โครงการกองทุนหมู่บ้าน แก้ไขปัญหาความยากจนได้ “จริงหรือ” เปล่า นะจ๊ะ

อ่าน: 6528

 

จากระยะเวลากว่าสี่ปีที่ผมได้มีโอกาสคลุกคลีและได้สัมผัสกับโครงการ “กองทุนหมู่บ้าน” เห็นความเป็นไปของพ่อแม่พี่น้องชาวบ้านชนบทเราที่เข้ามาเป็นสมาชิกโครงการฯ    จากการที่ได้เข้าไปสัมผัส  ผมได้เห็นความเปลี่ยนแปลง ความเคลื่อนไหวและแนวความคิดของชาวบ้านเปลี่ยนไปเป็นอย่างมาก  มากซะจนผมอดที่จะเป็นห่วงไม่ได้ถึงอนาคตของประเทศไทยเรา   ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ผมคิดว่ามันจะทำให้เกิดเป็นปัญหาที่เรื้อรังไม่รู้จบต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน  ซึ่งผมขอสรุปปัญหาที่คาดว่าจะเรื้อรังนี้เล็กน้อยและอย่างคร่าว ๆ นะครับ

 

 

พฤติกรรมการใช้เงินของชาวบ้านเปลี่ยนไป  เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการกู้ยืมเงินเพื่อมาประกอบอาชีพหรือสร้างเสริมอาชีพ เสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครับของสมาชิก(ตามรูปแบบนโยบายที่ไปก๊อปปี้เค้ามาว่างั้นเถอะ) แต่กลุ่มสมาชิกส่วนใหญ่ต่างใช้เงินผิดวัตถุประสงค์และขาดวินัยในการใช้เงินเป็นอย่างมาก(อาจเป็นเพราะชาวบ้านยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการทางการเงินที่ดี)  จึงทำให้เมื่อครบกำหนดส่งคืนเงินจำเป็นต้องไปหยิบยืมเงินต่อจากเพื่อนบ้านหรือนายทุน

 

นายทุนเข้ามาแทรกแซงความเข้มแข็งของชุมชน (อันนี้ถ้าพูดออกไปมากเดี๋ยวผมกลัวจะเป็นไข้โป้งอ่ะครับ 555 แต่ถึงยังไงก็จะพูดให้ฟังนะครับ)  ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น เมื่อถึงกำหนดครบเวลาในการชำระหนี้คืนแก่โครงการ  สมาชิกไม่สามารถนำเงินมาคืนให้กับกองทุนฯได้  จึงจำเป็นที่จะต้องไปกู้ยืมเงินจากนายทุนโดยการที่จะต้องยอมแลกเปลี่ยนกับดอกเบี้ยที่นายทุนคิด ซึ่งมีตั้งแต่ ร้อยละ 5, 10, 15, หรือบางรายมีอิทธิพลหน่อยก็จะคิดร้อยละ 20 ซึ่งสมาชิกบางคนก็ต้องยอม  และที่สำคัญนายทุนบางกลุ่มยังเข้ามามีบทบาทในการบริหารงานของโครงการนี้ด้วยซึ่งทำให้คณะกรรมการและสมาชิกไม่กล้าออกสิทธิ์ออกเสียงใด ๆ ซึ่งเป็นการถูกจำกัดสิทธิ์และเสรีภาพของคณะทำงาน 

 

โครงการฯ นี้ทำให้ชาวบ้านไม่กลัวการเป็นหนี้  ส่วนใหญ่มักจะถามว่าทำยังไงจะกู้เงินได้มากกว่าเดิม  เพราะจากข้อมูลที่ได้ชาวบ้านส่วนใหญ่คิดว่าโครงการนี้เป็นเงินของรัฐบาล( เค้าเอามาแจกให้ใช้ฟรี ๆ ) แต่พอถึงเวลาที่จะต้องคืนเงินนี่สิครับ หนาววววว  ทำให้เกิดเป็นหนี้ผูกพัน รุงรังกันไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จบ แล้วปัญหาความยากจนก็คงจะยังคงอยู่แบบนี้ตลอดไป

 

ยังมีอีกหลายปัญหาที่เกิดขึ้นและผมคิดว่าจะเป็นปัญหาที่เรื้อรังแน่นอนหากไม่มีวิธีการแก้ไขที่ดี ที่ถูกต้อง  ซึ่งโดยเนื้อแท้ของโครงการนี้นั้นเป็นสิ่งที่ดี  และผมว่าดีมาก ๆ หากแต่ “เรา” ยังขาดความรู้ ขาดการดำเนินงาน  การบริหารจัดการ  การตรวจสอบ และยังขาดอะไร ๆ ดีดีอีกหลายอย่าง  และผมคิดว่านั่นไม่ใช่ปัญหาของเราและไม่ใช่ปัญหาของใคร แต่มันเป็นปัญหาเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศและเกี่ยวข้องกับคนในชาติโดยตรงเลยครับ

 

ปุจฉา  ท่านคิดเห็นอย่างไรกับการแก้ไขปัญหาของภาครัฐบาล  โดยการเปิดโครงการกองทุนหมู่บ้านล้านที่ 2 และ ล้านที่ 3  ครับ

 

หนึ้สินไม่รู้จบกำลังเติบโตและขยายวงกว้างขึ้นอย่างสบายใจ

 

( โปรดติดตามตอนที่ 2 ได้เร็ว ๆ นี้ จริง ๆ นะ )

คำสำคัญ: , ,

บันทึกนี้โพสต์เมื่อ วันที่ วันศุกร์, 26 ธันวาคม 2008 เวลา 12:41 (เย็น) และจัดไว้ในหมวดหมู่ ลานสายลม. ติดตามอ่านการแสดงความเห็นได้ที่ฟีดนี้ RSS 2.0. คุณสามารถจะ ฝากความคิดเห็นไว้, หรือ แทร็กย้อนหลัง จากเว็บไซต์ของคุณได้.


7 ความคิดเห็น ในบันทึก “โครงการกองทุนหมู่บ้าน แก้ไขปัญหาความยากจนได้ “จริงหรือ” เปล่า นะจ๊ะ”

#1:: สิทธิรักษ์ 26 ธันวาคม 2008 เวลา 12:57 (เย็น)

เห็นด้วยครับ ที่หมู่บ้านผมเป็นกันไปทั่ว
ประการหนึ่ง ชาวบ้านไม่เคยมีสิทธิเข้าถึงเงิน
ประการสอง ชาวบ้านไม่เคยได้เห็นเงินก้อนใหญ่
ประการสาม ระบอบทุนต้องการเพียงตัวเลข จีดีพี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ประการสี่ การกระตุ้นเพื่อผลทางการเมือง ที่เป็นรูปธรรมที่เด่นชัด
ประการที่ห้า ระบอบทุนสร้างฐานการตลาด กระตุ้นการใช้จ่าย
ผลที่ติดตามมา ไม่ใช่ไม่รู้กัน แต่เพื่อผลที่ได้ตามเป้า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดทางการเมือง ระบอบทุนเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่นี่เป็นเพียงชนบท ในเมืองยิ่งแย่ใหญ่ครับ ลึกๆแล้วนายทุนน้อยนายทุนชาติในเมืองได้ถูกครอบงำอย่างทั่วด้าน ระบอบการจัดการได้ถูกรวบยอดสู่กระดานบนโต๊ะหรือกระดานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ถูกบัญชาการด้วยคนกลุ่มหนึ่ง
สัญญานอันตรายนี้ พวกเรายังสามารถรอดครับ ด้วยความชาญฉลาดของพระองค์ท่าน ด้วยทฤษฎีพอเพียง เราต้องช่วยกันครับ

#2:: Lin Hui 26 ธันวาคม 2008 เวลา 1:03 (เย็น)

ความจริงย่อมหนีความจริงไม่พ้น เหตุของเหตุอยู่ที่ความไม่พร้อม ทั้งภาครัฐปฏิบัติ ขาดความรู้ความเข้าใจแล้วจะไปช่วยสอนชาวบ้านได้อย่างไร มันก็มั่วกันตั้งแต่หัวจดหาง มีแต่โคลง การ(กระทำทีปฏิบัติได้อย่างสมเหตุสมผลไม่มี) มันต้องจับพวกข้าราชการตั้งแถว ตั้งแต่หัวหน้าสูงสุดลดหลั่นตามลำดับคนสุดท้านเป็นชาวบ้าน แล้วให้ชาวเตะตูดนับหนึ่งจนถึงหัวหน้าถูกเตะแต่ไม่ได้ลูกน้อง55555

#3:: ลูกหว้า 26 ธันวาคม 2008 เวลา 1:20 (เย็น)

แบบว่าชักง่วงแล้วนะ เรื่องนี้มันเกี่ยวพันด้วยกันหลายฝ่่ายนะน้อง อยู่ที่ว่าเราจะเลือกมองจุดไหนบ้าง เพราะโครงการมันเปิดช่องไว้ให้คนหลายกลุ่มเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์นี่นา ไว้พรุ่งนี้มาแลกเปลี่ยนดีกว่านะน้องรัก

#4:: sutthinun 26 ธันวาคม 2008 เวลา 8:53 (เย็น)

บางกองทุน ตั้งมาหาเสียง ไม่ได้ตั้งมาแก้ปัญหายากจน

#5:: bangsai 29 ธันวาคม 2008 เวลา 11:05 (เช้า)

หลักการดี

การปฏิบัติไม่ตอบสนองหลักการที่ดี ก็เหมือนๆกับนโยบายอื่นๆอีกหลายนโยบาย ที่หลักการดี แต่เมื่อปฏิบัติ กลับเกิดผลกระทบตรงข้าม

การเขียนโครงการตามแบบฟอร์มเพื่อเสนอขอกู้เงินกองทุนนั้น คณะกรรมการพิจารณาตามแบบฟอร์ม เขียนมาดีตามข้อกำหนด ก็เอาไป แค่นี้ แค่นี้เอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จบแล้ว…..

หากเรากู้เงินธนาคาร โอยตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีก วิเคราะห์ละเอียดยิบ..เอ้ามันต่างกัน บางท่านอาจจะคิดเช่นนั้น ก็เพราะคิดง่ายๆผลจึงออกมาเช่นนี้

การหางบประมาณมาให้ชาวบ้านเพื่อการลงทุนอะไรสักอย่างนั้น ดี เพราะเราอยู่กับชาวบ้านเรารู้ว่าหลายคนต้องการทุนมาดำเนินการทางการเกษตร แต่ต้องมีกระบวนการใช้งบประมาณตามแบบฟอร์มที่ยื่นเสนอขอกู้ เปล่า เมื่ออนุมัติมาแล้วก็ไม่มีใครติดตามตรวจสอบ เมื่อถึงกำหนดก็ประกาศหอกระจายเสียงในหมู่บ้าน ให้เอาเงินมาคืน ก็ไปหาเงินก้อนอื่นมาคืนแล้วยื่นกูใหม่ทันทีอีกรอบ

ที่สมัยนายกเหลี่ยมนั้นประกาศว่ากองทุนมีการคืน มากกว่าร้อยละ 90 แต่ไม่ได้อธิบายต่อว่าที่คืนเช้าบ่ายก็กู้ต่อ มีแต่จมกับจม หลักฐานการศึกษา PRA ของพี่ก็มีมากมาย ตัวเลขชัดๆ….

สมัยก่อน ใครเป็นสมาชิก ธกส. กู้เงิน ก็มีนักวิชาการ(เสื้อแดง) ตามไปหาเกษตรกรผู้กู้เพื่อติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามที่ยื่นกู้ แต่ไม่ทราบว่าต่อมาจะมีส่วนนี้อยู่หรือเปล่า….

เมื่อนักการเมืองจัดสรรงบตัวนี้ลงมาชาวบ้านชอบแม่นอน เพราะมีเงินมาหมุน เพราะเขาเองก็ไม่มีทางออก หากมีเงินมาก็ชอบ ใครทำนโยบายนี้ก็เอาคะแนนไป เห็นใจในแง่นี้ แต่ไม่ได้แก้ปัญหาความยากจน

มองอีกมุม การให้เงินตามหลักการดี แต่ต้องมีการกำกับการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ แต่รัฐทำไม่ได้…นี่แหละคือจุดอ่อน…

มีแนวทางใดบ้างที่จะมาอุดช่องโหว่นี้ หากพรรคใดทำได้ เอาคะแนนไปเล้ยยยยย

เฮ่อ….ประเทศไทย..

#6:: คุณงง 18 เมษายน 2010 เวลา 2:30 (เช้า)

ขอถามหน่อยคะ  ถ้ากู้เงินกองทุนเสียเงินค่าทำสัญญา 20 บาท อันนี้เข้าใจอยู่ แต่เงินค่าสัจจะ มีการเก็บย้อนหลังด้วยหรือคะ
ตัวอย่าง  ดิฉันหยุดกู้มา2 ปี พอปีนี้จะขอกู้เสียค่าทำสัญญา 20 บาท และเงินค่าสัจจะนับถอยหลัง รวมเป็น 390 บาท  ก็คือ 2 ปีหลัง 260 บาท บวกปีนี้ อัก 130 บาท ถ้าดิฉันหยุดกู้สัก 10 ปี พอปีที่11 ขอกู้ไม่จ่ายจนอานหรือคะ  ตอบด้วยนะคะ งง มากคะ

#7:: chirapron 29 พฤศจิกายน 2010 เวลา 4:49 (เช้า)

ทำไมการบริหารเงินกองทุนหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านนั้นจึงไม่ระบุบุคลที่จะเข้ามาบริหารเงินจำนวน 1000000 บาทซึ่งเป้นเงินจำนวนที่มากพอสมควรถ้าเป็นนักธุรกิจบริหารเงินส่วนนี้คงจะรวยแต่ถ้าคนบริหารเงินส่วนนี้เป้นคนที่จบ ป4หรือไม่มีความรู้เรื่องการบริหารอะไรสักอย่างเลยคิดว่าเงินก้อนนี้จะให้ประโยชน์กับมาหรือสร้างนี้ให้กับประชาชนชาวไร่ชาวนาหรือเพียงเพราะว่าผลประโยชน์นั้นเกิดขึ้นจากดอกเบี้ยในการเรียกเก็บในแต่ละชุมชลแล้วแบ่งกันเองในขณะกรรมหรือประทานเงินล้านทำไมไม่เปลี่ยนจากเงินตรงนี้เป็นเงินเดือนแทนจะได้ทำงานให้คุ้มค่าหน่อยและผลประโยชน์ก็จะไม่มี ปล ไม่ได้ดูถูกใครแต่ถ้าคิดว่าใครจะบริหารเงินส่วนนี้ก็ได้งั้นลูกหลานท่านๆคงไม่ต้องเรียนหนังเสือกันก็ได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น

*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word

Main: 0.56168985366821 sec
Sidebar: 0.46234512329102 sec