนสนิท หรือคนรู้ใจกันมักสร้างสรรค์ขึ้นมา ในทัศนะคนทำงานสังคมเห็นว่า เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของชุมชนนั้นๆ และเชิงวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันยังเป็นทุนอย่างหนึ่งของสังคม เพราะเป็นการเสริมสร้างความสนิทสนม ซึ่งด้านลึกเป็นแรงเกาะเกี่ยวกันทางสังคมนั่นเอง

สาระที่มากไปกว่านี้ขอเชิญพี่น้องได้เสริมเติมแต่งให้ด้วยครับ กระผม..


บทที่ 14 ลานเจ๊าะแจ๊ะ

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ วันพฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009 เวลา 0:32 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 9335

เช่นเดียวกับทุกบล็อกในลานปัญญา ลานเจ๊าะแจ๊ะก็เป็นบล็อกหนึ่งในลานปัญญาเช่นกัน มี Logos เป็นเจ้าของบล็อก เพียงแต่มีลักษณะพิเศษคือใช้ธีมที่ไม่เหมือนกับบล็อกอื่นๆ ในลานปัญญา

ลานเจ๊าะแจ๊ะเป็นเหมือนจตุรัสกลางเมือง ที่สมาชิกไปพบปะแลกเปลี่ยนเรื่องราว ตลอดจนทำกินกรรมร่วมกัน มักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับสมาชิกเป็นจำนวนมากจนการสื่อสารในช่องทางอื่นอาจจะไม่เหมาะ โดยข้อเท็จจริง สมาชิกลานปัญญา ต่างมีเวลาว่างไม่ตรงกัน การทิ้งข้อความไว้ในลานเจ๊าะแจ๊ะ จะช่วยให้สมาชิกสื่อข้อความถึงกันได้ โดยไม่ต้องไล่อ่านทุกข้อความในลานปัญญา

บรรยากาศในลานเจ๊าะแจ๊ะเป็นไปแบบไม่เป็นทางการ สมาชิกลานเจ๊าะแจ๊ะมักรู้จักกันเป็นอย่างดี จนกระเซ้าเย้าแหย่กันได้อย่างสนิทสนม; หากสมาชิกใหม่รู้สึกขัดเขิน ไม่รู้จักใครอย่างสนิทใจ แนะนำให้เป็นฝ่ายให้ก่อนครับ และก่อนอื่นให้ความจริงใจก่อนเลย เขียนเจ้าเป็นไผในบล็อกของตนเองก็ได้

สำหรับการใช้งานแล้ว

  • ผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกลานปัญญา สามารถอ่านได้แต่เขียนข้อความไม่ได้เลย
  • สมาชิกลานปัญญา สามารถอ่านได้ มองเห็นด้วยว่าใครแวะมาที่ลานเจ๊าะแจ๊ะไม่เกิน 5 นาทีที่ผ่านมา และสามารถแสดงความคิดเห็นในบันทึกของผู้อื่นได้ แต่เขียนบันทึกใหม่ไม่ได้
  • สมาชิกลานเจ๊าะแจ๊ะ เขียนบันทึกใหม่ได้ ให้ความเห็นในบันทึกใดก็ได้ มองเห็นว่าใครแวะมาที่ลานเจ๊าะแจ๊ะภายใน 5 นาทีที่ผ่านมา และแก้ไขบันทึกของตนเองได้

การเป็นสมาชิกลานเจ๊าะแจ๊ะ

สมาชิกลานปัญญาที่จะเขียนบันทึกในลานเจ๊าะแจ๊ะ จะต้องแจ้งความจำนงค์ที่จะใช้งานก่อน แต่จะต้องมีรูปประจำตัว (gravartar) เสียก่อน จากนั้นก็ทิ้งความคิดเห็นไว้ที่ท้ายหน้าของบันทึก http://lanpanya.com/journal/archives/8

เขียนข้อความลงในช่อง Leave a Comment เสร็จแล้วคลิกที่ Post Comment ถ้าไม่มีรูปประจำตัวปรากฏขึ้น ถือว่าไม่ถูกกติกา

หลังจากที่เจ้าของบล็อกเพิ่มชื่อให้เข้าไปเป็นสมาชิกแล้ว ก็ล็อกอินเข้าระบบ แล้วเปิดหน้าลานเจ๊าะแจ๊ะ จะเห็นช่องให้เขียนข้อความทางด้านบน (ถ้ายังไม่เห็น แปลว่าเจ้าของบล็อกยังไม่ว่าง)

สำหรับสมาชิกลานเจ๊าะแจ๊ะ ลานเจ๊าะแจ๊ะจะทักทายด้วยคำว่า “สวัสดี {ชื่อ} มีอะไรก็ว่ามา” แล้วมีช่องให้กรอกข้อความอยู่ทางขวาของรูปประจำตัว

เขียนข้อความลงในช่องกรอกข้อความนี้ ข้อความไม่ควรยาวนัก ไม่ต้องแต่งให้สวยงามหรือมีลูกเล่นใดๆ ใจความสำคัญกว่า เขียนเสร็จแล้วคลิกตรง Post It ทางขวา ข้อความก็จะปรากฏขึ้นเป็นบันทึกใหม่

เช่นเดียวกับการเขียนบันทึกในบล็อกที่สมาชิกเป็นเจ้าของ เมื่อเขียนไปแล้วแก้ไขอีกได้ เขียนแล้วตั้งเวลาโพสต์ได้ เขียนเตรียมไว้เป็น “ร่าง” เพื่อกลับมาแก้ไขในภายหลังได้ เมื่อพร้อมแล้วค่อยโพสต์ก็ได้

แต่ถ้าที่หน้าแรกของลานเจ๊าะแจ๊ะ ไม่ปรากฏช่องให้เขียน หมายความว่าท่านเขียนไม่ได้

การเขียนที่เหมาะกับลานเจ๊าะแจ๊ะ

เป็นเรื่องยากที่จะระบุออกมาให้ชัดเจน ว่าการเขียนอะไร-เขียนแบบไหนจึงเหมาะกับลานเจ๊าะแจ๊ะ

การเจ๊าะแจ๊ะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ใช้ได้หลายเครื่องมือ (โทรศัพท์ IM) แต่ลานเจ๊าะแจ๊ะน่าจะเหมาะกับการเจ๊าะแจ๊ะหมู่ ซึ่งหมายความว่าข้อความเป็นเรื่องที่มีผู้สนใจ และมีส่วนร่วมสนทนากันหลายคน

ซึ่งเราอาจสังเกตถึงสไตล์การเขียน ตลอดจนเรื่องราวที่เขียนกัน โดยอ่านจากบันทึกที่มีจำนวนความคิดเห็นเป็นจำนวนมากๆ เมื่อคลิกที่ชื่อของผู้เขียนบันทึก (อยู่ทางขวาของรูปประจำตัว) ลานเจ๊าะแจ๊ะจะแสดงบันทึกของสมาชิกผู้นั้น เราสามารถศึกษาเรื่องราวและสไตล์การเขียนที่เหมาะสมได้


บทที่ 9 การเขียนบันทึก ( รายละเอียดเพิ่มเติม)

ไม่มีความคิดเห็น โดย จอมป่วน เมื่อ วันอังคาร, 10 มีนาคม 2009 เวลา 23:39 ในหมวดหมู่ คู่มือลานปัญญา, ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 8706

บทที่ 8 อธิบายวิธีเขียนบันทึก  ทำให้สามารถเขียนบันทึกบนบล็อกหรือลานของเราเองได้แล้ว  แต่บทที่ 9 จะอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้บันทึกของเราสมบูรณ์ขึ้น

มาเริ่มกันด้วยตรงนี้นะครับ  บริเวณที่ลูกศรหมายเลข 1 ชี้  จะมี เพิ่มสื่อ  เป็นเรื่องของการนำภาพลงในบันทึกซึ่งอยู่ในบทที่ 13  นะครับ

ส่วน Visual จะเป็นคล้ายๆเครื่องมือใน Microsoft Word  ครับ

ที่จะอธิบายเพิ่มก็เป็นการลิงก์ไปยัง URL  ที่ต้องการครับ อ่านต่อ »


บทที่ 2 กฎ กติกา มารยาท

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ วันพฤหัสบดี, 5 มีนาคม 2009 เวลา 0:55 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 8680

ลานปัญญาเป็นชุมชน Chaordic สมาชิกมีอิสระมาก แต่อิสระนั้น มาคู่กับความรับผิดชอบ เพื่อให้ชุมชนลานปัญญาอยู่ร่วมกันได้โดยมีการละเมิด หรือเบียดเบียนกันให้น้อยที่สุด ลานปัญญามีกฎเกณฑ์เพียงไม่กี่ข้อดังนี้

  1. ลานปัญญาอยู่ภายใต้กฏหมายไทย เราจะร่วมมือกับการรักษากฏหมายทุกกรณี สมาชิกจะอ้างไม่ได้ว่าไม่รู้กฏหมาย
  2. สังคมลานปัญญา ตั้งอยู่บนหลักแห่งการยอมรับและไม่ละเมิดซึ่งกันและกัน สุภาพ (รวมทั้งไม่เห็นด้วยอย่างสุภาพ)
  3. สมาชิกไม่สามารถทำการโฆษณาเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าไม่ว่าในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น มีผู้สนับสนุนให้ลานปัญญาคงอยู่ได้ ด้วยการลงทุน-ลงแรงเพื่อให้สมาชิกใช้งานได้ฟรี จึงไม่เป็นธรรมต่อผู้สนับสนุนและอาสาสมัคร ถ้าหากสมาชิกจะใช้ลานปัญญาเพื่อประโยชน์ทางการค้า

การละเมิดต่อกฎเกณฑ์เหล่านี้ อาจหมายถึงการระงับสมาชิกภาพ หรือลบบัญชีการใช้งาน หรือมาตรการอื่นๆ ตามแต่ผู้ดูแลระบบจะเห็นสมควร

ทักษะที่จำเป็นในการใช้งานลานปัญญา

  • อีเมล — สมาชิกจำเป็นต้องมีและใช้อีเมลในการสมัคร นอกจากนั้น ลานปัญญาจะแจ้งสมาชิกทางอีเมล ทุกครั้งที่มีผู้มาให้ความคิดเห็นในบันทึกของท่าน
  • การสร้างไฮเปอร์ลิงก์ (บางทีเรียกว่า การลิงก์ หรือการเชื่อมโยงข้อความอื่น) — เป็นการบอกว่ามีข้อความอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรไปอ่านด้วยด้วย URL ที่ถูกต้องของข้อความที่อ้างถึง
  • การเขียน — สมาชิกสื่อสารถึงสมาชิกและผู้อ่านลานปัญญาผ่านงานเขียน ก่อนเขียนให้คิดก่อน ว่าเขียนกับไม่เขียนมีค่าเท่ากันหรือไม่ เขียนแล้ว ผู้อื่นได้ประโยชน์สมกับความตั้งใจของท่านหรือไม่ เรียบเรียงความคิดให้ดีก่อนเขียน ลานปัญญาเก็บข้อความทุกอย่างที่ท่านไม่สั่งลบทิ้ง เรื่องเฉพาะกาล (ที่ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ตลอดไป) จึงควรจะใช้ช่องทางอื่นในการสื่อสาร

ทักษะที่ช่วยให้การใช้งานลานปัญญาสะดวกขึ้น

  • การเรียนรู้ — บันทึกในลานปัญญาเป็นสิ่งที่มีค่า แต่เป็นการสื่อความคิดในทางเดียว การเรียนรู้นั้นมีประสิทธิผลมากกว่าเมื่อตั้งคำถามให้ถูกต้อง (เรียนจากคำถาม-คำตอบ และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น)
  • ช่องทางในการติดต่อผู้ช่วยเหลือ — ไม่มีใครรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อสมาชิกติดขัดปัญหาอะไร หาทางติดต่อผู้รู้ในเครือข่ายของท่าน ใช้อีเมล instant messenger หรือโทรศัพท์ไปถาม แต่ขอให้เข้าใจว่าท่านเป็นผู้ร้องขอ ซึ่งถ้าหากเป็นคำตอบที่ต้องอธิบายยาว ก็จะต้องรอบ้าง เพราะคนเราว่างไม่ตรงกัน; ในกรณีที่มีข้อสงสัยวิธีการใช้งานบนลานปัญญา นอกจากผู้ดูแลระบบจะตอบข้อข้องใจให้แล้ว ลานปัญญายังเปิดกว้างให้สมาชิกคนอื่นๆ ช่วยเหลือในการตอบคำถามและแก้ไขข้อขัดข้องเรื่องเทคนิควิธีด้วย ทั้งนี้การช่วยเหลือกันและกันนั้นเป็นเรื่องของอาสาสมัครทั้งสิ้น


คำนำ

7 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ วันอังคาร, 3 มีนาคม 2009 เวลา 8:31 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 8270

ลานปัญญาเป็นบล็อกชุมชนคนคุ้นเคย ซึ่งเชื่อว่าการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม มีอะไรมากกว่าการนำเอาความรู้หรือเรื่องตามอัธยาศัยมาแจกให้อ่าน สมาชิกส่วนใหญ่ เคยใช้ GotoKnow.org ในเรื่องของการจัดการความรู้มาก่อน

ต่อมากลุ่มผู้ใช้กลุ่มนี้ มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนอาจจะสร้างความรู้สึกว่าปริมาณการใช้งาน อาจจะกลบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมิติอื่นๆ ดร.สมพร ช่วยอารีย์ (มอ.ปัตตานี และ schuai.net) และคุณโสทร รอดคงที่ (bansuanporpeang.com) จึงได้ติดตั้งโปรแกรม Multiuser Wordpress ที่สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2551 ตามคำแนะนำของ Conductor (คนเป็นนาย ตามใจฉัน ฯลฯ) หลังจากปรับระบบและแปลเป็นไทยอยู่สามวัน ลานปัญญาเปิดรับสมาชิกเป็นครั้งแรกในวันที่ 7 ก.ค.

ในเมื่อมีสมาชิกที่อยู่ในเมืองไทยมากขึ้น ก็มีการย้ายลานปัญญามาอยู่ในเมืองไทย ในวันที่ 13 ส.ค. 2551 ทำให้สมาชิกที่อยู่ในเมืองไทย เข้าลานปัญญาได้รวดเร็วขึ้นมาก [แนะนำให้ใช้ Firefox แทน Internet Explorer เนื่องจาก IE6 มีปัญหาหลายอย่าง ทำให้ช้าที่ตัว IE6 เอง]

ชื่อลานปัญญา ได้รับความกรุณาจาก อ.พินิจ พันธ์ชื่น (มรภ.จันทร์เกษม) อนุญาตให้ใช้ชื่อนี้ซึ่งเป็นชื่อบล็อกของอาจารย์ บมจ.อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (www.inet.co.th) ให้ความสนับสนุนอินเทอร์เน็ตและศูนย์คอมพิวเตอร์ มี Logos (ลานซักล้าง และ OpenCARE.org) เป็นผู้ดูแลระบบ

ลานปัญญากับเฮฮาศาสตร์

ชาวเฮฯ แลกเปลี่ยนและเรียนรู้อยู่บนความยอมรับนับถือกัน

ที่จริงแล้วในกลุ่มเฮฮาศาสตร์ ประกอบไปด้วยคนจากหลากหลายสาขาอาชีพ มาจากหลายพื้นฐาน หลายภูมิภาค หลายวัฒนธรรม หลายสำเนียง ประกอบอาชีพและมีความรับผิดชอบแตกต่างกัน แต่ก็รวมกันอยู่ได้ด้วยการยอมรับกันและกันอย่างที่แต่ละคนเป็นอยู่ มีการพบปะแลกเปลี่ยนกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ ในรูปแบบการสื่อสารแบบต่างๆ ทั้ง instant messenger บล็อก โทรศัพท์ ไปรษณีย์ ตลอดจนการนัดพบกันตามโอกาส ฯลฯ

ชาวเฮฯ ไม่ต้องอวดอ้าง ใครดีอย่างไร อ่อนตรงไหน เมื่อคบกันไปนานๆ ก็รู้ได้เอง จนสนิทชิดเชื้อ เล่น แซว หยอกล้อกันได้อย่างพี่น้อง มีความเอื้ออาทรต่อกัน ในขณะเดียวกัน เฮฮาศาสตร์ก็เป็นการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ไม่มีใครสั่งใคร ไม่ต้องมีเครื่องแบบ ไม่ต้องคิดหรือทำแบบเดียวกัน ไม่ต้องชี้นำ จึงเป็นสังคมเล็กๆ ที่มีอิสระ; ชาวเฮฯ กระทำการทุกอย่างโดยการประสานงาน การอาสาทำเอง และการช่วยเหลือกันโดยไม่ต้องตอบแทน มีความเคารพนับถือกันคล้ายระบบเครือญาติ ในสังคม Chaordic

ตัวตนของชาวเฮฯ จึงเป็นของจริง ไม่สามารถเสกสรรค์ปั้นแต่งได้; ไม่ว่าจะใช้ชื่อจริงในลานปัญญาหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีชาวเฮฯ อื่นที่รู้จักตัวจริง

ลานปัญญาเป็นเครื่องมือสื่อสารอย่างหนึ่งของชาวเฮฯ แต่ไม่มีเงื่อนไขว่าชาวเฮฯ จะต้องมาใช้ลานปัญญาเท่านั้น เพราะชาวเฮฯ จะใช้เครื่องมือสื่อสารอะไรก็ได้ เพียงแต่ชาวเฮฯ ส่วนใหญ่ ใช้ลานปัญญาเป็นเครื่องมือหลักอย่างหนึ่ง

ในขณะเดียวกัน ลานปัญญาก็ไม่ได้ตั้งเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นชาวเฮฯ เท่านั้นจึงจะใช้งานได้; สมาชิกก็คือสมาชิก ชื่อกลุ่มต่างๆ เป็นเพียงคำเรียกขาน แต่ความผูกพันธ์นั้นเกิดจากใจและการกระทำ

ลานปัญญากับความแตกต่าง

โดยเหตุที่ลานปัญญาเป็นเครื่องมือที่ให้อิสระกับสมาชิก ที่จะปรับแต่งบล็อกของตนตามความต้องการ จึงมีขั้นตอนต่างๆ มีของเล่นให้ใช้มากมาย ซึ่งสมาชิกสามารถศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อย่างไรก็ตาม พึงระลึกไว้ว่าเมื่อเปิดใช้งาน สมาชิกสามารถใช้ได้แล้วโดยไม่ต้องทำการปรับแต่งใดๆ

สมาชิกไม่เปิดบล็อกก็ได้ เปิดบล็อกก็ได้ เปิดหลายบล็อกก็ได้

เพราะว่าลานปัญญาเป็นเว็บชุมชนคนคุ้นเคย เมื่อเปิดบล็อกแล้ว กรุณาแนะนำตัวเองให้สมาชิกอื่นได้รู้จักกันบ้าง ก็จะเป็นการเริ่มต้นสร้างเครือข่ายที่ดี



Main: 0.80005812644958 sec
Sidebar: 0.10952591896057 sec