จอดป้าย..รายทาง

โดย dd_l เมื่อ สิงหาคม 16, 2009 เวลา 6:15 (เย็น) ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3608

เวลาเดินทางที่ไม่เร่งรีบ มักเลือกแวะเวียนออกนอกเส้นทางเสมอ
และเมื่อพบเจอสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยเห็น ก็ถือเป็นความสุขเล็กๆ น้อยๆ
บางครั้งก็พลอยได้เพิ่มเติมความรู้ จากการดู การฟัง
บางครั้งได้แรงบันดาลใจ  บางครั้งได้รอยยิ้ม
เหมือนคราวที่พลัดหลงไปชิมก๋วยเตี๋ยวแบบแปลก


แวะเข้าอุทัยธานี ด้วยมีคนอยากได้กรรไกรตัดกิ่งแบบพิเศษ
ไปถึงพอดีกับเวลาหิว  จึงเลือกเข้าร้านก๋วยเตี๋ยวเต็กเฮี๊ยะ
เห็นมีลูกค้าคับคั่ง  ปรี่เข้าไปนั่ง สั่งกันคนละชาม ดับความหิว
ได้ชมบรรยากาศในร้านระหว่างรอ มีรถเข็นคันเก่า รับประกันความเก๋าในอาชีพ
ซึ่งแม้เข็นเข้ามาจอดบนตึกแถว แต่ยังไม่ได้ปลดระวางในการทำงาน
แม่ค้ายังคงให้บริการจากรถเข็นมือเป็นระวิง

เห็นความแปลกบนโต๊ะอาหาร..
ทุกโต๊ะมีเพียงกระปุกน้ำตาลเป็นเครื่องปรุงรส
ไม่มีพริก น้ำส้ม น้ำปลาใดๆ บอกความมั่นใจในรสชาติที่ปรุงสำเร็จมาให้
ซึ่งต้องใช้น้ำตาลดับความเผ็ดร้อน ให้บรรเทาลง

เมื่อสั่งต่อเป็นชามที่สอง ก็ได้มองหน้ากันพร้อมอมยิ้ม
เมื่อเอื้อมมือจะรับชามที่มีผู้มาส่งถึงโต๊ะ แต่คนส่งกลับหดมือหนีไปมา
กว่าจะรู้ว่า การเสริฟชามที่สั่งต่อ ต้องเทลงชามเดิมไม่ว่าจะเพิ่มสักกี่รอบ !!!!
อ๋อ..นี่เอง  ก๋วยเตี๋ยวต่อชาม

 

เรื่องราวรายทางที่แวะเวียน ก็ไม่เว้นแม้เป็นการเดินทางระยะสั้นๆ
ในวันที่อยากจะเปลี่ยนเส้นทางกลับบ้านให้เลาะเลียบริมน้ำ
เห็นเหมืองฝาย หน้าวัดหัวฝาย ร่มรื่นน่าจอดพัก
หากมองผ่าน ก็เห็นเพียงสะพานไม้ที่เบื้องล่างมีเครื่องกีดกั้นสายน้ำที่หลั่งไหล

แต่เมื่อมองใกล้ ก็ต้องตื่นตาตื่นใจในภูมิปัญญาที่คิดหาวิธีก่อสร้างอย่างชาญฉลาด
ไม่เคยเห็น สิ่งก่อสร้างที่เป็นทั้งสะพานให้เดินผ่านและเป็นเหมืองฝาย
ที่ใช้ซี่ไม้รายเรียง พาดพิงราวสะพานด้านล่าง ให้เป็นเครื่องกั้นสายน้ำ
 

ซี่ไม้หนาสองสามนิ้ว กว้างราวฝ่ามือ วางลงในแนวดิ่งเรียงชิดต่อกันไป
แรงดันของน้ำช่วยให้ซี่ไม้ด้านล่างแนบชิดติดท่อนไม้หนาที่ทอดผ่านด้านล่างสะพาน
ด้านบนของซี่ไม้ มีห่วงทำจากเหล็กง่ายๆ ให้ใช้เหล็กเส้นสอดร้อยให้ติดราวสะพานด้านบน
ทั้งยังเหลาปลายให้กลมกลึงเป็นที่จับได้อย่างเหมาะมือ
 

สังเกตเห็นความแรงของสายน้ำที่ไหลลอดตามช่องว่าง ตามระยะความห่างที่วางเรียงซี่ไม้
ทั้งกำหนดช่องทางให้น้ำไหลได้ไม่ตายตัวเหมือนเหมืองฝายคอนกรีต
จะกลางสะพาน ข้างสะพาน จะกี่ช่องทาง ก็เพียงกำหนดระยะห่างของซี่ไม้ให้เหมาะสม
แม้เมื่อมีกอสวะหรือสิ่งใดๆ มาติดค้าง เพียงแยกซี่ไม้ให้ห่างจากกัน
ก็เป็นอันแก้ไขได้…

ชอบใจที่ออกแบบให้มีช่องว่างข้างราวสะพาน
ใช้เป็นที่เก็บซี่ไม้ที่ถูกถอนออกไปให้เกิดทางผ่านของน้ำ
ยามใดที่อยากได้น้ำเหนือฝายมาก ก็แค่ลากไม้ออกมา วางเรียงเติมลงไป 
ก็ใช้ได้แล้ว…

ช่างคิดจริงๆ…

 


ดู วัดหัวฝาย ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
http://gotoknow.org/blog/dd290850/218777
ขี่รถถีบไปผ่อต่องเต้น
 
 

เรื่องราวเกี่ยวกับเหมืองฝาย

http://www.codi.or.th/nature/area_work/north/maewang.htm
การจัดการน้ำโดยระบบเหมืองฝายของชุมชน
  

http://gotoknow.org/blog/nhanphromma/139226 
เหมืองฝายล้านนา

http://www.prachatai.com/column-archives/node/2731
ระบบเหมืองฝาย: การจัดการน้ำของคนล้านนา

http://gotoknow.org/blog/ajk/168786
เหมือง ฝาย เทคโนโลยีและภูมิปัญญาไต 

วิ.ดิ.โอ.เกี่ยวกับเหมืองฝาย 

http://video.mthai.com/player.php?id=2M1196775034M0
เหมืองฝายต้นแบบการจัดการน้ำ

http://video.mthai.com/player.php?id=2M1217122027M0
ฝายพญาคำ

http://video.mthai.com/player.php?id=2M1218682387M0
ฝายพญาคำ2

« « Prev : ได้เรื่อง..แต่..ไม่”เป็นเรื่อง”

Next : มองมุมคิด : หมอดินอาสา » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

11 ความคิดเห็น

  • #1 จันทรรัตน์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 สิงหาคม 2009 เวลา 10:25 (เย็น)

    เจ๋งจริงๆ…รูปสวยมากๆจ้า..

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 เวลา 12:19 (เช้า)

    เหมืองฝายของภาคเหนือนั้นถูกเป็นกรณีศึกษา ทำปริญญาเอกมาหลายต่อหลายคนแล้ว ญี่ปุ่นก็มาเอาไปเขียนปริญญาเอก หากจำไม่ผิด ชื่อ ทานาเบ้  (หากผิดขออภัยด้วย) คนไทยก็มีหลายท่าน คนหนึ่งที่สนิทกันคือ อ.ดร.อุไรวรรณ ตันกิมหยง ท่าน ลูกช้างรุ่นต้นๆของ มช.  พี่เองก็มาศึกษาบ้างเศษๆของท่านเหล่านั้น ทึ่งจริงๆ ระบบเหมืองฝายภาคเหนือ  “แก่ฝาย” นั้นยิ่งใหญ่กว่า ผู้ใหญ่บ้าน แม้แต่กำนัน  ทางวิชาการเรียกระบบชลประทานราษฎร์ ในอีสานก็มีแต่หายไปนานแล้ว ทั้งนี้เพราะ ภูเขา ธรรชาติของภาคเหนือยังเอื้ออำนวยมากกว่าครับ

    คนที่เรียนรู้ระบบเหมืองฝายอย่างทะลุปรุโปร่งแล้วจะเข้าใจสังคมภาคเหนืออย่างแท้จริงในแง่มุมต่างๆ ช่างอัศจรรย์จริงๆ น้องอึ่ง โดยเฉพาะฝายพญาคำ

  • #3 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 เวลา 12:24 (เช้า)

    รูปนี้เองที่เอาไปเป็นคำถาม เป็นไม้ซี่ ที่เอามากั้นน้ำฝายนี่เองนึกออกแล้ว เหล็กวงกลมนั้นคือใส่เหล้กร้อยไว้กันคนมาถอนซี่ไม้นี่ออกไป ตอนแรกพี่เห็นซี่ไม้และคิดว่าเอาไม้นี่มาใส่ห่วงเหล็กทั้งหมดเป็นช่วงๆแล้วล็อกไว้กันคนมาเอาไป เสมือนกุญแจล๊อก  อิอิ

  • #4 ป้าหวาน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 เวลา 8:25 (เช้า)

    ขอบคุณค่ะ  ที่ถ่ายทอดเรื่อง ช่างคิด ชอบและชื่นชมค่ะ  เอาอีก เอาอีก  อิอิ อิอิ

  • #5 ออต ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 เวลา 10:15 (เช้า)

    ค่ายเด็กคราวนี้้  เราจะชวนเด็ก ๆ ทำแผนที่เดินดิน กางแผนที่เขียนเส้นทาง เปิดเส้นทาง ตรวจสอบเส้นทางเก่า หาสิ่งมหัศจรรย์ในเส้นทางใหม่ แม้แต่ซอก ซอย และถนนร้างเราก็จะไปกัน

  • #6 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 เวลา 1:32 (เย็น)

    อ้อ… ไม่ใช่รูปฟืนแฮะ

  • #7 dd_l ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 เวลา 7:52 (เย็น)
    #1 ฝายที่เห็นนั้นอยู่เขตติดต่อระหว่าง ลำพูนกับสารภีค่ะ  ป้ายสองป้ายนี้อยู่ห่างกันประมาณ 20 เมตร  เพิ่งรู้ว่า ที่ อ.สารภี มีบ้านหัวหลิมด้วย  บังเอิญตอนที่ผ่านไป ไม่มีใครเดินมา เลยไม่รู้ว่า หน้าตาเป็นอย่างไร ค่ะ  อิอิ

    #2 หลังจากกลับมาแล้ว  ลองค้นดูแผนที่ดาวเทียมดู  ทำให้เห็นเส้นทางของสายน้ำที่ส่งมาเลี้ยงไร่นาเป็นพื้นที่กว้างจริงๆ ค่ะ
    เพียงแค่ได้อ่านข้อมูลของเหมืองฝาย  ไม่ปลุกเร้าความใคร่รู้เหมือนกับที่ได้ลงไปดูในพื้นที่นะคะพี่บางทราย

    ฝันอยากให้เด็กๆ มีโอกาสได้เรียนรู้จากสนามจริงให้มาก  แต่ก็ติดขัดหลายเรื่อง  ทั้งทรัพยากร เวลา และ ที่สำคัญคือ ความเข้าใจของผู้ปกครอง
    ครูเองก็ผ่านระบบการเรียนที่แห้งแล้งมาก่อน  ต้องพยายามขยายโลกทัศน์ให้มาก   ผุ้รู้จริง และเชื่อมโยงความรู้ให้เกี่ยวเนื่องกับชีวิตของเด็กและครูก็ยังน้อย   ก็พยายามอยู่เต็มกำลังล่ะค่ะ  ได้เรียนรู้จากในลานก็มากนะคะ

    อยากพาครูไปเรียนรู้กับงานที่ออตและพี่จะทำค่ายให้เด็ก  แต่ดูช่วงเวลาแล้วคงจะยังไม่มีโอกาส  เสียดายมากค่ะ

    #4 ป้าหวานขา  ดีใจที่ป้าหวานชอบนะคะ  ประเภทเขียนเรื่องสายลมแสงแดดแล้วพอได้ค่ะ  ชอบซอกแซกดูโน่นนี่  แต่ไอ้ที่เป็นวิชาการ อาจ..แป่ววว..ไปบ้าง   ก็ไม่เป็นไรนะคะ   ขอบคุณที่มาเชียร์ค่ะ

    #5 ฮื่มมม..ออตๆๆๆๆ  อยากไปๆๆๆๆ  อยากเรียนรู้กะออตมาก  ฝากไว้ก่อนนะน้อง   จะตามอ่าน  ตามเรียนรู้จากบันทึกนะคะ  หมายมาดไว้ว่า ถ้ามีโอกาสจะจับตัวออตมาทำค่ายให้เด็กๆ ทางนี้บ้างนะคะ

    #6 คนฮ๊อตแกล้งตอบไม่ถูก อิอิ  จะแจ้งพิกัด พล็อตหมุดใน แผนที่พีกู(เกิ้ล)  ก็ทำไม่เป็น  เลยไม่ได้เอาแผนที่มาฝาก..ฮ่าๆๆ  GPD ก็เงี้ยล่ะค่ะ

  • #8 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 เวลา 8:17 (เย็น)

    อิอิอิ แหมคิดจนตาเหล่ ที่แท้ฝายนี่เอง เบิร์ดชอบระบบจัดการน้ำของทางเหนือนะคะพี่อึ่ง มีอะไรน่าสนใจเยอะเลย อาจได้เปรียบบางที่เพราะปริมาณน้ำเยอะและพื้นที่มีระดับ ทำให้น้ำไหลลดหลั่นลงไปได้

  • #9 ลานเวลา » มองมุมคิด : หมอดินอาสา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 27 กันยายน 2009 เวลา 11:27 (เย็น)

    [...] เมื่อยังเด็ก ไม่ค่อยชอบฤดูฝน ด้วยรู้สึกถึงความหม่นเศร้ายามเมฆครึ้ม ฝนพร่ำ แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่ กลับชอบบรรยากาศความสดชื่น และภาพชีวิตหลังฝน ได้เห็นการพลิกฟื้น งอกงาม ของต้นไม้ ที่คลายจากความร้อนแล้ง จึงมักจะถือโอกาสปรับปรุง ตัดแต่ง เพิ่มเติมพันธุ์ไม้ในฤดูนี้ ช่วงที่แวะเวียนออกนอกเส้นทางจนไปพบกับฝายไม้ หมายตากองขี้เถ้าจากแกลบที่เห็นกองอยู่เต็มลานบ้านย่านที่เป็นแหล่งการเกษตร ถึงวันหยุดจึงชวนกันจะไปหาซื้อมาเพาะชำกล้าไม้ ขับรถกระบะสารพัดประโยชน์คันเก่า ควบปุเลงๆ ย้อนรอยไปตามทางที่เคยเห็น แต่กลายเป็นว่า หาบ้านที่หมายตาไว้ไม่ได้ ต้องถามไถ่ผู้คนตามรายทาง [...]

  • #10 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 กันยายน 2009 เวลา 12:40 (เช้า)

    #7 เรื่องอ่านค่าพิกัด อาจจะพิสดารสักหน่อยนะครับ

    • เปิดแผนที่จากลิงก์ “ดู วัดหัวฝาย ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า” ในบันทึก
    • ดับเบิ้ลคลิกที่ “วัดหัวฝาย” ทางซ้ายของแผนที่ เพื่อจัดให้แผนที่มีตำแหน่งของวัดหัวฝายอยู่ตรงกลางพอดี
    • ที่ด้านบนขวา คลิกที่ “ลิงก์” ก๊อบปี้ URL มาจาก “วางลิงก์ใน อีเมล หรือ IM”

    ลิงก์ที่ก๊อบออกมาเป็น http://www.google.com/maps/ms?ie=UTF8&hl=th&msa=0&msid=116418324623797349343.0004724877a5d6159207c&source=embed&t=h&ll=18.670539,99.013317&spn=0.005712,0.009581&z=17

    สังเกตดูตรง ll=18.670539,99.013317 ค่าของ ll (lat long) นั้นเป็นพิกัดของกึ่งกลางแผนที่ ซึ่งก็คือพิกัดของวัดครับ ดังนั้นวัดหัวฝายจึงอยู่ที่ 18.670539°N 99.013317°E

  • #11 ลานซักล้าง » เพิ่มความเร็วของของไหลตามหลักของกังหัน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 มกราคม 2011 เวลา 4:28 (เช้า)

    [...] รูปซ้ายจากสวิทเซอร์แลนด์ รูปขวาจากลานเวลา (อุทัยธานี) คือเขาเอาไม้เป็นแท่งๆ [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.27268695831299 sec
Sidebar: 0.092721939086914 sec